รัฐบาลสหรัฐฯ ส่อเค้าปฏิเสธการสนับสนุนร่างมติสหประชาชาติเพื่อประณามรัสเซีย เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี ของสงครามในยูเครนต้นสัปดาห์หน้า ท่ามกลางสัญญาณความบาดหมางระหว่างผู้นำของสองประเทศที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
วันนี้ (21 ก.พ.2568) Reuters รายงานอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวด้านการทูต โดยระบุว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจจะไม่ร่วมสนับสนุนร่างมติสหประชาชาติ ที่เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหาร และเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปีของสงครามในวันที่ 24 ก.พ.นี้
เนื้อหาของร่างมติดังกล่าว เรียกร้องให้คู่ขัดแย้งลดระดับความรุนแรง ยุติการสู้รบโดยเร็ว และแก้ปัญหาสงครามในยูเครนด้วยสันติวิธี ตามกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ
ขณะที่แหล่งข่าวภายใน อ้างว่า ร่างมติฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากมากกว่า 50 ประเทศ ซึ่งสถานการณ์เวลานี้คือสหรัฐฯ ไม่ยอมร่วมด้วย และกำลังมีความพยายามแสวงหาเสียงสนับสนุนจากประเทศอื่น ๆ รวมถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มต้นสงครามที่สหรัฐฯ ไม่ร่วมสนับสนุนมติสหประชาชาติเพื่อประณามรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความบาดหมางระหว่าง ทรัมป์และโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน หลังจากก่อนหน้านี้ ทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีว่าเป็นเผด็จการ
นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า สหรัฐอเมริกาคัดค้านข้อความในแถลงการณ์ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือ G7 ที่กำลังจะเผยแพร่ในสัปดาห์หน้า ซึ่งประณามการรุกรานของรัสเซีย หลังจากแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G7 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ใช้คำว่าสงครามอันเลวร้ายของรัสเซียในยูเครน แต่ไม่ได้กล่าวถึงการรุกรานโดยตรง
https://www.thaipbs.or.th/news/content/349540
สหรัฐฯ ไม่หนุนร่างมติ UN ประณามรัสเซีย ครบ 3 ปี สงครามยูเครน
วันนี้ (21 ก.พ.2568) Reuters รายงานอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวด้านการทูต โดยระบุว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจจะไม่ร่วมสนับสนุนร่างมติสหประชาชาติ ที่เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังทหาร และเคารพบูรณภาพแห่งดินแดนของยูเครน เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปีของสงครามในวันที่ 24 ก.พ.นี้
เนื้อหาของร่างมติดังกล่าว เรียกร้องให้คู่ขัดแย้งลดระดับความรุนแรง ยุติการสู้รบโดยเร็ว และแก้ปัญหาสงครามในยูเครนด้วยสันติวิธี ตามกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ
ขณะที่แหล่งข่าวภายใน อ้างว่า ร่างมติฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนจากมากกว่า 50 ประเทศ ซึ่งสถานการณ์เวลานี้คือสหรัฐฯ ไม่ยอมร่วมด้วย และกำลังมีความพยายามแสวงหาเสียงสนับสนุนจากประเทศอื่น ๆ รวมถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มต้นสงครามที่สหรัฐฯ ไม่ร่วมสนับสนุนมติสหประชาชาติเพื่อประณามรัสเซีย ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางความบาดหมางระหว่าง ทรัมป์และโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน หลังจากก่อนหน้านี้ ทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีว่าเป็นเผด็จการ
นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า สหรัฐอเมริกาคัดค้านข้อความในแถลงการณ์ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือ G7 ที่กำลังจะเผยแพร่ในสัปดาห์หน้า ซึ่งประณามการรุกรานของรัสเซีย หลังจากแถลงการณ์รัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G7 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ใช้คำว่าสงครามอันเลวร้ายของรัสเซียในยูเครน แต่ไม่ได้กล่าวถึงการรุกรานโดยตรง
https://www.thaipbs.or.th/news/content/349540