กรมการศาสนา นำพุทธศาสนิกชนเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ
“ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ตักบาตรสะพานมอญ”
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 06.30 น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มอบหมายให้นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน กิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ตักบาตรสะพานมอญ” โดยมีพระเทพปริยัติโสภณ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วย นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา นายสำรวย นักการเรียน ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางพรรณวิภา ปิยัมปุตระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ผู้แทนส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วม ณ วัดวังก์วิเวการาม และบริเวณตลาดสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับวัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี จัดงานโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน และเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น กระตุ้นให้เกิดทุนทางวัฒนธรรม (Soft Power) รวมทั้งเป็นการขยายโอกาส ให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล
และเจริญภาวนา นอกเหนือจากวันธรรมสวนะและในโอกาสต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ตักบาตรสะพานมอญ” ณ วัดวังก์วิเวการาม และบริเวณตลาดสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีกิจกรรมประกอบด้วย การแสดงดนตรีของชุมชนชาวมอญ การตักบาตรพระสงฆ์บริเวณสะพานมอญ การเยี่ยมชมอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนบริเวณตลาดสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ โดยมีกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตการจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน อุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน และกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
ณ วัดวังก์วิเวการาม ร่วมกับคนในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง
ตักบาตรสะพานมอญ เป็นการตักบาตรแบบวิถีชาวมอญ โดยในชุมชนมีโฮมสเตย์ที่บริการที่พักและอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมตักบาตร พร้อมทั้งจัดให้เช่าชุดพื้นถิ่น จัดชุดของตักบาตร สำหรับให้ผู้เข้าร่วมงานตักบาตรในตอนเช้า ซึ่งจะมีพระสงฆ์จากวัดวังก์วิเวการาม เดินเท้ามาบิณฑบาตตลอดเส้นทางบริเวณตลาดสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ หลังจากตักบาตรแล้วสามารถเดินชมสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ต่อด้วยการเยี่ยมชม และอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน จากนั้นเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และฟังธรรมเทศนา ณ วัดวังก์วิเวการาม ปิดท้ายด้วยการกราบสักการะเจดีย์พุทธคยา ที่ได้การจำลองแบบมาจากมหาเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย
สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ
เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี และวัดวังก์วิเวการาม เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวไทย มอญ กระเหรี่ยง และพม่า ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น แต่ปัจจุบันเป็นที่บรรจุร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่ออุตตมะ ภายหลังจากมรณะภาพ ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อขาว และมีงาช้างแมมมอธขนาดใหญ่ที่หลวงพ่ออุตตมะได้รับการถวาย และนำมาไว้ให้ชมกัน
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดงานโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน กรมการศาสนา ดำเนินงานต่อยอดและขยายผลจากปีที่ผ่านมา โดยร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด คัดเลือกสถานที่ที่มีประเพณีโดดเด่น มีวัดอยู่ใกล้ชุมชน มีการให้บริการจัดของตักบาตรให้กับนักท่องเที่ยว การบริการเช่าชุดพื้นถิ่น การจัดพื้นที่แสดงสินค้าสำหรับชุมชน ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนและส่งผลให้มีการพัฒนาต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในเมืองหลักและเมืองรอง เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 10 แห่ง ได้แก่ 1. ตักบาตรสะพานมอญ จังหวัดกาญจนบุรี 2. นุ่งซิ่น นั่งสาด ตักบาตร 9 วัด จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ตักบาตรวัดไทยสามัคคี จังหวัดตาก 4. ทำบุญตักบาตร ยลวิถีลาวเวียง จังหวัดนครนายก 5. ชิมหนม ชมหลาด ตักบาตร หลาดลองแล จังหวัดพังงา 6. ตักบาตรทางน้ำ ริมคลองข้าวตอก จังหวัดพิจิตร 7. ตักบาตรพระทางน้ำวัดธาราวดี (บางจาก) จังหวัดนครศรีธรรมราช 8. ปราจีนบุรีรวมใจ ตักบาตร เติมบุญ สร้างกุศลวิถีไทย จังหวัดปราจีนบุรี 9. ถนนบิณฑบาต ตามรอยหลวงปู่มั่น จังหวัดสกลนคร
