เท้ง อัพเดต เดินหน้าล่ารายชื่อ ส.ส. ถอดถอนประธาน ป.ป.ช. เซ่นคลิปหลุด
https://www.matichon.co.th/politics/news_5062165
เท้ง อัพเดต เดินหน้าล่ารายชื่อ ส.ส. ถอดถอนประธาน ป.ป.ช. เซ่นคลิปหลุด
“
เท้ง” อัพเดต เดินหน้าล่ารายชื่อ ส.ส. ถอดถอนประธาน ป.ป.ช. เซ่นคลิปหลุด คาดไม่เกินสัปดาห์หน้า เชื่อ “
วันนอร์” ไม่ปล่อยฟรี ต้องส่งให้ศาลฎีกาตั้งกรรมการตรวจสอบต่อ ขู่ ถ้า “
ประธานรัฐสภา” ไม่ทำ ปชน.มีแนวทางอื่นรองรับแน่นอน
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าที่ พรรคประชาชนรวบรวมเข้าชื่อเพื่อยื่นถอดถอนประธาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คนปัจจุบัน ว่า ตอนนี้ยังขาดรายชื่อบางส่วน ไม่มีปัญหาอะไร ส.ส.พรรคประชาชน ยังลงชื่อไม่ครบ แต่มั่นใจว่าได้ครบทุกรายชื่อแน่นอน และ ส.ส.ทุกคน ไม่ได้แสดงข้อกังวลใจใดๆ พร้อมจะแสดงชื่อและยื่นต่อประธานรัฐสภา เราตั้งเป้าไว้ในช่วงสัปดาห์นี้จะล่ารายชื่อให้ครบ
เมื่อถามว่าหากล่ารายชื่อได้ครบแล้วแต่ประธานรัฐสภาไม่ส่งต่อ จะดำเนินการต่ออย่างไร นาย
ณัฐพงษ์ ระบุว่า ส่วนตัวไม่อยากเชื่อว่าประธานรัฐสภาจะดำเนินการแบบนั้น สังคมเห็นหลักฐานที่ประจักษ์ว่ามีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนใน ป.ป.ช. และรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าเป็นดุลพินิจของประธานรัฐสภา หากมีมูลเหตุที่เชื่อว่าเป็นไปตามข้อกล่าวอ้าง รัฐสภาจะต้องส่งต่อไปยังศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เราจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เพราะสังคมเฝ้ามองว่าการทำหน้าที่ของรัฐสภาเป็นอย่างไร
เมื่อถามว่า นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา จะมีส่วนได้ส่วนเสีย ถูกมองว่าไม่โปร่งใสนั้น ถ้าไม่ดำเนินการต่อ พรรคประชาชนจะทำอย่างไร หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า ยังไม่อยากวิเคราะห์มากขนาดนั้น ต้องรอดูก่อนหลังเรายื่นต่อประธานรัฐสภาจะดำเนินการอย่างไร เชื่อว่าท่านดำเนินการตรงไปตรงมา แต่ถ้าหากไม่ส่งขึ้นมาก็เชื่อว่าพรรคประชาชนจะพิจารณาแนวทางอื่นแน่นอน
"เท้ง ณัฐพงษ์" ติงคนไม่อยากเห็น สว.-ดีเอสไอ ตีกัน เชื่อไม่มี สส.พรรค ถูกซื้อเสียงไปเสริมทัพรัฐมนตรี
https://ch3plus.com/news/political/morning/433706
23 ก.พ. 2568 นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงภาพรวมการทำงานของรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเป็นเอกภาพ ล่าสุด ที่เป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการที่สภาฯล่ม จากการประชุมวาระที่หนึ่งของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในส่วนของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็จะมีอีกหลายประเด็นที่พวกเราได้ข้อมูลมาหลายทาง บางส่วนก็ได้รับมาจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้เห็นได้ชัดว่าการที่รัฐบาลขาดความมีเอกภาพ ทำให้การดำเนินนโยบายหลายอย่าง ซึ่งหลายนโยบายได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาไม่สามารถที่จะเดินหน้าเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะไปรอด 4 ปีหรือไม่ นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น เป็นการผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ซึ่งเราเองไม่เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลแบบนี้จะช่วยในการผลักดันนโยบายที่สำคัญเป็นนโยบายใหญ่ให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้ ครึ่งเทอมที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดที่สุดแล้ว ตนเชื่อว่าประชาชนเฝ้ามองอยู่เช่นเดียวกัน และเชื่อว่า ณ ตอนนี้ รอยร้าวก็จะยิ่งแสดงให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา แต่ไม่สามารถผลักกันได้ เพราะพรรคร่วมฯ ไม่เอาด้วย
