JJNY : ไอซ์ชี้ ถึงเวลาปฏิรูปกสทช.│ผู้ว่าฯ ชัชชาติขอให้ตรวจสอบอาคาร│เปิดคำสั่ง ประธานกสทช.│ความช่วยเหลือหลั่งไหลไปเมียนมา

ไอซ์ รักชนก ชี้ ถึงเวลาปฏิรูปกสทช.ทั้งระบบ หลังวิกฤตแผ่นดินไหว
https://www.matichon.co.th/local/news_5116473
.
.
ไอซ์ รักชนก ร่ายยาว ชี้ถึงเวลาปฏิรูปกสทช.ทั้งระบบ หลังวิกฤตแผ่นดินไหว
.
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม น.ส.รักชนก ศรีนอก ส.ส.กทม. พรรคประชาชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงการทำงานของ กสทช. หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการได้รับข้อความแจ้งเตือนเรื่องแผ่นดินไหวที่ล่าช้า
.
โดยระบุข้อความว่า
.
วิกฤตครั้งนี้น่าจะทำให้ประชาชนได้เห็นชัดเจนขึ้นว่า กสทช. คืออีกองค์กรที่ควรถูกปฏิรูปทั้งระบบ หากดูจากผลงานที่ผ่านมา จะเห็นว่า กสทช. ดำเนินการอย่างไม่ต้องความรับผิดรับชอบต่อสังคม เพราะที่มาไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินการอย่างอิสระเพื่อให้ทำงานอย่างตรงไปตรงมาไม่ต้องเกรงใจฝ่ายการเมืองหรือกลุ่มทุน แต่กลับกลายเป็นว่า ที่ผ่านมาก็ชัดเจนแล้วว่ามีบางคนที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนค่ายมือถือ!!
.
พฤติกรรมก็ ตั้งแต่
.
1) ปล่อยให้เกิดการควบรวมค่ายมือถือ จากที่มีผู้แข่งขันน้อยรายอยู่แล้ว ตอนนี้แทบกลานเป็นตลาดผูกขาด โดยประธาน กสทช เป็นเสียงชี้ขาด บอกว่าห้ามไม่ได้รับทราบได้อย่างเดียว
.
2) มาตรการที่อ่อนแอในการบังคับค่ายมือถือให้จัดการเรื่องซิมม้าเบอร์ม้า ทั้งๆที่ค่ายมือถือจงใจขายซิมให้แก๊งคอลเซนเตอร์ แม้รู้ปัญหาแต่ก็ไม่จัดการ ไม่เคยมีค่ายมือถือใดถูกลงโทษ ที่ปล่อยปละละเลยเรื่องซฺม แถมยังออกแพคเกจป้องกันภัยไซเบอร์มาขายหากินบนความเดือดร้อนของประชาชน
.
3) ความล่าช้าในการจัดการเสาร์สัญญาณอินเตอร์ชายแดน ที่ส่งเนตให้แก๊งคอลเซนเตอร์
.
4) ความไม่โปร่งใสในการใช้เงินของกองทุนหลายพันล้าน กองทุน กทปส ที่กลายเป็นบ่อเงินบ่อทองให้ผู้มีอำนาจควักไปใช้ตามใจชอบ
.
5) บอร์ดที่มาจากสัดส่วนคุ้มครองผู้บริโภค ปี ‘พิรงรอง รามสูต’ ถูกทรูฟ้อง 157 ทั้งๆ ที่ทำตามหน้าที่ แต่กลับไม่มีใครทั้งบอร์ดและสำนักงานออกมาปกป้องสักคน แถมยังโดนซ้ำเติมอีก
.
จนมาถึงตอนนี้ ก็เรื่องการแจ้งเตือนภัยพิบัติ
.
ถามว่าทำงานห่วยแบบนี้ ใครเลือกมา? คำตอบคือชุดก่อนหน้านี้มาจากรัฐบาล คสช. ส่วนชุดล่าสุด บางส่วนยังเกี่ยวข้องกับ รัฐบาล คสช. เพราะโหวตถูกรับรองโดย ส.ว. ชุดที่แล้ว!!
.
จะบอกว่าที่มาจากการรัฐประหารก็คงไม่ผิดซะทีเดียว ซึ่งก็ไม่มีความยึดโยงอะไรกับประชาชนทั้งสิ้น!! แถมประชาชนหรือแม้แต่สภา ก็ไม่สามารถถอดถอนได้ ไม่ว่าทำงานอย่างไร้ประสิทธิภาพแค่ไหน ก็ต้องปล่อยเน่าคาเก้าอี้หมดสมัยอยู่แบบนั้น เพราะกฎหมายไม่ได้เปิดช่องไว้
.
ทีนี้มาต้องถามรัฐบาล ถึงเวลาที่เราต้องแก้กฎหมาย เพื่อทำให้ กสทช. ยึงโยงกับประชาชน รับใช้ประชาชนจริงๆ สักทีได้หรือยัง นี่ก็เป็นอีกองค์กร ที่ควรถูกรื้อและถูกขุดแบบถอนรากถอนโคน !!
.
รอเสร็จงานก่อน แล้วจะทยอยมาเขียนเล่าให้ฟังต่อ
.
ทั้งนี้ รักชนก ยังได้แสดงความคิดเห็นได้โพสต์ของตนเองเิ่มเติมว่า
.
“เรื่องนี่ต้องบอกว่าเข้าใจความโกรธนายกเลย เพราะมันน่าโมโหจริงๆ!”
.
https://www.facebook.com/nanaicez112/posts/pfbid02iiRttHxCVtZz6CttrJfiP3ERzjEPdmvS8c5kQ5MH7yADceDmfY6dEN5bBzsF6keSl
.

