ผมหาตัวบทกฎหมายไม่ได้ว่าถ้าซื้อ RMF เกินสิทธิ กำไรจากการขายส่วนที่ซื้อเกินสิทธิจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เอกสารแนะนำการลงทุนของสถาบันการเงินการลงทุนเท่าที่หาได้ตาม Google กล่าวไว้เช่นนั้น
ผมสงสัยว่าถ้ารออายุ 55 ปี แล้วค่อยขาย RMF เราจะแบ่งแยกยังไงว่ากำไรก้อนไหนเป็นก้อนที่มาจากส่วนที่ซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษีของปีนั้นครับ เพราะในปีภาษีเดียวกัน เราอาจซื้อหลายครั้ง ในหลายกองทุน (ไม่ว่าจะ บลจ.เดียวกัน หรือต่าง บลจ.) และก่อนปีที่ขาย เราก็อาจโยกกองทุนไปอยู่ในกองทุนที่แตกต่างกัน ทำให้ต้นทุน และราคาขายของหน่วยลงทุน RMF ที่ซื้อในปีภาษีใดๆ แตกต่างกัน
คำถามคือกฎหมายได้กำหนดไว้หรือไม่ว่าเราจะแบ่งแยกยังไงว่าหน่วยลงทุนส่วนไหนคือส่วนที่ซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษีได้ เช่น ให้ถือว่าส่วนที่ซื้อหลังจากครบสิทธิลดหย่อนเป็นส่วนที่ซื้อเกินสิทธิ (ต้นทุนและกำไรจากปีภาษีนั้นมาจากราคา FIFO/LIFO) หรือให้นำส่วนที่ซื้อทั้งปีภาษีนั้นมาเทียบบัญญัติไตรยางศ์หาต้นทุนและกำไรโดยคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยกับ RMF ที่ซื้อทั้งปี (ต้นทุนและกำไรจากปีภาษีนั้นมาจากราคา average ของหน่วยลงทุนที่ซื้อทั้งปี) ครับ
ขอบคุณครับ
ซื้อ RMF เกินสิทธิ รอขายตอนอายุ 55 จะบันทึกกำไรจากการขายส่วนที่เกินสิทธิยังไง
ผมสงสัยว่าถ้ารออายุ 55 ปี แล้วค่อยขาย RMF เราจะแบ่งแยกยังไงว่ากำไรก้อนไหนเป็นก้อนที่มาจากส่วนที่ซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษีของปีนั้นครับ เพราะในปีภาษีเดียวกัน เราอาจซื้อหลายครั้ง ในหลายกองทุน (ไม่ว่าจะ บลจ.เดียวกัน หรือต่าง บลจ.) และก่อนปีที่ขาย เราก็อาจโยกกองทุนไปอยู่ในกองทุนที่แตกต่างกัน ทำให้ต้นทุน และราคาขายของหน่วยลงทุน RMF ที่ซื้อในปีภาษีใดๆ แตกต่างกัน
คำถามคือกฎหมายได้กำหนดไว้หรือไม่ว่าเราจะแบ่งแยกยังไงว่าหน่วยลงทุนส่วนไหนคือส่วนที่ซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษีได้ เช่น ให้ถือว่าส่วนที่ซื้อหลังจากครบสิทธิลดหย่อนเป็นส่วนที่ซื้อเกินสิทธิ (ต้นทุนและกำไรจากปีภาษีนั้นมาจากราคา FIFO/LIFO) หรือให้นำส่วนที่ซื้อทั้งปีภาษีนั้นมาเทียบบัญญัติไตรยางศ์หาต้นทุนและกำไรโดยคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ยกับ RMF ที่ซื้อทั้งปี (ต้นทุนและกำไรจากปีภาษีนั้นมาจากราคา average ของหน่วยลงทุนที่ซื้อทั้งปี) ครับ
ขอบคุณครับ