เกริ่นนำก่อนว่าตัวเราเองทำอาชีพเทคนิคการแพทย์ (หรือเรียกหมอแล็บที่ทุกคนคุ้นเคย) เราเคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน เจอเพื่อนร่วมงานที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์หลากหลายแผนก พูดได้เต็มปากว่าทุกคนที่เราได้ contact ทำงานด้วยมีแต่คนดี ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไข้ คนไข้บางคนไม่ค่อยมีกำลังทรัพย์คุณหมอก็ไม่คิดค่า DF / เขียนใบยาให้คนไข้ไปรับยาฟรีที่รพ.ตามสิทธิบัตรทองก็มี
mind set ของเราคือบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐานและรักษาคนไข้ด้วยความเมตตาตามความรู้ความสามารถเต็มที่
เรื่องเกิดจากคุณแม่ของเรามีอาการไข้+ปวดตามข้อ+ท้องเสียเล็กน้อย ทานยาอยู่บ้านหลายวันก็ไม่หาย เลยไปหาหมอที่รพ.รัฐแห่งหนึ่งในภาคอิสาน (ใช้สิทธิบัตรทอง) คุณหมอสั่งตรวจแล็บชุดใหญ่จนพบว่ามีเลือดปนในอุจจาระ (FOB Positive) หลังจากนั้นคุณหมอก็นัดมาเรื่อยๆติดตามค่าเม็ดเลือด (CBC) ก็พบว่าคุณแม่มีภาวะเลือดจากลงเรื่อยๆแบบไม่ทราบสาเหตุ (HCT ต่ำ) เลยสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งลำไส้ จึงนัดส่องกล้องทางเดินอาหาร (Colonoscope) พบแผล (Ulcerative) และติ่งเนื้อ (Polyp) ในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ตั้งแต่เริ่มเข้ารพ.จนมาถึงจุดนี้ คุณแม่กลับมาบ่นให้ฟังตลอดว่าโดนคุณหมอ GI ท่านนี้ตะคอกอยู่หลายครั้ง เราพยายามปลอบใจคุณแม่และพยายามทำความเข้าใจคุณหมอด้วย (หมออาจจะเหนื่อยมากมั้งเพราะคนไข้เยอะจริงๆ/เป็นจังหวะคุณหมออารมณ์ไม่ดีรึป่าว/คุณแม่เราดื้อกับคุณหมอรึป่าว ฯลฯ สารพัดจะคิดเหตุผล) 1 สัปดาห์ต่อมาผลชิ้นเนื้อออกมาเป็นข่าวร้าย คุณแม่เป็นมะเร็งลำไส้ระยะต้น คุณหมอ GI ก็ส่งต่อคุณแม่เราไปหาหมอแผนกศัลยกรรมเพื่อวางแผนผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป คุณแม่ดีใจมากที่จะไม่ต้องพบคุณหมอ GI ที่ชอบตะคอกอีก
เราพาคุณแม่มาแผนกศัลยกรรม คุณพยาบาลถามว่าเราต้องการพบหมอศัลคนไหนเป็นพิเศษมั้ย แต่เราไม่รู้จักใครเป็นพิเศษ (เพราะทำงานจังหวัดข้างเคียง ไม่รู้จักใครที่นี่เลย) พยาบาลเลยแนะนำให้ผ่ากับหมอ A เมื่อดูคิวตรวจแล้วปรากฎว่าเต็ม! มาพบหมอ A ได้อีกทีสัปดาห์หน้า! คนเป็นลูกอย่างเราใจร้อน ทนไม่ไหว กลัวว่าช้าไปมะเร็งอาจโตเป็นระยะลุกลาม และตามที่เล่าแต่ต้น mind set ของเราเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐานและรักษาคนไข้ด้วยความเมตตาตามความรู้ความสามารถเต็มที่ เลยแจ้งพยาบาลว่าขอเป็นหมอท่านอื่นก็ได้ที่ได้คิวตรวจวันนี้ ดวงเลยมาป๊ะกับหมอ B ที่วันนี้มีคิวตรวจน้อย
