งานวิจัยพบว่า นกกว่า 176 สายพันธุ์นำขยะมาประกอบเป็นรัง โดยวัสดุแตกต่างกันตามภูมิภาค

นกคู้ตในอัมสเตอร์ดัมหันมาใช้ขยะพลาสติก สร้างรังแทนกิ่งไม้ เพราะมีความแข็งแรงกว่า ศึกษาพบว่านกกว่า 176 สายพันธุ์ใช้ขยะจากมนุษย์ทำเป็นรัง

รังนกมีมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของนกแต่ละสายพันธุ์ บางชนิดนำเศษกิ่งไม้มาสานต่อกันเป็นรังอยู่บนยอดไม้ บางชนิดยิ้มน้ำลายทำเป็นรัง เช่น นกนางแอ่น แต่โดยรวมแล้ว วัสดุหลักที่นกใช้ทำรังก็ทำมาจากวัสดุในธรรมชาติ

การค้นพบในครั้งนี้เริ่มต้นจากการที่ Auke-Florian Hiemstra นักชีววิทยา และนักนิเวศวิทยา ศึกษารังนกในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ สิ่งที่เขาค้นพบคือ รังนกส่วนใหญ่มีขยะพลาสติกผสม ๆ อยู่

ขยะที่เขาเจอในรังนก ยกตัวอย่างเช่น หน้ากากอนามัยป้องกันโควิด-19 บรรจุภัณฑ์ของ McDonald เรื่อยไปถึงกระดาษห่อช็อกโกแลตที่วางขายในงานฟุตบอลโลกปี 1994 หรือมีอายุราว 30 ปี
  
Hiemstra เปิดเผยว่า นกคู้ตจะไม่ใช้รังเดิม เนื่องจากวัสดุมันค่อนข้างไม่แข็งแรง เพราะส่วนใหญ่เป็นวัสดุจากธรรมชาติ แต่ตอนนี้กลับพบว่ามันกลับนำขยะพลาสติกมาใช้ซ้ำเวลาไปสร้างรังใหม่ เพราะมีความแข็งแรงมากกว่า
 
ขยะพลาสติกอันตรายต่อนกหรือไม่ ?

เมื่อนกใช้ขยะพลาสติกที่เรา ๆ ทิ้งกันทำเป็นรัง จึงเกิดความกังวลว่ามันจะมีอันตรายต่อนกหรือไม่ ก่อนหน้านี้จึงมีการศึกษารังของนกป่ามากกว่า 35,000 รัง ผลพบว่านกกว่า 176 สายพันธุ์ใช้ขยะจากมนุษย์ทำเป็นรัง

ทีมนักวิจัยจำแนกวัสดุที่นกใช้ทำเป็นรังไว้อย่างละเอียดว่า นกทั่วโลกจะใช้วัสดุแตกต่างกัน นกในออสเตรเลียมักจะใช้ตาข่ายจับปลา นกในอเมริกาใต้มักใช้ก้นบุหรี่ ส่วนนกกระสามักจะใช้กระดาษแข็ง ฟอยล์ และนกในยุโรปมักใช้ขยะพลาสติก

Zuzanna Jagiełło นักปักษีวิทยา เปิดเผยว่า เรื่องนี้น่าเป็นห่วงเพราะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าวัสดุดังกล่าวสามารถทำร้ายลูกนกและแม้แต่ลูกนกที่โตเต็มวัยได้”

อ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่นี่ https://www.springnews.co.th/keep-the-world/environment/856431
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่