เมื่อปีก่อนช่วงละครหนึ่งในร้อยออกอากาศ ฉากสำคัญที่น่าสนใจของเรื่องที่มาทำถ่ายในตำบลนาหมื่นศรี คือ ฉากงานแย่งเรือพระ ซึ่งเราเคยสงสัยว่าประเพณีนี้มีที่มายังไง จนได้ข่าวว่ากำลังจะมีงานนี้ที่วัดหัวเขาในวันที่ ๔ - ๕เมษายน ๒๕๖๘ เราเลยตามไปเก็บภาพและข้อมูลมาฝากกันค่ะ ขอบคุณข้อมูลจากคำบอกเล่าของ นายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี,ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช อดีตนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรังคุณลุงเริญ และนายสำราญ สมาธิ ครูโรงเรียนบ้านต้นบากราษฎร์บำรุงที่ศึกษาประวัติศาสตร์ตรังมานาน
ประเพณีแย่งเรือพระ หรือประเพณีแย่งพระ ตรัง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ หยุดจัดกันไปเมื่อประมาณ ๔๐ - ๕๐ กว่าปีก่อน เพิ่งฟื้นฟูกลับมาใหม่โดยวัดควนขันเป็นแห่งแรก เมื่อปี ๒๕๕๙ มีการปรับเปลี่ยนเป็นงานชักพระเดือน ๕ และยึดคติจัดตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๕ เหมือนกับวัดและชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ที่จัดงานชักพระเดือน ๕ ในคาบสมุทร ต่อมาวัดหัวเขาได้ฟื้นฟูประเพณีแย่งเรีอพระกลับมาตามรูปแบบการแย่งพระของพี่น้องระหว่างชุมชนในลุ่มน้ำคลองนางน้อยจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อประมาณ ๔๐ - ๘๐ ปีที่แล้ว ตาหลวงเอก อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนาภิมุข (วัดปากเหมือง) เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนอย่างมาก ท่านมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประเพณีการชุมนุมเรือพระและแย่งเรือพระในลุ่มน้ำคลองนางน้อย โดยจุดชุมนุมเรือพระที่สำคัญอยู่ที่ทุ่งนาโยงเหนือ ข้างวัดรัตนาภิมุข(วัดปากเหมือง) รวมไปถึงทุ่งนางามข้างวัดพระงาม วัดควนขัน
สำหรับประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนนาหมื่นศรี ขึ้นมาให้คนรุ่นหลังได้เห็นอีกครั้ง รวมถึงการสร้างความรักความสามัคคีในชุมชน และสร้างความร่วมแรงร่วมใจการช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนให้เกิดความรักความสามัคคีในพื้นที่ รวมทั้งยังต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย ส่วนสาเหตุที่จัดขึ้นช่วงนี้เพราะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งคนในพื้นที่เตรียมทำนา แต่บางพื้นที่ยังแห้งแล้งอยู่ จึงจัดประเพณีนี้ขึ้นเพื่อขอฝน เวลาผ่านไปประเพณีนี้ได้หยุดไปประมาณ ๒๐ กว่าปี
ต่อมาเมื่อปี ๒๕๖๔ ผู้ใหญ่ในพื้นที่ตำบลนาโยงใต้ ประกอบด้วย ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช ผู้ใหญ่บ้านของอำเภอนาโยงใต้ หลวงบัตรที่จำวัดอยู่วัดหัวเขา ตาหลวงเริญ ได้พูดคุยถึงประเพณีนี้จึงวางแผนรื้อฟื้นประเพณีนี้ขึ้นมา ซึ่งไม่ง่ายเลย เพราะต้องสร้างเรือพระขึ้นมาใหม่ โดยผู้ให้การสนับสนุนหลัก คือ ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคชนั่นเอง โดยมีลุงเริญ ช่วยหาไม้ และชาวบ้านในพื้นที่มาช่วงลงแรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ จนได้จัดประเพณีแย่งเรือพระขึ้นมาในปี ๒๘ - ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยครั้งนั้นมีนาย นิพันธ์ ศิริธร สส.ตรัง เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานเปิดการแข่งขัน มีผู้ร่วมแข่งขัน ๒ ทีมจากตำบลนาโยงใต้และตำบลนาหมื่นศรี ร้านกวนนิโต้ให้การสนับสนุนเสื้อทีม เป็นงานที่จัดขึ้น โดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี นำโดยนายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกอบต. , องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ นำโดยนายทวี คงบัน อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โดยดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง (ในขณะนั้น) รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 ต.นาโยงใต้, ชาวบ้านตำบลนาโยงใต้ ,ชาวบ้านตำบลนาหมื่นศรี ในวันนี้มีคนสนใจมาร่วมงานกว่า 1,000 คน