ครั้งแรกที่เจอหมอ B เขามองเรากับคุณแม่ตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วแจกนามบัตรเพื่อโฆษณาคลินิค หมอ B เป็นผู้ชายอายุประมาณ 40-50 ปี บุคลิกเป็นคนพูดจาโผงผาง ระหว่างที่ซักประวัติ หมอ B เบลมผลงานแผนกอายุรกรรม GI และบ่น/สบถเกี่ยวกับผลตรวจอยู่เรื่อยๆ สรุปคือคุณแม่เราถือว่ายังโชคดีที่มะเร็งขนาดไม่ใหญ่มากและสามารถเลือกผ่าได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและส่องกล้อง หมอ B ให้ข้อมูลว่าผลการผ่าตัด (result) เหมือนกัน ต่างกันแค่ระยะเวลาพักฟื้นแบบเปิดหน้าท้องนอนรพ.นานกว่า 2-3 วัน แต่ข้อดีของการผ่าเปิดท้องคือได้คิวผ่าภายในเดือนนี้ (ถ้าเลือกแบบส่องกล้องต้องรอคิวหลายเดือน) จังหวะนั้นเรายังไม่มีเวลาหาข้อมูลเพิ่ม และจำเป็นต้องให้คำตอบหมอ B เดี๋ยวนั้น คุณแม่เลยเลือกผ่าแบบเปิดท้องไป หมอ B เลยนัดมาตรวจร่างกายเตรียมผ่าตัดวันศุกร์หน้า ก่อนออกจากห้องหมอ B เอามือถือถ่ายรูปประวัติคุณแม่ แล้วแจ้งว่าถ้าว่างให้แวะไปคุยกันที่คลินิกหน่อย เราไม่ได้ตอบตกลง เพราะเสร็จจากนี้ต้องกลับไปทำงานต่างจังหวัดต่อ
เวลาล่วงเลยมาถึงวันศุกร์ที่หมอ B นัด ช่วงเช้าคุณแม่ตรวจร่างกายทุกอย่างเรียบร้อย พอช่วงสายมาพบหมอ B เขาบ่นสวนมาก่อนเลย ว่าสัปดาห์ที่แล้วหมอโทรหาคุณแม่จนสายไหม้ก็ไม่ยอมรับสาย หมออยากให้มาฉีดวัคซีนกันปอดบวมที่คลินิก เพราะคนไข้ส่วนใหญ่หลังผ่าตัดมักจะมีปัญหาปอดบวม หมอ B เลยขอเบอร์เราไป ในใจเราคิดว่าหมอคงจะโทรชวนไปคลินิกแหละม้ัง เลยให้เบอร์ไป หลังจากหมอ B ดูผลตรวจก็นัดคุณแม่มาแอดมิทวันอาทิตย์ เพื่อผ่าตัดวันจันทร์นี้เลย เราดีใจกันมาก นังมะเร็งก้อนนี้จะได้ออกไปจากชีวิตแม่เราสักที
แต่แล้วในคืนวันศุกร์นั้นเองหมอ B ก็โทรมาเบอร์เรา แจ้งว่าเคสคุณแม่ถือเป็นเคสฝากพิเศษ เพราะหมอลัดคิวให้ได้ผ่าไวกว่าปกติ และหมอคิดค่าฝากพิเศษแบบผ่าเปิดท้อง 15,000 บ. (ถ้าเป็นผ่าแบบส่องกล้องหมอคิด 20,000 บ.) หมอจะผ่าตัดให้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลอะไร ให้มาพบหมอที่คลินิกภายในวันอาทิตย์ก่อนแอดมิทเท่านั้น (ความหมายคือให้เอาเงินไปให้หมอนั่นแหละ) จังหวะนั้นคืออึ้ง ความรู้สึกเหมือนโดนเรียกค่าไถ่โดยเอาชีวิตคุณแม่เป็นตัวประกัน หลังวางสาย หลายความคิดผุดขึ้นมา จะไปต่อหรือพอแค่นี้? จริงๆเงิน 15,000-20,000 ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับครอบครัวเราเลย แต่มาคิดในมุมความซื่อสัตย์ขั้นพื้นฐาน หมอ B ยัดเยียดความเป็นเคสพิเศษและลัดคิวให้โดยไม่ได้มีการคุยเรื่องข้อตกลง/ค่าใช้จ่ายมาก่อน แล้วถ้าเป็นตาสีตาสาที่เขาไม่มีเงินให้หมอจริงๆเขาจะผ่าให้แบบไม่ดีรึป่าว แล้วเคสคุณแม่ถ้าจ่าย 15,000 ไปแล้วจะมาเรียกเก็บอะไรตามหลังอีกรึป่าว มีคำถามมากมายในหัว
วันเสาร์เราเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับหมอ B ในเน็ตก็แทบไม่มี เลยจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอประจำคลินิกที่เราทำงานอยู่ ท่านช่วยเราสืบจากเพื่อนหมอท่านอื่นๆเต็มที่ จนได้ข้อมูลจากหมอดมยาและหมอเคมีบำบัดที่มักจะได้เข้าเคสร่วมหรือรับเคสต่อจากหมอ B ว่า..."หนีไป!", "complication หลังผ่า 90%" ซึ่งไม่รู้ว่า complication % สูงลิ่วนี้เกิดจากความตั้งใจของหมอ B หรือไม่ ตอนนั้นคือแทบจะร้องไห้ โกรธจนสั่น ไปรพ.หาหมอเพื่อรักษาแต่กลับเจออะไรก็ไม่รู้ เกือบพาคุณแม่ไปเสี่ยงชีวิตซะแล้ว mind set ที่เรามั่นใจนักหนาพังลงทันที
คุณหมอแนะนำให้เราเปลี่ยนหมอผ่าตัดทันที แต่จำเป็นต้องย้ายรพ. เพราะโดยมารยาทหมอในรพ.เดียวกันจะไม่รับเคสต่อแบบนี้ เลยแนะนำให้ย้ายคุณแม่มาผ่าตัดรพ.จังหวัดเดียวกับที่เราทำงานอยู่ ให้ผ่ากับหมอเฉพาะทางด้านการผ่าตัดลำไส้โดยเฉพาะ คือหมอ D ซึ่งเชี่ยวชาญการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องคือคนไข้ฟื้นตัวเร็วกว่าแบบเปิดหน้าท้อง เพราะแผลเล็กกว่ากันประมาณ 10 เท่า เหมาะกับผู้สูงอายุอย่างคุณแม่ เราก็ทำตามคำแนะนำนี้ โชคดีที่ตอนนี้สิทธิบัตรทองสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ทุกที่ (CA anywhere) โดยที่เราไม่ต้องไปขอให้หมอ B เขียนใบส่งตัวให้ แค่เอาผลการตรวจจากแผนก ได้แก่ ผลส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonopy report), ผลชิ้นเนื้อ (pathology report), ผล CT scan (เอามาทั้งแบบ CD และ report) เหล่านี้เป็นตัวยืนยันว่าเป็นมะเร็งลำไส้จริงๆ เอามายื่นให้รพ.ใหม่ (ถ้าเอาผลมาไม่ครบจะต้องตรวจใหม่ ต้องวนลูปเดิมคือต้องต่อคิวซึ่งอาจจะนานหลักเดือน) สำหรับเคสคุณแม่หลังเข้าพบคุณหมอ D ก็สามารถต่อคิวผ่าตัดได้เลย ถ้าจะใช้สิทธิบัตรทองผ่าแบบส่องกล้องต้องรอคิวเกือบ 2 เดือน เราเลยเลือกผ่าตัดแบบนอกเวลา (SMC) ซึ่งจะได้ผ่าในวันอาทิตย์นี้เลย และแน่นอนว่าต้องจ่ายเงินเองราคาประมาณ 1 แสน 4 หมื่นบาท