เมื่อถามว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน วุฒิสภา (สว.) และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาซัดกัน จะมีข้อมูลลับมาถึงฝ่ายค้านให้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีหรือไม่ นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของดีเอสไอกำลังดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการฮั้วเลือก สว. ตนคิดว่า เป็นไปตามกระบวนการ สามารถดำเนินการได้ ส่วนมีข้อมูลที่จะใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ ตนคิดว่า เรื่องนี้อยู่ในกรอบญัตติที่เราจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนจะมีเรื่องนี้หรือไม่ ขอให้รอติดตามดูกัน
เมื่อถามว่า 2 ฝ่าย นิติบัญญัติและบริหาร ปะทะกันแบบนี้ มองอย่างไร นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวว่า แสดงให้เห็นว่าตอนนี้ในส่วนต่างๆ ของฝั่งรัฐบาลเอง ถึงแม้ สว. โดยหลักการ อาจจะไม่ได้มีความยึดโยงกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ในสังคมเอง เราก็มีข้อคิดเห็นว่ามีความยึดโยงกับการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราจะเห็นแต่ว่า สว. มีการโต้ตอบ ขู่กลับว่าจะมีการร่วมลงชื่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญในการดำเนินการถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เป็นการตอบโต้การทางการเมือง เป็นสิ่งที่ตนคิดว่าประชาชนไม่อยากเห็น เราอยากจะเห็นการเมืองที่ตรงไปตรงมา
ส่วนความขัดแย้งนี้จะนำมาสู่การยื่นข้อมูลลับ เพื่ออภิปราย พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หรือไม่ นายณัฐพงษ์ ระบุว่า อย่างที่ได้บอก ประเด็นนี้อยู่ในกรอบญัตติแน่นอน จะมีเรื่องความไม่โปร่งใส การไม่ลงรอยกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง รวมถึงปัญหาที่สำคัญของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือปัญหาอื่น ส่วนในรายละเอียดว่าตนจะพูดถึง ไม่พูดถึงเรื่องใดบ้าง ขอให้รอติดตามกันการอภิปรายไม่ไว้วางใจจริงๆ
นาย
ณัฐพงษ์ ยังยิ้ม กล่าวถึงการเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่าตอนนี้เกือบ 100% แล้ว เรื่องเนื้อหาก็มีความเข้มข้น แต่ตัวผู้อภิปรายเองรวมถึงประเด็นที่จะอภิปราย ขอยังไม่บอก รอให้อภิปรายจริงๆ รอติดตามกันดีกว่า
เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลขัดแย้งกันแบบนี้ จะส่งผลให้ช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจมีการซื้อเสียงงูเห่าจากพรรคประชาชน ไปโหวตรัฐมนตรีรายบุคคลหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าพรรคประชาชนเป็น 1 ในกระบวนการอย่างนั้น
“
ถ้ามีก็อาจจะมีได้ แต่ผมเชื่อมั่นว่า ไม่มี สส.ของพรรคประชาชน คนไหน ที่จะโหวตสวนหรือถูกซื้อตัวไปโหวตให้กับฝั่งรัฐบาลแน่นอน” นาย
ณัฐพงษ์ กล่าว
ส่วนจะมีการคาดโทษคนในฝ่ายค้านหรือไม่ หากโหวตสวน นาย
ณัฐพงษ์ ระบุว่า นิยามของพรรคร่วมฝ่ายค้าน คือคนที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล ดังนั้น จะไปคาดโทษเขาไม่ได้ สส.ของแต่ละพรรคที่จะโหวตหรือไม่โหวตอย่างไร ก็เป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละพรรคร่วมฝ่ายค้านเอง แต่ตนคิดว่าสิ่งที่ประชาชนคาดหวังจากฝ่ายค้าน คือการตรวจสอบรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่ตรวจสอบเพื่อที่จะเอาไปใช้เป็นผลประโยชน์ หรือข้อต่อรองทางการเมืองใดๆ หรือไม่
ช่วงท้ายสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวถามถึงสูตรรัฐบาลใหม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่พรรคประชาชน จะเข้าร่วม นาย
ณัฐพงษ์ กล่าวทันทีว่า “
คงเป็นไปไม่ได้ครับ เราประกาศชัดว่าในสมัยสภาชุดนี้ คงไม่ได้ไปร่วมเป็นฝ่ายบริหารแน่นอน ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้านต่อ”
เวิลด์แบงก์ มองศักยภาพ ศก.ไทย ส่อร่วง 0.5% วืดเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1167964
ธนาคารโลก มองศักยภาพเศรษฐกิจไทยส่อหดตัว 0.5% เหลือ 2.7% หากยังไม่เร่งปฎิรูปโครงสร้างการแข่งขัน อาจวืดขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 80 ย้ำอยู่ช่วงห้วเลี้ยวหัวต่อ
รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับเดือนก.พ.2568 ของ ธนาคารโลก หรือ “
