สวนดุสิตโพลชี้ ค่าครองชีพสูง ไม่กล้าใช้จ่าย คนโหวต 69.5% มาตรการ รบ.ไร้ประสิทธิภาพ
https://www.matichon.co.th/politics/news_5062704
สวนดุสิตโพล ชี้ค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าใช้จ่าย เผย 69.5% เห็นพ้อง มาตรการ รบ.ไร้ประสิทธิภาพ เชื่อ ‘ทักษิณ’ เข้ามาช่วย ศก.ก็เหมือนเดิม
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 ก.พ.68
พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าสภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ส่งผลกระทบทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย 51.01% โดยคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุดคือ เรื่องค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว 82.94% ทั้งนี้ เห็นว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 69.50 โดยนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐนาลควรเข้ามาเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ร้อยละ 76.58
ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไรบ้าง
อันดับ 1 ส่งผลกระทบ ทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย 51.01%
อันดับ 2 กระทบหนัก มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ทั้งหนี้บัตรเครดิตและเงินกู้ต่างๆ 42.68%
อันดับ 3 ไม่ส่งผลกระทบ เพราะมีรายได้ที่มั่นคงและบริหารการเงินได้ดี 6.31%
ประชาชนคิดว่าปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด
อันดับ 1 ค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว 82.94%
อันดับ 2 ค่าเงินผันผวน ราคาทองคำผันผวน 62.07%
อันดับ 3 ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ภาคเอกชนไม่กล้าลงทุน 51.11%
ประชาชนคิดว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
อันดับ 1 ไม่มีประสิทธิภาพ 69.50%
อันดับ 2 มีประสิทธิภาพ 25.15%
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 5.35%
ประชาชนคิดว่าใคร/หน่วยงานใดควรเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน
อันดับ 1 นายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล 76.58%
อันดับ 2 กระทรวงพาณิชย์ 52.50%
อันดับ 3 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 47.60%
หากอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร
อันดับ 1 เศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม 41.63%
อันดับ 2 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น 34.18%
อันดับ 3 เศรษฐกิจอาจจะแย่ลง 24.19%
ประชาชนคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2568 นี้จะดีขึ้นหรือไม่
อันดับ 1 เศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม 46.01%
อันดับ 2 เศรษฐกิจอาจจะแย่ลง 39.44%
อันดับ 3 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น 14.55%
ขณะที่ น.ส.
พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ท่ามกลางราคาสินค้าและบริการที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เป็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า แม้รัฐบาลพยายามเร่งอัดฉีดเงินหมื่นเข้าไปกระตุ้น แต่ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้า นี่คือความท้าทายของรัฐบาลเพื่อไทยที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างชื่อจากความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ วันนี้ต้องเร่งคืนความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งภายในและปัจจับเสี่ยงภายนอกประเทศ
นันทนา เห็นด้วย ดีเอสไอ สอบฮั้วเลือกสว. 7เดือนกกต.ยังเงียบ ถ้าล้มกระดาน ควรแก้รธน.ก่อน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5062254
‘นันทนา’ เห็นด้วย ‘ดีเอสไอ’ มีท่าทีสอบฮั้วเลือก ส.ว. หลังผ่านไป 7 เดือน กกต.ยังเงียบ มอง หากถึงขั้นต้องล้มกระดาน ควรแก้ รธน.ก่อน กร้าว ไม่หนุนอภิปราย เหตุเพราะ ส.ว.เสียงข้างมากเดือดร้อน-ที่ผ่านมาถูกมองข้ามหัวตลอด เหน็บ เรียกร้อนตัวก็ได้หลังดีเอสไอยังไม่ได้เปิดชื่อ
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคดีฮั้วเลือก ส.ว.ปี 2567 ที่ขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กำลังจะมีการพิจารณาว่าจะรับคดีนี้เป็นคดีเศษหรือไม่ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ว่า เดิมทีทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการสืบสวน สอบสวนการทุจริตเลือกตั้งต่างๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 7 เดือนแล้ว กกต.ยังเงียบอยู่ ทำให้มีประชาชนเริ่มกังขาการทำหน้าที่ของ กกต. และการที่ดีเอสไอแสดงท่าทีว่าจะเข้ามารับทำคดีนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชนที่เขามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ส.ว.ชุดนี้
น.ส.นันทนากล่าวต่อว่า ส่วนกระบวนการที่ดีเอสไอจะดำเนินการสืบสวนนั้น เข้าใจว่าเป็นเรื่องทางคดีอาญาเกี่ยวกับการอั้งยี่ที่แยกออกจากเรื่องคดีเลือกตั้ง ซึ่งหากทางดีเอสไอเข้ามาดำเนินการและสามารถทำให้คลายข้อสงสัยของประชาชนจำนวนมากได้ ตนก็เห็นด้วย
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หากปัญหาบานปลายอาจจะกระทบกับ ส.ว.ชุดปัจจุบันทั้งหมด น.ส.