คุณแม่เข้ารับการผ่าตัดกับหมอ D ทุกอย่างผ่านไปอย่างเรียบร้อย หลังผ่าตัดแบบส่องกล้อง 1-2 วันแรก คุณแม่ยังเจ็บแผลอยู่ ไม่สามารถลุกเดินได้ แต่หลังจากนั้นก็ลุกเดินได้ปกติ แผลแห้งและสวยดี ไม่มี complication ใดๆ กลับบ้านได้ภายใน 4 วันหลังผ่า ตอนนี้อยู่ระหว่างรอผลตรวจชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดครั้งล่าสุดว่าเซลล์มะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองรึยัง ถ้าลุกลามไปแล้วก็เข้ารับเคมีบำบัดต่อ ถ้าหากโชคดียังไม่ลุกลามก็แค่รอ Follow up ตามรอบหมอนัดต่อไป
อ่านมาถึงตรงนี้ เราเพียงแค่อยากแชร์ประสบการณ์พาคุณแม่เข้ารับการรักษามะเร็งลำไส้ในรพ.รัฐเท่านั้น ไม่มีเจตนาใส่ร้ายอาชีพหรือบุคคลใดเป็นพิเศษ เหตุการณ์นี้เปลี่ยน mind set เราไปอย่างสิ้นเชิง อย่าไว้ใจใครเพียงเพราะคุณวุฒิหรือวัยวุฒิ ทุกอาชีพก็มีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป ไม่สามารถเหมารวมได้
ปล.1 จริงๆเราอยากจัดการหมอ B ไม่ให้เขาไปทำแบบนี้กับใครอีก แต่ติดที่เราไม่มีหลักฐานการเรียกเก็บเงิน (หลักฐานมีแค่เบอร์โทรเข้าจากคลินิกสายเดียว)
ปล.2 เราตั้งใจเขียนรายละเอียดเรื่องกระบวนการตรวจและผ่าตัดมะเร็งลำไส้เยอะหน่อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนไข้อื่นๆที่กำลังเผชิญกับโรคนี้
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณกัลยาณมิตรของเรา ทั้งคุณหมอและเพื่อนร่วมงานในคลินิกที่ให้คำแนะนำเรื่องการผ่าตัดและช่วยเหลือเรื่องสลับเวรให้เราได้ดูแลคุณแม่ได้อย่างเต็มที่
แชร์ประสบการณ์ทั้งด้านด้านมืดและด้านสว่างของวงการแพทย์ (เมื่อต้องเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้)
mind set ของเราคือบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐานและรักษาคนไข้ด้วยความเมตตาตามความรู้ความสามารถเต็มที่
เรื่องเกิดจากคุณแม่ของเรามีอาการไข้+ปวดตามข้อ+ท้องเสียเล็กน้อย ทานยาอยู่บ้านหลายวันก็ไม่หาย เลยไปหาหมอที่รพ.รัฐแห่งหนึ่งในภาคอิสาน (ใช้สิทธิบัตรทอง) คุณหมอสั่งตรวจแล็บชุดใหญ่จนพบว่ามีเลือดปนในอุจจาระ (FOB Positive) หลังจากนั้นคุณหมอก็นัดมาเรื่อยๆติดตามค่าเม็ดเลือด (CBC) ก็พบว่าคุณแม่มีภาวะเลือดจากลงเรื่อยๆแบบไม่ทราบสาเหตุ (HCT ต่ำ) เลยสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งลำไส้ จึงนัดส่องกล้องทางเดินอาหาร (Colonoscope) พบแผล (Ulcerative) และติ่งเนื้อ (Polyp) ในลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ตั้งแต่เริ่มเข้ารพ.