วิจัยชี้ เจน Z เจอวิกฤตการเงินหนัก! จนไม่อาจเอื้อม ‘ชีวิตในแบบที่ฝัน’ แต่ถ้าเปลี่ยนมุมมองก็อาจทำได้อยู่
ว่ากันว่าเป้าหมายของชีวิตจะเป็นตัวกำหนดปัจจุบัน เช่น ความต้องการในด้านอาชีพการงานจะเป็นตัวสร้างแนวทางให้กับการศึกษา เป้าหมายทางการเงินจะสร้างกรอบความคิดที่เป็นระบบและวินัยที่แข็งแกร่ง ส่วนเป้าหมายเรื่องครอบครัวก็อาจเป็นแนวทางการพัฒนาตัวเองในด้านความสัมพันธ์ให้กับใครหลายคนได้เช่นกัน
แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเราถูกบีบให้ต้องปล่อยมือจากชีวิตในแบบที่ตัวเองใฝ่ฝัน?
นี่เป็นปัญหาที่กลุ่มเจเนอเรชัน Z หรือคนที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ 13-28 ปีกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ โดยนักวิจัยจากกลุ่ม Foundry10 ระบุว่าคนเจน Z กำลังเจอกับวิกฤตหลายด้านพร้อมๆ กันและกังวลเป็นอย่างมากว่าจะไม่สามารถประสบความสำเร็จกับชีวิตตามแบบที่พวกเขาคาดหวัง
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ายังพอมีความเป็นไปได้ที่คนรุ่นใหม่จะสามารถบรรลุเป้าหมายในด้านต่างๆ เพื่อเข้าใกล้ความฝันของตนเอง แต่ก่อนที่เราจะหาคำตอบว่าวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เจน Z มีชีวิตในแบบที่ใฝ่ฝันได้ มาสำรวจกันก่อนดีกว่าว่าสถานการณ์ในตอนนี้ของเจน Z กำลังเผชิญกับวิกฤตอะไรอยู่บ้าง?
อิสระทางการเงิน ครอบครัว และงานที่มั่นคง…ความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับเจน Z ?
ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย หรือสื่อประเภทต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอน อย่างเช่น ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าเล่าเรียนที่แพงขึ้น หรือการหางานทำที่ยากมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบกับเป้าหมายสำคัญในชีวิตของคนรุ่นใหม่หรือเจน Z ได้ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนกลุ่มนี้เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน มีสังคมที่กว้างใหญ่มากขึ้น และต้องรับผิดชอบตัวเองให้ได้แล้ว สถานการณ์ในโลกของผู้ใหญ่ยิ่งตอกย้ำความจริงให้คนเจน Z บางส่วนรู้ว่าความฝันของพวกเขาเป็นจริงได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก
แม้ว่าหลายคนจะแย้งว่าทุกเจนต่างก็เจอวิกฤตเหมือนกันหมด อย่างไรก็ตาม จากบทความของ Business Insider ได้เผยข้อมูลสถิติจาก TransUnion ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างวิกฤตในแต่ละช่วงวัยเอาไว้ดังนี้
[ ] คนเจน Z กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินหนักกว่าคนรุ่นอื่นในวัยเดียวกัน
คนเจน Z มีหนี้บัตรเครดิตมากกว่าคนเจน Y ในวัยเดียวกันถึง 30% แม้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ข้อมูลจาก New York Fed ยังแสดงให้เห็นว่าคนเจน Z มีแนวโน้มที่จะใช้วงเงินบัตรเครดิตจนเต็มและผิดนัดชำระหนี้มากที่สุดในบรรดากลุ่มประชากรทั้งหมด และความไม่แน่นอนในการชำระหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษาก็ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงินของคนหนุ่มสาวในระยะยาวได้เช่นกัน
[ ] คนเจน Z แทบไม่มีโอกาสที่จะมีบ้านเป็นของตัวเอง
ข้อมูลจากสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ (Census data) ระบุว่า อัตราการเป็นเจ้าของบ้านลดลงจาก 44% ในปี 2004 เหลือ 37% ในปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ถึง 34 ปีและยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่เพิ่มขึ้นจาก 11% ในช่วงต้นปี 2000 เป็น 16% ในปี 2023 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาบ้านที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่แตะระดับสูงสุดในรอบสองทศวรรษนี่เอง
การที่คนรุ่นใหม่ต้องแบกรับภาระทางการเงินท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดแรงงานยิ่งทำให้คนเจน Z กังวลมากขึ้นและมีลูกน้อยลง เนื่องจากการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก ทั้งค่าเลี้ยงดู ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา หรือแม้แต่การเสริมสร้างประสบการณ์ และการเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่หนักหนามากสำหรับพ่อแม่ด้วยเช่นกัน
