ที่มา :-
https://mgronline.com/infographic/detail/9680000018066
เนื้อหา
ถั่วแดง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค
ถั่วแดง เป็นถั่วชนิดหนึ่ง มีสีแดง และมีรูปร่างคล้ายไตของมนุษย์ ในภาษาอังกฤษจึงมีชื่อเรียกว่า Kidney Beans โดยทั่วไป นิยมนำถั่วแดงไปปรุงเป็นของหวาน เช่น ถั่วแดงต้มน้ำตาล ขนมปังไส้ถั่วแดง ถั่วแดงกวน ทั้งนี้ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ถั่วแดงยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยลดความดันเลือดคุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วแดง
ถั่วแดงดิบ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 333 กิโลแคลอรี และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต 60 กรัม
โปรตีน 23.6 กรัม
ไขมัน 0.83 กรัม
โพแทสเซียม 1,410 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 407 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 140 มิลลิกรัม
แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
โซเดียม 24 มิลลิกรัม
โฟเลต (Folate) 394 ไมโครกรัม
นอกจากนี้ ถั่วแดงยังประกอบด้วยธาตุอาหารอย่างซีลีเนียม (Selenium) สังกะสี ทองแดง เหล็กแมงกานีส และวิตามินชนิดต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6
ประโยชน์ของ ถั่วแดง ต่อสุขภาพ
ถั่วแดง อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติของถั่วแดง ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
อาจช่วยลดความดันเลือดได้
ถั่วแดงมีใยอาหารสูง โดยถั่วแดง 100 กรัม จะพบใยอาหารประมาณ 24.9 กรัม ซึ่งใยอาหารมีคุณสมบัติช่วยลดความดันเลือดซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การบริโภคถั่วแดง จึงอาจช่วยลดความดันเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของถั่วดำและถั่วแดงต่อการทำงานของหลอดเลือดในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี เผยแพร่ในวารสาร Nutrition, Metabolism and Cardiovascular Diseases ปี พ.ศ. 2564 นักวิจัยได้ให้อาสาสมัครจำนวน 8 ราย บริโภคถั่วต่าง ๆ รวมถึงถั่วแดง และข้าวสวย ในปริมาณ ¾ ถ้วยเท่า ๆ กัน เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของถั่วชนิดต่าง ๆ ต่อการทำงานของหลอดเลือดหลังบริโภค
จากการทดลองนี้ นักวิจัยพบว่า การบริโภคถั่วแดงและถั่วปินโตอาจมีส่วนช่วยทำให้ความดันเลือดและค่าความเร็วคลื่นชีพจรที่ผ่านหลอดเลือด (Pulse Wave Velocity) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของหลอดเลือด ลดลงในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคข้าวสวยและถั่วขาว
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า การบริโภคถั่วแดงอาจช่วยบำรุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหลอดเลือดได้
อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ใยอาหารในถั่วแดงมีคุณสมบัติชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปหลังมื้ออาหาร ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของถั่วต่าง ๆ ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร เผยแพร่ในวารสาร Nutrition Journal ปี พ.ศ. 2552 นักวิจัยให้ผู้ป่วยเบาหวานอายุระหว่าง 35-70 ปี จำนวน 17 รายอดอาหาร 12 ชั่วโมง แล้วรับประทานมื้อเช้า โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานข้าวสวยเพียงอย่างเดียว ข้าวสวยกับถั่วปินโต ข้าวสวยกับถั่วดำ และข้าวสวยกับถั่วแดง แล้วจึงวัดความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร
เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารของกลุ่มที่บริโภคข้าวสวยร่วมกับถั่วต่าง ๆ ต่ำกว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารของกลุ่มที่บริโภคข้าวสวยอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า การบริโภคถั่วแดงอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารได้
อาจช่วยต้านมะเร็งลำไส้ได้
ใยอาหาร สารประกอบฟีนอลิก (Phenolics ) และสารพฤกษเคมีในถั่วแดง มีคุณสมบัติช่วยบำรุงและรักษาเซลล์ในลำไส้ให้เป็นปกติ ลดการอักเสบในเซลล์ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่เซลล์ในร่างกายจะกลายเป็นเนื้อร้าย การบริโภคถั่วแดงจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้