นันทนากล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่ากระบวนการได้มาซึ่ง ส.ว.ตรงนี้มันวิปริตบิดเบี้ยวไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ นั่นคือเป็นกระบวนการที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม เพราะเป็นคนที่สมัคร จ่ายเงิน และเข้ามาเลือกกันเอง ฉะนั้น หากกระบวนการไปถึงขั้นตอนที่พบว่ามีความผิดปกติ ไม่ชอบมาพากล และต้องมีการล้มกระดาน คิดว่าก่อนที่จะมีการล้มกระดานควรจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ส.ว. เพื่อเปลี่ยนกติกาก่อน เพราะหากมีการล้มกระดานจริง แต่ยังใช้กติกาเดิม มันก็เหมือนเดิม ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร
“
เมื่อแก้รัฐธรรมนูญแล้วหลังจากนั้นจะเคลียร์อะไรต่อมิอะไร ก็ต้องให้มีกติกาใหม่มารองรับ กติกาที่ประชาชนเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมและเลือก ส.ว.ด้วยตัวเองเหมือนที่เลือก ส.ส. แบบนี้จะดีที่สุด ไม่ใช่เลือกกันเอง เพราะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชน แม้จะอ้างว่ามาจาก 20 กลุ่มอาชีพหรืออะไรก็ตาม“ น.ส.นันทนากล่าว
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับกรณีที่มี ส.ว.บางส่วนจะลงชื่อเพื่อยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
น.ส.
นันทนากล่าวว่า เรื่องการตรวจสอบของดีเอสไอเป็นกระบวนการยุติธรรมในการที่จะตรวจสอบเรื่องการได้มาซึ่ง ส.ว.ที่คนทั่วไปก็ทราบดีว่ามาเป็นปึกแผ่น มีสีประจำตัว ฉะนั้น หากเชื่อว่าตัวเองมาอย่างยุติธรรมก็ควรให้กระบวนการยุติธรรมเข้ามาตรวจสอบ ไม่ควรใช้วิธีการฟ้องปิดปาก ตรงนี้หากมีการฟ้องปิดปากโดยให้หน่วยที่จะต้องมีการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรม ดีเอสไอ หยุดการกระทำ ก็จะทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการรับรู้การตรวจสอบ
“
ดิฉันคิดว่าไม่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาจจะมีชื่ออยู่ในจำนวนที่ดีเอสไอจะดำเนินการ เพราะหมายความว่าตัวเองไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบ คนที่จะมาเป็นผู้แทนของประชาชน มาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ควรจะโปร่งใสตรวจสอบได้ เมื่อตรวจสอบแล้วผลเป็นอย่างไรก็คือตามนั้น หากตรวจสอบแล้วไม่ผิดก็จะได้บอกประชาชนได้ว่ามาตามกระบวนการถูกต้อง แต่หากพบว่าผิดจริงก็ต้องมีการดำเนินการต่อ” น.ส.นันทนากล่าว
ถามต่อว่า ในส่วนที่จะมีการลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น มี ส.ว.จากกลุ่มอื่นมาพูดคุยกับ ส.ว.พันธุ์ใหม่แล้วบ้างหรือไม่ น.ส.