สำรวจแนวทางชีวิตยุคใหม่ในแบบที่เจน Z ฝันได้และไม่ไกลเกินเอื้อม
แม้สถานการณ์จะดูไม่ค่อยเป็นใจให้คนรุ่นใหม่ได้ประสบความสำเร็จโดยง่าย อย่างไรก็ตาม บทความนี้ได้รวบรวมคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยชี้แนะทางออก เพื่อให้คนกลุ่มเจน Z สามารถดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อทำให้ความฝันเป็นจริงได้
โดยร็อด กริฟฟิน (Rod Griffin) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการศึกษาและการสนับสนุนผู้บริโภคของ Experian หนึ่งในบริษัทเครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเอาไว้ดังนี้
[ ] วางแผนงบประมาณในแต่ละเดือนก่อนใช้เงิน เพื่อให้เราสามารถควบคุมรายจ่ายของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
[ ] ตั้งเป้าหมายที่พอเป็นไปได้ ไม่เกินตัวของเราจนเกินไป
[ ] ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่เราไม่มีความรู้ หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น เช่น การจัดการกับหนี้สินประเภทต่างๆ หรือการลงทุน เป็นต้น
[ ] ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าบริการสมัครสมาชิกผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราไม่ค่อยใช้
นอกจากนี้ เอลิซาเบธ ฮุสเซอร์ล (Elizabeth Husserl) ผู้เขียนหนังสือ “The Power of Enough: Finding Joy in Your Relationship with Money” ยังกล่าวถึงคนรุ่นใหม่อีกด้วยว่าเราไม่จำเป็นต้องเดินตามเป้าหมายด้วยทางเดียวกันกับคนรุ่นก่อน
ถ้าเรามองว่าการมีบ้านเป็นของตัวเอง สร้างครอบครัวที่มั่นคงโดยมีพ่อ แม่และลูกเป็นชีวิตในแบบที่ฝัน ก็เป็นไปได้ยากที่คนเจน Z จะสามารถสานต่อความฝันของตัวเอง และทำให้ภาพนั้นเกิดขึ้นจริงในยุคนี้ กลับกันแล้ว ถ้าเราเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนเป้าหมาย แล้วก็มองหาความสุขที่สามารถเป็นจริงได้ในบริบทปัจจุบัน เราก็จะบรรลุเป้าหมายชีวิตในแบบใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น
มองหาเส้นทางการศึกษาแบบทางเลือกแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการกู้ยืมสำหรับการศึกษา หรือบางคนก็เปลี่ยนมุมมองของคำว่า ‘ครอบครัว’ โดยครอบครัวของคนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับภาพพ่อแม่ลูกเหมือนยุคก่อน เราสามารถเลือกอยู่กับคนที่เราสบายใจ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ (Platonic Relationship) อีกทั้งยังช่วยกันแชร์ค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาระทางการเงินได้ด้วย
แม้ว่าข้อมูลจากวิจัยเหล่านี้จะมาจากสหรัฐอเมริกา แต่เจน Z ในไทยเองก็กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ต่างกันมากนัก ทั้งเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความท้าทายในตลาดแรงงาน และการสร้างความมั่นคงทางการเงิน การเรียนรู้เข้าใจในศักยภาพของตัวเอง และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องจึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้เราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ในท้ายที่สุดนี้ ทุกคนมีเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน การค้นพบความสุขและความสำเร็จอาจไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกรอบที่เคยมีมา แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ได้ การเปิดรับแนวทางชีวิตที่หลากหลายขึ้น ก็อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้พบกับความสุขในแบบของตัวเองได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
ที่มา : Mission To The Moon
วิจัยชี้ เจน Z เจอวิกฤตการเงินหนัก! จนไม่อาจเอื้อม ‘ชีวิตในแบบที่ฝัน’
แต่จะเป็นอย่างไรถ้าเราถูกบีบให้ต้องปล่อยมือจากชีวิตในแบบที่ตัวเองใฝ่ฝัน?
