เรื่องย่อ ว่าด้วยภาพยนตร์สยองขวัญแบบไทย ๆ ที่นำคติชนวิทยาว่าด้วยเรื่องผีประจำภูมิภาคมาใช้สร้างสรรค์เรื่องราว ได้อย่างน่าสนใจ ผู้กำกับไม่ใช่แค่นั้นเรื่องผีประจำภูมิภาคมาใช้เท่านั้น แต่การเล่าเรื่องในภูมิภาคก็ยังใช้ สำเนียงการพูดไปตามภูมิภาคนั้นด้วย จึงทำให้หนังมีความน่าเชื่อถือและความหนักแน่น
หนังเปิดเรื่องมาที่กลุ่มเพื่อน เดินทางมายังที่บ้านเพื่อนทรงไทยหลังหนึ่งเพื่อถ่ายทำงานบางอย่าง พอตกดึกก็ทำกิจกรรมอันเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไปก็คือการล้อมวงนั่งเล่าเรื่องผี โดยที่ให้นางเอกของเรื่องเป็นผู้เล่าเรื่อง เรื่องก็จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคประกอบด้วย
ผีปอป ภาคอีสาน เรื่องราวของครอบครัวหนึ่งประกอบด้วยแม่ลูกชายและลูกสาว แม่เป็นหญิงชรานอนซมอยู่ในบ้าน วันหนึ่งคนในหมู่บ้าน เกิดความร้อนใจเพราะว่าสัตว์ปีกล้มตายจำนวนมากถูกกินเครื่องใน ชาวบ้านจึงเชื่อว่า ในหมู่บ้านมีปอบ จึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ความซวยจึงมาตกที่บ้านหลังนี้ แล้วก็เริ่มทำพิธีไล่ปอบ
ผีตานี ภาคใต้ เด็กหนุ่ม นักศึกษาศิลปะ หาบ้านเช่าในสวนแห่งหนึ่ง แต่ในสวนนี้มีดงกล้วยตานีขึ้นอยู่ วันหนึ่งเขาเดินเข้าไปในดงกล้วยและเห็นกล้วยตานีต้น 1 มีผ้ามัดเอาไว้เขาจึงดึงผ้านั้นออก แล้วทุกค่ำคืนเด็กหนุ่มก็ฝันว่าได้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวในชุดไทยโบราณ
ผีโพง ภาคเหนือ เรื่องราวของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือ ชาย 2 คนออกหากบหาปลาในยามค่ำคืน คืนหนึ่งเขาเจอลักษณะเหมือนมนุษย์กำลังกินกบกินเขียดแบบสด ๆ เขาจึงวิ่งหนีแล้วตอนเช้าจะไปถามผู้รู้ จึงได้คำตอบว่านั่นคือผีโพง
ผีนางตะเคียน ภาคกลาง ว่าด้วยเรื่องราวย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 7 หญิงสาวผู้เป็นข้ารับใช้แอบไปมีเพศสัมพันธ์กับคุณหลวงท่านหนึ่ง ภรรยาคุณหลวงไม่พอใจจึงจับหญิงสาวไปเฆี่ยนตี สาวใช้เริ่มกลัวจึงแอบหนีออกจากบ้าน แต่ภรรยาคุณหลวงก็สั่งให้ลูกน้องตามไปจัดการเธอ เมื่อเธอเสียชีวิตก็นำศพไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียน
ในสมัยที่หนังเรื่องนี้เข้าฉายช่วงแรก ผมดูหนังเรื่องนี้ด้วยการคาดหวังถึงความน่ากลัวสยองขวัญ ในความรู้สึกครั้งนั้นกับรู้สึกว่าผิดหวังมาก มันไม่ได้มีความน่ากลัวอะไรเลย แต่พอหลังจากร่ำเรียนวิชาคติชนวิทยาแล้วและกลับมาดูหนังเรื่องนี้อีกครั้งในปี พ.