#
ตื่นรู้อย่างผ่อนคลาย
📌#
ผ่อนคลาย การทำงานดูแลผู้ทุพลภาพทำไมถึงผ่อนคลาย? นั่นเพราะการที่พวกเขาทำอะไรเชื่องช้า เดินช้ามาก ยกแขนขาช้า หรือยกไม่ได้เลยก็ต้องยกให้ จึงทำให้เราต้องปรับจิตปรับใจและทำอะไรให้ช้าลง และทำอย่างเบามือ การดูแลใครซักคนไม่ใช่จะทำอะไรให้มันเสร็จๆไป แล้วจะได้รีบไปทำอย่างอื่นต่อ แต่จะต้องใจใส่อย่างดี เช่นถ้าชำระคราบสบู่ออกไม่หมดหรือเช็ดตัวไม่แห้งดี ผิวก็จะเกิดผื่นแดง ถ้าดูแลไม่ดีอีกก็จะอักเสบและติดเชื้อได้ การต้องนอนติดเตียงแทบจะ 24 ชั่วโมง แล้วยังมีอาการแสบคันตามผิวหนัง ก็จะเกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจแก่ผู้ป่วย
📌#
ตื่นรู้ การตื่นรู้อยู่กับปัจจุบัน ก็คือการตระหนักว่ามีขั้นตอนอะไรที่ต้องทำและทำอย่างไร การทำความสะอาด การเช็ดตัว การใส่เสื้อผ้าให้ทีละชิ้น ในช่วงหน้าหนาวนั้น หลายคนมีผ้าเป็นสิบชิ้นที่ต้องสวมให้ เช่น ถุงเท้า ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กางเกงชั้นใน แลคกิ้ง กางเกงชั้นนอก เสื้อทับ เสื้อยืดแขนยาว เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ เป็นต้น แรกๆทำแค่นี้ก็เหนื่อยมากแล้ว กลับมาบ้านหมดแรง
-บางครั้งลืมสวมกางเกงผ้าอ้อมก่อน เมื่อสวมชั้นในก่อนก็ต้องเสียเวลาถอดออก แล้วใส่ใหม่
-แรกๆก็สวมให้ผิด สลับกัน ใส่รองเท้าให้ก่อนใส่กางเกงก็มี ก็ต้องเสียเวลาถอดรองเท้าออก แล้วใส่กางเกงก่อน
-การใส่เสื้แขนยาว กางเกงขายาว ให้คนทุพพลภาพ เป็นอะไรที่ยากมาก ถ้าจับแขนขาแรงก็ทำเขาบาดเจ็บได้ บางทียังจับสะบักไม่ดีแล้วรีบช้อนลำตัวขึ้น ก็ได้ยินเสียงกระดูกลั่นกึ๊กก็มี
-การปรับเตียงขึ้นสูง ถ้าทิ้งเขาไว้แล้วเดินไปหยิบสิ่งของ แล้วเขาเกิดพลิกตัวขึ้นมาก็อาจทำให้เขาตกเตียงได้ บางทีจับคนเป็นอัมพาตครึ่งซีกนั่ง แล้วลืมพยุงตัวเขาไว้ เขาก็จะตัวเอียงจนล้มลงหัวกระแทกโต๊ะหัวเตียงได้
ความปลอดภัยของคนที่พวกเราดูแลนั้นสำคัญยิ่งนัก จึงต้องไม่ใจลอย ประมาทเผลอเรอเด็ดขาด
.