นี่เป็นปัญหาที่กลุ่มเจเนอเรชัน Z หรือคนที่มีอายุตั้งแต่ประมาณ 13-28 ปีกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ โดยนักวิจัยจากกลุ่ม Foundry10 ระบุว่าคนเจน Z กำลังเจอกับวิกฤตหลายด้านพร้อมๆ กันและกังวลเป็นอย่างมากว่าจะไม่สามารถประสบความสำเร็จกับชีวิตตามแบบที่พวกเขาคาดหวัง
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ายังพอมีความเป็นไปได้ที่คนรุ่นใหม่จะสามารถบรรลุเป้าหมายในด้านต่างๆ เพื่อเข้าใกล้ความฝันของตนเอง แต่ก่อนที่เราจะหาคำตอบว่าวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยให้เจน Z มีชีวิตในแบบที่ใฝ่ฝันได้ มาสำรวจกันก่อนดีกว่าว่าสถานการณ์ในตอนนี้ของเจน Z กำลังเผชิญกับวิกฤตอะไรอยู่บ้าง?
อิสระทางการเงิน ครอบครัว และงานที่มั่นคง…ความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับเจน Z ?
ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดีย หรือสื่อประเภทต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่นอน อย่างเช่น ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าเล่าเรียนที่แพงขึ้น หรือการหางานทำที่ยากมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบกับเป้าหมายสำคัญในชีวิตของคนรุ่นใหม่หรือเจน Z ได้ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนกลุ่มนี้เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน มีสังคมที่กว้างใหญ่มากขึ้น และต้องรับผิดชอบตัวเองให้ได้แล้ว สถานการณ์ในโลกของผู้ใหญ่ยิ่งตอกย้ำความจริงให้คนเจน Z บางส่วนรู้ว่าความฝันของพวกเขาเป็นจริงได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก
แม้ว่าหลายคนจะแย้งว่าทุกเจนต่างก็เจอวิกฤตเหมือนกันหมด อย่างไรก็ตาม จากบทความของ Business Insider ได้เผยข้อมูลสถิติจาก TransUnion ที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างวิกฤตในแต่ละช่วงวัยเอาไว้ดังนี้
[ ] คนเจน Z กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินหนักกว่าคนรุ่นอื่นในวัยเดียวกัน
คนเจน Z มีหนี้บัตรเครดิตมากกว่าคนเจน Y ในวัยเดียวกันถึง 30% แม้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ข้อมูลจาก New York Fed ยังแสดงให้เห็นว่าคนเจน Z มีแนวโน้มที่จะใช้วงเงินบัตรเครดิตจนเต็มและผิดนัดชำระหนี้มากที่สุดในบรรดากลุ่มประชากรทั้งหมด และความไม่แน่นอนในการชำระหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษาก็ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายทางการเงินของคนหนุ่มสาวในระยะยาวได้เช่นกัน
[ ] คนเจน Z แทบไม่มีโอกาสที่จะมีบ้านเป็นของตัวเอง
ข้อมูลจากสำมะโนประชากรของสหรัฐฯ (Census data) ระบุว่า อัตราการเป็นเจ้าของบ้านลดลงจาก 44% ในปี 2004 เหลือ 37% ในปีที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของประชากรผู้ใหญ่ที่มีอายุ 25 ถึง 34 ปีและยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่เพิ่มขึ้นจาก 11% ในช่วงต้นปี 2000 เป็น 16% ในปี 2023 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาบ้านที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่แตะระดับสูงสุดในรอบสองทศวรรษนี่เอง
การที่คนรุ่นใหม่ต้องแบกรับภาระทางการเงินท่ามกลางความไม่แน่นอนในตลาดแรงงานยิ่งทำให้คนเจน Z กังวลมากขึ้นและมีลูกน้อยลง เนื่องจากการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก ทั้งค่าเลี้ยงดู ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา หรือแม้แต่การเสริมสร้างประสบการณ์ และการเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่หนักหนามากสำหรับพ่อแม่ด้วยเช่นกัน
สำรวจแนวทางชีวิตยุคใหม่ในแบบที่เจน Z ฝันได้และไม่ไกลเกินเอื้อม
