รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ-ตะวันออก สร้างช้าก็ดี จับทำเป็นเส้นเดียวกัน และเปลี่ยนให้สายเหนือมีสถานีอ่างทองด้วย

ตอนนี้ทั้งรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและสายตะวันออก 3 สนามบิน ก็ยังไม่ได้สร้างทั้งคู่ ถือว่าเป็นโชคดีมากที่มีโอกาสจะวางแผนการก่อสร้างให้ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด 
  ตามแผนเดิมแล้ว สายเหนือและสายตะวันออกจะเป็นรถไฟคนละระบบกัน คนละเจ้ากัน สายเหนือของญี่ปุ่น สายตะวันออกของยุโรป

  ถ้าใครจะเดินทางจากภาคตะวันออกไปภาคเหนือ หรือภาคเหนือไปภาคตะวันออก ก็ต้องนั่งรถไฟมาลงที่บางซื่อแล้วเปลี่ยนขบวนรถ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายค่อนมาก และเพิ่มความยากลำบากในการเดินทาง   
  ถ้าทำให้รถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเป็นรถเส้นทางเดียวกัน เดินทางสะดวกไม่ต้องเปลี่ยนขบวนเปลี่ยนสาย ก็จะดีมากๆ น่าเดินทางขึ้นอีกเยอะ
  สายเหนือกับตะวันออกก็น่าจะเลือกบริษัทเดียวไปเลย จะเลือกญี่ปุ่นหรือยุโรปก็ได้ซักเจ้านึง ถ้าชาตินึงได้ ก็ให้อีกชาตินึงไปทำอีกสายนึง เช่น สายเหนือรวมกับสายตะวันออกได้ของญี่ปุ่น ก็ให้ยุโรปไปทำสายตะวันตกสายใต้ หรือเส้นทางตาก-มุกดาหาร เป็นกระชับความสัมพันธ์กับหลายๆชาติ ดีต่อการเมืองเรา

  เส้นทางรถไฟที่ขึ้นสายเหนือก็ควรให้มีความแตกต่างจากเส้นทางรถไฟสายอีสานในบางช่วง จากเดิมที่มีบางช่วงซ้ำๆกัน คือเส้นทางขึ้นเหนือกับเส้นทางไปอีสาน จะเหมือนกันตรงที่เริ่มจากบางซื่อไปจนถึงบ้านภาชี พอถึงบ้านภาชีแล้วรางเส้นนึงก็จะไปภาคเหนือ อีกรางเส้นนึงก็จะไปภาคอีสาน ซึ่งยังไม่ค่อยตอบโจทย์ของคนที่เดินทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพราะรถไฟสายเหนือและอีสานใช้เส้นทางสายสีแดงในปัจจุบันและอนาคต มีสถานีซ้ำกันๆตั้งแต่ช่วงบางซื่อ-อยุธยา

    ถ้าสามารถสร้างความแตกต่างในการเดินทางด้วยรถไฟแบบตอบโจทย์คนกรุงเทพและปริมณฑลด้วยก็จะดีมาก ที่น่าทำกับสายเหนือคือ จากสถานีดอนเมืองถึงอยุธยาามีความแตกต่างจากสายอีสานเรื่องสถานีดังนี้ พอรถไฟความเร็วสูงสายเหนือผ่านดอนเมืองไป ก็จะวิ่งรับส่งผู้โดยสารตามเส้นทางขึ้นเหนือที่สถานีเซียร์รังสิต สถานีฟิวเจอร์พาร์ครังสิต  สถานีม.กรุงเทพ  สถานีม.ธรรมศาสตร์รังสิต สถานีนวนคร สถานีประตูน้ำพระอินทร์ สถานีโลตัสบางปะอิน(จุดบางปะอินจะนี้เป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา) และจุดต่อไปคือ สถานีรถไฟความเร็วสูงอ่างทอง สถานีลพบุรี-สถานีพิษณุโลก
    จากสถานีดอนเมืองไปถึงสถานีฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ก็สร้างลงใต้ดิน ช่วงที่ผ่านดอนเมืองไปเล็กน้อยก็ค่อยๆลดทางรถไฟต่ำลงเรื่อยๆจนลอดใต้ดินไปสถานีเซียร์รังสิต สถานีฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต พอผ่านฟิวเจอร์ปาร์ค แล้วเป็นทางรถไฟที่ขึ้นมาเรื่อยๆ และเป็นรถไฟลอยฟ้าจนถึงหน้าม.กรุงเทพ ม.ธรรมศาสตร์ และต่อขึ้นเหนือ
  เห็นตรงข้ามเซียร์รังสิต มีห้างที่เตรียมรื้อ ถ้าสร้างรถไฟฟ้าผ่านตรงนี้ ต่อไปตรงนี้ก็อาจขึ้นเป็นคอนโดที่อยู่อาศัยได้

