เหมือนใช้กลยุทธ์แยกกันเดินรวมกันตี
“สมัยขยายสาขาใหม่ๆ คิดว่า ทุกอย่างต้องมีหนึ่งและสอง จึงตั้งแบรนด์ ‘แว่นบิวตี้ฟูล’ ขึ้นมา พอมีคู่แข่งท็อปเจริญ เราก็ไปเปิดบิวตี้ฟูลขนาบข้างด้วย ถึงจุดหนึ่งก็ยุบร้านเปลี่ยนเป็นท็อปเจริญทั้งหมด เพราะคู่แข่งตามไม่ทันแล้ว”
ยุทธการณ์งัดข้อคู่แข่งไม่ได้โฟกัสที่ “ท็อปเจริญ” เท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่า “แว่นบิวตี้ฟูล” ก็มี “นพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์” เป็นเจ้าของและผู้ก่อตั้งด้วย เขามองว่า สมัยก่อนทุกอย่างต้องมี 2 แบรนด์ มีโค้กต้องมีเป๊ปซี่ มีฟูจิต้องมีโกดัก ถ้าอย่างนั้นมีท็อปเจริญแล้วก็ต้องมีแว่นบิวตี้ฟูลด้วย ทุกพื้นที่ที่ท็อปเจริญไป จะมี “แว่นบิวตี้ฟูล” ขนาบข้างเสมอ โดยที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ทั้ง 2 แห่ง มีเจ้าของคนเดียวกัน
ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการสกัดกั้นคู่แข่ง ไม่เข้าท็อปเจริญก็ต้องเข้าอีกร้าน หรือถ้ามีคู่แข่งมาเปิดละแวกเดียวกันก็ต้องเพิ่มกลยุทธ์เพื่อซื้อใจลูกค้ามากขึ้น เช่น ให้พนักงานไปยืนเรียก-ต้อนรับหน้าร้าน อีกทั้งการเปิดหน้าร้านเยอะขึ้นก็ทำให้เกิด “Economy of scale” นพศักดิ์บอกว่า ตั้งแต่เปิดร้านมาเขาไม่เคยรับซื้อสินค้าจากตัวแทนในประเทศไทย สั่งจากผู้ผลิตที่ประเทศต้นทางโดยตรง รวมถึงไม่ได้เลือกอยู่กับค่ายใดค่ายหนึ่ง ทั้งท็อปเจริญและแว่นบิวตี้ฟูลมีให้เลือกครบทุกแบรนด์ชั้นนำ
ผ่านไปสักพักก็เริ่มทำ “House Brand” เป็นของตัวเอง กรอบแว่น “Percy” หรือคอนแทคเลนส์ “Duna” ล้วนเป็นสินค้าในเครือท็อปเจริญ จนถึงตอนนี้ร้านแว่นบิวตี้ฟูลก็มีอันต้องปิดตัวลงไปแล้ว สาขาเดิมถูกฉาบทับด้วยแบรนด์ท็อปเจริญทุกแห่ง โดยเหตุผลที่เหลือเพียงร้านเดียวก็เป็นเพราะตอนนี้ไม่มีคู่แข่งเจ้าไหนวิ่งตามท็อปเจริญทันแล้ว ทั้งในแง่ผลประกอบการและจำนวนสาขาที่ครอบคลุมทั้งประเทศ
“แต่ก่อนลูกค้าเข้าร้านผมเสิร์ฟน้ำส้มกับกาแฟ และมีแจกคูปองกินก๋วยเตี๋ยวด้วย ลูกค้ารอนานก็แจกคูปองให้กินราดหน้าก๋วยเตี๋ยว ลูกค้าก็ชอบมาก พอเขาทานแล้วก็เกรงใจยังไงก็ต้องซื้อแว่นผม ตอนนี้เรามีแชร์ในตลาด 40% กว่า คู่แข่งอันดับสองและสามห่างกันหลายช่วงตัว แสดงว่า ได้แว่นบิวตี้ฟูลมาช่วยกันคู่แข่ง ไม่เดินผ่านท็อปเจริญก็ต้องเดินผ่านบิวตี้ฟูลทำให้ท็อปเจริญเติบโตได้”
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1173507?anm=