🎯 ทำไมถึงเล่าเรื่องนี้ เพราะประทับใจในคำสอนของครูบาอาจารย์ที่สอนอานาปานสติ ท่ากล่าวอยู่เสมอว่าปัจจุบันคือลมหายใจ ให้รู้ลมหายใจ "#อย่างตื่นรู้และผ่อนคลาย" และเอาใจใส่เหมือน "#คุณหมอที่ตรวจคนไข้ทีละคนอย่างใส่ใจ"
แต่ฉันทำอย่างนั้นไม่เป็นเลย เคยฝึกอานาปานสติอยู่เกือบปีก็ไม่สามารถอยู่กับลมได้ต่อเนื่องหลายวินาทีซักครั้ง นั่นเพราะเป็นการอยู่กับปัจจุบันแบบไม่มีอามิส และลมหายใจก็มีความชื่องช้า ไม่สัมพันธ์กับจิตที่วอกแวกฟุ้งซ่านนาทีละหลายเรื่อง ไม่กระตุ้นให้สุขและพลินเหมือนเวลาคิดโน่นคิดนี่ จิตเลยไม่มีกำลังที่จะอยู่กับกรรมฐานนั้น (ซึ่งถ้าหากอยู่กับปัจจุบันขณะได้ดีจิตก็จะมีกำลังอย่างดี จะมีความเป็นกลางและควรแก่การงานซึ่งก็คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อวิปัสสนาเห็นกายใจตามความเป็นจริงนั่นเอง)
พอมาทำงานก็เข้าใจที่ครูบาอาจารย์สอนมากขึ้น แต่ก็ยังปฏิบัติไม่ค่อยได้ เพราะเมื่อสมาธิเริ่มดีจากการทำงานที่ต้องใช้สมาธิมาก แล้วเมื่อมากำหนดลมหายใจ มันก็เลยฟุ้งไม่ถี่ แต่กลับมีแต่ "#ความผ่อนคลาย" และยังขาด "#ความตื่นรู้" เลยกำหนดลมได้แป๊บๆแล้วหลับแทบจะทันที ทั้งที่แต่ก่อนก็ไม่เคยภาวนาแล้วหลับไป...
📌สำหรับใครภาวนาแล้วมักจะหลับเหมือนกัน ก็อาจเกิดจากความตื่นรู้ที่น้อย ก็ลองปรับให้พอดีจนเป็น "#ตื่นรู้อย่างผ่อนคลาย" ดูค่ะ
(เข้าบ้านโน้นออกบ้านนี้เป็นงานของพวกเรา)
🐣ตื่นรู้อย่างผ่อนคลาย🐣
📌#ผ่อนคลาย การทำงานดูแลผู้ทุพลภาพทำไมถึงผ่อนคลาย? นั่นเพราะการที่พวกเขาทำอะไรเชื่องช้า เดินช้ามาก ยกแขนขาช้า หรือยกไม่ได้เลยก็ต้องยกให้ จึงทำให้เราต้องปรับจิตปรับใจและทำอะไรให้ช้าลง และทำอย่างเบามือ การดูแลใครซักคนไม่ใช่จะทำอะไรให้มันเสร็จๆไป แล้วจะได้รีบไปทำอย่างอื่นต่อ แต่จะต้องใจใส่อย่างดี เช่นถ้าชำระคราบสบู่ออกไม่หมดหรือเช็ดตัวไม่แห้งดี ผิวก็จะเกิดผื่นแดง ถ้าดูแลไม่ดีอีกก็จะอักเสบและติดเชื้อได้ การต้องนอนติดเตียงแทบจะ 24 ชั่วโมง แล้วยังมีอาการแสบคันตามผิวหนัง ก็จะเกิดความไม่สบายกายไม่สบายใจแก่ผู้ป่วย
📌#ตื่นรู้ การตื่นรู้อยู่กับปัจจุบัน ก็คือการตระหนักว่ามีขั้นตอนอะไรที่ต้องทำและทำอย่างไร การทำความสะอาด การเช็ดตัว การใส่เสื้อผ้าให้ทีละชิ้น ในช่วงหน้าหนาวนั้น หลายคนมีผ้าเป็นสิบชิ้นที่ต้องสวมให้ เช่น ถุงเท้า ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กางเกงชั้นใน แลคกิ้ง กางเกงชั้นนอก เสื้อทับ เสื้อยืดแขนยาว เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ เป็นต้น แรกๆทำแค่นี้ก็เหนื่อยมากแล้ว กลับมาบ้านหมดแรง
