หลังได้ตัวซิง ซิง ดาราจีนกลับ “หลิว จงอี้” ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและสาธารณะของจีน เข้าพบทวี สอดส่อง-ภูมิธรรม เวชยชัยส่งผลไทยตัดไฟฟ้า-อินเทอร์เนต-งดส่งน้ำมัน ชายแดนเมียนมา หวังสกัดคอลเซนเตอร์ ด้านกระเหรี่ยงBGFคืนเหยื่อ 61+260 แต่ไม่มีคนไทย คนติดตามข้อมูลชี้น่าคิดงานนี้
“ไทยได้ภาพแต่อาจไม่ได้ผล”เพราะฐานหลอกคนไทยส่วนใหญ่อยู่กัมพูชา
ปฎิบัติการตัดไฟฟ้า 5 จุดที่เชื่อมไปยังชายแดนประเทศเมียนมาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2568 จากรัฐบาลไทย เพื่อเป็นการสกัดกั้นทุนจีนสีเทาที่เข้ามาตั้งศูนย์หลอกลวงคนทั่วโลก หลังจากที่นายหวังซิง หรือ ซิง ซิง ดาราจีนถูกหลอกมาที่ประเทศไทยเมื่อ 3 มกราคม 2568 แล้วข้ามไปยังชายแดนพม่าแถบจังหวัดตาก หลังจากสถานทูตจีนประจำประเทศไทยทราบ
6 มกราคม 2568 สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ยืนยันว่าได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือจากสมาชิกครอบครัวของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และกำลังติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องของไทยและสมาชิกครอบครัวของบุคคลนั้น โดยให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นและพยายามค้นหาที่อยู่ของบุคคลนั้นอย่างเต็มที่
จากนั้น 7 มกราคม 2568 พบตัวซิง ซิง และถูกส่งตัวกลับมาฝั่งไทย
เรื่องราวของซิง ซิง ถูกนำไปขยายต่อในประเทศจีน พร้อม ๆ กับคำเตือนถึงความไม่ปลอดภัยที่จะเดินทางทางมาประเทศไทย ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ตัดไฟฟ้า-น้ำมัน-อินเทอร์เนต
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการส่งนายหลิว จงอี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและสาธารณะ สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาประเทศไทย เพื่อประสานความร่วมมือแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชายแดนไทย-เมียนมา เข้าหารือกับพันตำรวจเอกทวีสอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 27 มกราคม 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของไทย
และลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ลงพื้นที่สำรวจชายแดนฝั่งไทยริมแม่น้ำเมยในจุดที่มองเห็นเมืองชเวโก๊กโก บริเวณบ้านวังแก้ว ตำบลแม่ปะ และเมืองเคเคพาร์ค ตรงข้ามพื้นที่ตำบลแม่กุ เมื่อ 29 มกราคมที่ผ่านมา และ 1 กุมภาพันธ์ คณะเจ้าหน้าที่จีนชุดนี้เดินทางไปที่ชายแดนไทย ลาว และพม่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเข้าพบนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
จากนั้นจึงเป็นที่มาของคำสั่งตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เนต และน้ำมัน ที่จัดส่งจากฝั่งไทยไปยัง 5 เมืองฝั่งเมียนมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568