นันทนากล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเป็น ส.ว.เสียงข้างน้อย ซึ่งเขาไม่เคยเห็นหัวเรามาตลอด ไม่ว่าเขาจะทำอะไร เขาไม่เคยให้เราไปมีส่วนร่วมในกระบวนการที่จะคัดสรรบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือในคณะกรรมาธิการ ซึ่งเมื่อ ส.ว.กลุ่มเสียงข้างมากจะดำเนินการอภิปรายอะไรต่างๆ เราก็คงไม่ไปสนับสนุนตรงนั้น เป็นเรื่องที่เขาเดือดร้อน หรืออาจใช้คำว่าเขาร้อนตัวก็ได้ เพราะดีเอสไอยังไม่ได้เปิดชื่อมา
เมื่อถามว่า มองว่าเป็นเกมการเมืองหรือไม่ น.ส.
นันทนากล่าวว่า เข้าใจว่าตรงนี้อาจจะมีเหตุจูงใจในการที่จะดำเนินการ ซึ่งประชาชนอาจจะมองเห็นอยู่ แต่หากมีเหตุจูงใจในการที่จะดำเนินการในส่วนนี้แล้วเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ และประชาชนเห็นด้วย แต่เท่าที่ดูโดยภาพรวมประชาชนก็สนับสนุนให้เข้ามาตรวจสอบกระบวนการนี้ หากเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ก็ต้องทำและถือว่าเป็นหน้าที่ แม้จะเป็นด้วยเหตุจูงใจอะไรก็ตาม
ส.ว. ชี้ คาร์บอมบ์ป่วนสนามบิน BRN เตือนให้ทักษิณถอยดับไฟใต้ มองเยือน 3 จุดสำคัญมีนัยยะทางการเมือง https://www.matichon.co.th/politics/news_5062718
ส.ว. ชี้ คาร์บอมบ์ป่วนสนามบิน BRN เตือนให้ทักษิณถอยดับไฟใต้ มองเยือน 3 จุดสำคัญมีนัยยะทางการเมือง
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ จากกรณีที่มีระเบิดคาร์บอมบ์ในสนามบิน จ.นราธิวาส ก่อนที่ นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จนมีผู้บาดเจ็บหลายราย และมีเหตุการณ์รุนแรงใน จ.นราธิวาสตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.68 จนถึงปัจจุบันมีความถี่มาก สร้างความเสียหายจำนวนมากและแนวโน้มจะเกิดเหตุการณ์สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชน
นาย
ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภากลุ่มสื่อมวลชน กล่าวว่าระเบิดแสวงเครื่องที่เกิดขึ้นในสนามบิน จ.นราธิวาส ก่อนที่คณะ
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะเดินทางถึง 50 นาที มี 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก เป็นการแสดงออกจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนบีอาร์เอ็น ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจและไม่ต้อนรับการเดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ บีอาร์เอ็น กล่าวหาว่า เป็นผู้จุดชนวนของไฟใต้ในครั้งที่เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2547
นาย
ไชยยงค์กล่าวว่า ผู้ที่เรียกขบวนการ บีอาร์เอ็นว่าเป็นโจรกระจอก เป็นผู้ยุบ ศอ.บต.และ พตท.43 และก่อนหน้านี้ หลังจากที่นาย
ทักษิณ เดินทางไปพบกับ นาย
อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย เพื่อขอร่วมมือในการปราบปรามขบวนการ บีอาร์เอ็น ที่มีฐานที่มั่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย จนโฆษก บีอาร์เอ็น ข่มขู่ว่าหากมีการให้รัฐบาลมาเลเซียเข้ามากดดัน บีอาร์เอ็น สถานการณ์ของจังหวัดชายแดนใต้อาจจะรุนแรงมากขึ้น
นายไชยยงค์กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าการวางระเบิดคาร์บอมบ์ครั้งนี้ บีอาร์เอ็น ต้องการเพียงการแสดงถึง”
สัญลักษณ์”ให้รู้ว่าไม่ต้องการให้”
นายทักษิณ ชินวัตร มาเป็นผู้กำกับการดับไฟใต้” คาร์บอมบ์ลูกดังกล่าว จึงเป็นเพียงระเบิดขนาดเล็กที่ไม่มีสะเก็ดระเบิด ไม่ต้องการทำลายล้าง แต่ต้องการสื่อไปยังนาย
ทักษิณ ชินวัตรและรัฐบาลเท่านั้น
นาย
ไชยยงค์กล่าวว่า ประเด็นสุดท้าย ระเบิดแสวงเครื่องที่เป็น ”