หลังจากนั้นประเพณีนี้ได้หยุดพักไป ๑ ปี และเริ่มใหม่ในปี ๒๕๖๖ จึงนับปี ๒๕๖๖ เป็นครั้งที่ ๑ ตำบลใกล้เคียง จนกระทั่งปี ๒๕๖๗ ทีมกองถ่ายละครหนึ่งในร้อยได้มาถ่ายทำละครในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรีในช่วงประเพณีแย่งเรือพระพอดี เราเลยได้เห็นฉากนี้ในละครหนึ่งในร้อยด้วย
สำหรับปี ๒๕๖๘ ประเพณีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๔ - ๕เมษายน ๒๕๖๘ (เร็วขึ้นเพราะช่วงแรม ๑ ค่ำติดสงกรานต์) ณ วัดหัวเขา หมู่ที่ ๘ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง จริง ๆ เดิมทีประเพณีนี้จัดในนา แต่เนื่องจากในนายังมีน้ำขัง และในตรังมีฝนตกในหลายพื้นที่ช่วงจัดงาน เลยเลื่อนจัดแข่งขันในบริเวณวัดหัวเขาแทน โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขัน ๔ ทีม คือ ทีมคลองนางน้อย นาโยงเหนือ นาโยงใต้ และนาหมื่นศรี เพื่อชิงถ้วยรางวัลของ ส.ส. สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังและเงินรางวัล สนับสนุกโดย พีเอสที พาราวู๊ด (โรงงานไม้ หมู่ที่ 4 บ้านไสเดือย ต.นาหมื่นศรี)
โดยในวันที่ ๔ เมษายน เป็นประเพณีสมโภชเรือพระ มีนายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ตำบลนาหมื่นศรี พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรีและพี่น้องประชาชนชาวตำบลนาหมื่นศรี และวันที่ ๕ เมษายน เป็นกิจกรรมแย่งเรือพระ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานมากมาย อาทิ การแสดงบนเวทีจากชมรมแอโรบิค การแสดงไลน์แดนซ์บาสโลบตำบลนาหมื่นศรี เป็นต้น
สำหรับพิธีเปิดการแข่งขันแย่งเรือพระ ในวันที่ 5 เมษายน 2568 เวลา 13.30 น.ได้รับเกียรติจากนางสาวธนิกานต์ หยังสู นายอำเภอนาโยง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมีนายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงานราชการ และพี่น้องประชาชนตำบลนาหมื่นศรีและใกล้เคียงให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ ได้รับเกียรติจากคุณสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง ได้เข้าร่วมกิจกรรมแย่งเรือพระ พร้อมสนับสนุนถ้วยรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันเรือพระ ทั้ง 4 ทีม
สำหรับผลการแข่งขัน ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีมตำบลนาโยงใต้ ,รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมตำบลนาหมื่นศรี ,รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมตำบลนาโยงเหนือ,รองชนะเลิศ อันดับ 3 ได้แก่ ทีมลุ่มน้ำคลองนางน้อย ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
ประเพณีแย่งเรือพระ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจในพื้นที่ เพราะเกิดจากความรักความสามัคคีในชุมชน ภาพที่เราได้เห็น คือ การร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ทั้งผู้ใหญ่ รวมทั้งเด็กเล็ก หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันก็มีการรำกลองยาวกันอย่างสนุกสนาน ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่น่าชื่นชมและอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่คนตรังไปอีกยาวนาน
ขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนทำให้เกิดประเพณีที่น่าชื่นชมนี้ค่ะ
ขอบคุณรูปประกอบช่วงสร้างเรือพระในปี ๒๕๖๔ จาก ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช
ด้านบนเป็นข้อมูล ด้านล่างเป็นภาพประกอบค่ะ
เริ่มจากภาพสร้างเรือพระ ปี 2564 จาก ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช
พระพุทธรูปไม้ในเรือพระจากวัดหัวเขา ห่มผ้าทอนาหมื่นศรี ผ้าพื้นเมืองของตรัง
มาถึงภาพชุด วันงานล่าสุดเมื่อวันที่ 4 - 5 เมษายน 2568 เริ่มจากวันสมโภชเรือพระวันที่ 4