จำนวน 5 จุด คือ 1.บ้านเจดีย์สามองค์ – เมืองพญาตองซู รัฐมอญ 2.บ้านเหมืองแดง – เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน 3.สะพานมิตรภาพไทยเมียนมา – เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน 4.สะพานมิตรภาพไทยเมียนมาแห่งที่ 2 – อำเภอเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และ 5.บ้านห้วยม่วง – อำเภอเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง
จากนั้นนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เดินทางไปเยือนจีนระหว่าง 5-8 กุมภาพันธ์ 2568 ได้เข้าพบกับประธานาธิบดี สี เจิ้น ผิง จนได้รับคำชมถึงเรื่องการจัดการดังกล่าว
ซิง ซิง 2 วันได้ตัว
ส่วนผลกระทบจากการตัดไฟฟ้า อินเทอเน็ต และงดส่งน้ำมันเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เป้าหมายลดลง มีการเตรียมเรื่องเครื่องปั่นไฟฟ้าและใช้แผงโซลาร์เซลและขอซื้อไฟฟ้าจากลาวเพิ่มมาทดแทน ประชาชนต้องเผชิญกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น บางส่วนขับรถเข้ามาเติมในประเทศไทย
ระหว่างนี้เป็นสงครามข่าวระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งพม่า ฝั่งไทยตั้งท่าจะออกหมายจับพลตรีหม่อง ชิตตู ผู้นำกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF ฝ่ายพม่าก็โต้ว่าเขาทำผิดอะไร แถมมีม็อบประท้วงไทยอีก
“มันก็ไม่ต่างไปจากละครของ 2 ฝั่ง ไทยบอกจะออกหมายจับ แต่อัยการเบรกไว้ ฝั่งพม่าก็ประท้วงไทยพอเป็นพิธี หากลองย้อนกับไปดูเรื่อง ซิง ซิง พอสถานทูตจีนออกมาเดินเครื่อง 2 วันได้ตัวเลย ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายไม่คุ้นเคยกันแล้วจะได้เร็วแบบนี้มั๊ย”แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกต
ล้างตำรวจตาก
นี่จึงเป็นที่มาของคำสั่งย้ายนายตำรวจในจังหวัดตาก เนื่องจากเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่ 3 สถานีตำรวจ ในความรับผิดชอบของพล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ประกอบกับ ตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
และมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจ 3 ราย พ.ต.อ.พิทยากร เพชรรัตน์ ผกก.สภ.แม่สอด จ.ตาก พ.ต.อ.ฐมณ์พงศ์ เพ็ชร์พิรุณ ผกก.สภ.แม่ระมาด จ.ตาก และพ.ต.อ.ฉัตรชัย คำยิ่ง ผกก.สภ.พบพระ จ.ตาก ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจฎรรภาค 6 โดยขาดจากการปฏิบัฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม
รวมถึงคำสั่งย้าย พล.ต.ต.เอกราษฎร์ อินต๊ะสืบ รักษาราชการแทน ผบก.กองตรวจราชการ 6 ผู้กว้างขวางในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 6 พร้อมตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงปมถูกกล่าวหาเกี่ยวข้อง เมียวดีคอมเพล็กซ์ แหล่งฟอกเงินผิดกฎหมายชายแดนไทย-เมียนมา
แค่ละคร
ภายใต้ความเดือดร้อนของชาวพม่าในพื้นที่ มีการนัดชุมนุมประท้วงฝ่ายไทยพร้อมข้อเรียกร้อง ปิดสะพานการค้าชายแดนไทย-เมียนมา (สะพานมิตรภาพ 1-2) ปิดท่าข้ามผิดกฎหมายและรณรงค์ไม่ใช้สินค้าไทย แต่สุดท้ายก็เป็นแค่ Event เล็ก ๆ
เจ้าของ Page : Natty loves Myanmar โพสต์ถึงเรื่องนี้ว่า ตอบคำถามคาใจ ทำไมม็อบไม่ไปประท้วงหน้าบ้าน มิน อ่อง หล่าย หรือ ชิตตู่?
