ตลท. จึงได้หารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอให้คลังพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่เข้าร่วมโครงการ Jump+ ดังนี้
1. เสนอแนวทางให้พิจารณายกเว้นภาษีกำไรนิติบุคคลเฉพาะในส่วนกำไรส่วนเพิ่ม เมื่อเปรียบเทียบจากฐานของปีก่อนหน้า โดยให้เป็นการชั่วคราวระยะเวลา 3 ปี หาก บจ. สามารถทำได้เงื่อนไขและเป้าหมายทางธุรกิจ
2. เสนอแนวทางให้พิจารณายกเว้นภาษีย้อนหลัง หรือ ‘นิรโทษกรรมภาษี’ ให้กับกิจการหรือบริษัทที่อยู่นอกตลาดหุ้น ในกรณีที่ บจ. เข้าไปควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ (M&A) บริษัทนอกตลาดหุ้นที่เคยมีการทำบัญชีหรืองบการเงิน 2 เล่มเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
เนื่องจากการทำ M&A ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ส่งผลให้ บจ. มีความแข็งแกร่งขึ้น สามารถสร้างประโยชน์ร่วม (Synergy) ในการทำธุรกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ฐานะการเงิน รวมทั้งช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจ เพิ่มสามารถในการแข่งขันให้ บจ. ไทยในการดำเนินธุรกิจกับทั่วโลก เพื่อจูงใจให้ บจ. ใช้กลไก M&A เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ
โดยมีข้อดีคือ ภาครัฐมีโอกาสที่จะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มสูงขึ้นจากกำไรของ บจ. ที่จะเติบโตขึ้น อีกทั้งเป็นการดึงบริษัทหรือกิจการที่อยู่นอกตลาดหุ้นให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพิ่มขึ้นผ่านการทำ M&A ของ บจ.
ทั้งนี้ บจ. ที่จะเข้าร่วมโครงการ Jump+ นั้นจะต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai รวมทั้งไม่ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB, CS, CC และ CF ไม่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ไม่อยู่ระหว่าง ก.ล.ต. กล่าวโทษ และต้องไม่มีกรรมการ ผู้บริหาร ที่ถูกสำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวโทษใน 1 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ระหว่างเข้าร่วมโครงการต้องไม่เข้าข่ายกรณีที่กล่าวมาข้างต้น โดยเริ่มต้นเฟสแรกคาดว่าจะมีจำนวน 50 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ และคาดหวังว่าในอนาคตจะสัดส่วนเพิ่มเป็นกว่า 50% ของ บจ. ทั้งหมด
เพิ่งอ่าน โครงการ Jump+ ดูแล้วน่าสนใจ
1. เสนอแนวทางให้พิจารณายกเว้นภาษีกำไรนิติบุคคลเฉพาะในส่วนกำไรส่วนเพิ่ม เมื่อเปรียบเทียบจากฐานของปีก่อนหน้า โดยให้เป็นการชั่วคราวระยะเวลา 3 ปี หาก บจ. สามารถทำได้เงื่อนไขและเป้าหมายทางธุรกิจ
2. เสนอแนวทางให้พิจารณายกเว้นภาษีย้อนหลัง หรือ ‘นิรโทษกรรมภาษี’ ให้กับกิจการหรือบริษัทที่อยู่นอกตลาดหุ้น ในกรณีที่ บจ. เข้าไปควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ (M&A) บริษัทนอกตลาดหุ้นที่เคยมีการทำบัญชีหรืองบการเงิน 2 เล่มเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
เนื่องจากการทำ M&A ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ส่งผลให้ บจ. มีความแข็งแกร่งขึ้น สามารถสร้างประโยชน์ร่วม (Synergy) ในการทำธุรกิจในหลายๆ ด้าน ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ฐานะการเงิน รวมทั้งช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจ เพิ่มสามารถในการแข่งขันให้ บจ. ไทยในการดำเนินธุรกิจกับทั่วโลก เพื่อจูงใจให้ บจ. ใช้กลไก M&A เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ
โดยมีข้อดีคือ ภาครัฐมีโอกาสที่จะจัดเก็บภาษีได้เพิ่มสูงขึ้นจากกำไรของ บจ. ที่จะเติบโตขึ้น อีกทั้งเป็นการดึงบริษัทหรือกิจการที่อยู่นอกตลาดหุ้นให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพิ่มขึ้นผ่านการทำ M&A ของ บจ.
ทั้งนี้ บจ. ที่จะเข้าร่วมโครงการ Jump+ นั้นจะต้องเป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET และ mai รวมทั้งไม่ถูกขึ้นเครื่องหมาย CB, CS, CC และ CF ไม่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน ไม่อยู่ระหว่าง ก.ล.ต. กล่าวโทษ และต้องไม่มีกรรมการ ผู้บริหาร ที่ถูกสำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวโทษใน 1 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ระหว่างเข้าร่วมโครงการต้องไม่เข้าข่ายกรณีที่กล่าวมาข้างต้น โดยเริ่มต้นเฟสแรกคาดว่าจะมีจำนวน 50 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ และคาดหวังว่าในอนาคตจะสัดส่วนเพิ่มเป็นกว่า 50% ของ บจ. ทั้งหมด