งานวิจัยหนึ่ง เรื่องคุณสมบัติต้านมะเร็งของสารประกอบในถั่วแขก เผยแพร่ในวารสาร Foods ปี พ.ศ. 2556 นักวิจัยได้ระบุถึงคุณสมบัติของถั่วแขกโดยอ้างอิงหลักฐานต่าง ๆ ว่า การบริโภคถั่วแขกสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่ำในการเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากถั่วแขกมีใยอาหาร สารประกอบฟีนอลิก และสารพฤกษเคมีคุณสมบัติซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยลดเซลล์มะเร็ง ตัดวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็ง และทำให้เซลล์มะเร็วทำลายตัวเอง นอกจากนั้น ยังเปรียบเทียบถึงสารสกัดถั่วแดงเกาหลีที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์เปลี่ยนเป็นเนื้องอกเช่นเดียวกัน
อาจช่วยลดน้ำหนักได้
ถั่วแดงมีสารอาหารกลุ่มโปรตีนและใยอาหาร ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้อิ่มท้องได้นาน ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงานส่วนเกิน จึงอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอาหารซึ่งมีถั่วเป็นส่วนประกอบหลักต่อการลดน้ำหนัก ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Nutrition ปี พ.ศ. 2554 นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครที่เป็นโรคอ้วนจำนวน 30 รายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่ปราศจากถั่ว ส่วนอีกกลุ่มให้บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่มีถั่วต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเวลา 8 สัปดาห์เท่า ๆ กัน
เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยได้ตรวจร่างกายของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า อาสาสมัครที่เป็นโรคอ้วนกลุ่มที่บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่มีถั่วต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบหลักมีน้ำหนักตัวลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่ปราศจากถั่ว รวมทั้งมีความดันโลหิตกับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ที่ลดลง
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การบริโภคถั่วต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งถั่วแดง สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวที่ลดลง
ข้อควรระวังในการบริโภค ถั่วแดง
การบริโภคถั่วแดง มีข้อควรระวังดังนี้
ถั่วแดงมีสารไฟโตฮีแมกกลูตินิน (Phytohaemagglutinin) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง อย่างไรก็ตาม สารนี้สามารถกำจัดได้ด้วยการแช่ถั่วแดงในน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ชั่วโมง หรือต้มถั่วแดงในน้ำเดือดเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที และควรบริโภคถั่วแดงในปริมาณที่เหมาะสม และทำความสะอาดก่อนนำไปปรุงสุกทุกครั้ง
การบริโภคถั่วแดงดิบหรือถั่วแดงที่ปรุงอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารที่มีฤทธิ์รบกวนการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ (Antinutrients) อย่างสตาร์ช บล็อกเกอร์ (Starch Blockers) ที่ลดการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย หรือกรดไฟทิก (Phytic Acid) ที่รบกวนการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น เหล็ก สังกะสี นอกจากนี้ ในถั่วแดงดิบยังมีสารอัลฟา-กาแลคโตซิเดส (Alpha-galactosides) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกหรือท้องร่วง จึงควรบริโภคถั่วแดงในปริมาณที่เหมาะสม
หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร สามารถบริโภคถั่วแดงได้อย่างปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมาก หากไม่แน่ใจควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ ที่สำคัญควรบริโภคอาหารให้หลากหลายเพื่อบำรุงร่างกายและให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
ถั่วแดง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค
เนื้อหา
ถั่วแดง ประโยชน์ และข้อควรระวังในการบริโภค