จนมาถึงจุดนี้ คุณแม่กลับมาบ่นให้ฟังตลอดว่าโดนคุณหมอ GI ท่านนี้ตะคอกอยู่หลายครั้ง เราพยายามปลอบใจคุณแม่และพยายามทำความเข้าใจคุณหมอด้วย (หมออาจจะเหนื่อยมากมั้งเพราะคนไข้เยอะจริงๆ/เป็นจังหวะคุณหมออารมณ์ไม่ดีรึป่าว/คุณแม่เราดื้อกับคุณหมอรึป่าว ฯลฯ สารพัดจะคิดเหตุผล) 1 สัปดาห์ต่อมาผลชิ้นเนื้อออกมาเป็นข่าวร้าย คุณแม่เป็นมะเร็งลำไส้ระยะต้น คุณหมอ GI ก็ส่งต่อคุณแม่เราไปหาหมอแผนกศัลยกรรมเพื่อวางแผนผ่าตัดลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป คุณแม่ดีใจมากที่จะไม่ต้องพบคุณหมอ GI ที่ชอบตะคอกอีก
เราพาคุณแม่มาแผนกศัลยกรรม คุณพยาบาลถามว่าเราต้องการพบหมอศัลคนไหนเป็นพิเศษมั้ย แต่เราไม่รู้จักใครเป็นพิเศษ (เพราะทำงานจังหวัดข้างเคียง ไม่รู้จักใครที่นี่เลย) พยาบาลเลยแนะนำให้ผ่ากับหมอ A เมื่อดูคิวตรวจแล้วปรากฎว่าเต็ม! มาพบหมอ A ได้อีกทีสัปดาห์หน้า! คนเป็นลูกอย่างเราใจร้อน ทนไม่ไหว กลัวว่าช้าไปมะเร็งอาจโตเป็นระยะลุกลาม และตามที่เล่าแต่ต้น mind set ของเราเชื่อว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐานและรักษาคนไข้ด้วยความเมตตาตามความรู้ความสามารถเต็มที่ เลยแจ้งพยาบาลว่าขอเป็นหมอท่านอื่นก็ได้ที่ได้คิวตรวจวันนี้ ดวงเลยมาป๊ะกับหมอ B ที่วันนี้มีคิวตรวจน้อย
ครั้งแรกที่เจอหมอ B เขามองเรากับคุณแม่ตั้งแต่หัวจรดเท้า แล้วแจกนามบัตรเพื่อโฆษณาคลินิค หมอ B เป็นผู้ชายอายุประมาณ 40-50 ปี บุคลิกเป็นคนพูดจาโผงผาง ระหว่างที่ซักประวัติ หมอ B เบลมผลงานแผนกอายุรกรรม GI และบ่น/สบถเกี่ยวกับผลตรวจอยู่เรื่อยๆ สรุปคือคุณแม่เราถือว่ายังโชคดีที่มะเร็งขนาดไม่ใหญ่มากและสามารถเลือกผ่าได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้องและส่องกล้อง หมอ B ให้ข้อมูลว่าผลการผ่าตัด (result) เหมือนกัน ต่างกันแค่ระยะเวลาพักฟื้นแบบเปิดหน้าท้องนอนรพ.นานกว่า 2-3 วัน แต่ข้อดีของการผ่าเปิดท้องคือได้คิวผ่าภายในเดือนนี้ (ถ้าเลือกแบบส่องกล้องต้องรอคิวหลายเดือน) จังหวะนั้นเรายังไม่มีเวลาหาข้อมูลเพิ่ม และจำเป็นต้องให้คำตอบหมอ B เดี๋ยวนั้น คุณแม่เลยเลือกผ่าแบบเปิดท้องไป หมอ B เลยนัดมาตรวจร่างกายเตรียมผ่าตัดวันศุกร์หน้า ก่อนออกจากห้องหมอ B เอามือถือถ่ายรูปประวัติคุณแม่ แล้วแจ้งว่าถ้าว่างให้แวะไปคุยกันที่คลินิกหน่อย เราไม่ได้ตอบตกลง เพราะเสร็จจากนี้ต้องกลับไปทำงานต่างจังหวัดต่อ