นี่อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ทำไมกลุ่มผู้ประท้วงชาวเมียนมาถึงไม่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาและกองกำลังทหารกะเหรี่ยงจัดการกับทุนจีนสีเทา? ทั้งๆ ที่คนเมียนมาเองก็ตกเป็นเหยื่อของขบวนการเหล่านี้เช่นกัน
สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ต้นตอของปัญหา : รัฐบาลทหารเมียนมาและกองกำลังทหารกะเหรี่ยงมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับทุนจีนสีเทา พวกเขาเปิดทางให้เช่าพื้นที่ เอื้อประโยชน์ในการทำธุรกิจ และยังเป็นผู้สนับสนุนม็อบที่ออกมาเคลื่อนไหวในวันนี้
แหล่งรายได้มหาศาล : ธุรกิจสีเทาอย่างแก๊งสแกมเมอร์และคอลเซ็นเตอร์ เป็นแหล่งเงินสำคัญของกลุ่มเหล่านี้ ทำให้พวกเขามีอำนาจและผลประโยชน์มหาศาล
ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรอง : จะให้ประชาชนไปกดดันคนที่ถืออาวุธได้อย่างไร? ย้อนกลับไปช่วงรัฐประหาร ประชาชนเคยลุกขึ้นต่อต้านกองทัพและรัฐบาลทหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือการปราบปรามอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตนับไม่ถ้วน
กระแสตีกลับจากชาวเมียนมา : ชาวเน็ตเมียนมาจำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยและประณามการกระทำของม็อบในวันนี้ โดยตั้งข้อสังเกตว่าผู้เข้าร่วมประท้วงส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้าง (ม็อบ 5,000 จ๊าด) และเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารหรือ BGF
สุดท้าย ไทยจะเอายังไง? : ตราบใดที่ไทยยังจับมือกับกลุ่มเหล่านี้ ปัญหาสแกมเมอร์ คอลเซ็นเตอร์ และธุรกิจสีเทาก็จะยังคงอยู่ แล้วเราจะต้องรออีกนานแค่ไหน กว่าปัญหานี้จะถูกจัดการอย่างสิ้นซาก?
ทุกประเทศต้องร่วมมือ
จีนเขาก็รู้ว่าข้าราชการไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มอำนาจในแถบชายแดน ไม่งั้นจะได้ตัว ซิงซิง เร็วอย่างนี้หรือ? ซึ่งไทยก็ปล่อยให้ปัญหานี้มีมาอย่างยาวนาน การย้ายตำรวจ 3 โรงพักและระดับผู้บังคับการก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่มันไม่ได้แก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ที่จริงมันต้องเป็นความร่วมมือของทุกประเทศและทุกฝ่าย โดยเฉพาะประเทศที่ให้พื้นที่พวกเขาได้ทำมาหากิน ในไทยก็มีแก๊งคอลเซนเตอร์ จับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทุกอย่างเดินไปช้า ๆ ความรับผิดชอบทั้งผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์ สถาบันการเงิน กว่าจะมีการออกเป็นพระราชกำหนดบังคับใช้
วันนี้เราได้เห็นแล้วว่าเมื่อตัดไฟฟ้า น้ำมัน อินเทอร์เนต ประชาชนบางส่วนของพม่าเดือดร้อน กองกำลังที่คุมพื้นที่ก็ออกมาแจ้งว่าพร้อมให้ความร่วมมือ ถามว่าก่อนหน้านี้ไม่รู้ไม่เห็นหรือว่าในนั้นมีขบวนการเหล่านี้อยู่ พอถูกตัดน้ำมัน ตัดไฟฟ้า เดือดร้อนกันแล้วออกมาร่วมมือ หรือแม้กระทั่งการปล่อยตัวเหยื่อต่างชาติออกมา 2 ครั้ง ครั้งแรก 61 คนและครั้งที่ 2 อีก 260 คน เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้ง 2 ครั้งไม่มีคนไทยรวมอยู่ด้วย
“หม่องชิตตู”ร่วมมือไทย
พลตรีหม่อง ชิตตู ผู้นำกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF ออกแถลงการณ์ถึง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องความร่วมมือในการปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์ และการค้ามนุษย์ เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยระบุว่า
1.กองกำลังป้องกันชายแดน (รัฐกะเหรี่ยง) หรือ บีจีเอฟ จะดำเนินการจับกุม และปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์และแก๊งหลอกลวงกลุ่มคอลเซ็นเตอร์กับสแกมเมอร์ ที่กระทำการการอย่างผิดกฎหมาย ในโครงการลงทุนในภูมิภาคพื้นที่เขตการปกครองของ บีจีเอฟ
