เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย ชญาวดี ชัยอนันต์ โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย
https://www.prachachat.net/finance/news-1753056
“พบอีกครึ่งหมู่บ้าน ถูกหลอกเปิดบัญชีม้า รับเงินคนละ 400 พบเหยื่อกว่า 3 พันราย”
“แก๊งคอลฯหลอกเปิดบัญชีม้า กักขังเพื่อสแกนหน้าโอนเงิน”
ที่ผ่านมา เราได้เห็นข่าวเกี่ยวกับ “บัญชีม้า” ตีคู่มากับข่าวภัยทางการเงินที่สร้างความเสียหายให้กับคนไทยมาต่อเนื่อง และสงสัยว่าทำไมภาครัฐจึงยังไม่สามารถจัดการหรือกวาดล้างมิจฉาชีพเหล่านี้ได้หมดสักที ในครั้งนี้จึงอยากนำเรื่อง “บัญชีม้า” มาพูดคุยและเล่าถึงมาตรการต่าง ๆ ของแบงก์ชาติที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
สาวไปไม่ถึงตัว “โจร” เพราะโอนเข้า “บัญชีม้า”
หลายท่านอาจพอทราบแล้วว่า “บัญชีม้า” เป็นบัญชีธนาคารที่ถูกใช้เพื่อรับโอนเงินผิดกฎหมาย ทั้งจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เว็บพนัน หลอกลงทุน หรือฟอกเงิน ซึ่งอาจเป็นมิจฉาชีพเปิดเอง หรือจ้างคนอื่นให้เปิด และยังมีบัญชีม้าที่เจ้าของไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะถูกสวมรอยขโมยข้อมูลส่วนตัว อีกทั้งจากการกวาดล้างบัญชีม้าในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการหนีไปเปิดบัญชีม้าในรูปของบริษัทห้างร้าน (นิติบุคคล) ซึ่งนอกจากจะสามารถทำธุรกรรมในจำนวนที่สูงขึ้นได้แล้ว ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงเหยื่ออีกด้วย
ความต้องการหลักของมิจฉาชีพ คือ เพื่อแตกยอดเงินที่ไปหลอกมาแล้วโอนเงินต่อเป็นทอด ๆ ทำให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ยาก และไม่สามารถสืบสาวไปถึงตัวคนที่กระทำความผิดได้
กวาดล้าง “ม้าหลากสี” ตัดตอนคดีภัยการเงิน
ในช่วงแรก การจัดการภัยการเงินเน้นมาตรการเชิงป้องกัน เช่น การให้ธนาคารอัพเดตแอปพลิเคชั่น การสแกนหน้าเพื่อยืนยันตัวตน หรือไม่ให้ธนาคารส่งลิงก์ทุกประเภท ขณะที่เรื่องจัดการบัญชีม้าก็มีกฎหมายกำหนดโทษให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแม้เหยื่อจากแอปดูดเงินจะลดลงต่อเนื่อง แต่การถูกหลอกจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังมีอยู่จำนวนมาก ทำให้ต้องเน้นที่การตัดเส้นทางการโอนเงินด้วยการกวาดล้างบัญชีม้าให้ได้มากขึ้น เพื่อลดเครื่องมือทำมาหากินของมิจฉาชีพ โดยหากสามารถ “ระงับการทำธุรกรรม” หรือ “จำกัดการใช้งาน” ได้ ก็จะทำให้มิจฉาชีพทำงานได้ยากขึ้น
ในช่วงกลางปี 2567 แบงก์ชาติได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดการบัญชีม้า จากเดิมที่ดำเนินการเฉพาะ “บัญชี” มาเป็นจัดการกับทุกบัญชีภายใต้ “รายชื่อ” ของผู้กระทำผิด จึงเป็นการเล่นงานบัญชีม้าในระดับบุคคล รวมทั้งจัดระดับบัญชีม้าเพื่อกำหนดวิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม โดยแบ่งม้าออกเป็น 3 สี ตามความเสี่ยง ดังนี้
ม้าดำ คือ ผู้ที่อยู่ในรายชื่อผู้ที่กระทำความผิดตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ม้าเทา คือ ผู้ที่ถูกแจ้งความหรือแจ้งธนาคารว่าอยู่ในเส้นทางเงินและมีผู้ที่ได้รับความเสียหาย
ม้าน้ำตาล คือ คนที่ธนาคารเห็นว่าบัญชีธนาคารมีพฤติกรรมผิดปกติที่อาจเข้าข่ายเป็นบัญชีม้า และต้องเฝ้าระวัง
ทั้งนี้ ม้าดำและม้าเทาเป็นกลุ่มที่ธนาคารแชร์ข้อมูลรายชื่อระหว่างกันมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 เพื่อไม่ให้สามารถโอนเงินออกและเปิดบัญชีธนาคารใหม่ได้ ซึ่งจากการยกระดับการตรวจจับบัญชีม้าให้เป็นรายบุคคลนี้ ทำให้เมื่อสิ้นปี 2567 ที่ผ่านมา มีบัญชีธนาคารถูกระงับไปแล้วถึง 1.75 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นของคนไทย 1.34 แสนรายชื่อ อย่างไรก็ดี จำนวนผู้เสียหายจากการถูกหลอกให้โอนเงินก็ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร
อ่านต่อข่าวต้นฉบับตามลิ้งค์ข้างต้นในหัวข้อเหล่านี้
มาตรการ “ก ข ค” (ก้างขวางคอม้า) อีกขั้นของการแก้ปัญหาเชิงรุก