เวิลด์แบงก์” ที่ออกมาล่าสุด แม้จะประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ไว้ที่ 2.9% แต่ได้แสดงความเป็นห่วงว่า หากไทยยังไม่เร่ง “ปฎิรูปโครงสร้างด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ” ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอาจลดลง 0.5% จากระดับ 3.2% มาอยู่ที่ 2.7% ในช่วงระหว่างปี 2565-2573
โดยรายงานฉบับนี้ ระบุว่า หากรัฐไม่มีการปฎิรูปนโยบายอย่างเร่งด่วน อัตราการเติบโตของประเทศจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการเติบโตตามศักยภาพจะลดลงราว 0.5% จากค่าเฉลี่ย 3.2% ในช่วงระหว่างปี 2554-2564 เหลือเพียง 2.7% ในช่วงระหว่างปี 2565-2573
ด้วยอัตราการเติบโตระดับนี้ ประเทศไทยจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2580 ได้ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นความสามารถการแข่งขันจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ไทยสามารถดึงดูดการลงทุนและยกระดับเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกที่เน้นนวัตกรรมและผลิตผลมากขึ้น
รายงานฉบับนี้ยังมีข้อเสนอแนะสำคัญ ดังนี้
• เพิ่มการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ ผ่านการดำเนินนโยบายที่ชวยลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดโดยเฉพาะในภาคบริการ ปรับปรุงกรอบการกำกับดูแล และเพิ่มความยืดหยุ่นของตลาดแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถเติบโตและขยายกิจการได้ ในขณะที่บริษัทด้อยประสิทธิภาพจะถูกผลักดันให้ออกจากตลาด
• สนับสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต
นอกจากนี้ ธนาคารโลก ยังระบุว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ โดยตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ไทยมีความก้าวหน้าทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายด้านรายได้และยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ไทยยังจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือในการเพิ่มผลิตภาพของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม SME การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น จะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความพยายามนี้
รายงานของธนาคารโลกฉบับนี้ ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ไว้ว่าจะขยายตัวได้ราว 2.9% โดยมีการฟื้นตัวของการลงทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ แม้ว่าแนวโน้มจะชะลอตัวลงบ้าง โดยคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวจะกลับสู่ระดับก่อนโควิดได้ภายในกลางปี 2568 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจะได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเงินอุดหนุน เช่น ดิจิทัลวอเล็ต
อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนอาจเผชิญอุปสรรคจากวงจรการลดหนี้และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น
ด้านการค้า การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและจีน แม้ว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกจะอยู่ในภาวะขาขึ้นก็ตาม
ส่วนในปี 2569 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อย มีอัตราการขยายตัวที่ 2.7% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะแตะระดับศักยภาพได้ภายในปี 2571
ธนาคารโลก ประเมินด้วยว่า ภาคการคลังไทยยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แม้จะมีการจ่ายเงินอุดหนุน 1 หมื่นบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากรายจ่ายลงทุนที่ลดลงเนื่องจากความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณ
นอกจากนี้ ธนาคารโลก ประเมินว่า มาตรการเงินอุดหนุน 1 หมื่นบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตรอบแรกสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 14 ล้านคน หรือประมาณ 42% ของประชากรในกลุ่มรายได้ต่ำสุด อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2567 ได้เพียง 0.3% ในขณะที่มาตรการดังกล่าวมาพร้อมกับต้นทุนทางการคลังที่สูงถึง 1.45 แสนล้านบาท คิดเป็น 0.8% ของ GDP