นอกจากนี้ เรายืนยันที่จะอำนวยความสะดวกในการส่งเหยื่อการค้ามนุษย์และชาวต่างชาติกลับประเทศบ้านเกิดของพวกเขาอีกด้วย
2.ในการดำเนินการครั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป จะมีการขนส่งชาวต่างชาติจำนวนมาก ผ่านสะพานมิตรภาพไทยเมียนมาร์แห่งที่ 2 จากพื้นที่เขตเมืองเมียวดี เพื่อดำรงไว้ถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ เพื่อให้ความร่วมมือในการปราบปรามการก่ออาชญกรรมผิดกฎหมายข้ามชาติ และการส่งตัวเหยื่อการค้ามนุษย์กลับประเทศให้มีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขอให้รัฐบาลไทยให้คำชี้แนะ และให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นอีกด้วย
อาจไม่ได้ผล
สิ่งที่เห็นในวันนี้คือการกดดันกลุ่มคอลเซนเตอร์ในพื้นที่ริมชายแดนพม่า เราเห็นผลชัดเจนจากการใช้ไฟที่ลดลงจากธุรกิจกาสิโน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะกดดันกลุ่มคอลเซนเตอร์ได้ทั้งหมด มันเป็นเพียงการสร้างความไม่สะดวกในการทำงานให้พวกเขาเท่านั้น
ประการต่อมามีคนไทยข้ามไปทำงานในแถบนี้ ส่วนใหญ่เป็นความสมัครใจ บางส่วนก็ไปเช้าเย็นกลับ ขณะที่กลุ่มคอลเซนเตอร์ที่หลอกลวงคนไทยจำนวนไม่น้อยอยู่แถว ๆ ชายแดนกัมพูชา ซึ่งไม่ได้พึ่งสาธารณูปโภคจากไทยมากนัก แถมคนละจุดกับที่ชเว่โก๊กโก่ ชายแดนพม่า จึงยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่า กลุ่มที่มาหลอกคนไทยนั้นจะหมดไปหรือไม่
เราก็ไม่อยากจะเรียกว่าที่รัฐบาลไทยทำลงไปทั้งหมดนั้น “ได้ภาพ แต่ไม่ได้ผล”
ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook :
https://www.facebook.com/SpecialScoopManagerOnline/
Instragram :
https://instagram.com/special.scoop.mgronline
Tiktok :
https://vt.tiktok.com/ZSe4j
Cr.
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9680000015228
ตัดไฟปราบ Call Center“ไทยได้ภาพ-แต่ไม่ได้ผล”
ปฎิบัติการตัดไฟฟ้า 5 จุดที่เชื่อมไปยังชายแดนประเทศเมียนมาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2568 จากรัฐบาลไทย เพื่อเป็นการสกัดกั้นทุนจีนสีเทาที่เข้ามาตั้งศูนย์หลอกลวงคนทั่วโลก หลังจากที่นายหวังซิง หรือ ซิง ซิง ดาราจีนถูกหลอกมาที่ประเทศไทยเมื่อ 3 มกราคม 2568 แล้วข้ามไปยังชายแดนพม่าแถบจังหวัดตาก หลังจากสถานทูตจีนประจำประเทศไทยทราบ
6 มกราคม 2568 สถานทูตจีนประจำประเทศไทย ยืนยันว่าได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือจากสมาชิกครอบครัวของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และกำลังติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องของไทยและสมาชิกครอบครัวของบุคคลนั้น โดยให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นและพยายามค้นหาที่อยู่ของบุคคลนั้นอย่างเต็มที่
จากนั้น 7 มกราคม 2568 พบตัวซิง ซิง และถูกส่งตัวกลับมาฝั่งไทย
เรื่องราวของซิง ซิง ถูกนำไปขยายต่อในประเทศจีน พร้อม ๆ กับคำเตือนถึงความไม่ปลอดภัยที่จะเดินทางทางมาประเทศไทย ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ตัดไฟฟ้า-น้ำมัน-อินเทอร์เนต
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วยการส่งนายหลิว จงอี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและสาธารณะ สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาประเทศไทย เพื่อประสานความร่วมมือแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ชายแดนไทย-เมียนมา เข้าหารือกับพันตำรวจเอกทวีสอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 27 มกราคม 2568 เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของไทย
และลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ลงพื้นที่สำรวจชายแดนฝั่งไทยริมแม่น้ำเมยในจุดที่มองเห็นเมืองชเวโก๊กโก บริเวณบ้านวังแก้ว ตำบลแม่ปะ และเมืองเคเคพาร์ค ตรงข้ามพื้นที่ตำบลแม่กุ เมื่อ 29 มกราคมที่ผ่านมา และ 1 กุมภาพันธ์ คณะเจ้าหน้าที่จีนชุดนี้เดินทางไปที่ชายแดนไทย ลาว และพม่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเข้าพบนายภูมิธรรม เวชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
จากนั้นจึงเป็นที่มาของคำสั่งตัดไฟฟ้า ตัดอินเทอร์เนต และน้ำมัน ที่จัดส่งจากฝั่งไทยไปยัง 5 เมืองฝั่งเมียนมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 จำนวน 5 จุด คือ 1.บ้านเจดีย์สามองค์ – เมืองพญาตองซู รัฐมอญ 2.บ้านเหมืองแดง – เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน 3.สะพานมิตรภาพไทยเมียนมา – เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน 4.สะพานมิตรภาพไทยเมียนมาแห่งที่ 2 – อำเภอเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และ 5.บ้านห้วยม่วง – อำเภอเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง
จากนั้นนางสาวแพทองธาร ชินวัตร เดินทางไปเยือนจีนระหว่าง 5-8 กุมภาพันธ์ 2568 ได้เข้าพบกับประธานาธิบดี สี เจิ้น ผิง จนได้รับคำชมถึงเรื่องการจัดการดังกล่าว
ซิง ซิง 2 วันได้ตัว
ส่วนผลกระทบจากการตัดไฟฟ้า อินเทอเน็ต และงดส่งน้ำมันเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่เป้าหมายลดลง มีการเตรียมเรื่องเครื่องปั่นไฟฟ้าและใช้แผงโซลาร์เซลและขอซื้อไฟฟ้าจากลาวเพิ่มมาทดแทน ประชาชนต้องเผชิญกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น บางส่วนขับรถเข้ามาเติมในประเทศไทย
ระหว่างนี้เป็นสงครามข่าวระหว่างฝั่งไทยกับฝั่งพม่า ฝั่งไทยตั้งท่าจะออกหมายจับพลตรีหม่อง ชิตตู ผู้นำกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF ฝ่ายพม่าก็โต้ว่าเขาทำผิดอะไร แถมมีม็อบประท้วงไทยอีก
“มันก็ไม่ต่างไปจากละครของ 2 ฝั่ง ไทยบอกจะออกหมายจับ แต่อัยการเบรกไว้ ฝั่งพม่าก็ประท้วงไทยพอเป็นพิธี หากลองย้อนกับไปดูเรื่อง ซิง ซิง พอสถานทูตจีนออกมาเดินเครื่อง 2 วันได้ตัวเลย ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายไม่คุ้นเคยกันแล้วจะได้เร็วแบบนี้มั๊ย”แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกต
ล้างตำรวจตาก
นี่จึงเป็นที่มาของคำสั่งย้ายนายตำรวจในจังหวัดตาก เนื่องจากเป็นกรณีที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตพื้นที่ 3 สถานีตำรวจ ในความรับผิดชอบของพล.ต.ต.สัมฤทธิ์ เอมกมล ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ประกอบกับ ตำรวจภูธรภาค 6 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
และมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจ 3 ราย พ.ต.อ.พิทยากร เพชรรัตน์ ผกก.สภ.แม่สอด จ.ตาก พ.ต.อ.ฐมณ์พงศ์ เพ็ชร์พิรุณ ผกก.สภ.แม่ระมาด จ.ตาก และพ.ต.อ.ฉัตรชัย คำยิ่ง ผกก.สภ.พบพระ จ.ตาก ช่วยราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจฎรรภาค 6 โดยขาดจากการปฏิบัฏิบัติหน้าที่ทางตำแหน่งเดิม
รวมถึงคำสั่งย้าย พล.ต.ต.เอกราษฎร์ อินต๊ะสืบ รักษาราชการแทน ผบก.กองตรวจราชการ 6 ผู้กว้างขวางในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 6 พร้อมตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงปมถูกกล่าวหาเกี่ยวข้อง เมียวดีคอมเพล็กซ์ แหล่งฟอกเงินผิดกฎหมายชายแดนไทย-เมียนมา
แค่ละคร
ภายใต้ความเดือดร้อนของชาวพม่าในพื้นที่ มีการนัดชุมนุมประท้วงฝ่ายไทยพร้อมข้อเรียกร้อง ปิดสะพานการค้าชายแดนไทย-เมียนมา (สะพานมิตรภาพ 1-2) ปิดท่าข้ามผิดกฎหมายและรณรงค์ไม่ใช้สินค้าไทย แต่สุดท้ายก็เป็นแค่ Event เล็ก ๆ
เจ้าของ Page : Natty loves Myanmar โพสต์ถึงเรื่องนี้ว่า ตอบคำถามคาใจ ทำไมม็อบไม่ไปประท้วงหน้าบ้าน มิน อ่อง หล่าย หรือ ชิตตู่?