แม้สถานการณ์จะดูไม่ค่อยเป็นใจให้คนรุ่นใหม่ได้ประสบความสำเร็จโดยง่าย อย่างไรก็ตาม บทความนี้ได้รวบรวมคำแนะนำดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยชี้แนะทางออก เพื่อให้คนกลุ่มเจน Z สามารถดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อทำให้ความฝันเป็นจริงได้
โดยร็อด กริฟฟิน (Rod Griffin) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการศึกษาและการสนับสนุนผู้บริโภคของ Experian หนึ่งในบริษัทเครดิตบูโรที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนด้านการเงินส่วนบุคคลเอาไว้ดังนี้
[ ] วางแผนงบประมาณในแต่ละเดือนก่อนใช้เงิน เพื่อให้เราสามารถควบคุมรายจ่ายของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
[ ] ตั้งเป้าหมายที่พอเป็นไปได้ ไม่เกินตัวของเราจนเกินไป
[ ] ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่เราไม่มีความรู้ หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น เช่น การจัดการกับหนี้สินประเภทต่างๆ หรือการลงทุน เป็นต้น
[ ] ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าบริการสมัครสมาชิกผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราไม่ค่อยใช้
นอกจากนี้ เอลิซาเบธ ฮุสเซอร์ล (Elizabeth Husserl) ผู้เขียนหนังสือ “The Power of Enough: Finding Joy in Your Relationship with Money” ยังกล่าวถึงคนรุ่นใหม่อีกด้วยว่าเราไม่จำเป็นต้องเดินตามเป้าหมายด้วยทางเดียวกันกับคนรุ่นก่อน
ถ้าเรามองว่าการมีบ้านเป็นของตัวเอง สร้างครอบครัวที่มั่นคงโดยมีพ่อ แม่และลูกเป็นชีวิตในแบบที่ฝัน ก็เป็นไปได้ยากที่คนเจน Z จะสามารถสานต่อความฝันของตัวเอง และทำให้ภาพนั้นเกิดขึ้นจริงในยุคนี้ กลับกันแล้ว ถ้าเราเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนเป้าหมาย แล้วก็มองหาความสุขที่สามารถเป็นจริงได้ในบริบทปัจจุบัน เราก็จะบรรลุเป้าหมายชีวิตในแบบใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น
มองหาเส้นทางการศึกษาแบบทางเลือกแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการกู้ยืมสำหรับการศึกษา หรือบางคนก็เปลี่ยนมุมมองของคำว่า ‘ครอบครัว’ โดยครอบครัวของคนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องผูกติดกับภาพพ่อแม่ลูกเหมือนยุคก่อน เราสามารถเลือกอยู่กับคนที่เราสบายใจ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กันและกันได้ (Platonic Relationship) อีกทั้งยังช่วยกันแชร์ค่าใช้จ่ายเพื่อลดภาระทางการเงินได้ด้วย
แม้ว่าข้อมูลจากวิจัยเหล่านี้จะมาจากสหรัฐอเมริกา แต่เจน Z ในไทยเองก็กำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่ต่างกันมากนัก ทั้งเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความท้าทายในตลาดแรงงาน และการสร้างความมั่นคงทางการเงิน การเรียนรู้เข้าใจในศักยภาพของตัวเอง และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องจึงเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้เราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ในท้ายที่สุดนี้ ทุกคนมีเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน การค้นพบความสุขและความสำเร็จอาจไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกรอบที่เคยมีมา แต่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับช่วงเวลาและสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ได้ การเปิดรับแนวทางชีวิตที่หลากหลายขึ้น ก็อาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้พบกับความสุขในแบบของตัวเองได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
ที่มา : Mission To The Moon