เดินไปหน้าเวทีกันก่อนค่ะ
บริเวณงานมีร้านขายของกินหลากหลาย
ขนมจาก
ชอบข้าวเกรียบว่าว
ข้าวเบายอดม่วง
และตัวอย่างข้าว
เข้าสู่ช่วงสมโภชเรือพระ
ประธานจุดธูป เทียน
คนในพิธี
หลังจากสวดเสร็จพระจะพรมน้ำอบ แล้วนำไปทำพิธีผูกผ้าที่เรือพระ
จากนั้นเป็นช่วงพิธีเปิด
การแสดงช่วงเปิด
คนสนใจกันมาก
พิธีเปิดค่ะ
การแสดงบาสโลบ วันแรกเราดูแค่นี้ค่ะ รอดูวันที่สองกันต่อ
ปิดท้ายวันแรกด้วยต้ม เวลามีเรือพระต้ม หรือข้าวเหนียวสามเหลี่ยมห่อใบพ้อจะมีทุกงานค่ะ
ประเพณีแย่งเรือพระ งานดีดีที่เชื่อมความสามัคคีในชุมชน ของชาวบ้านอำเภอนาโยง ตรัง
ประเพณีแย่งเรือพระ หรือประเพณีแย่งพระ ตรัง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ หยุดจัดกันไปเมื่อประมาณ ๔๐ - ๕๐ กว่าปีก่อน เพิ่งฟื้นฟูกลับมาใหม่โดยวัดควนขันเป็นแห่งแรก เมื่อปี ๒๕๕๙ มีการปรับเปลี่ยนเป็นงานชักพระเดือน ๕ และยึดคติจัดตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๕ เหมือนกับวัดและชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ที่จัดงานชักพระเดือน ๕ ในคาบสมุทร ต่อมาวัดหัวเขาได้ฟื้นฟูประเพณีแย่งเรีอพระกลับมาตามรูปแบบการแย่งพระของพี่น้องระหว่างชุมชนในลุ่มน้ำคลองนางน้อยจนถึงปัจจุบันนี้
เมื่อประมาณ ๔๐ - ๘๐ ปีที่แล้ว ตาหลวงเอก อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนาภิมุข (วัดปากเหมือง) เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนอย่างมาก ท่านมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประเพณีการชุมนุมเรือพระและแย่งเรือพระในลุ่มน้ำคลองนางน้อย โดยจุดชุมนุมเรือพระที่สำคัญอยู่ที่ทุ่งนาโยงเหนือ ข้างวัดรัตนาภิมุข(วัดปากเหมือง) รวมไปถึงทุ่งนางามข้างวัดพระงาม วัดควนขัน
สำหรับประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนนาหมื่นศรี ขึ้นมาให้คนรุ่นหลังได้เห็นอีกครั้ง รวมถึงการสร้างความรักความสามัคคีในชุมชน และสร้างความร่วมแรงร่วมใจการช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนให้เกิดความรักความสามัคคีในพื้นที่ รวมทั้งยังต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อีกด้วย ส่วนสาเหตุที่จัดขึ้นช่วงนี้เพราะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งคนในพื้นที่เตรียมทำนา แต่บางพื้นที่ยังแห้งแล้งอยู่ จึงจัดประเพณีนี้ขึ้นเพื่อขอฝน เวลาผ่านไปประเพณีนี้ได้หยุดไปประมาณ ๒๐ กว่าปี
ต่อมาเมื่อปี ๒๕๖๔ ผู้ใหญ่ในพื้นที่ตำบลนาโยงใต้ ประกอบด้วย ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช ผู้ใหญ่บ้านของอำเภอนาโยงใต้ หลวงบัตรที่จำวัดอยู่วัดหัวเขา ตาหลวงเริญ ได้พูดคุยถึงประเพณีนี้จึงวางแผนรื้อฟื้นประเพณีนี้ขึ้นมา ซึ่งไม่ง่ายเลย เพราะต้องสร้างเรือพระขึ้นมาใหม่ โดยผู้ให้การสนับสนุนหลัก คือ ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคชนั่นเอง โดยมีลุงเริญ ช่วยหาไม้ และชาวบ้านในพื้นที่มาช่วงลงแรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่ จนได้จัดประเพณีแย่งเรือพระขึ้นมาในปี ๒๘ - ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๔ โดยครั้งนั้นมีนาย นิพันธ์ ศิริธร สส.ตรัง เขต 1 พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธานเปิดการแข่งขัน มีผู้ร่วมแข่งขัน ๒ ทีมจากตำบลนาโยงใต้และตำบลนาหมื่นศรี ร้านกวนนิโต้ให้การสนับสนุนเสื้อทีม เป็นงานที่จัดขึ้น โดยองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี นำโดยนายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกอบต. , องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ นำโดยนายทวี คงบัน อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงใต้ และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โดยดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง (ในขณะนั้น) รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 ต.นาโยงใต้, ชาวบ้านตำบลนาโยงใต้ ,ชาวบ้านตำบลนาหมื่นศรี ในวันนี้มีคนสนใจมาร่วมงานกว่า 1,000 คน