สถานีต่อไป “ม้าคริปโต”
ปฏิเสธความเป็นบัญชีม้า รีบปรึกษาธนาคาร
หยุด “บัญชีม้า” สกัดขา “มิจฉาชีพ” มาตรการ “ก ข ค” (ก้างขวางคอม้า)
https://www.prachachat.net/finance/news-1753056
“พบอีกครึ่งหมู่บ้าน ถูกหลอกเปิดบัญชีม้า รับเงินคนละ 400 พบเหยื่อกว่า 3 พันราย”
“แก๊งคอลฯหลอกเปิดบัญชีม้า กักขังเพื่อสแกนหน้าโอนเงิน”
ที่ผ่านมา เราได้เห็นข่าวเกี่ยวกับ “บัญชีม้า” ตีคู่มากับข่าวภัยทางการเงินที่สร้างความเสียหายให้กับคนไทยมาต่อเนื่อง และสงสัยว่าทำไมภาครัฐจึงยังไม่สามารถจัดการหรือกวาดล้างมิจฉาชีพเหล่านี้ได้หมดสักที ในครั้งนี้จึงอยากนำเรื่อง “บัญชีม้า” มาพูดคุยและเล่าถึงมาตรการต่าง ๆ ของแบงก์ชาติที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร
สาวไปไม่ถึงตัว “โจร” เพราะโอนเข้า “บัญชีม้า”
หลายท่านอาจพอทราบแล้วว่า “บัญชีม้า” เป็นบัญชีธนาคารที่ถูกใช้เพื่อรับโอนเงินผิดกฎหมาย ทั้งจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เว็บพนัน หลอกลงทุน หรือฟอกเงิน ซึ่งอาจเป็นมิจฉาชีพเปิดเอง หรือจ้างคนอื่นให้เปิด และยังมีบัญชีม้าที่เจ้าของไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะถูกสวมรอยขโมยข้อมูลส่วนตัว อีกทั้งจากการกวาดล้างบัญชีม้าในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีการหนีไปเปิดบัญชีม้าในรูปของบริษัทห้างร้าน (นิติบุคคล) ซึ่งนอกจากจะสามารถทำธุรกรรมในจำนวนที่สูงขึ้นได้แล้ว ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือในการหลอกลวงเหยื่ออีกด้วย
ความต้องการหลักของมิจฉาชีพ คือ เพื่อแตกยอดเงินที่ไปหลอกมาแล้วโอนเงินต่อเป็นทอด ๆ ทำให้ตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ยาก และไม่สามารถสืบสาวไปถึงตัวคนที่กระทำความผิดได้
กวาดล้าง “ม้าหลากสี” ตัดตอนคดีภัยการเงิน
ในช่วงแรก การจัดการภัยการเงินเน้นมาตรการเชิงป้องกัน เช่น การให้ธนาคารอัพเดตแอปพลิเคชั่น การสแกนหน้าเพื่อยืนยันตัวตน หรือไม่ให้ธนาคารส่งลิงก์ทุกประเภท ขณะที่เรื่องจัดการบัญชีม้าก็มีกฎหมายกำหนดโทษให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแม้เหยื่อจากแอปดูดเงินจะลดลงต่อเนื่อง แต่การถูกหลอกจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังมีอยู่จำนวนมาก ทำให้ต้องเน้นที่การตัดเส้นทางการโอนเงินด้วยการกวาดล้างบัญชีม้าให้ได้มากขึ้น เพื่อลดเครื่องมือทำมาหากินของมิจฉาชีพ โดยหากสามารถ “ระงับการทำธุรกรรม” หรือ “จำกัดการใช้งาน” ได้ ก็จะทำให้มิจฉาชีพทำงานได้ยากขึ้น
ในช่วงกลางปี 2567 แบงก์ชาติได้เพิ่มความเข้มข้นในการจัดการบัญชีม้า จากเดิมที่ดำเนินการเฉพาะ “บัญชี” มาเป็นจัดการกับทุกบัญชีภายใต้ “รายชื่อ” ของผู้กระทำผิด จึงเป็นการเล่นงานบัญชีม้าในระดับบุคคล รวมทั้งจัดระดับบัญชีม้าเพื่อกำหนดวิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม โดยแบ่งม้าออกเป็น 3 สี ตามความเสี่ยง ดังนี้
ม้าดำ คือ ผู้ที่อยู่ในรายชื่อผู้ที่กระทำความผิดตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ม้าเทา คือ ผู้ที่ถูกแจ้งความหรือแจ้งธนาคารว่าอยู่ในเส้นทางเงินและมีผู้ที่ได้รับความเสียหาย
ม้าน้ำตาล คือ คนที่ธนาคารเห็นว่าบัญชีธนาคารมีพฤติกรรมผิดปกติที่อาจเข้าข่ายเป็นบัญชีม้า และต้องเฝ้าระวัง
ทั้งนี้ ม้าดำและม้าเทาเป็นกลุ่มที่ธนาคารแชร์ข้อมูลรายชื่อระหว่างกันมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 เพื่อไม่ให้สามารถโอนเงินออกและเปิดบัญชีธนาคารใหม่ได้ ซึ่งจากการยกระดับการตรวจจับบัญชีม้าให้เป็นรายบุคคลนี้ ทำให้เมื่อสิ้นปี 2567 ที่ผ่านมา มีบัญชีธนาคารถูกระงับไปแล้วถึง 1.75 ล้านบัญชี ซึ่งเป็นของคนไทย 1.34 แสนรายชื่อ อย่างไรก็ดี จำนวนผู้เสียหายจากการถูกหลอกให้โอนเงินก็ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร
อ่านต่อข่าวต้นฉบับตามลิ้งค์ข้างต้นในหัวข้อเหล่านี้
มาตรการ “ก ข ค” (ก้างขวางคอม้า) อีกขั้นของการแก้ปัญหาเชิงรุก
สถานีต่อไป “ม้าคริปโต”
ปฏิเสธความเป็นบัญชีม้า รีบปรึกษาธนาคาร