ถั่วแดง เป็นถั่วชนิดหนึ่ง มีสีแดง และมีรูปร่างคล้ายไตของมนุษย์ ในภาษาอังกฤษจึงมีชื่อเรียกว่า Kidney Beans โดยทั่วไป นิยมนำถั่วแดงไปปรุงเป็นของหวาน เช่น ถั่วแดงต้มน้ำตาล ขนมปังไส้ถั่วแดง ถั่วแดงกวน ทั้งนี้ นอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ถั่วแดงยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และอาจมีประโยชน์ต่อร่างกายหลาย ๆ ด้าน เช่น อาจช่วยในการลดน้ำหนัก ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยลดความดันเลือดคุณค่าทางโภชนาการของ ถั่วแดง
ถั่วแดงดิบ 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 333 กิโลแคลอรี และประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต 60 กรัม
โปรตีน 23.6 กรัม
ไขมัน 0.83 กรัม
โพแทสเซียม 1,410 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 407 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 140 มิลลิกรัม
แคลเซียม 143 มิลลิกรัม
โซเดียม 24 มิลลิกรัม
โฟเลต (Folate) 394 ไมโครกรัม
นอกจากนี้ ถั่วแดงยังประกอบด้วยธาตุอาหารอย่างซีลีเนียม (Selenium) สังกะสี ทองแดง เหล็กแมงกานีส และวิตามินชนิดต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6
ประโยชน์ของ ถั่วแดง ต่อสุขภาพ
ถั่วแดง อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยมีงานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนคุณสมบัติของถั่วแดง ในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
อาจช่วยลดความดันเลือดได้
ถั่วแดงมีใยอาหารสูง โดยถั่วแดง 100 กรัม จะพบใยอาหารประมาณ 24.9 กรัม ซึ่งใยอาหารมีคุณสมบัติช่วยลดความดันเลือดซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การบริโภคถั่วแดง จึงอาจช่วยลดความดันเลือดและป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของถั่วดำและถั่วแดงต่อการทำงานของหลอดเลือดในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี เผยแพร่ในวารสาร Nutrition, Metabolism and Cardiovascular Diseases ปี พ.ศ. 2564 นักวิจัยได้ให้อาสาสมัครจำนวน 8 ราย บริโภคถั่วต่าง ๆ รวมถึงถั่วแดง และข้าวสวย ในปริมาณ ¾ ถ้วยเท่า ๆ กัน เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของถั่วชนิดต่าง ๆ ต่อการทำงานของหลอดเลือดหลังบริโภค
จากการทดลองนี้ นักวิจัยพบว่า การบริโภคถั่วแดงและถั่วปินโตอาจมีส่วนช่วยทำให้ความดันเลือดและค่าความเร็วคลื่นชีพจรที่ผ่านหลอดเลือด (Pulse Wave Velocity) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความแข็งแรงของหลอดเลือด ลดลงในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคข้าวสวยและถั่วขาว
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า การบริโภคถั่วแดงอาจช่วยบำรุงรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหลอดเลือดได้
อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ใยอาหารในถั่วแดงมีคุณสมบัติชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้ากระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มสูงขึ้นมากเกินไปหลังมื้ออาหาร ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของถั่วต่าง ๆ ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร เผยแพร่ในวารสาร Nutrition Journal ปี พ.ศ. 2552 นักวิจัยให้ผู้ป่วยเบาหวานอายุระหว่าง 35-70 ปี จำนวน 17 รายอดอาหาร 12 ชั่วโมง แล้วรับประทานมื้อเช้า โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานข้าวสวยเพียงอย่างเดียว ข้าวสวยกับถั่วปินโต ข้าวสวยกับถั่วดำ และข้าวสวยกับถั่วแดง แล้วจึงวัดความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร
เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารของกลุ่มที่บริโภคข้าวสวยร่วมกับถั่วต่าง ๆ ต่ำกว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารของกลุ่มที่บริโภคข้าวสวยอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญ
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า การบริโภคถั่วแดงอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารได้
อาจช่วยต้านมะเร็งลำไส้ได้