หลังจากนั้นประเพณีนี้ได้หยุดพักไป ๑ ปี และเริ่มใหม่ในปี ๒๕๖๖ จึงนับปี ๒๕๖๖ เป็นครั้งที่ ๑ ตำบลใกล้เคียง จนกระทั่งปี ๒๕๖๗ ทีมกองถ่ายละครหนึ่งในร้อยได้มาถ่ายทำละครในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรีในช่วงประเพณีแย่งเรือพระพอดี เราเลยได้เห็นฉากนี้ในละครหนึ่งในร้อยด้วย
สำหรับปี ๒๕๖๘ ประเพณีนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๔ - ๕เมษายน ๒๕๖๘ (เร็วขึ้นเพราะช่วงแรม ๑ ค่ำติดสงกรานต์) ณ วัดหัวเขา หมู่ที่ ๘ ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง จริง ๆ เดิมทีประเพณีนี้จัดในนา แต่เนื่องจากในนายังมีน้ำขัง และในตรังมีฝนตกในหลายพื้นที่ช่วงจัดงาน เลยเลื่อนจัดแข่งขันในบริเวณวัดหัวเขาแทน โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขัน ๔ ทีม คือ ทีมคลองนางน้อย นาโยงเหนือ นาโยงใต้ และนาหมื่นศรี เพื่อชิงถ้วยรางวัลของ ส.ส. สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรังและเงินรางวัล สนับสนุกโดย พีเอสที พาราวู๊ด (โรงงานไม้ หมู่ที่ 4 บ้านไสเดือย ต.นาหมื่นศรี)
โดยในวันที่ ๔ เมษายน เป็นประเพณีสมโภชเรือพระ มีนายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ตำบลนาหมื่นศรี พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง องค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรีและพี่น้องประชาชนชาวตำบลนาหมื่นศรี และวันที่ ๕ เมษายน เป็นกิจกรรมแย่งเรือพระ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานมากมาย อาทิ การแสดงบนเวทีจากชมรมแอโรบิค การแสดงไลน์แดนซ์บาสโลบตำบลนาหมื่นศรี เป็นต้น
สำหรับพิธีเปิดการแข่งขันแย่งเรือพระ ในวันที่ 5 เมษายน 2568 เวลา 13.30 น.ได้รับเกียรติจากนางสาวธนิกานต์ หยังสู นายอำเภอนาโยง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยมีนายวิโรจน์ เยาว์ดำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมื่นศรี ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น หัวหน้าหน่วยงานราชการ และพี่น้องประชาชนตำบลนาหมื่นศรีและใกล้เคียงให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ ได้รับเกียรติจากคุณสุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง ได้เข้าร่วมกิจกรรมแย่งเรือพระ พร้อมสนับสนุนถ้วยรางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมการแข่งขันเรือพระ ทั้ง 4 ทีม
สำหรับผลการแข่งขัน ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีมตำบลนาโยงใต้ ,รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ทีมตำบลนาหมื่นศรี ,รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ทีมตำบลนาโยงเหนือ,รองชนะเลิศ อันดับ 3 ได้แก่ ทีมลุ่มน้ำคลองนางน้อย ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ
ประเพณีแย่งเรือพระ เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจในพื้นที่ เพราะเกิดจากความรักความสามัคคีในชุมชน ภาพที่เราได้เห็น คือ การร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ทั้งผู้ใหญ่ รวมทั้งเด็กเล็ก หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันก็มีการรำกลองยาวกันอย่างสนุกสนาน ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่น่าชื่นชมและอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่คนตรังไปอีกยาวนาน
ขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนทำให้เกิดประเพณีที่น่าชื่นชมนี้ค่ะ
ขอบคุณรูปประกอบช่วงสร้างเรือพระในปี ๒๕๖๔ จาก ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช
ด้านบนเป็นข้อมูล ด้านล่างเป็นภาพประกอบค่ะ