10. ตักบาตรวัดปานประสิทธาราม จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อกระตุ้นเตือนให้พุทธศาสนิกชนยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิต เป็นการขยายโอกาสให้พุทธศาสนิกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล และเจริญภาวนา ทั้งในวันธรรมสวนะและนอกเหนือจากวันธรรมสวนะ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติศาสนา ทำให้เกิดกระแสการหมุนเวียนของเม็ดเงิน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทำให้เกิดรายได้ให้กับชุมชนรอบศาสนาสถาน
พุทธศาสนิกชนเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ตักบาตรสะพานมอญ”
นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับวัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี จัดงานโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในชุมชน และเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น กระตุ้นให้เกิดทุนทางวัฒนธรรม (Soft Power) รวมทั้งเป็นการขยายโอกาส ให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล
และเจริญภาวนา นอกเหนือจากวันธรรมสวนะและในโอกาสต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน ตักบาตรสะพานมอญ” ณ วัดวังก์วิเวการาม และบริเวณตลาดสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีกิจกรรมประกอบด้วย การแสดงดนตรีของชุมชนชาวมอญ การตักบาตรพระสงฆ์บริเวณสะพานมอญ การเยี่ยมชมอุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนบริเวณตลาดสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ โดยมีกิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตการจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน อุดหนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน และกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรม
ณ วัดวังก์วิเวการาม ร่วมกับคนในชุมชนและบริเวณใกล้เคียง
สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ
เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี และวัดวังก์วิเวการาม เป็นวัดจำพรรษาของ “หลวงพ่ออุตตมะ” ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวไทย มอญ กระเหรี่ยง และพม่า ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น แต่ปัจจุบันเป็นที่บรรจุร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่ออุตตมะ ภายหลังจากมรณะภาพ ภายในวิหารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อขาว และมีงาช้างแมมมอธขนาดใหญ่ที่หลวงพ่ออุตตมะได้รับการถวาย และนำมาไว้ให้ชมกัน
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดงานโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน กรมการศาสนา ดำเนินงานต่อยอดและขยายผลจากปีที่ผ่านมา โดยร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด คัดเลือกสถานที่ที่มีประเพณีโดดเด่น มีวัดอยู่ใกล้ชุมชน มีการให้บริการจัดของตักบาตรให้กับนักท่องเที่ยว การบริการเช่าชุดพื้นถิ่น การจัดพื้นที่แสดงสินค้าสำหรับชุมชน ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนและส่งผลให้มีการพัฒนาต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในเมืองหลักและเมืองรอง เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 10 แห่ง ได้แก่ 1. ตักบาตรสะพานมอญ จังหวัดกาญจนบุรี 2. นุ่งซิ่น นั่งสาด ตักบาตร 9 วัด จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ตักบาตรวัดไทยสามัคคี จังหวัดตาก 4. ทำบุญตักบาตร ยลวิถีลาวเวียง จังหวัดนครนายก 5. ชิมหนม ชมหลาด ตักบาตร หลาดลองแล จังหวัดพังงา 6. ตักบาตรทางน้ำ ริมคลองข้าวตอก จังหวัดพิจิตร 7. ตักบาตรพระทางน้ำวัดธาราวดี (บางจาก) จังหวัดนครศรีธรรมราช 8. ปราจีนบุรีรวมใจ ตักบาตร เติมบุญ สร้างกุศลวิถีไทย จังหวัดปราจีนบุรี 9. ถนนบิณฑบาต ตามรอยหลวงปู่มั่น จังหวัดสกลนคร
10. ตักบาตรวัดปานประสิทธาราม จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อกระตุ้นเตือนให้พุทธศาสนิกชนยึดมั่นในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิต เป็นการขยายโอกาสให้พุทธศาสนิกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล และเจริญภาวนา ทั้งในวันธรรมสวนะและนอกเหนือจากวันธรรมสวนะ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในมิติศาสนา ทำให้เกิดกระแสการหมุนเวียนของเม็ดเงิน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทำให้เกิดรายได้ให้กับชุมชนรอบศาสนาสถาน