คาร์บอมบ์” สามารถหลุดรอดจากการตรวจของเจ้าหน้าที่ แสดงให้เห็นความหย่อนยาน ความบกพร่องของท่าอากาศยานและหน่วยความมั่นคงที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย ที่ปล่อยให้รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน ซึ่งแนวร่วมของ บีอาร์เอ็น ได้นำระเบิดแสวงเครื่องไปติดตั้งไว้ในขณะที่รถยนต์คันนี้จอดอยู่นอกพื้นที่ของท่าอากาศยานระเบิดที่แนวร่วมนำมาติดตั้งในรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน จึงเป็นระเบิดขนาดเล็กที่ต้องการให้เกิดเสียงดัง แต่ไม่ต้องการสร้างความเสียหาย ให้เจ้าหน้าที่ จึงมีเพียงเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจากการหูอื้อแน่นหน้าอกเพียง 4 ราย
“
ถ้าแนวร่วม บีอาร์เอ็น ติดตั้งระเบิดแสวงเครื่องที่มีน้ำหนัก 20 กก.และมีการใส่สะเก็ตระเบิดอานุภาพการทำลายล้าง ก็จะทำให้รถยนต์ที่เป็นคาร์บอมบ์แหลกเป็นจุล และต้องมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ ล้มตาย หลายคน ทั้งท่าอากาศยานและ กอ.รมน.ภาค 4 ต้องกลายเป็นเป้าหมายในความสูญเสียที่เกิดขึ้น การวางระเบิดเพื่อต้อนรับทักษิณ ชินวัตร และคณะในครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสียงเตือนให้อดีตนายกรัฐมนตรีถอยจากการเข้ามาวุ่นวายในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
JJNY : 5in1 ดุสิตโพลชี้ค่าครองชีพสูง│นันทนาเห็นด้วยดีเอสไอ│ส.ว.ชี้คาร์บอมบ์เตือน│ภัยแล้งมาเร็ว│ทหารรัสเซียเสียชีวิตเกิน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5062704
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 ก.พ.68
พบว่า กลุ่มตัวอย่างมองว่าสภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ส่งผลกระทบทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย 51.01% โดยคิดว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุดคือ เรื่องค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว 82.94% ทั้งนี้ เห็นว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 69.50 โดยนายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐนาลควรเข้ามาเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน ร้อยละ 76.58
ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจไทย ณ วันนี้ มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไรบ้าง
อันดับ 1 ส่งผลกระทบ ทำให้ใช้จ่ายเดือนชนเดือน ต้องระมัดระวังการใช้จ่าย 51.01%
อันดับ 2 กระทบหนัก มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ทั้งหนี้บัตรเครดิตและเงินกู้ต่างๆ 42.68%
อันดับ 3 ไม่ส่งผลกระทบ เพราะมีรายได้ที่มั่นคงและบริหารการเงินได้ดี 6.31%
ประชาชนคิดว่าปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด
อันดับ 1 ค่าครองชีพสูง คนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย กำลังซื้อในประเทศไม่ขยายตัว 82.94%
อันดับ 2 ค่าเงินผันผวน ราคาทองคำผันผวน 62.07%
อันดับ 3 ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ภาคเอกชนไม่กล้าลงทุน 51.11%
ประชาชนคิดว่ามาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
อันดับ 1 ไม่มีประสิทธิภาพ 69.50%
อันดับ 2 มีประสิทธิภาพ 25.15%
อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 5.35%
ประชาชนคิดว่าใคร/หน่วยงานใดควรเข้ามาแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วน
อันดับ 1 นายกรัฐมนตรีและฝ่ายรัฐบาล 76.58%
อันดับ 2 กระทรวงพาณิชย์ 52.50%