.
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ออกหนังสือขอให้เจ้าของอาคาร ตรวจสอบอาคารภายใน 2 สัปดาห์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9696748
.
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ออกหนังสือขอให้เจ้าของอาคาร ผู้ครอบครองอาคาร ตรวจสอบอาคารภายใน 2 สัปดาห์
.
วันที่ 30 มี.ค. 68 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามในหนังสือ ขอให้เจ้าของอาคาร หรือผู้ครอบครองอาคาร ประสานผู้ตรวจสอบอาคารเข้าทำการตรวจสอบความเสียหาย เพื่อประเมินวิธีการปรับปรุง แก้ไข ซ่อมแซ่ม หรือเสริมกำลังของอาคาร เพื่อให้อาคารมีความปลอดภัย มั่นคง แข็งแรง ต่อการใช้งานตามหลักวิศวกรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
.
ขอให้รายงานผลต่อกรุงเทพมหานครทุกวัน ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนสามารถกลับเข้าใช้อาคารได้อย่างปลอดภัย โดยให้เจ้าของอาคาร หรือผู้ครอบครองอาคารสามารถรายงานผลให้กรุงเทพมหานครทราบทุกวัน ผ่านระบบ Google form ตามลิงก์ https://forms.gle/4dxiHsZCZZpbiGkQA หรือ QR code
.
โดยมุ่งเน้นไปที่ เจ้าของอาคาร 9 ประเภท ที่เข้าข่ายต้องทำการตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรม สถานบริการ อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม โรงงาน ป้าย
.
ซึ่งการให้รายงานในระยะเวลา 2 สัปดาห์ ก็เพื่อให้สามารถเฝ้าติดตามจุดเสี่ยง ร้อยร้าว ความเสียหายของอาคาร มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ยังใช้สอยได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ โดยใน Google Form จะให้ระบุชื่อเจ้าของอาคาร ชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร เลขที่ผู้ตรวจสอบอาคาร และความคิดเห็นผู้ตรวจสอบอาคาร ว่าอาคารปลอดภัย หรือต้องปรับปรุง เพื่อให้กรุงเทพมหานครได้ทราบภาพรวมของอาคารในกรุงเทพฯ ผ่านความร่วมมือของผู้ตรวจสอบอาคาร
.
1. อาคารสูง (ความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป)
2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่มีเนื้อที่อาคารรวมกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป)
3. อาคารชุมนุมคน ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตร ขึ้นไป หรือจำนวนคนตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
4. โรงมหรสพ
5. โรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้อง ขึ้นไป
6. สถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป
7. อาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (หอพัก อะพาร์ตเม้นต์) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
8. โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
9. ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย ซึ่งมีความสูงจากพื้นดิน ตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตร ขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้า ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตร ขึ้นไป
.
พร้อมกันนี้ ขอความให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้ง ต้องตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยของปั้นจั่นหอสูงและเดอริกเครนในสถานที่ก่อสร้างก่อนการใช้งาน เพื่อป้องกันมิให้เกิดภัยอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน
.

