ประโยคที่ตรงความหมายที่สุด และใช้บ่อยที่สุดคือ “
Sorry for the short notice.” (
short notice = การแจ้งแบบกระชั้นชิด) หรือ “
Sorry for the lack of prior notice.” (
lack = ไม่มี /
prior notice = การแจ้งให้รู้ก่อนล่วงหน้า) เป็นประโยคกึ่งทางการครับ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและในการเขียนอีเมลเลย
หนึ่งประโยคที่ใช้ได้ในความหมายนี้ได้ดีเลยคือ “
Sorry I couldn’t let you know sooner.” (ขอโทษที่ไม่ได้บอกเร็วกว่านี้) หรือเอาให้ตรงความกว่านั้นอีกคือ “
I apologise for bringing this up so suddenly.” (ขออภัยที่อยู่ดี ๆ ก็เพิ่งมาบอก / bring up = การพูดถึงหัวข้อบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวก่อนหน้านี้)
ประโยคอื่น ๆ ที่ใช้ได้ในควาหมาย “ขอโทษที่แจ้งแบบกระชั้นชิด” ได้แก่...
- “
Sorry this is so last minute.” (ขอโทษที่เรื่องนี้มาในนาทีสุดท้าย)
- “
Apologies for the sudden timing of this.” (ขออภัยในความกะทันหันของจังหวะเวลา)
- “
My bad for waiting so late to tell you.” (โทษนะที่ผมใช้เวลานานกว่าจะมาบอกคุณ)
ก็เป็นการขอโทษในเรื่องการแจ้งข้อมูลบางอย่าง ที่อาจจะมาล่าช้าหรือมาแบบเร่งด่วนใกล้เวลาจนเกินไป ใช้ประโยคเหล่านี้ก็ทำให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย ๆ ครับ
ในภาษาอังกฤษมีวลี “
to spring (something) on (someone)” โดยภาษาอังกฤษนิยามไว้ว่า
to suddenly tell or ask someone something when they do not expect it (การไปบอกหรือขอความช่วยเหลือจากใครสักคนในตอนที่เขาไม่ได้ตั้งตัว)
ดังนั้นเราจะเห็นประโยค “
Sorry for springing this on you.” หรือ “
I didn’t mean to spring this on you.” ที่แปลว่า ขอโทษที่แจ้งแบบกระชั้นชิด ได้เช่นกันครับ
ในมุมของคนไทยเราบอกว่า “ขอโทษที่แจ้งแบบกระชั้นชิด/กะทันหัน” (Sorry for last-minute notice.) คือเรามองว่าเรามาแจ้งใกล้ ๆ กับเวลาที่มันจะเกิดแล้ว แต่ในมุมมองฝรั่งเขามองว่าเรามา “
แจ้งสายเกินไป” (Sorry for the late communication.) จนเรื่องมันจะเกิดอยู่แล้วถึงมาบอก แต่ยังไงมันก็ความหมายเดียวกันครับ เราจะเลือกพูดในมุมไหนก็ได้
สุดท้ายประโยคที่ผมชอบที่สุด ในวันนี้เป็นบริบทแบบทางการครับ เพิ่งได้ยินเขาพูดมาสด ๆ ร้อน ๆ เลย คือ “
Please excuse the short timeframe.” (โปรดอย่าถือสากรอบเวลาที่สั้น = อันนี้ผมแปลตรงตัวให้นะครับ แต่ความหมายจริง ๆ ก็คือ “ขอโทษที่แจ้งกระทันหัน”) ก็เป็นประโยคที่เท่และกระชับเข้าใจได้ง่ายเลย
"
ไม่จำเป็นต้องรู้หมดทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้มากขึ้นกว่าเมื่อวานก็พอ"
Stay tuned!
JGC.
"ขอโทษที่แจ้งอย่างกะทันหัน/บอกแบบกระชั้นชิด" ภาษาอังกฤษพูดว่า...
หนึ่งประโยคที่ใช้ได้ในความหมายนี้ได้ดีเลยคือ “Sorry I couldn’t let you know sooner.” (ขอโทษที่ไม่ได้บอกเร็วกว่านี้) หรือเอาให้ตรงความกว่านั้นอีกคือ “I apologise for bringing this up so suddenly.” (ขออภัยที่อยู่ดี ๆ ก็เพิ่งมาบอก / bring up = การพูดถึงหัวข้อบางอย่างที่ไม่ได้กล่าวก่อนหน้านี้)
ประโยคอื่น ๆ ที่ใช้ได้ในควาหมาย “ขอโทษที่แจ้งแบบกระชั้นชิด” ได้แก่...
- “Sorry this is so last minute.” (ขอโทษที่เรื่องนี้มาในนาทีสุดท้าย)
- “Apologies for the sudden timing of this.” (ขออภัยในความกะทันหันของจังหวะเวลา)
- “My bad for waiting so late to tell you.” (โทษนะที่ผมใช้เวลานานกว่าจะมาบอกคุณ)
ก็เป็นการขอโทษในเรื่องการแจ้งข้อมูลบางอย่าง ที่อาจจะมาล่าช้าหรือมาแบบเร่งด่วนใกล้เวลาจนเกินไป ใช้ประโยคเหล่านี้ก็ทำให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย ๆ ครับ
ในภาษาอังกฤษมีวลี “to spring (something) on (someone)” โดยภาษาอังกฤษนิยามไว้ว่า to suddenly tell or ask someone something when they do not expect it (การไปบอกหรือขอความช่วยเหลือจากใครสักคนในตอนที่เขาไม่ได้ตั้งตัว)
ดังนั้นเราจะเห็นประโยค “Sorry for springing this on you.” หรือ “I didn’t mean to spring this on you.” ที่แปลว่า ขอโทษที่แจ้งแบบกระชั้นชิด ได้เช่นกันครับ
ในมุมของคนไทยเราบอกว่า “ขอโทษที่แจ้งแบบกระชั้นชิด/กะทันหัน” (Sorry for last-minute notice.) คือเรามองว่าเรามาแจ้งใกล้ ๆ กับเวลาที่มันจะเกิดแล้ว แต่ในมุมมองฝรั่งเขามองว่าเรามา “แจ้งสายเกินไป” (Sorry for the late communication.) จนเรื่องมันจะเกิดอยู่แล้วถึงมาบอก แต่ยังไงมันก็ความหมายเดียวกันครับ เราจะเลือกพูดในมุมไหนก็ได้
สุดท้ายประโยคที่ผมชอบที่สุด ในวันนี้เป็นบริบทแบบทางการครับ เพิ่งได้ยินเขาพูดมาสด ๆ ร้อน ๆ เลย คือ “Please excuse the short timeframe.” (โปรดอย่าถือสากรอบเวลาที่สั้น = อันนี้ผมแปลตรงตัวให้นะครับ แต่ความหมายจริง ๆ ก็คือ “ขอโทษที่แจ้งกระทันหัน”) ก็เป็นประโยคที่เท่และกระชับเข้าใจได้ง่ายเลย
"ไม่จำเป็นต้องรู้หมดทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้มากขึ้นกว่าเมื่อวานก็พอ"
Stay tuned!
JGC.