JJNY : สายมิจฉาชีพ โทร-SMS พุ่ง 168 ล้านครั้ง│เพจสภาเปิดคำนิยาม│“รมว.ยุติธรรม”เบี้ยวตอบ│ผู้นำอินโดนีเซียก่อตั้งกองทุน

เปิดสถิติปี 2567 สายมิจฉาชีพ โทร-SMS ในไทยพุ่ง 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี
https://www.khaosod.co.th/economics/news_9647064
 
 
Whoscall เปิดสถิติปี 2567 สายมิจฉาชีพ โทร-SMS ในไทยพุ่ง 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี SMS มากถึง 130 ล้านครั้ง เตือนภัยแอบอ้างองค์กร ลิงก์อันตรายแปลกปลอม
 
วันที่ 24 ก.พ.2568 นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย กล่าวว่า “นับตั้งแต่ที่บริษัทเริ่มเผยแพร่รายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2563 เราได้ติดตามสถานการณ์การหลอกลวงของมิจฉาชีพที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกๆ ตลาดหลักที่ Whoscall ให้บริการอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเทศไทย ในปี 2567 เราสามารถระบุสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงได้สูงสุดในรอบ 5 ปี ถึง 168 ล้านครั้ง เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้กลโกงมีความซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
โดยแนวโน้มการหลอกลวงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ การแอบอ้างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การฉ้อโกงทางการเงินในหลากหลายรูปแบบ ทั้งผ่านการโทรศัพท์ ข้อความ SMS ลิงก์อันตราย รวมถึง การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล”
 
• สรุปข้อมูลสำคัญจากรายงาน

ในปี 2567 ประเทศไทยมีจำนวนการตรวจพบสายโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นประมาณ 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี Whoscall สามารถปกป้องผู้ใช้จากการถูกหลอกลวงผ่านการโทรและข้อความ SMS ได้ถึง 460,000 ครั้งใน 1 วัน

กลวิธีหลอกลวงใน SMS ที่พบอย่างแพร่หลาย ได้แก่ การชักชวนเล่นพนัน การปลอมเป็นบริษัทขนส่งพัสดุ การแอบอ้างเป็นธนาคาร สถาบันการเงิน องค์กร และหน่วยงานรัฐ โดยลิงก์อันตรายอาจนำไปสู่ เว็บไซต์ปลอม, เว็บพนันผิดกฎหมาย, และเว็บที่แอบติดตั้งมัลแวร์เพื่อดักจับข้อมูลส่วนตัว เป็นต้น
 
ฟีเจอร์ ID security ของ Whoscall เตือนภัยข้อมูลส่วนตัวคนไทย 41% รั่วไหลไปบนดาร์กเว็บ ตรวจพบสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงเพิ่มขึ้นในประเทศไทย
 
โดยในปี 2567 Whoscall ตรวจพบ สายโทรศัพท์และข้อความ SMS หลอกลวงสูงถึง 168 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 112% จาก 79.2 ล้านครั้งในปี 2566 และถือเป็นยอดที่สูงสุดในรอบ 5 ปีของประเทศไทย
 
ส่วนของการโทรหลอกลวงเพิ่มขึ้นเป็น 38 ล้านครั้ง จาก 20.8 ล้านครั้งในปี 2566 ขณะที่จำนวนข้อความ SMS หลอกลวงพุ่งสูงถึงเกือบ 130 ล้านครั้ง จาก 58.3 ล้านครั้งในปี 2566 กลโกงที่พบมากที่สุด ได้แก่ การหลอกขายบริการและสินค้าปลอม การแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงาน และหลอกว่ามีเงินกู้อนุมัติง่าย การหลอกทวงเงิน การหลอกว่าเป็นหนี้
 
•  มิจฉาชีพใช้กลลวงเกี่ยวกับการเงิน และแอบอ้างองค์กรเพิ่มสูงขึ้น
 
ในปีที่ผ่านมา บริการ Smart SMS Assistant หรือ ผู้ช่วย SMS อัจฉริยะที่ช่วยตรวจสอบข้อความจากหมายเลขที่ไม่รู้จัก พบว่ามีข้อความ SMS ที่เข้าข่ายการหลอกลวงมากถึง 130 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่ากลุ่มมิจฉาชีพยังคงใช้การส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการหลอกลวง
ข้อความ SMS หลอกลวงที่แนบลิงก์ฟิชชิง เช่น ข้อความ SMS ที่หลอกให้กู้เงิน และโฆษณาการพนันยังคงพบมากที่สุด
 
นอกจากนี้กลุ่มมิจฉาชีพยังเปลี่ยนกลยุทธ์มาแอบอ้างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากขึ้น เช่น แอบอ้างเป็นบริการจัดส่งสินค้า รวมไปถึงการปลอมเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภค เพื่อส่งข้อความชวนเชื่อที่สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า คืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า มาตรการคนละครึ่ง และดิจิทัล วอลเล็ต
 