JJNY : เท้งอัพเดตเดินหน้าล่ารายชื่อ│"เท้ง"ติงคนไม่อยากเห็น สว.-ดีเอสไอ ตีกัน│ศก.ส่อร่วง│‘มาครง-สตาร์เมอร์’จ่อพบทรัมป์
https://www.matichon.co.th/politics/news_5062165
“เท้ง” อัพเดต เดินหน้าล่ารายชื่อ ส.ส. ถอดถอนประธาน ป.ป.ช. เซ่นคลิปหลุด คาดไม่เกินสัปดาห์หน้า เชื่อ “วันนอร์” ไม่ปล่อยฟรี ต้องส่งให้ศาลฎีกาตั้งกรรมการตรวจสอบต่อ ขู่ ถ้า “ประธานรัฐสภา” ไม่ทำ ปชน.มีแนวทางอื่นรองรับแน่นอน
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าที่ พรรคประชาชนรวบรวมเข้าชื่อเพื่อยื่นถอดถอนประธาน สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คนปัจจุบัน ว่า ตอนนี้ยังขาดรายชื่อบางส่วน ไม่มีปัญหาอะไร ส.ส.พรรคประชาชน ยังลงชื่อไม่ครบ แต่มั่นใจว่าได้ครบทุกรายชื่อแน่นอน และ ส.ส.ทุกคน ไม่ได้แสดงข้อกังวลใจใดๆ พร้อมจะแสดงชื่อและยื่นต่อประธานรัฐสภา เราตั้งเป้าไว้ในช่วงสัปดาห์นี้จะล่ารายชื่อให้ครบ
เมื่อถามว่าหากล่ารายชื่อได้ครบแล้วแต่ประธานรัฐสภาไม่ส่งต่อ จะดำเนินการต่ออย่างไร นายณัฐพงษ์ ระบุว่า ส่วนตัวไม่อยากเชื่อว่าประธานรัฐสภาจะดำเนินการแบบนั้น สังคมเห็นหลักฐานที่ประจักษ์ว่ามีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนใน ป.ป.ช. และรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าเป็นดุลพินิจของประธานรัฐสภา หากมีมูลเหตุที่เชื่อว่าเป็นไปตามข้อกล่าวอ้าง รัฐสภาจะต้องส่งต่อไปยังศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เราจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ เพราะสังคมเฝ้ามองว่าการทำหน้าที่ของรัฐสภาเป็นอย่างไร
เมื่อถามว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา จะมีส่วนได้ส่วนเสีย ถูกมองว่าไม่โปร่งใสนั้น ถ้าไม่ดำเนินการต่อ พรรคประชาชนจะทำอย่างไร หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวว่า ยังไม่อยากวิเคราะห์มากขนาดนั้น ต้องรอดูก่อนหลังเรายื่นต่อประธานรัฐสภาจะดำเนินการอย่างไร เชื่อว่าท่านดำเนินการตรงไปตรงมา แต่ถ้าหากไม่ส่งขึ้นมาก็เชื่อว่าพรรคประชาชนจะพิจารณาแนวทางอื่นแน่นอน
"เท้ง ณัฐพงษ์" ติงคนไม่อยากเห็น สว.-ดีเอสไอ ตีกัน เชื่อไม่มี สส.พรรค ถูกซื้อเสียงไปเสริมทัพรัฐมนตรี
https://ch3plus.com/news/political/morning/433706
23 ก.พ. 2568 นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงภาพรวมการทำงานของรัฐบาล ว่า ที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดว่าไม่มีความเป็นเอกภาพ ล่าสุด ที่เป็นประเด็นที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการที่สภาฯล่ม จากการประชุมวาระที่หนึ่งของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในส่วนของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็จะมีอีกหลายประเด็นที่พวกเราได้ข้อมูลมาหลายทาง บางส่วนก็ได้รับมาจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้เห็นได้ชัดว่าการที่รัฐบาลขาดความมีเอกภาพ ทำให้การดำเนินนโยบายหลายอย่าง ซึ่งหลายนโยบายได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาไม่สามารถที่จะเดินหน้าเพื่อพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะไปรอด 4 ปีหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น เป็นการผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ซึ่งเราเองไม่เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลแบบนี้จะช่วยในการผลักดันนโยบายที่สำคัญเป็นนโยบายใหญ่ให้กับพ่อแม่พี่น้องประชาชนได้ ครึ่งเทอมที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดที่สุดแล้ว ตนเชื่อว่าประชาชนเฝ้ามองอยู่เช่นเดียวกัน และเชื่อว่า ณ ตอนนี้ รอยร้าวก็จะยิ่งแสดงให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา แต่ไม่สามารถผลักกันได้ เพราะพรรคร่วมฯ ไม่เอาด้วย