ศ 2563 กลับมีความรู้สึกว่าชอบหนังผีเรื่องนี้มาก ที่ชอบก็คือทีมสร้างเขาแนะนำเรื่องราวคติชนวิทยาเกี่ยวกับผีมาเล่าแบบตรงไปตรงมา นำเสนอไปพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละภูมิภาคได้ค่อนข้างดี มีการใช้ภาษาถิ่นในหนังแต่ละเรื่องให้สอดคล้องภูมิภาค ใช้นักแสดงหลักเป็นคนของภูมิภาคนั้น ๆ จุดนี้จึงทำให้เรามีความเชื่อหนังเรื่องนี้ได้ และหนังค่อนข้างมีน้ำหนัก ส่วนผีที่เคยผิดหวังกับความหลอนนั้นพอมาดูอีกครั้งหนึ่งกลับรู้ความรู้สึกอีกแบบ คือทางทีมงานสร้างคงไม่ได้ตั้งใจทำหนังผีให้มีความหลอกหลอน แต่เขาจะต้องการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผีในเชิงคติชนวิทยาภูมิภาคมากกว่า ซึ่งผมก็มองว่าเป็นเรื่องดี
ส่วนตัวนั้นชอบตอนผีภาคอีสาน เพราะนำเสนอเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับออกได้ค่อนข้างดีในแบบที่เรารับรู้กัน และไม่ได้มีการแต่งเติมเสริมสร้างให้มีความเชื่อด้านอะไรนัก และผีภาคเหนือก็ทำออกมาดีเช่นกัน ทำให้เห็นก็ติดความเชื่อของชาวภาคเหนือ นอกจากผีแล้วยังพูดถึงเรื่องพืชวิเศษอีกด้วย
แน่นอนว่าหลายคนดูหนังเรื่องนี้แล้วอาจจะไม่ชอบเลยก็ได้ เพราะหนังไม่มีความน่ากลัวอะไรเลย หนังใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารดังนั้น บางภูมิภาคจึงอาจฟังยาก เช่นภาคใต้ผมแทบจะฟังไม่ทันเลยเพราะพูดเร็วมาก ตัวอย่างที่กล่าวไปข้างต้นเข้าใจว่าผู้กำกับต้องการจะนำเสนอแนวทางทางคติชนมากกว่าความหลอน
หากใครชอบหนังที่ใช้แนวทางทางคติชนวิทยาเข้ามาสอดแทรกเสริมหนังให้มีเสน่ห์ ผมคิดว่าเรื่องหลอนก็เป็นหนังที่ดีเรื่องนึงเลยครับ
ลองแคส หลอน ช่อง 3 7 1 8 Gmm25 และ อัมรินทร์ทีวีครับ
หนังเปิดเรื่องมาที่กลุ่มเพื่อน เดินทางมายังที่บ้านเพื่อนทรงไทยหลังหนึ่งเพื่อถ่ายทำงานบางอย่าง พอตกดึกก็ทำกิจกรรมอันเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไปก็คือการล้อมวงนั่งเล่าเรื่องผี โดยที่ให้นางเอกของเรื่องเป็นผู้เล่าเรื่อง เรื่องก็จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคประกอบด้วย
ผีปอป ภาคอีสาน เรื่องราวของครอบครัวหนึ่งประกอบด้วยแม่ลูกชายและลูกสาว แม่เป็นหญิงชรานอนซมอยู่ในบ้าน วันหนึ่งคนในหมู่บ้าน เกิดความร้อนใจเพราะว่าสัตว์ปีกล้มตายจำนวนมากถูกกินเครื่องใน ชาวบ้านจึงเชื่อว่า ในหมู่บ้านมีปอบ จึงไปแจ้งผู้ใหญ่บ้าน ความซวยจึงมาตกที่บ้านหลังนี้ แล้วก็เริ่มทำพิธีไล่ปอบ
ผีตานี ภาคใต้ เด็กหนุ่ม นักศึกษาศิลปะ หาบ้านเช่าในสวนแห่งหนึ่ง แต่ในสวนนี้มีดงกล้วยตานีขึ้นอยู่ วันหนึ่งเขาเดินเข้าไปในดงกล้วยและเห็นกล้วยตานีต้น 1 มีผ้ามัดเอาไว้เขาจึงดึงผ้านั้นออก แล้วทุกค่ำคืนเด็กหนุ่มก็ฝันว่าได้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงสาวในชุดไทยโบราณ
ผีโพง ภาคเหนือ เรื่องราวของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในภาคเหนือ ชาย 2 คนออกหากบหาปลาในยามค่ำคืน คืนหนึ่งเขาเจอลักษณะเหมือนมนุษย์กำลังกินกบกินเขียดแบบสด ๆ เขาจึงวิ่งหนีแล้วตอนเช้าจะไปถามผู้รู้ จึงได้คำตอบว่านั่นคือผีโพง
ผีนางตะเคียน ภาคกลาง ว่าด้วยเรื่องราวย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 7 หญิงสาวผู้เป็นข้ารับใช้แอบไปมีเพศสัมพันธ์กับคุณหลวงท่านหนึ่ง ภรรยาคุณหลวงไม่พอใจจึงจับหญิงสาวไปเฆี่ยนตี สาวใช้เริ่มกลัวจึงแอบหนีออกจากบ้าน แต่ภรรยาคุณหลวงก็สั่งให้ลูกน้องตามไปจัดการเธอ เมื่อเธอเสียชีวิตก็นำศพไปฝังไว้ที่ใต้ต้นตะเคียน
ในสมัยที่หนังเรื่องนี้เข้าฉายช่วงแรก ผมดูหนังเรื่องนี้ด้วยการคาดหวังถึงความน่ากลัวสยองขวัญ ในความรู้สึกครั้งนั้นกับรู้สึกว่าผิดหวังมาก มันไม่ได้มีความน่ากลัวอะไรเลย แต่พอหลังจากร่ำเรียนวิชาคติชนวิทยาแล้วและกลับมาดูหนังเรื่องนี้อีกครั้งในปี พ.ศ 2563 กลับมีความรู้สึกว่าชอบหนังผีเรื่องนี้มาก ที่ชอบก็คือทีมสร้างเขาแนะนำเรื่องราวคติชนวิทยาเกี่ยวกับผีมาเล่าแบบตรงไปตรงมา นำเสนอไปพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละภูมิภาคได้ค่อนข้างดี มีการใช้ภาษาถิ่นในหนังแต่ละเรื่องให้สอดคล้องภูมิภาค ใช้นักแสดงหลักเป็นคนของภูมิภาคนั้น ๆ จุดนี้จึงทำให้เรามีความเชื่อหนังเรื่องนี้ได้ และหนังค่อนข้างมีน้ำหนัก ส่วนผีที่เคยผิดหวังกับความหลอนนั้นพอมาดูอีกครั้งหนึ่งกลับรู้ความรู้สึกอีกแบบ คือทางทีมงานสร้างคงไม่ได้ตั้งใจทำหนังผีให้มีความหลอกหลอน แต่เขาจะต้องการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับผีในเชิงคติชนวิทยาภูมิภาคมากกว่า ซึ่งผมก็มองว่าเป็นเรื่องดี
ส่วนตัวนั้นชอบตอนผีภาคอีสาน เพราะนำเสนอเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับออกได้ค่อนข้างดีในแบบที่เรารับรู้กัน และไม่ได้มีการแต่งเติมเสริมสร้างให้มีความเชื่อด้านอะไรนัก และผีภาคเหนือก็ทำออกมาดีเช่นกัน ทำให้เห็นก็ติดความเชื่อของชาวภาคเหนือ นอกจากผีแล้วยังพูดถึงเรื่องพืชวิเศษอีกด้วย
แน่นอนว่าหลายคนดูหนังเรื่องนี้แล้วอาจจะไม่ชอบเลยก็ได้ เพราะหนังไม่มีความน่ากลัวอะไรเลย หนังใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารดังนั้น บางภูมิภาคจึงอาจฟังยาก เช่นภาคใต้ผมแทบจะฟังไม่ทันเลยเพราะพูดเร็วมาก ตัวอย่างที่กล่าวไปข้างต้นเข้าใจว่าผู้กำกับต้องการจะนำเสนอแนวทางทางคติชนมากกว่าความหลอน
หากใครชอบหนังที่ใช้แนวทางทางคติชนวิทยาเข้ามาสอดแทรกเสริมหนังให้มีเสน่ห์ ผมคิดว่าเรื่องหลอนก็เป็นหนังที่ดีเรื่องนึงเลยครับ