อยู่ๆ ก็เกิดสมมติฐานบางอย่าง หลังจากเห็น ปธน ยูเครน ทะเลาะกับ ปธน อเมริกา
ผมว่าคนเรา มีสองแนว
1. แนวแรก คือ เมื่อมีหลักการอะไรสักอย่าง ที่คิดว่ายุติธรรม ตัดสินด้วยแนวคิดแบบคนที่มีคุณธรรม มีสามัญสำนึก ก็จะต้องเดินทางเส้นนี้เสมอ พร้อมเหนี่ยวนำให้คนมาทำตามหลักการนี้
2. แนวที่สอง คือ มีหลักการเหมือนกันแหละ แต่ก็ต้องดู เรื่องอิทธิพล ดูคนที่มีอำนาจด้วย ต้องเคารพผู้ใหญ่ ผู้ที่บุกเบิกมาก่อน เขาอาจสร้างกฎได้
******************
1. อย่างแนวคิดแรกผมว่ามีความเหมือนส้ม เหมือนยูเครน...
ตัวอย่าง คิดหลักการง่ายๆ ยูเครนเป็นประเทศ ต้องมีอำนาจอธิปไตย จะเลือกเข้า NATO ก็เป็นสิทธิ์ของเขา แต่ละประเทศมีสิทธิ์จะเข้าไม่เข้าอะไรก็ได้ มันเป็นหลักการที่ปกติควรเป็น
หรือเรื่องการที่ไม่สนว่าคุณจะเป็น Elite ของประเทศ ขนาดไหนก็ตาม ใหญ่ขนาดไหน ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบเท่าๆกัน มีอะไรไม่ชอบมาพากล ต้องตรวจสอบได้ ต้องพูดถึงได้ วิจารณ์ได้ คนเราเท่ากัน
2. แต่ถ้าแนวคิดที่สอง มันคือแนวคิดว่าผู้มีอิทธิพล มีกองทัพใหญ่ มีอำนาจ พวกนี้เราต้องอลุ่มอล่วย ทำตามหลักการของเขา จะไม่สามารถใช้หลักการแบบยุติธรรมเป๊ะๆได้ เพราะเขาอาจเคยเป็นผู้เสียสละในอดีตมาก่อน เขาควรได้สิทธิ์นั้น
ก็น่าจะแบบคนเชียร์รัสเซีย เชียร์พรรค conservative
เช่น เรื่องแนวเขตทะเลของจีน ที่มันย้วยลากลงมาแบบแปลกๆ เห็นแล้วก็ขัดใจกับหลักการ แต่มันเป็นแบบนั้นได้เพราะเขามีอำนาจเหนือกว่า เลยกำหนดกฎได้
หรือเรื่องการควบกิจการใหญ่ๆ ที่ปกติไม่น่าทำได้ ก็สามารถทำให้ไม่ผิดได้
************************
พอมาเห็นสอง ปธน ทะเลาะกัน
ก็เริ่มๆคิด ว่าเออ พอมองมหภาค โลกเรา ก็อยู่กันมาด้วยแนวคิดที่สองนี่นา คนมีอำนาจ rule the world นี่หว่า
แต่คนแบบแรก ก็กระตุ้นให้โลกเราเข้าสู่ความยุติธรรม เข้าสู่หลักการที่ควรเป็น มากขึ้น เร็วขึ้น
*************************
ตอนนี้เลยรู้สึกว่า
คนรุ่นใหม่ๆ จะเป็นแบบที่ 1 แล้วพอเข้าใจโลกมากขึ้น จะเริ่มๆ ค่อยๆ accept แบบที่ 2 บางส่วนอาจกลายพันธุ์เป็นแบบที่ 2
ทุกท่านคิดเห็นเช่นไรครับ
คนที่เชียร์รัสเซีย กับคนที่เชียร์ยูเครน... หรือคนที่เชียร์ส้ม กับเชียร์ฝั่ง conservative มันสัมพันธ์กับแนวคิดบางอย่างไหม
ผมว่าคนเรา มีสองแนว
1. แนวแรก คือ เมื่อมีหลักการอะไรสักอย่าง ที่คิดว่ายุติธรรม ตัดสินด้วยแนวคิดแบบคนที่มีคุณธรรม มีสามัญสำนึก ก็จะต้องเดินทางเส้นนี้เสมอ พร้อมเหนี่ยวนำให้คนมาทำตามหลักการนี้
2. แนวที่สอง คือ มีหลักการเหมือนกันแหละ แต่ก็ต้องดู เรื่องอิทธิพล ดูคนที่มีอำนาจด้วย ต้องเคารพผู้ใหญ่ ผู้ที่บุกเบิกมาก่อน เขาอาจสร้างกฎได้
******************
1. อย่างแนวคิดแรกผมว่ามีความเหมือนส้ม เหมือนยูเครน...
ตัวอย่าง คิดหลักการง่ายๆ ยูเครนเป็นประเทศ ต้องมีอำนาจอธิปไตย จะเลือกเข้า NATO ก็เป็นสิทธิ์ของเขา แต่ละประเทศมีสิทธิ์จะเข้าไม่เข้าอะไรก็ได้ มันเป็นหลักการที่ปกติควรเป็น
หรือเรื่องการที่ไม่สนว่าคุณจะเป็น Elite ของประเทศ ขนาดไหนก็ตาม ใหญ่ขนาดไหน ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบเท่าๆกัน มีอะไรไม่ชอบมาพากล ต้องตรวจสอบได้ ต้องพูดถึงได้ วิจารณ์ได้ คนเราเท่ากัน
2. แต่ถ้าแนวคิดที่สอง มันคือแนวคิดว่าผู้มีอิทธิพล มีกองทัพใหญ่ มีอำนาจ พวกนี้เราต้องอลุ่มอล่วย ทำตามหลักการของเขา จะไม่สามารถใช้หลักการแบบยุติธรรมเป๊ะๆได้ เพราะเขาอาจเคยเป็นผู้เสียสละในอดีตมาก่อน เขาควรได้สิทธิ์นั้น
ก็น่าจะแบบคนเชียร์รัสเซีย เชียร์พรรค conservative
เช่น เรื่องแนวเขตทะเลของจีน ที่มันย้วยลากลงมาแบบแปลกๆ เห็นแล้วก็ขัดใจกับหลักการ แต่มันเป็นแบบนั้นได้เพราะเขามีอำนาจเหนือกว่า เลยกำหนดกฎได้
หรือเรื่องการควบกิจการใหญ่ๆ ที่ปกติไม่น่าทำได้ ก็สามารถทำให้ไม่ผิดได้
************************
พอมาเห็นสอง ปธน ทะเลาะกัน
ก็เริ่มๆคิด ว่าเออ พอมองมหภาค โลกเรา ก็อยู่กันมาด้วยแนวคิดที่สองนี่นา คนมีอำนาจ rule the world นี่หว่า
แต่คนแบบแรก ก็กระตุ้นให้โลกเราเข้าสู่ความยุติธรรม เข้าสู่หลักการที่ควรเป็น มากขึ้น เร็วขึ้น
*************************
ตอนนี้เลยรู้สึกว่า
คนรุ่นใหม่ๆ จะเป็นแบบที่ 1 แล้วพอเข้าใจโลกมากขึ้น จะเริ่มๆ ค่อยๆ accept แบบที่ 2 บางส่วนอาจกลายพันธุ์เป็นแบบที่ 2
ทุกท่านคิดเห็นเช่นไรครับ