กระทู้ รถไฟฟ้าเชียงใหม่ ถูกลบ tags จังหวัดเชียงใหม่ และ ภาคเหนือ เพราะ เหตุใดคะ?

32 ปีแห่งเจตนารมณ์: คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล : รถไฟฟ้าเชียงใหม่

แผนการสร้างระบบรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่แท้จริงแล้วมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2536 หรือกว่า 32 ปีมาแล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ของ คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ขณะดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย คนที่ 5

ในยุคนั้น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไม่ได้มีภารกิจเพียงแค่ดูแลทางพิเศษเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทเป็นหน่วยงานหลักในการวางรากฐานระบบขนส่งมวลชนของประเทศ และหนึ่งในโครงการใหญ่ที่คุณพ่อสุขวิช รังสิตพลผลักดัน คือ “แผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในหัวเมืองหลัก 8 แห่ง” ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สงขลา และภูเก็ต

เชียงใหม่ในเวลานั้นได้รับการจัดลำดับความสำคัญเป็นอันดับสอง รองจากกรุงเทพมหานคร เพราะมีศักยภาพทั้งในด้านการท่องเที่ยวระดับโลก และบทบาททางเศรษฐกิจของภาคเหนือ หากได้รับการสนับสนุนด้วยระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ ก็จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และยังสามารถ ลดความแออัดในกรุงเทพฯ ทางอ้อม ได้อีกด้วย

หลังจากแผนแม่บทแล้วเสร็จ โครงการได้รับการสานต่อโดยหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่, และ สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบของโครงการถูกปรับเปลี่ยนหลายครั้ง จาก LRT (รถไฟฟ้ารางเบา) ไปสู่ BRT (รถโดยสารด่วนพิเศษ) และล่าสุดเป็น Tram (รถราง) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อจำกัดด้านพื้นที่ งบประมาณ และความเหมาะสมของเมืองในแต่ละยุค

แม้โครงการจะล้มแล้วล้มเล่า จนหลายคนหมดหวัง แต่แนวคิดที่ริเริ่มโดยสุขวิช ได้กลายเป็น รากฐานทางนโยบายที่มั่นคงและในที่สุด ในปี พ.ศ. 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็ประกาศเดินหน้าโครงการอีกครั้ง โดยเตรียมจ้างที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดประมูลให้เกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ ?

คุณพ่อสุขวิช: นักการเมืองนักพัฒนา ผู้มองเห็นอนาคต

นอกเหนือจากบทบาทผู้วางรากฐานด้านการคมนาคม คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในยุคอภิวัฒน์การศึกษา ปี พ.ศ. 2538
เนื่องจากประเทศไทยขาดการบันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเยาวชนไทยขาดความรู้เกี่ยวกับรากเหง้าของตนเอง จึงได้ผลักดันกฎกระทรวงที่ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ขึ้นทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2539 ส่งผลให้เกิดพิพิธภัณฑ์นับร้อยแห่งทั่วประเทศในช่วงเวลาต่อมา

แต่น่าเสียดายที่ผลงานของนักการเมืองเชิงพัฒนามักถูกมองข้ามในหน้าประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของไทย ต่างจากประเทศที่เจริญแล้วซึ่งรู้คุณค่าของผู้นำเชิงนโยบาย และบันทึกเรื่องราวของพวกเขาไว้เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับคนรุ่นหลัง

แผนการสร้างรถไฟฟ้าเชียงใหม่ในวันนี้ อาจเป็นโอกาสให้ นักเขียนไทยในทุกวงการ บันทึกเรื่องราวของนักการเมืองอย่างคุณพ่อสุขวิช รังสิตพล ให้ครบถ้วน

นักการเมือง ผู้ทำงานการเมืองทำงานการเมือง เพื่อวางรากฐาน สำหรับอนาคตของประเทศ — และอนาคตของประชาชน


แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่