เมื่อถามว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน วุฒิสภา (สว.) และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาซัดกัน จะมีข้อมูลลับมาถึงฝ่ายค้านให้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ในส่วนของดีเอสไอกำลังดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการฮั้วเลือก สว. ตนคิดว่า เป็นไปตามกระบวนการ สามารถดำเนินการได้ ส่วนมีข้อมูลที่จะใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ ตนคิดว่า เรื่องนี้อยู่ในกรอบญัตติที่เราจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนจะมีเรื่องนี้หรือไม่ ขอให้รอติดตามดูกัน
เมื่อถามว่า 2 ฝ่าย นิติบัญญัติและบริหาร ปะทะกันแบบนี้ มองอย่างไร นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า แสดงให้เห็นว่าตอนนี้ในส่วนต่างๆ ของฝั่งรัฐบาลเอง ถึงแม้ สว. โดยหลักการ อาจจะไม่ได้มีความยึดโยงกับพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ในสังคมเอง เราก็มีข้อคิดเห็นว่ามีความยึดโยงกับการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราจะเห็นแต่ว่า สว. มีการโต้ตอบ ขู่กลับว่าจะมีการร่วมลงชื่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญในการดำเนินการถอดถอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า เป็นการตอบโต้การทางการเมือง เป็นสิ่งที่ตนคิดว่าประชาชนไม่อยากเห็น เราอยากจะเห็นการเมืองที่ตรงไปตรงมา
ส่วนความขัดแย้งนี้จะนำมาสู่การยื่นข้อมูลลับ เพื่ออภิปราย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หรือไม่ นายณัฐพงษ์ ระบุว่า อย่างที่ได้บอก ประเด็นนี้อยู่ในกรอบญัตติแน่นอน จะมีเรื่องความไม่โปร่งใส การไม่ลงรอยกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง รวมถึงปัญหาที่สำคัญของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือปัญหาอื่น ส่วนในรายละเอียดว่าตนจะพูดถึง ไม่พูดถึงเรื่องใดบ้าง ขอให้รอติดตามกันการอภิปรายไม่ไว้วางใจจริงๆ
นายณัฐพงษ์ ยังยิ้ม กล่าวถึงการเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่าตอนนี้เกือบ 100% แล้ว เรื่องเนื้อหาก็มีความเข้มข้น แต่ตัวผู้อภิปรายเองรวมถึงประเด็นที่จะอภิปราย ขอยังไม่บอก รอให้อภิปรายจริงๆ รอติดตามกันดีกว่า
เมื่อถามว่าพรรคร่วมรัฐบาลขัดแย้งกันแบบนี้ จะส่งผลให้ช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจมีการซื้อเสียงงูเห่าจากพรรคประชาชน ไปโหวตรัฐมนตรีรายบุคคลหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่าพรรคประชาชนเป็น 1 ในกระบวนการอย่างนั้น
“ถ้ามีก็อาจจะมีได้ แต่ผมเชื่อมั่นว่า ไม่มี สส.ของพรรคประชาชน คนไหน ที่จะโหวตสวนหรือถูกซื้อตัวไปโหวตให้กับฝั่งรัฐบาลแน่นอน” นายณัฐพงษ์ กล่าว
ส่วนจะมีการคาดโทษคนในฝ่ายค้านหรือไม่ หากโหวตสวน นายณัฐพงษ์ ระบุว่า นิยามของพรรคร่วมฝ่ายค้าน คือคนที่ไม่ได้เป็นรัฐบาล ดังนั้น จะไปคาดโทษเขาไม่ได้ สส.ของแต่ละพรรคที่จะโหวตหรือไม่โหวตอย่างไร ก็เป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละพรรคร่วมฝ่ายค้านเอง แต่ตนคิดว่าสิ่งที่ประชาชนคาดหวังจากฝ่ายค้าน คือการตรวจสอบรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่ตรวจสอบเพื่อที่จะเอาไปใช้เป็นผลประโยชน์ หรือข้อต่อรองทางการเมืองใดๆ หรือไม่
ช่วงท้ายสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวถามถึงสูตรรัฐบาลใหม่ เป็นไปได้หรือไม่ที่พรรคประชาชน จะเข้าร่วม นายณัฐพงษ์ กล่าวทันทีว่า “คงเป็นไปไม่ได้ครับ เราประกาศชัดว่าในสมัยสภาชุดนี้ คงไม่ได้ไปร่วมเป็นฝ่ายบริหารแน่นอน ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้านต่อ”
เวิลด์แบงก์ มองศักยภาพ ศก.ไทย ส่อร่วง 0.5% วืดเป็นประเทศพัฒนาแล้ว
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1167964
ธนาคารโลก มองศักยภาพเศรษฐกิจไทยส่อหดตัว 0.5% เหลือ 2.7% หากยังไม่เร่งปฎิรูปโครงสร้างการแข่งขัน อาจวืดขึ้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 80 ย้ำอยู่ช่วงห้วเลี้ยวหัวต่อ
รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับเดือนก.พ.2568 ของ ธนาคารโลก หรือ “เวิลด์แบงก์” ที่ออกมาล่าสุด แม้จะประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ไว้ที่ 2.9% แต่ได้แสดงความเป็นห่วงว่า หากไทยยังไม่เร่ง “ปฎิรูปโครงสร้างด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ” ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอาจลดลง 0.5% จากระดับ 3.2% มาอยู่ที่ 2.7% ในช่วงระหว่างปี 2565-2573
โดยรายงานฉบับนี้ ระบุว่า หากรัฐไม่มีการปฎิรูปนโยบายอย่างเร่งด่วน อัตราการเติบโตของประเทศจะชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าการเติบโตตามศักยภาพจะลดลงราว 0.5% จากค่าเฉลี่ย 3.2% ในช่วงระหว่างปี 2554-2564 เหลือเพียง 2.7% ในช่วงระหว่างปี 2565-2573
ด้วยอัตราการเติบโตระดับนี้ ประเทศไทยจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2580 ได้ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นความสามารถการแข่งขันจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ไทยสามารถดึงดูดการลงทุนและยกระดับเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกที่เน้นนวัตกรรมและผลิตผลมากขึ้น
รายงานฉบับนี้ยังมีข้อเสนอแนะสำคัญ ดังนี้
• เพิ่มการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ ผ่านการดำเนินนโยบายที่ชวยลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดโดยเฉพาะในภาคบริการ ปรับปรุงกรอบการกำกับดูแล และเพิ่มความยืดหยุ่นของตลาดแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถเติบโตและขยายกิจการได้ ในขณะที่บริษัทด้อยประสิทธิภาพจะถูกผลักดันให้ออกจากตลาด
• สนับสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต
นอกจากนี้ ธนาคารโลก ยังระบุว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ โดยตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ไทยมีความก้าวหน้าทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม การบรรลุเป้าหมายด้านรายได้และยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ไทยยังจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือในการเพิ่มผลิตภาพของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม SME การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้มากขึ้น จะเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความพยายามนี้
รายงานของธนาคารโลกฉบับนี้ ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ไว้ว่าจะขยายตัวได้ราว 2.9% โดยมีการฟื้นตัวของการลงทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ แม้ว่าแนวโน้มจะชะลอตัวลงบ้าง โดยคาดการณ์ว่าการท่องเที่ยวจะกลับสู่ระดับก่อนโควิดได้ภายในกลางปี 2568 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนจะได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเงินอุดหนุน เช่น ดิจิทัลวอเล็ต
อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนอาจเผชิญอุปสรรคจากวงจรการลดหนี้และมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น
ด้านการค้า การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและจีน แม้ว่าตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกจะอยู่ในภาวะขาขึ้นก็ตาม
ส่วนในปี 2569 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงเล็กน้อย มีอัตราการขยายตัวที่ 2.7% และคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะแตะระดับศักยภาพได้ภายในปี 2571
ธนาคารโลก ประเมินด้วยว่า ภาคการคลังไทยยังคงขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แม้จะมีการจ่ายเงินอุดหนุน 1 หมื่นบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากรายจ่ายลงทุนที่ลดลงเนื่องจากความล่าช้าในการจัดสรรงบประมาณ
นอกจากนี้ ธนาคารโลก ประเมินว่า มาตรการเงินอุดหนุน 1 หมื่นบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดิจิทัลวอลเล็ตรอบแรกสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 14 ล้านคน หรือประมาณ 42% ของประชากรในกลุ่มรายได้ต่ำสุด อาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2567 ได้เพียง 0.3% ในขณะที่มาตรการดังกล่าวมาพร้อมกับต้นทุนทางการคลังที่สูงถึง 1.45 แสนล้านบาท คิดเป็น 0.8% ของ GDP