เวลาล่วงเลยมาถึงวันศุกร์ที่หมอ B นัด ช่วงเช้าคุณแม่ตรวจร่างกายทุกอย่างเรียบร้อย พอช่วงสายมาพบหมอ B เขาบ่นสวนมาก่อนเลย ว่าสัปดาห์ที่แล้วหมอโทรหาคุณแม่จนสายไหม้ก็ไม่ยอมรับสาย หมออยากให้มาฉีดวัคซีนกันปอดบวมที่คลินิก เพราะคนไข้ส่วนใหญ่หลังผ่าตัดมักจะมีปัญหาปอดบวม หมอ B เลยขอเบอร์เราไป ในใจเราคิดว่าหมอคงจะโทรชวนไปคลินิกแหละม้ัง เลยให้เบอร์ไป หลังจากหมอ B ดูผลตรวจก็นัดคุณแม่มาแอดมิทวันอาทิตย์ เพื่อผ่าตัดวันจันทร์นี้เลย เราดีใจกันมาก นังมะเร็งก้อนนี้จะได้ออกไปจากชีวิตแม่เราสักที
แต่แล้วในคืนวันศุกร์นั้นเองหมอ B ก็โทรมาเบอร์เรา แจ้งว่าเคสคุณแม่ถือเป็นเคสฝากพิเศษ เพราะหมอลัดคิวให้ได้ผ่าไวกว่าปกติ และหมอคิดค่าฝากพิเศษแบบผ่าเปิดท้อง 15,000 บ. (ถ้าเป็นผ่าแบบส่องกล้องหมอคิด 20,000 บ.) หมอจะผ่าตัดให้เป็นอย่างดี ไม่ต้องกังวลอะไร ให้มาพบหมอที่คลินิกภายในวันอาทิตย์ก่อนแอดมิทเท่านั้น (ความหมายคือให้เอาเงินไปให้หมอนั่นแหละ) จังหวะนั้นคืออึ้ง ความรู้สึกเหมือนโดนเรียกค่าไถ่โดยเอาชีวิตคุณแม่เป็นตัวประกัน หลังวางสาย หลายความคิดผุดขึ้นมา จะไปต่อหรือพอแค่นี้? จริงๆเงิน 15,000-20,000 ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับครอบครัวเราเลย แต่มาคิดในมุมความซื่อสัตย์ขั้นพื้นฐาน หมอ B ยัดเยียดความเป็นเคสพิเศษและลัดคิวให้โดยไม่ได้มีการคุยเรื่องข้อตกลง/ค่าใช้จ่ายมาก่อน แล้วถ้าเป็นตาสีตาสาที่เขาไม่มีเงินให้หมอจริงๆเขาจะผ่าให้แบบไม่ดีรึป่าว แล้วเคสคุณแม่ถ้าจ่าย 15,000 ไปแล้วจะมาเรียกเก็บอะไรตามหลังอีกรึป่าว มีคำถามมากมายในหัว
วันเสาร์เราเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับหมอ B ในเน็ตก็แทบไม่มี เลยจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอประจำคลินิกที่เราทำงานอยู่ ท่านช่วยเราสืบจากเพื่อนหมอท่านอื่นๆเต็มที่ จนได้ข้อมูลจากหมอดมยาและหมอเคมีบำบัดที่มักจะได้เข้าเคสร่วมหรือรับเคสต่อจากหมอ B ว่า..."หนีไป!", "complication หลังผ่า 90%" ซึ่งไม่รู้ว่า complication % สูงลิ่วนี้เกิดจากความตั้งใจของหมอ B หรือไม่ ตอนนั้นคือแทบจะร้องไห้ โกรธจนสั่น ไปรพ.หาหมอเพื่อรักษาแต่กลับเจออะไรก็ไม่รู้ เกือบพาคุณแม่ไปเสี่ยงชีวิตซะแล้ว mind set ที่เรามั่นใจนักหนาพังลงทันที
คุณหมอแนะนำให้เราเปลี่ยนหมอผ่าตัดทันที แต่จำเป็นต้องย้ายรพ. เพราะโดยมารยาทหมอในรพ.เดียวกันจะไม่รับเคสต่อแบบนี้ เลยแนะนำให้ย้ายคุณแม่มาผ่าตัดรพ.