ใยอาหาร สารประกอบฟีนอลิก (Phenolics ) และสารพฤกษเคมีในถั่วแดง มีคุณสมบัติช่วยบำรุงและรักษาเซลล์ในลำไส้ให้เป็นปกติ ลดการอักเสบในเซลล์ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่เซลล์ในร่างกายจะกลายเป็นเนื้อร้าย การบริโภคถั่วแดงจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ได้
งานวิจัยหนึ่ง เรื่องคุณสมบัติต้านมะเร็งของสารประกอบในถั่วแขก เผยแพร่ในวารสาร Foods ปี พ.ศ. 2556 นักวิจัยได้ระบุถึงคุณสมบัติของถั่วแขกโดยอ้างอิงหลักฐานต่าง ๆ ว่า การบริโภคถั่วแขกสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่ำในการเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากถั่วแขกมีใยอาหาร สารประกอบฟีนอลิก และสารพฤกษเคมีคุณสมบัติซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยลดเซลล์มะเร็ง ตัดวงจรชีวิตของเซลล์มะเร็ง และทำให้เซลล์มะเร็วทำลายตัวเอง นอกจากนั้น ยังเปรียบเทียบถึงสารสกัดถั่วแดงเกาหลีที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์เปลี่ยนเป็นเนื้องอกเช่นเดียวกัน
อาจช่วยลดน้ำหนักได้
ถั่วแดงมีสารอาหารกลุ่มโปรตีนและใยอาหาร ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้อิ่มท้องได้นาน ช่วยลดความอยากอาหาร ทำให้ร่างกายไม่ได้รับพลังงานส่วนเกิน จึงอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้
งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอาหารซึ่งมีถั่วเป็นส่วนประกอบหลักต่อการลดน้ำหนัก ตีพิมพ์ในวารสาร European Journal of Nutrition ปี พ.ศ. 2554 นักวิจัยแบ่งอาสาสมัครที่เป็นโรคอ้วนจำนวน 30 รายออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่ปราศจากถั่ว ส่วนอีกกลุ่มให้บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่มีถั่วต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเวลา 8 สัปดาห์เท่า ๆ กัน
เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยได้ตรวจร่างกายของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า อาสาสมัครที่เป็นโรคอ้วนกลุ่มที่บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่มีถั่วต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบหลักมีน้ำหนักตัวลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่บริโภคอาหารจำกัดแคลอรี่ที่ปราศจากถั่ว รวมทั้งมีความดันโลหิตกับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ที่ลดลง
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า การบริโภคถั่วต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งถั่วแดง สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวที่ลดลง
ข้อควรระวังในการบริโภค ถั่วแดง
การบริโภคถั่วแดง มีข้อควรระวังดังนี้
ถั่วแดงมีสารไฟโตฮีแมกกลูตินิน (Phytohaemagglutinin) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องร่วง อย่างไรก็ตาม สารนี้สามารถกำจัดได้ด้วยการแช่ถั่วแดงในน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ชั่วโมง หรือต้มถั่วแดงในน้ำเดือดเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที และควรบริโภคถั่วแดงในปริมาณที่เหมาะสม และทำความสะอาดก่อนนำไปปรุงสุกทุกครั้ง
การบริโภคถั่วแดงดิบหรือถั่วแดงที่ปรุงอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับสารที่มีฤทธิ์รบกวนการดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ (Antinutrients) อย่างสตาร์ช บล็อกเกอร์ (Starch Blockers) ที่ลดการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย หรือกรดไฟทิก (Phytic Acid) ที่รบกวนการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น เหล็ก สังกะสี นอกจากนี้ ในถั่วแดงดิบยังมีสารอัลฟา-กาแลคโตซิเดส (Alpha-galactosides) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องผูกหรือท้องร่วง จึงควรบริโภคถั่วแดงในปริมาณที่เหมาะสม
หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร สามารถบริโภคถั่วแดงได้อย่างปลอดภัย แต่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมาก หากไม่แน่ใจควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ ที่สำคัญควรบริโภคอาหารให้หลากหลายเพื่อบำรุงร่างกายและให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน