เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/financial_planning/2849334
เคยสงสัยกันไหม? ว่าทำไม “คนรวย” ถึงยิ่งรวยขึ้น ในขณะที่คนทั่วไป หรือ มนุษย์เงินเดือน ยังคงต้องดิ้นรนรายวัน นอกจากคนรวยเหล่านั้น มีเงินทองมากมาย ต่อยอด ใช้เงินทำงานแทนแรง สร้างโอกาส เพิ่มพูนความมั่นคั่งไม่รู้จบ ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น
ประเด็น พื้นฐานจากความแตกต่างในระบบภาษี และการวางแผนจัดการเงินอย่างชาญฉลาด ระหว่างคนรวยและคนทั่วไป ก็เป็นอีกเรื่องที่อาจตอบคำถามในเรื่องนี้ได้เหมือนกัน
จนมีคำกล่าวที่ว่า “คนรวยบางคน อาจเสียภาษีต่ำกว่าคนเงินเดือน 50,000 บาท เสียด้วยซ้ำ” แล้วทำไม คนรวยถึงเสียภาษีน้อยกว่า
เพราะไทยมีอัตราภาษีไม่เท่ากัน
ระบบภาษีของประเทศไทย มีอัตราภาษีที่ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ เช่น
รายได้จากเงินเดือน
รายได้จากการลงทุน
รายได้จากธุรกิจต่างๆ
สำหรับ คนที่มีรายได้จากเงินเดือน (เช่น มนุษย์เงินเดือน) จะเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดในแต่ละช่วงรายได้
0-150,000 บาทแรก ไม่เสียภาษี
150,001 - 300,000 บาท เสีย 5%
300,001 - 500,000 บาท เสีย 10%
500,001 – 750,000 บาท เสีย 15%
750,001 – 1,000,000 บาท เสีย 20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท เสีย 25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท เสีย 30%
รายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป เสีย 35%
ส่วนคนที่มีรายได้จากการลงทุน (เช่น การลงทุนในหุ้น, อสังหาริมทรัพย์) อาจได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีบางประเภทหรือใช้กลยุทธ์ลดภาษีที่มีอยู่ในระบบมากมาย
แล้วคนรวยเสียภาษีน้อยกว่าได้ยังไง?
ต้องเข้าใจก่อนว่า “คนรวย” ไม่ได้รับรายได้จากเงินเดือน เหมือนมนุษย์เงินเดือนทั่วไป และยังสามารถ สร้างโครงสร้างรายได้ ให้เสียภาษีน้อยที่สุดได้ เช่น การรับเงินเป็น "กำไรจากการลงทุน" ในหุ้น
นอกจากนี้ ลึกลงไป คนรวย ยังมีแนวทางการจัดการรายได้หลายแบบ ทำให้โอกาสในการ “เสียภาษี” น้อยลงได้ แถมยังไม่ผิดต่อข้อกฎหมาย ขณะที่บางคน มีการวางแผนภาษีแบบดุดัน (Aggressive tax planning) รัดกุมสุดๆ โดยที่กฎหมายก็เอาผิดไม่ได้เช่นกัน
คล้ายกรณี นายกฯกับภาษี ที่เป็นประเด็นร้อนทางการเมืองและสังคมไทย อยู่ในขณะนี้ โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ออกมาให้ข้อมูลและแง่มุมชวนคิดว่า แม้กฎหมายจะกำหนดให้คนไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่มีกฎหมายข้อไหนบังคับให้ต้องเสียภาษีแพงที่สุดเท่าที่จะเสียได้
การเลือกหนทางที่ทำให้ตัวเองเสียภาษีน้อยที่สุด ย่อมเป็นสิทธิที่สามารถทำได้ทราบเท่าที่เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก่อนกรมสรรพากร ออกมาชี้แจง ว่า ท้ายที่สุดแล้ว แม้นายกฯและครอบครัว ทำธุรกรรม ผ่านการออกตั๋ว P/N แต่เมื่อนายกฯ จ่ายเงินแล้ว ผู้ขายจะต้องยื่นแบบฯ ในปี 2570 ในประเภทเงินได้ เกินกว่าที่ลงทุน (Capital Gains)
…..
เคล็ดลับส่งต่อความร่ำรวย ที่คนทั่วไป ทำไม่ได้
อ่านต่อฉบับเต็มที่ลิ้งค์ข้างต้น
ทำไม “คนรวย”บางคน เสียภาษีน้อยกว่า มนุษย์เงินเดือน “รวยแล้วรวยอีก” ส่งต่อความมั่งคั่งไม่รู้จบ
https://www.thairath.co.th/money/personal_finance/financial_planning/2849334