เปิด 10 อันดับ ประเทศเสี่ยง กระทบหนัก อากาศแปรปรวน ไทยดีขึ้น หลุดจากอันดับ 9

Climate Risk Index: CRI 2025 จัดทำโดย Germanwatch วิเคราะห์และครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลก สะท้อนถึงแนวโน้มของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศทั้งรายปีและแนวโน้มระยะยาว 30

ดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Risk Index : CRI) 2025 ซึ่งจัดทำโดย Germanwatch มาตั้งแต่ปี 2006 แสดงการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับผลกระทบของเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก ระยะยาวในช่วง 30 ปี

และจัดอันดับประเทศต่างๆ ตามผลกระทบทางมนุษย์และเศรษฐกิจที่เกิดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง เช่น พายุ น้ำท่วม คลื่นความร้อน และอื่นๆ ฉบับล่าสุดนี้เน้นย้ำถึงการสูญเสียที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจำเป็นต้องมีการเพิ่มความเข้มแข็งในการรับมือกับสภาพภูมิอากาศและการดำเนินการที่แข็งแกร่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ช่วง 30 ปี (1993-2022) ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 30 ลดลงจากอันดับ 9 เทียบกับ 4 ปีที่แล้ว (ช่วงปี 2000-2019) แต่ยังต้องเตรียมพร้อมตั้งรับและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนภายใต้ภาวะโลกเดือดอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ จัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลเหตุการณ์ภัยพิบัติระดับสากล (EM-DAT) ธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดหลัก ได้แก่ จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ น้ำท่วม คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า วิธีการนี้จะสามารถเปรียบเทียบผลกระทบของภัยพิบัติในประเทศต่างๆ และสะท้อนถึงแนวโน้มของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี และแนวโน้มระยะยาว 30 ปี

รายงานแบ่งประเทศออกเป็นสองกลุ่ม คือ

ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่ไม่ธรรมดา
ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงเป็นระยะๆ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สภาพภูมิอากาศ ส่งผลเสียร้ายแรง

CRI 2025 ระบุว่าในช่วงปี 1993 ถึง 2022 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 765,000 คน และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยตรงเกือบ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปรับตามเงินเฟ้อ) จากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงกว่า 9,400 ครั้ง ความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศยังคงเพิ่มขึ้น เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ

10 ประเทศรับผลกระทบมากที่สุดในปี 2022

รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ในปี 2022 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง 10 อันดับ ได้แก่

ปากีสถาน
เบลีซ
อิตาลี
กรีซ
สเปน
เปอร์โตริโก
สหรัฐอเมริกา
ไนจีเรีย
โปรตุเกส
บัลแกเรีย


อ่านเพิ่มเติม :  กรุงเทพธุรกิจ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่