  ตั้งแต่สถานีดอนเมือง-โลตัส บางปะอิน ถือว่าเป็นเขตเมืองทั้งหมด รถไฟวิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน 160 km/h
 รถไฟความเร็วสูงจะวิ่งจอดรับตั้งแต่สถานีบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา(ข้างโลตัส บางปะอิน) สถานีอ่างทอง สถานีลพบุรี สถานีนครสวรรค์ สถานีพิจิตร สถานีพิษณุโลก
  ซึ่งก็จะทำให้เกิดแนวเส้นทางรถไฟที่ขนานกัน 2 ด้าน คล้ายสายสีแดงกับสายสีเขียว สายสีแดงฝั่งถนนวิภาวดี สายสีเขียวฝั่งถนนพหลโยธิน แต่แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ-อีสานนี้ก็จะไกลกันมากกว่าสายสีแดง-สีเขียวอยู่พอสมควร

  สรุปว่าสถานีในเขตเมืองก็คือตั้งแต่ โลตัส บางปะอิน-ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ หากวิ่งด้วย city line ความเร็วก็ไม่เกิน 160 km/h หากวิ่งแบบรถไฟความเร็วสูงความเร็วก็อยู่ราวๆ 250 km/h วิ่งรับจอดเฉพาะสถานีใหญ่ๆก็คือ บางซื่อ-ดอนเมือง-อยุธยา-อ่างทอง-ลพบุรี จนไปถึงพิษณุโลก

  อ่างทองนี่ไม่มีในแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงมาแต่เดิมนะ แต่พอมานั่งพิจารณาตามแผนที่และปัจจัยอื่นๆ ควรจะมีสถานีรถไฟความเร็วสูงอ่างทองด้วย
  อ่างทองถึงจะเป็นจังหวัดเล็กๆ มีประชากรน้อยมาก ไม่เกิน 300,000 คน อันดับประชากรอยู่ช่วงท้ายๆของไทย คนมองว่าจะคุ้มมั้ยถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านจุดนี้ คงคิดว่าไม่คุ้ม แต่เมื่อดูตามความจริง ก็มีคนเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพกับอ่างทองอยู่มาก สังเกตดูจากรอบรถตู้ มีตั้งแต่เช้ายันเย็น รถออกทุก 30 นาที แสดงว่าความต้องการเดินจากกรุงเทพไปอ่างทอง อ่างทองไปกรุงเทพนั้นมีมาก อ่างทองจึงเป็นเมืองที่น่าสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงมากๆ คนกรุงเทพมาอยู่อาศัยนอกเมืองอย่างอ่างทองกันเยอะ รถไฟความเร็วสูงผ่านก็ได้เป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ จากตำแหน่งอ่างทองไปอีกราว 33 กิโลเมตร ก็จะเป็นสถานีรถไฟทางคู่ลพบุรีแห่งใหม่ เป็นพื้นที่ของการรถไฟเอง ก็ทำเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากอ่างทองมาจนถึงตำแหน่งสถานีรถไฟลพบุรี 2 ให้สถานีรถไฟความเร็วสูงลพบุรีอยู่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟลพบุรี 2 ต่อจากนั้นก็ทำรถไฟความเร็วสูงขึ้นไปตามเส้นทางรถไฟเดิม หรือตามแผนเดิมที่ได้วางเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไว้จนถึงเชียงใหม่
  ส่วนสถานีอ่างทอง ก็อยู่ตำแหน่งป้ายยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวัดอ่างทอง ระยะทางจากบางปะอิน อยุธยาถึงอ่างทอง อยู่ที่ราวๆ 48 กิโล 
 จากเดิมที่สถานีอยุธยาแล้วต่อด้วยลพบุรี ก็จะเป็นอยุธยาต่อด้วยอ่างทองและต่อด้วยลพบุรี ลักษณะนี้ก็น่าจะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการที่รถไฟเก็บรายได้จากผู้โดยสารมากกว่า แต่ยังไงการคาดการณ์นี้ก็ต้องรอผลการศึกษาวิจัยอีกทีนึง

  แล้วการสร้างรถไฟความเร็วสูงอยุธยาแถวโลตัส บางปะอิน ก็มีข้อดีอีกข้อนึงคือ ห่างไกลจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาตำแหน่งเดิมซึ่งใกล้กับมรดกโลก 
  ที่ผ่านมา ก็มีปัญหามากอยู่แล้วในเรื่องสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ถ้าจะสร้างรถไฟความเร็วสูงสายเหนือผ่านตำแหน่งเดิมอีก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสถานีใหม่หรือขยายสถานีเดิมให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับเส้นทางสายเหนือด้วย ก็มีโอกาสจะมีปัญหาเรื่องมรดกโลกอีกแน่นอน