จังหวัดเดียวกับที่เราทำงานอยู่ ให้ผ่ากับหมอเฉพาะทางด้านการผ่าตัดลำไส้โดยเฉพาะ คือหมอ D ซึ่งเชี่ยวชาญการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ข้อดีของการผ่าตัดส่องกล้องคือคนไข้ฟื้นตัวเร็วกว่าแบบเปิดหน้าท้อง เพราะแผลเล็กกว่ากันประมาณ 10 เท่า เหมาะกับผู้สูงอายุอย่างคุณแม่ เราก็ทำตามคำแนะนำนี้ โชคดีที่ตอนนี้สิทธิบัตรทองสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ทุกที่ (CA anywhere) โดยที่เราไม่ต้องไปขอให้หมอ B เขียนใบส่งตัวให้ แค่เอาผลการตรวจจากแผนก ได้แก่ ผลส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonopy report), ผลชิ้นเนื้อ (pathology report), ผล CT scan (เอามาทั้งแบบ CD และ report) เหล่านี้เป็นตัวยืนยันว่าเป็นมะเร็งลำไส้จริงๆ เอามายื่นให้รพ.ใหม่ (ถ้าเอาผลมาไม่ครบจะต้องตรวจใหม่ ต้องวนลูปเดิมคือต้องต่อคิวซึ่งอาจจะนานหลักเดือน) สำหรับเคสคุณแม่หลังเข้าพบคุณหมอ D ก็สามารถต่อคิวผ่าตัดได้เลย ถ้าจะใช้สิทธิบัตรทองผ่าแบบส่องกล้องต้องรอคิวเกือบ 2 เดือน เราเลยเลือกผ่าตัดแบบนอกเวลา (SMC) ซึ่งจะได้ผ่าในวันอาทิตย์นี้เลย และแน่นอนว่าต้องจ่ายเงินเองราคาประมาณ 1 แสน 4 หมื่นบาท
คุณแม่เข้ารับการผ่าตัดกับหมอ D ทุกอย่างผ่านไปอย่างเรียบร้อย หลังผ่าตัดแบบส่องกล้อง 1-2 วันแรก คุณแม่ยังเจ็บแผลอยู่ ไม่สามารถลุกเดินได้ แต่หลังจากนั้นก็ลุกเดินได้ปกติ แผลแห้งและสวยดี ไม่มี complication ใดๆ กลับบ้านได้ภายใน 4 วันหลังผ่า ตอนนี้อยู่ระหว่างรอผลตรวจชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดครั้งล่าสุดว่าเซลล์มะเร็งลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองรึยัง ถ้าลุกลามไปแล้วก็เข้ารับเคมีบำบัดต่อ ถ้าหากโชคดียังไม่ลุกลามก็แค่รอ Follow up ตามรอบหมอนัดต่อไป
อ่านมาถึงตรงนี้ เราเพียงแค่อยากแชร์ประสบการณ์พาคุณแม่เข้ารับการรักษามะเร็งลำไส้ในรพ.รัฐเท่านั้น ไม่มีเจตนาใส่ร้ายอาชีพหรือบุคคลใดเป็นพิเศษ เหตุการณ์นี้เปลี่ยน mind set เราไปอย่างสิ้นเชิง อย่าไว้ใจใครเพียงเพราะคุณวุฒิหรือวัยวุฒิ ทุกอาชีพก็มีทั้งคนดีและคนเลวปะปนกันไป ไม่สามารถเหมารวมได้
ปล.1 จริงๆเราอยากจัดการหมอ B ไม่ให้เขาไปทำแบบนี้กับใครอีก แต่ติดที่เราไม่มีหลักฐานการเรียกเก็บเงิน (หลักฐานมีแค่เบอร์โทรเข้าจากคลินิกสายเดียว)
ปล.2 เราตั้งใจเขียนรายละเอียดเรื่องกระบวนการตรวจและผ่าตัดมะเร็งลำไส้เยอะหน่อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนไข้อื่นๆที่กำลังเผชิญกับโรคนี้
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณกัลยาณมิตรของเรา ทั้งคุณหมอและเพื่อนร่วมงานในคลินิกที่ให้คำแนะนำเรื่องการผ่าตัดและช่วยเหลือเรื่องสลับเวรให้เราได้ดูแลคุณแม่ได้อย่างเต็มที่