อันดับ 3 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) 47.60%
หากอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประชาชนคิดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร
อันดับ 1 เศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม 41.63%
อันดับ 2 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น 34.18%
อันดับ 3 เศรษฐกิจอาจจะแย่ลง 24.19%
ประชาชนคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2568 นี้จะดีขึ้นหรือไม่
อันดับ 1 เศรษฐกิจน่าจะเหมือนเดิม 46.01%
อันดับ 2 เศรษฐกิจอาจจะแย่ลง 39.44%
อันดับ 3 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น 14.55%
ขณะที่ น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนความไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ท่ามกลางราคาสินค้าและบริการที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เป็นสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า แม้รัฐบาลพยายามเร่งอัดฉีดเงินหมื่นเข้าไปกระตุ้น แต่ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้า นี่คือความท้าทายของรัฐบาลเพื่อไทยที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างชื่อจากความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ วันนี้ต้องเร่งคืนความเชื่อมั่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยท่ามกลางแรงกดดันจากทั้งภายในและปัจจับเสี่ยงภายนอกประเทศ
นันทนา เห็นด้วย ดีเอสไอ สอบฮั้วเลือกสว. 7เดือนกกต.ยังเงียบ ถ้าล้มกระดาน ควรแก้รธน.ก่อน
https://www.matichon.co.th/politics/news_5062254
‘นันทนา’ เห็นด้วย ‘ดีเอสไอ’ มีท่าทีสอบฮั้วเลือก ส.ว. หลังผ่านไป 7 เดือน กกต.ยังเงียบ มอง หากถึงขั้นต้องล้มกระดาน ควรแก้ รธน.ก่อน กร้าว ไม่หนุนอภิปราย เหตุเพราะ ส.ว.เสียงข้างมากเดือดร้อน-ที่ผ่านมาถูกมองข้ามหัวตลอด เหน็บ เรียกร้อนตัวก็ได้หลังดีเอสไอยังไม่ได้เปิดชื่อ
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคดีฮั้วเลือก ส.ว.ปี 2567 ที่ขณะนี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กำลังจะมีการพิจารณาว่าจะรับคดีนี้เป็นคดีเศษหรือไม่ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ว่า เดิมทีทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการสืบสวน สอบสวนการทุจริตเลือกตั้งต่างๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 7 เดือนแล้ว กกต.ยังเงียบอยู่ ทำให้มีประชาชนเริ่มกังขาการทำหน้าที่ของ กกต. และการที่ดีเอสไอแสดงท่าทีว่าจะเข้ามารับทำคดีนี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับประชาชนที่เขามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ส.ว.ชุดนี้
น.ส.นันทนากล่าวต่อว่า ส่วนกระบวนการที่ดีเอสไอจะดำเนินการสืบสวนนั้น เข้าใจว่าเป็นเรื่องทางคดีอาญาเกี่ยวกับการอั้งยี่ที่แยกออกจากเรื่องคดีเลือกตั้ง ซึ่งหากทางดีเอสไอเข้ามาดำเนินการและสามารถทำให้คลายข้อสงสัยของประชาชนจำนวนมากได้ ตนก็เห็นด้วย
เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่หากปัญหาบานปลายอาจจะกระทบกับ ส.ว.ชุดปัจจุบันทั้งหมด น.ส.นันทนากล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่ากระบวนการได้มาซึ่ง ส.ว.ตรงนี้มันวิปริตบิดเบี้ยวไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ นั่นคือเป็นกระบวนการที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม เพราะเป็นคนที่สมัคร จ่ายเงิน และเข้ามาเลือกกันเอง ฉะนั้น หากกระบวนการไปถึงขั้นตอนที่พบว่ามีความผิดปกติ ไม่ชอบมาพากล และต้องมีการล้มกระดาน คิดว่าก่อนที่จะมีการล้มกระดานควรจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ส.ว. เพื่อเปลี่ยนกติกาก่อน เพราะหากมีการล้มกระดานจริง แต่ยังใช้กติกาเดิม มันก็เหมือนเดิม ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร
“เมื่อแก้รัฐธรรมนูญแล้วหลังจากนั้นจะเคลียร์อะไรต่อมิอะไร ก็ต้องให้มีกติกาใหม่มารองรับ กติกาที่ประชาชนเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมและเลือก ส.ว.ด้วยตัวเองเหมือนที่เลือก ส.ส. แบบนี้จะดีที่สุด ไม่ใช่เลือกกันเอง เพราะไม่ได้สะท้อนความต้องการของประชาชน แม้จะอ้างว่ามาจาก 20 กลุ่มอาชีพหรืออะไรก็ตาม“ น.ส.นันทนากล่าว
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับกรณีที่มี ส.ว.บางส่วนจะลงชื่อเพื่อยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
น.ส.นันทนากล่าวว่า เรื่องการตรวจสอบของดีเอสไอเป็นกระบวนการยุติธรรมในการที่จะตรวจสอบเรื่องการได้มาซึ่ง ส.ว.ที่คนทั่วไปก็ทราบดีว่ามาเป็นปึกแผ่น มีสีประจำตัว ฉะนั้น หากเชื่อว่าตัวเองมาอย่างยุติธรรมก็ควรให้กระบวนการยุติธรรมเข้ามาตรวจสอบ ไม่ควรใช้วิธีการฟ้องปิดปาก ตรงนี้หากมีการฟ้องปิดปากโดยให้หน่วยที่จะต้องมีการตรวจสอบไม่ว่าจะเป็นกระทรวงยุติธรรม ดีเอสไอ หยุดการกระทำ ก็จะทำให้ประชาชนเสียโอกาสในการรับรู้การตรวจสอบ
“ดิฉันคิดว่าไม่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อาจจะมีชื่ออยู่ในจำนวนที่ดีเอสไอจะดำเนินการ เพราะหมายความว่าตัวเองไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบ คนที่จะมาเป็นผู้แทนของประชาชน มาทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ควรจะโปร่งใสตรวจสอบได้ เมื่อตรวจสอบแล้วผลเป็นอย่างไรก็คือตามนั้น หากตรวจสอบแล้วไม่ผิดก็จะได้บอกประชาชนได้ว่ามาตามกระบวนการถูกต้อง แต่หากพบว่าผิดจริงก็ต้องมีการดำเนินการต่อ” น.ส.นันทนากล่าว
ถามต่อว่า ในส่วนที่จะมีการลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น มี ส.ว.จากกลุ่มอื่นมาพูดคุยกับ ส.ว.พันธุ์ใหม่แล้วบ้างหรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเป็น ส.ว.เสียงข้างน้อย ซึ่งเขาไม่เคยเห็นหัวเรามาตลอด ไม่ว่าเขาจะทำอะไร เขาไม่เคยให้เราไปมีส่วนร่วมในกระบวนการที่จะคัดสรรบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ หรือในคณะกรรมาธิการ ซึ่งเมื่อ ส.ว.กลุ่มเสียงข้างมากจะดำเนินการอภิปรายอะไรต่างๆ เราก็คงไม่ไปสนับสนุนตรงนั้น เป็นเรื่องที่เขาเดือดร้อน หรืออาจใช้คำว่าเขาร้อนตัวก็ได้ เพราะดีเอสไอยังไม่ได้เปิดชื่อมา
เมื่อถามว่า มองว่าเป็นเกมการเมืองหรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า เข้าใจว่าตรงนี้อาจจะมีเหตุจูงใจในการที่จะดำเนินการ ซึ่งประชาชนอาจจะมองเห็นอยู่ แต่หากมีเหตุจูงใจในการที่จะดำเนินการในส่วนนี้แล้วเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ และประชาชนเห็นด้วย แต่เท่าที่ดูโดยภาพรวมประชาชนก็สนับสนุนให้เข้ามาตรวจสอบกระบวนการนี้ หากเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ก็ต้องทำและถือว่าเป็นหน้าที่ แม้จะเป็นด้วยเหตุจูงใจอะไรก็ตาม
ส.ว. ชี้ คาร์บอมบ์ป่วนสนามบิน BRN เตือนให้ทักษิณถอยดับไฟใต้ มองเยือน 3 จุดสำคัญมีนัยยะทางการเมือง https://www.matichon.co.th/politics/news_5062718
ส.ว. ชี้ คาร์บอมบ์ป่วนสนามบิน BRN เตือนให้ทักษิณถอยดับไฟใต้ มองเยือน 3 จุดสำคัญมีนัยยะทางการเมือง
