ขอบคุณที่มา:
https://mgronline.com/indochina/detail/9680000022108?tbref=hp
MGR Online - โฆษกสภาบริหารแห่งรัฐพม่ายืนยัน ที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของพม่าอยู่ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ห่างจากกรุงเทพฯ 300 กิโลเมตร
วันที่ 5 มีนาคม 2568 พล.ต.ส่อมินทูน โฆษกสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) พม่า เปิดเผยว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายจะถูกใช้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขนาดกำลังการผลิต 110 เมกะวัตต์ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างพม่าและรัสเซีย และเป็น 1 ใน 10 ข้อตกลงที่พม่าและรัสเซียได้มีการลงนามกันระหว่างการเดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธาน SAC ซึ่งได้มีการพบและเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา
โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะใช้เทคโนโลยีของรัสเซียซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับพม่าเพื่อร่วมกันพัฒนาการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้อย่างสันติมาตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565
พล.ต.ส่อมินทูนบอกกับสื่อมวลชนว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถือเป็นจุดสำคัญประการแรกของรัสเซีย ในการลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งรัสเซียให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตั้งอยู่ตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญในภาคใต้ของพม่า ใกล้กับช่องแคบมะละกา
สถานที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย อยู่ริมชายหาดในเขตนะบูแล จังหวัดทวาย ภาคตะนาวศรี ห่างจากตัวเมืองทวายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 17 ไมล์ หรือประมาณ 27 กิโลเมตร
ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พม่า ท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย อยู่ห่างจากชายแดนไทยที่บ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 132 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 300 กิโลเมตร ห่างจากโครงการอิสเทิร์นซีบอร์ดของไทย 450 กิโลเมตร.
จับตา! พม่าสร้าง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 110 MW” ที่ทวายห่างกรุงเทพฯ 300 กม.
ขอบคุณที่มา: https://mgronline.com/indochina/detail/9680000022108?tbref=hp
MGR Online - โฆษกสภาบริหารแห่งรัฐพม่ายืนยัน ที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของพม่าอยู่ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ห่างจากกรุงเทพฯ 300 กิโลเมตร
วันที่ 5 มีนาคม 2568 พล.ต.ส่อมินทูน โฆษกสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) พม่า เปิดเผยว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายจะถูกใช้เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขนาดกำลังการผลิต 110 เมกะวัตต์ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างพม่าและรัสเซีย และเป็น 1 ใน 10 ข้อตกลงที่พม่าและรัสเซียได้มีการลงนามกันระหว่างการเดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของ พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธาน SAC ซึ่งได้มีการพบและเจรจากับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา
โรงไฟฟ้าแห่งนี้จะใช้เทคโนโลยีของรัสเซียซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับพม่าเพื่อร่วมกันพัฒนาการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้อย่างสันติมาตั้งแต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565
พล.ต.ส่อมินทูนบอกกับสื่อมวลชนว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถือเป็นจุดสำคัญประการแรกของรัสเซีย ในการลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งรัสเซียให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะตั้งอยู่ตรงจุดยุทธศาสตร์สำคัญในภาคใต้ของพม่า ใกล้กับช่องแคบมะละกา
สถานที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย อยู่ริมชายหาดในเขตนะบูแล จังหวัดทวาย ภาคตะนาวศรี ห่างจากตัวเมืองทวายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 17 ไมล์ หรือประมาณ 27 กิโลเมตร
ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พม่า ท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย อยู่ห่างจากชายแดนไทยที่บ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 132 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 300 กิโลเมตร ห่างจากโครงการอิสเทิร์นซีบอร์ดของไทย 450 กิโลเมตร.