พึ่งรู้ว่า "แว่นบิวตี้ฟูล" กับ "แว่นท็อปเจริญ" เจ้าของคนเดียวกัน ถึงว่า "แว่นบิวตี้ฟูล" หายไปไหน แบบนี้นี่เอง
“สมัยขยายสาขาใหม่ๆ คิดว่า ทุกอย่างต้องมีหนึ่งและสอง จึงตั้งแบรนด์ ‘แว่นบิวตี้ฟูล’ ขึ้นมา พอมีคู่แข่งท็อปเจริญ เราก็ไปเปิดบิวตี้ฟูลขนาบข้างด้วย ถึงจุดหนึ่งก็ยุบร้านเปลี่ยนเป็นท็อปเจริญทั้งหมด เพราะคู่แข่งตามไม่ทันแล้ว”
ยุทธการณ์งัดข้อคู่แข่งไม่ได้โฟกัสที่ “ท็อปเจริญ” เท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่า “แว่นบิวตี้ฟูล” ก็มี “นพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์” เป็นเจ้าของและผู้ก่อตั้งด้วย เขามองว่า สมัยก่อนทุกอย่างต้องมี 2 แบรนด์ มีโค้กต้องมีเป๊ปซี่ มีฟูจิต้องมีโกดัก ถ้าอย่างนั้นมีท็อปเจริญแล้วก็ต้องมีแว่นบิวตี้ฟูลด้วย ทุกพื้นที่ที่ท็อปเจริญไป จะมี “แว่นบิวตี้ฟูล” ขนาบข้างเสมอ โดยที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ทั้ง 2 แห่ง มีเจ้าของคนเดียวกัน
ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการสกัดกั้นคู่แข่ง ไม่เข้าท็อปเจริญก็ต้องเข้าอีกร้าน หรือถ้ามีคู่แข่งมาเปิดละแวกเดียวกันก็ต้องเพิ่มกลยุทธ์เพื่อซื้อใจลูกค้ามากขึ้น เช่น ให้พนักงานไปยืนเรียก-ต้อนรับหน้าร้าน อีกทั้งการเปิดหน้าร้านเยอะขึ้นก็ทำให้เกิด “Economy of scale” นพศักดิ์บอกว่า ตั้งแต่เปิดร้านมาเขาไม่เคยรับซื้อสินค้าจากตัวแทนในประเทศไทย สั่งจากผู้ผลิตที่ประเทศต้นทางโดยตรง รวมถึงไม่ได้เลือกอยู่กับค่ายใดค่ายหนึ่ง ทั้งท็อปเจริญและแว่นบิวตี้ฟูลมีให้เลือกครบทุกแบรนด์ชั้นนำ
ผ่านไปสักพักก็เริ่มทำ “House Brand” เป็นของตัวเอง กรอบแว่น “Percy” หรือคอนแทคเลนส์ “Duna” ล้วนเป็นสินค้าในเครือท็อปเจริญ จนถึงตอนนี้ร้านแว่นบิวตี้ฟูลก็มีอันต้องปิดตัวลงไปแล้ว สาขาเดิมถูกฉาบทับด้วยแบรนด์ท็อปเจริญทุกแห่ง โดยเหตุผลที่เหลือเพียงร้านเดียวก็เป็นเพราะตอนนี้ไม่มีคู่แข่งเจ้าไหนวิ่งตามท็อปเจริญทันแล้ว ทั้งในแง่ผลประกอบการและจำนวนสาขาที่ครอบคลุมทั้งประเทศ
“แต่ก่อนลูกค้าเข้าร้านผมเสิร์ฟน้ำส้มกับกาแฟ และมีแจกคูปองกินก๋วยเตี๋ยวด้วย ลูกค้ารอนานก็แจกคูปองให้กินราดหน้าก๋วยเตี๋ยว ลูกค้าก็ชอบมาก พอเขาทานแล้วก็เกรงใจยังไงก็ต้องซื้อแว่นผม ตอนนี้เรามีแชร์ในตลาด 40% กว่า คู่แข่งอันดับสองและสามห่างกันหลายช่วงตัว แสดงว่า ได้แว่นบิวตี้ฟูลมาช่วยกันคู่แข่ง ไม่เดินผ่านท็อปเจริญก็ต้องเดินผ่านบิวตี้ฟูลทำให้ท็อปเจริญเติบโตได้”
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1173507?anm=