นี่อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ทำไมกลุ่มผู้ประท้วงชาวเมียนมาถึงไม่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาและกองกำลังทหารกะเหรี่ยงจัดการกับทุนจีนสีเทา? ทั้งๆ ที่คนเมียนมาเองก็ตกเป็นเหยื่อของขบวนการเหล่านี้เช่นกัน
สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ต้นตอของปัญหา : รัฐบาลทหารเมียนมาและกองกำลังทหารกะเหรี่ยงมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับทุนจีนสีเทา พวกเขาเปิดทางให้เช่าพื้นที่ เอื้อประโยชน์ในการทำธุรกิจ และยังเป็นผู้สนับสนุนม็อบที่ออกมาเคลื่อนไหวในวันนี้
แหล่งรายได้มหาศาล : ธุรกิจสีเทาอย่างแก๊งสแกมเมอร์และคอลเซ็นเตอร์ เป็นแหล่งเงินสำคัญของกลุ่มเหล่านี้ ทำให้พวกเขามีอำนาจและผลประโยชน์มหาศาล
ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรอง : จะให้ประชาชนไปกดดันคนที่ถืออาวุธได้อย่างไร? ย้อนกลับไปช่วงรัฐประหาร ประชาชนเคยลุกขึ้นต่อต้านกองทัพและรัฐบาลทหาร สิ่งที่เกิดขึ้นคือการปราบปรามอย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิตนับไม่ถ้วน
กระแสตีกลับจากชาวเมียนมา : ชาวเน็ตเมียนมาจำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยและประณามการกระทำของม็อบในวันนี้ โดยตั้งข้อสังเกตว่าผู้เข้าร่วมประท้วงส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้าง (ม็อบ 5,000 จ๊าด) และเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารหรือ BGF
สุดท้าย ไทยจะเอายังไง? : ตราบใดที่ไทยยังจับมือกับกลุ่มเหล่านี้ ปัญหาสแกมเมอร์ คอลเซ็นเตอร์ และธุรกิจสีเทาก็จะยังคงอยู่ แล้วเราจะต้องรออีกนานแค่ไหน กว่าปัญหานี้จะถูกจัดการอย่างสิ้นซาก?