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ จากกรณีที่มีระเบิดคาร์บอมบ์ในสนามบิน จ.นราธิวาส ก่อนที่ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ จนมีผู้บาดเจ็บหลายราย และมีเหตุการณ์รุนแรงใน จ.นราธิวาสตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.68 จนถึงปัจจุบันมีความถี่มาก สร้างความเสียหายจำนวนมากและแนวโน้มจะเกิดเหตุการณ์สร้างความหวั่นวิตกให้ประชาชน
นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภากลุ่มสื่อมวลชน กล่าวว่าระเบิดแสวงเครื่องที่เกิดขึ้นในสนามบิน จ.นราธิวาส ก่อนที่คณะทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะเดินทางถึง 50 นาที มี 3 ประเด็น คือ ประเด็นแรก เป็นการแสดงออกจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนบีอาร์เอ็น ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจและไม่ต้อนรับการเดินทางลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของอดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ บีอาร์เอ็น กล่าวหาว่า เป็นผู้จุดชนวนของไฟใต้ในครั้งที่เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2547
นายไชยยงค์กล่าวว่า ผู้ที่เรียกขบวนการ บีอาร์เอ็นว่าเป็นโจรกระจอก เป็นผู้ยุบ ศอ.บต.และ พตท.43 และก่อนหน้านี้ หลังจากที่นายทักษิณ เดินทางไปพบกับ นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย เพื่อขอร่วมมือในการปราบปรามขบวนการ บีอาร์เอ็น ที่มีฐานที่มั่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย จนโฆษก บีอาร์เอ็น ข่มขู่ว่าหากมีการให้รัฐบาลมาเลเซียเข้ามากดดัน บีอาร์เอ็น สถานการณ์ของจังหวัดชายแดนใต้อาจจะรุนแรงมากขึ้น
นายไชยยงค์กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าการวางระเบิดคาร์บอมบ์ครั้งนี้ บีอาร์เอ็น ต้องการเพียงการแสดงถึง”สัญลักษณ์”ให้รู้ว่าไม่ต้องการให้”นายทักษิณ ชินวัตร มาเป็นผู้กำกับการดับไฟใต้” คาร์บอมบ์ลูกดังกล่าว จึงเป็นเพียงระเบิดขนาดเล็กที่ไม่มีสะเก็ดระเบิด ไม่ต้องการทำลายล้าง แต่ต้องการสื่อไปยังนายทักษิณ ชินวัตรและรัฐบาลเท่านั้น
นายไชยยงค์กล่าวว่า ประเด็นสุดท้าย ระเบิดแสวงเครื่องที่เป็น ”คาร์บอมบ์” สามารถหลุดรอดจากการตรวจของเจ้าหน้าที่ แสดงให้เห็นความหย่อนยาน ความบกพร่องของท่าอากาศยานและหน่วยความมั่นคงที่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย ที่ปล่อยให้รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน ซึ่งแนวร่วมของ บีอาร์เอ็น ได้นำระเบิดแสวงเครื่องไปติดตั้งไว้ในขณะที่รถยนต์คันนี้จอดอยู่นอกพื้นที่ของท่าอากาศยานระเบิดที่แนวร่วมนำมาติดตั้งในรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน จึงเป็นระเบิดขนาดเล็กที่ต้องการให้เกิดเสียงดัง แต่ไม่ต้องการสร้างความเสียหาย ให้เจ้าหน้าที่ จึงมีเพียงเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บจากการหูอื้อแน่นหน้าอกเพียง 4 ราย
“ถ้าแนวร่วม บีอาร์เอ็น ติดตั้งระเบิดแสวงเครื่องที่มีน้ำหนัก 20 กก.และมีการใส่สะเก็ตระเบิดอานุภาพการทำลายล้าง ก็จะทำให้รถยนต์ที่เป็นคาร์บอมบ์แหลกเป็นจุล และต้องมีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ ล้มตาย หลายคน ทั้งท่าอากาศยานและ กอ.รมน.ภาค 4 ต้องกลายเป็นเป้าหมายในความสูญเสียที่เกิดขึ้น การวางระเบิดเพื่อต้อนรับทักษิณ ชินวัตร และคณะในครั้งนี้ จึงเป็นการส่งเสียงเตือนให้อดีตนายกรัฐมนตรีถอยจากการเข้ามาวุ่นวายในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น