-บางครั้งลืมสวมกางเกงผ้าอ้อมก่อน เมื่อสวมชั้นในก่อนก็ต้องเสียเวลาถอดออก แล้วใส่ใหม่
-แรกๆก็สวมให้ผิด สลับกัน ใส่รองเท้าให้ก่อนใส่กางเกงก็มี ก็ต้องเสียเวลาถอดรองเท้าออก แล้วใส่กางเกงก่อน
-การใส่เสื้แขนยาว กางเกงขายาว ให้คนทุพพลภาพ เป็นอะไรที่ยากมาก ถ้าจับแขนขาแรงก็ทำเขาบาดเจ็บได้ บางทียังจับสะบักไม่ดีแล้วรีบช้อนลำตัวขึ้น ก็ได้ยินเสียงกระดูกลั่นกึ๊กก็มี
-การปรับเตียงขึ้นสูง ถ้าทิ้งเขาไว้แล้วเดินไปหยิบสิ่งของ แล้วเขาเกิดพลิกตัวขึ้นมาก็อาจทำให้เขาตกเตียงได้ บางทีจับคนเป็นอัมพาตครึ่งซีกนั่ง แล้วลืมพยุงตัวเขาไว้ เขาก็จะตัวเอียงจนล้มลงหัวกระแทกโต๊ะหัวเตียงได้
ความปลอดภัยของคนที่พวกเราดูแลนั้นสำคัญยิ่งนัก จึงต้องไม่ใจลอย ประมาทเผลอเรอเด็ดขาด
.
🎯 ทำไมถึงเล่าเรื่องนี้ เพราะประทับใจในคำสอนของครูบาอาจารย์ที่สอนอานาปานสติ ท่ากล่าวอยู่เสมอว่าปัจจุบันคือลมหายใจ ให้รู้ลมหายใจ "#อย่างตื่นรู้และผ่อนคลาย" และเอาใจใส่เหมือน "#คุณหมอที่ตรวจคนไข้ทีละคนอย่างใส่ใจ"
แต่ฉันทำอย่างนั้นไม่เป็นเลย เคยฝึกอานาปานสติอยู่เกือบปีก็ไม่สามารถอยู่กับลมได้ต่อเนื่องหลายวินาทีซักครั้ง นั่นเพราะเป็นการอยู่กับปัจจุบันแบบไม่มีอามิส และลมหายใจก็มีความชื่องช้า ไม่สัมพันธ์กับจิตที่วอกแวกฟุ้งซ่านนาทีละหลายเรื่อง ไม่กระตุ้นให้สุขและพลินเหมือนเวลาคิดโน่นคิดนี่ จิตเลยไม่มีกำลังที่จะอยู่กับกรรมฐานนั้น (ซึ่งถ้าหากอยู่กับปัจจุบันขณะได้ดีจิตก็จะมีกำลังอย่างดี จะมีความเป็นกลางและควรแก่การงานซึ่งก็คือการเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อวิปัสสนาเห็นกายใจตามความเป็นจริงนั่นเอง)
พอมาทำงานก็เข้าใจที่ครูบาอาจารย์สอนมากขึ้น แต่ก็ยังปฏิบัติไม่ค่อยได้ เพราะเมื่อสมาธิเริ่มดีจากการทำงานที่ต้องใช้สมาธิมาก แล้วเมื่อมากำหนดลมหายใจ มันก็เลยฟุ้งไม่ถี่ แต่กลับมีแต่ "#ความผ่อนคลาย" และยังขาด "#ความตื่นรู้" เลยกำหนดลมได้แป๊บๆแล้วหลับแทบจะทันที ทั้งที่แต่ก่อนก็ไม่เคยภาวนาแล้วหลับไป...
📌สำหรับใครภาวนาแล้วมักจะหลับเหมือนกัน ก็อาจเกิดจากความตื่นรู้ที่น้อย ก็ลองปรับให้พอดีจนเป็น "#ตื่นรู้อย่างผ่อนคลาย" ดูค่ะ
(เข้าบ้านโน้นออกบ้านนี้เป็นงานของพวกเรา)