  แต่ก็ติดอยู่เรื่องนึงตรงที่ว่า ถ้าจะสร้างรถไฟฟ้าสถานีเซียร์รังสิต สถานีฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต อาจจะจะต้องทุบสะพานโทลล์เวย์ดอนเมืองออกไปบางส่วนแล้วสร้างใหม่หรือไม่ คล้ายๆทุบสะพานราชเทวี เพื่อการสร้างที่ถูกลง หรือไม่ต้องทุบสะพานก็ได้ แต่อาจจะใช้เงินมากในการทำ 2 สถานีนี้ เหมือนทำสถานีรถไฟใต้ดินสีลมที่มีชานชาลาไป-กลับ 2 ชั้น

  ที่ภาครัฐเล็งว่าจะประมูลโทลล์เวย์ช่วงต่อขยายจากรังสิตถึงบางปะอินในปีนี้ จริงๆแล้ว ยังไม่ต้องทำก็ได้ ค่าให้บริการโทลล์เวย์ก็แพงมาก หลายคนก็บ่นไม่อยากขึ้น ระยะทางจากช่วงฟิวเจอร์รังสิตไปบางปะอินก็ไม่ได้ไกล รถก็ยังไม่ค่อยติดมาก
  ควรจะเร่งทำรถไฟฟ้าสายสีแดงให้ถึงสถานีเชียงรากน้อย แล้วมีรถตู้จากแถวเชียงรากน้อยคอยรับคนเดินทางขึ้นมอเตอร์เวย์จากบางปะอินไปถึงโคราชก็น่าจะดูดีกว่า
   รอดูว่ามอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช มีคนนิยมใช้มากขนาดไหนก่อน แล้วค่อยมาประมูลก่อสร้างช่วงรังสิต-บางปะอิน ก็ยังได้
 หรือถ้าจะทำ ก็ทำแบบสายสีน้ำตาล ทางด่วนโทลล์เวย์รังสิต-บางปะอินอยู่ข้างบน ทางรถไฟอยู่ข้างใต้ทางด่วน

  ที่น่าจะเร่งทำ ก็คือรถไฟฟ้าสายสีแดงกรุงเทพ-โคราช  ดันคนมาใช้ขนส่งสาธารณะให้มากๆ รถไฟทำเวลาได้เปรียบกว่ารถยนต์ในระดับที่ดีด้วย ถ้ารถไฟความเร็วสูงก็ได้เปรียบก็ว่ามาก รถไฟทางคู่ก็ได้เปรียบกว่าพอสมควร  พอคนมีพฤติกรรมมาใช้รถไฟฟ้าวิ่งด่วนที่วิ่งจอดรับส่งผู้โดยสารเฉพาะสถานีใหญ่ของจังหวัดแล้ว ต่อไปคนก็จะมาใช้รถไฟความเร็วสูงได้ง่ายด้วย

 
ในกรุงเทพมีนโยบายหลายอย่างที่จะผลักดันคนมาใช้รถไฟฟ้า ตามต่างจังหวัดก็ควรมีนโยบายหลายอย่างที่จะให้คนมาใช้รถไฟธรรมดา+รถไฟความเร็วสูง ตลอดจนขนส่งสาธารณะอื่นๆ
 จะสร้างอะไรต้องคิดต้องวางแผนเรียงลำดับความสำคัญให้ดี จะทำให้เกิดความคุ้มค่าในระยะยาว
ถึงตอนนี้ ก็น่าเร่งทำสายสีแดงอ่อนจากลาดกระบังถึงอู่ตะเภาไว้ก่อน เพราะสายเหนือคงอีกนานกว่าจะสร้าง และสายรถไฟ 3 สนามบินก็อีกนานกว่าจะสร้างเสร็จ แม้ได้เริ่มสร้างวันนี้

  ที่พูดมาทั้งหมดนี้ กว่าจะได้ทำจริงก็อีกนานมากอยู่ ตอนนี้ขอแค่รถไฟฟ้ากรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ เอาแบบสายสีแดงที่มีระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว วิ่งด่วนรับส่งเฉพาะสถานีใหญ่ๆของจังหวัดแบบการจอดรับผู้โดยสารของรถไฟความเร็วสูง ส่วนรถไฟความเร็วสูงสายเหนือความเร็ว 300 km/h อีก 5-10 ปีค่อยทำก็ได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่