ทุกประเทศต้องร่วมมือ
จีนเขาก็รู้ว่าข้าราชการไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มอำนาจในแถบชายแดน ไม่งั้นจะได้ตัว ซิงซิง เร็วอย่างนี้หรือ? ซึ่งไทยก็ปล่อยให้ปัญหานี้มีมาอย่างยาวนาน การย้ายตำรวจ 3 โรงพักและระดับผู้บังคับการก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่มันไม่ได้แก้ปัญหาอย่างจริงจัง
ที่จริงมันต้องเป็นความร่วมมือของทุกประเทศและทุกฝ่าย โดยเฉพาะประเทศที่ให้พื้นที่พวกเขาได้ทำมาหากิน ในไทยก็มีแก๊งคอลเซนเตอร์ จับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ทุกอย่างเดินไปช้า ๆ ความรับผิดชอบทั้งผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์ สถาบันการเงิน กว่าจะมีการออกเป็นพระราชกำหนดบังคับใช้
วันนี้เราได้เห็นแล้วว่าเมื่อตัดไฟฟ้า น้ำมัน อินเทอร์เนต ประชาชนบางส่วนของพม่าเดือดร้อน กองกำลังที่คุมพื้นที่ก็ออกมาแจ้งว่าพร้อมให้ความร่วมมือ ถามว่าก่อนหน้านี้ไม่รู้ไม่เห็นหรือว่าในนั้นมีขบวนการเหล่านี้อยู่ พอถูกตัดน้ำมัน ตัดไฟฟ้า เดือดร้อนกันแล้วออกมาร่วมมือ หรือแม้กระทั่งการปล่อยตัวเหยื่อต่างชาติออกมา 2 ครั้ง ครั้งแรก 61 คนและครั้งที่ 2 อีก 260 คน เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้ง 2 ครั้งไม่มีคนไทยรวมอยู่ด้วย
“หม่องชิตตู”ร่วมมือไทย
พลตรีหม่อง ชิตตู ผู้นำกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF ออกแถลงการณ์ถึง นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่องความร่วมมือในการปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์ และการค้ามนุษย์ เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยระบุว่า
1.กองกำลังป้องกันชายแดน (รัฐกะเหรี่ยง) หรือ บีจีเอฟ จะดำเนินการจับกุม และปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์และแก๊งหลอกลวงกลุ่มคอลเซ็นเตอร์กับสแกมเมอร์ ที่กระทำการการอย่างผิดกฎหมาย ในโครงการลงทุนในภูมิภาคพื้นที่เขตการปกครองของ บีจีเอฟ
นอกจากนี้ เรายืนยันที่จะอำนวยความสะดวกในการส่งเหยื่อการค้ามนุษย์และชาวต่างชาติกลับประเทศบ้านเกิดของพวกเขาอีกด้วย
2.ในการดำเนินการครั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป จะมีการขนส่งชาวต่างชาติจำนวนมาก ผ่านสะพานมิตรภาพไทยเมียนมาร์แห่งที่ 2 จากพื้นที่เขตเมืองเมียวดี เพื่อดำรงไว้ถึงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ เพื่อให้ความร่วมมือในการปราบปรามการก่ออาชญกรรมผิดกฎหมายข้ามชาติ และการส่งตัวเหยื่อการค้ามนุษย์กลับประเทศให้มีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขอให้รัฐบาลไทยให้คำชี้แนะ และให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นอีกด้วย
อาจไม่ได้ผล
สิ่งที่เห็นในวันนี้คือการกดดันกลุ่มคอลเซนเตอร์ในพื้นที่ริมชายแดนพม่า เราเห็นผลชัดเจนจากการใช้ไฟที่ลดลงจากธุรกิจกาสิโน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะกดดันกลุ่มคอลเซนเตอร์ได้ทั้งหมด มันเป็นเพียงการสร้างความไม่สะดวกในการทำงานให้พวกเขาเท่านั้น
ประการต่อมามีคนไทยข้ามไปทำงานในแถบนี้ ส่วนใหญ่เป็นความสมัครใจ บางส่วนก็ไปเช้าเย็นกลับ ขณะที่กลุ่มคอลเซนเตอร์ที่หลอกลวงคนไทยจำนวนไม่น้อยอยู่แถว ๆ ชายแดนกัมพูชา ซึ่งไม่ได้พึ่งสาธารณูปโภคจากไทยมากนัก แถมคนละจุดกับที่ชเว่โก๊กโก่ ชายแดนพม่า จึงยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนว่า กลุ่มที่มาหลอกคนไทยนั้นจะหมดไปหรือไม่
เราก็ไม่อยากจะเรียกว่าที่รัฐบาลไทยทำลงไปทั้งหมดนั้น “ได้ภาพ แต่ไม่ได้ผล”
ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Facebook :https://www.facebook.com/SpecialScoopManagerOnline/
Instragram :https://instagram.com/special.scoop.mgronline
Tiktok :https://vt.tiktok.com/ZSe4j
Cr. https://mgronline.com/specialscoop/detail/9680000015228