.
เปิดคำสั่ง ประธานกสทช. ห้ามกก.สั่งการสนง หากปธ.ไม่มอบ ใครฝ่าฝืนผิดวินัย
https://www.matichon.co.th/economy/news_5116566
.
เปิดคำสั่ง ประธานกสทช. ห้ามกก.สั่งการสนง หากปธ.ไม่มอบ ใครฝ่าฝืนผิดวินัย
.
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม จากกรณีเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่ประเทศเมียนมา และกระทบมาถึงไทยในหลายพื้นที่ ทำให้ตึกอาคารก่อสร้างของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพังถล่มลงมา จนกระทั่งเกิดการตั้งคำถามถึงการแจ้งเตือนหลังเกิดแผ่นดินไหว ในเรื่องเอสเอ็มเอส ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสานไปยัง กสทช. แต่เกิดความล่าช้า
.
ล่าสุด พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า กสทช.ทำอะไรไม่ได้มาก เพราะหากกรรมการ กสทช.จะให้สำนักงานดำเนินการใดๆ ต้องให้ประธานมอบหมายก่อน
.
ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ามีคำสั่งดังกล่าวจริง โดยเป็นบันทึกข้อความลงนามโดยศาสตราจารย์คลินิก สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ทำถึงเลขาธิการ กสทช. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566
.
เนื้อหาระบุว่า ด้วยปรากฏว่าการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช.ที่ผ่านมาเกิดปัญหาการบริหารภายในสำนักงาน กสทช. อันเกิดจากความไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่และอำนาจของตนตามกฎหมายทั้งในส่วนของผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติ
.
เกิดการดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง ละเลย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำการข้ามขั้นตอนการปฏิบัติและสายการบังคับบัญชา และหากปล่อยให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวดำรงอยู่โดยไม่มีการแก้ไข จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อ
ภาพลักษณ์และการปฏิบัติงานของสำนักงาน กสทช. ที่มีหน้าที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ดังที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อสาธารณะ
.
เพื่อให้พนักงานสำนักงาน กสทช.ทุกคนเข้าใจในบทบาทหน้าที่และอำนาจตามตำแหน่งและสายการบังคับบัญชาอย่างถูกต้องตรงกัน และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเรียบร้อยราบรื่นตามสายการบังคับบัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความขัดแย้ง เพิ่มความเข้าใจและร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติงาน เพื่อนำพาสำนักงาน กสทช. ไปสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำในระดับอาเซียนในการกำกับดูแลและพัฒนากิจการสื่อสารเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้
.
อาศัยอำนาจตามมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
.
จึงให้แจ้งพนักงาน สำนักงาน กสทช. ทุกคนเพื่อทราบและถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
.
1. สำนักงาน กสทช. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธาน กสทช. (มาตรา 56)

2. เลขาธิการ กสทช. ขึ้นตรงต่อประธาน กสทช. และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน กสทช. (มาตรา 60)

3. ”กสทช.” หมายความว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวนเจ็ดคน (มาตรา 6)
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (มาตรา 4)
กสทช.อาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ตามมาตรา 33/1 หรือ มอบหมายให้สำนักงานปฏิบัติการอื่นตามมาตรา 57 (7)
.
3.1 ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใด ให้อำนาจกรรมการ มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. หรือพนักงาน ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติการอื่นใดได้โดยตรง
3.2 ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใด กำหนดให้ กสทช. และ/หรือ กรรมการมีหน้าที่และอำนาจในการบริหาร กำกับดูแล ควบคุม สังการหรือประเมินผล สำนักงาน กสทช.ส่วนงานภายในหรือพนักงาน
.
6 ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่