• การแพร่กระจายของลิงก์อันตรายแปลกปลอม

Whoscall พัฒนาฟีเจอร์อย่างเช่น Web Checker ที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบลิงก์ที่น่าสงสัยและอันตรายบนเว็บบราวเซอร์ในระหว่างการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ในปีที่ผ่านมาฟีเจอร์นี้ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากการคลิกลิงก์อันตราย แปลกปลอมหลากหลายประเภท โดยประเภทลิงก์อันตรายที่พบมากที่สุด เป็นลิงก์ฟิชชิงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดูดเงิน หรือล้วงข้อมูลส่วนบุคคล 40% ส่วนลิงก์อันตรายที่เหลือเป็นลิงก์ที่เชื่อมโยงกับการพนันออนไลน์ผิดกฎหมาย 30% และลิงก์อันตรายที่หลอกให้เหยื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่มีมัลแวร์เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญจากอุปกรณ์อีก 30%
 
• ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น
 
ในรายงานประจำปีครั้งนี้ยังได้เปิดเผยถึงปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรวจสอบผ่านฟีเจอร์ “ID Security” ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้ ในปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ ID Security กลายเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความระมัดระวังความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล โดยผลการวิเคราะห์พบว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ 41% รั่วไหลไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ดาร์กเว็บ และดีพเว็บ ในบรรดาข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลพบว่า 97% เป็น อีเมล และ 88% เป็นเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งอาจมีข้อมูลเช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุล พาสเวิร์ด รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ หลุดร่วมไปด้วย
 
Whoscall มุ่งพัฒนาแอปพลิเคชัน ร่วมปกป้องผู้ใช้งานและธุรกิจอย่างครอบคลุม
รายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นว่าใน 1 วัน Whoscall ช่วยปกป้องคนไทยจากมิจฉาชีพได้มากกว่า 460,000 ครั้ง เรามุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้ใช้งานในการป้องกันภัยมิจฉาชีพ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของกลโกงออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ประชาชนควรตื่นตัวและใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อปกป้องตนเอง
 


ไม่ตกเทรนด์! เพจสภา เปิดคำนิยาม ‘วุฒิสภา’ ในรธน.60 ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
https://www.matichon.co.th/politics/news_5063349

คลังสารสนเทศสภา ไม่ตกเทรนด์เสนอสาระน่ารู้ นิยาม ‘สมาชิกวุฒิสภา’ ต้องไม่ฝักใฝ่พรรคการเมือง
 
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โพสต์ภาพและข้อความให้ความรู้นิยามของคำว่า สมาชิกวุฒิสภา ว่า สมาชิกวุฒิสภา มาตรา 113 สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ใต้อาณัติของพรรคการเมืองใดๆ ที่มารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สมาชิกวุฒิสภา พร้อมกับแนบลิงก์เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม ไว้ที่ช่องแสดงความเห็นด้วย อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม กดที่นี่

ทั้งนี้ การโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าว อยู่ในช่วงที่กำลังเป็นประเด็นร้อนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เตรียมเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์เพื่อมีมติให้คดีเกี่ยวกับการตรวจสอบการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2567 เป็นคดีพิเศษ

https://hdl.handle.net/20.500.14156/507273
https://www.facebook.com/LIRT20/posts/950009933969035



“รมว.ยุติธรรม”เบี้ยวตอบกระทู้วุฒิสภา ปม “ดีเอสไอ” จ่อสอบ “ฮั้วเลือกสว.67”
https://siamrath.co.th/n/603336

วันที่ 24 ก.พ.2568 เวลา 09.30 น.ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้มีการพิจารณากระทู้ถามสดของนพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. ตั้งกระทู้ถามกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินคดีกล่าวหาว่าการเลือก สว. เป็นการฮั้วและผิดกฎหมายร้ายแรงหลายมาตรา ถาม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม
 
โดยประธานวุฒิสภา แจ้งต่อที่ประชุมว่า  รมว.ยุติธรรม มีหนังสือแจ้งว่าติดภารกิจสำคัญไม่สามารถตอบกระทู้ถามด้วยวาจาได้ เช่นเดียวกับกระทู้ถามของนายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ ที่ตั้งกระทู้ถามเรื่องการบูรณาการหน่วยงานเพื่อป้องกันยาเสพติดชายแดนสู่ในเมืองที่รมว.ยุติธรรมมีหนังสือแจ้งว่าติดภารกิจไม่สามารถตอบกระทู้ถามสดได้เช่นกัน ดังนั้นหาก สว.ต้องการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาสามารถเสนอใหม่ในคราวถัดไปได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่