ผมได้มีโอกาสเข้าเรียนในช่วงเวลานั้นพอดีที่น่าจะเป็นยุคทองของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เหตุผลที่สมัครเรียนเริ่มจากข่าวว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่สามารถสร้างดาวเทียม แล้วส่งเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ และตามมาด้วยเสียงร่ำรือของผู้ที่เรียนอยู่ในขณะนั้นว่าคุณภาพคับแก้ว เมื่อศึกษารายละเอียดยังพบว่ามีแผนการเรียนที่ยืดหยุ่นมาก เพราะมีนักศึกษาเรียนในหลักสูตรวิศวกรรมเป็นจำนวนมาก จึงมีหลาย Section ให้เข้าเรียน เช่นวิชาเดียวกันเปิดกว่า 5 - 10 Sections เรียนเช้าไม่ทัน ก็เข้าเรียนกับ Section บ่าย หรือ ค่ำ บางทีก็ไปรวบไปนั่งเรียนพร้อม Section เสาร์ อาทิตย์
สมัยนั้นที่ผมเรียน เฉพาะภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เข้าเรียนปีการศึกษาเดียวกันก็น่าจะมีรวมๆ 500 - 600 คน พอจะแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามนี้
กลุ่มมหาเทพ เป็นกลุ่มที่จบ ม.ปลาย และส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ได้รับทุนเรียนดี น่าจะก๊อปปี้แนวคิดมาจากโครงการช้างเผือก ของ สจล. กลุ่มนี้ก็น่าจะมีประมาณ 30 คน ได้รับการยกเว้นทั้งค่าเทอมและมีเงินช่วยเรื่องหอพักและค่าใช้จ่ายรายเดือน
กลุ่มเทพ ผสมทั้งแบบจบ ม.ปลาย และ ปวส. แต่เป็นนักศึกษาที่สามารถมี GAPX ได้เกินกว่า 3.50+ นักศึกษากลุ่มนี้จะได้รับงดเว้นไม่ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนภาคการศึกษาถัดไป กลุ่มนี้ก็น่าจะมีประมาณ 20 คน
กลุ่มมหาเทพ + กลุ่มเทพ ประกาศเกรดออกมาทีไร พวกนี้ A แน่ๆ และน่าจะมีคะแนนแบบ 80+/100 สร้างปัญหาให้กับกลุ่มอื่นมาก
กลุ่มกลางๆ น่าจะเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ น่าจะประมาณ 200 คน กลุ่มนี้จะมี GPA อยู่ระหว่าง 2.00 - 2.70
กลุ่มรั้งท้าย มักจะเป็นเด็กสายช่าง ปวช. หรือ ปวส. น่าจะประมาณ 200+ คน GPAX ของเพื่อนๆ กลุ่มนี้จะ 2.00 - 2.20 เวลาเกรดออกกลุ่มนี้จะดีใจมากถ้าได้ C แต่สิ่งที่พบเห็นบ่อยๆ คือ D+ กับ F
กลุ่มคนทำงาน กลุ่มนี้ขยันมาก ทำงานมา จันทร์-ศุกร์ ใช้เวลาเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ กลุ่มนี้น่าจะประมาณ 100 - 150 คน พี่ๆ กลุ่มนี้มีความเป็นผู้ใหญ่ บางคนก็จบ ปวส. มานานแล้ว บางคนก็จบ ป.ตรี แล้วแต่ต้องการมาปรับวุฒิเป็น วศบ. ไม่ค่อยได้มีเวลาอ่านหนังสือเท่าไหร่ เกรดเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 2.00 - 2.50 กลุ่มนี้แม้ผลการเรียนจะไม่สูงมาก แต่ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่การงานที่ดีอยู่แล้ว
กลุ่มรั้งท้าย กับ กลุ่มคนทำงาน น่าเห็นใจมากเพราะการตัดเกรดสมัยนั้น รายวิชาเดียวกันในภาคการศึกษานั้นจะลง Section ใดก็ตามจะถูกนำมาตัดเกรดรวมแบบอิงกลุ่มกันทั้งหมด
อีกหนึ่งเรืองที่ยังคงประทับใจผมมาก คือ คณะจารย์ในช่วงเวลานั้นล้วนแต่คุณภาพคับแก้ว เช่น
วิชาแกนหลักของเครื่องกล เช่น
Engineering Dynamics เรียนกับ ศ.ดร.จารุวัฒน์ , Imperial College
Heat Transfer เรียนกับ ศ.ดร.พงษ์เจต , Imperial College
Fluid Mehanics เรียนกับ ศ.ดร.วิษณุ , UNSW
Manufacturing เรียนกับ ดร.ไพศาล , Wisconsin
Vibration เรียนกับ ดร.เลอร์เกียรต์ , ทุนคิง Berkley
Control เรียนกับ ดร.วราคม , Coventry
Thermodynamics เรียนกับ ดร.สมชัย อัครทิวา , เกียรตินิยม 1 จุฬา Tokyo Tech.
Engineering material, เรียนกับ รศ.แม้น ของแท้จากจุฬา
Thermal-Fluid , เรียนกับ ศ.ดร.สมิทธ์
และยังมีอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงจาก พระจอมเกล้าลาดกระบังอีกเป็นจำนวนมาก ผมคัดมาเฉพาะที่เห็นว่ามาสอนเป็นประจำ ถ้าเอาจริงๆ อาจารย์สายวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโทรคมมนาคม แต่ละท่านยิ่งโดดเด่นมาชื่อเสียงกว่าภาคเครื่องกลอีก
ความทรงจำของผมในวันนั้น การจะได้เกรด 3.0+ในช่วงเวลานั้นช่างยากเหลือเกิน ด้วยอาจารย์ประจำที่มาตรฐานสูง และยังมีกลุ่มนักเรียนช้างเผือกและกลุ่มเทพ อยู่ถึง 10% ของรุ่น
ผมได้พบพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ที่สำเร็จการศึกษาในช่วงเวลานั้น ส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จในการทำงาน ไม่แพ้ผู้สำเร็จการศึกษาในมหาวิทลัยของรัฐเลย จะเป็นรองก็เฉพาะในสังคมที่มีระบบอุปถัมป์แข็งแรง
วิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ช่วง พศ.2539 - 2544
สมัยนั้นที่ผมเรียน เฉพาะภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เข้าเรียนปีการศึกษาเดียวกันก็น่าจะมีรวมๆ 500 - 600 คน พอจะแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มๆ ตามนี้
กลุ่มมหาเทพ เป็นกลุ่มที่จบ ม.ปลาย และส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ได้รับทุนเรียนดี น่าจะก๊อปปี้แนวคิดมาจากโครงการช้างเผือก ของ สจล. กลุ่มนี้ก็น่าจะมีประมาณ 30 คน ได้รับการยกเว้นทั้งค่าเทอมและมีเงินช่วยเรื่องหอพักและค่าใช้จ่ายรายเดือน
กลุ่มเทพ ผสมทั้งแบบจบ ม.ปลาย และ ปวส. แต่เป็นนักศึกษาที่สามารถมี GAPX ได้เกินกว่า 3.50+ นักศึกษากลุ่มนี้จะได้รับงดเว้นไม่ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนภาคการศึกษาถัดไป กลุ่มนี้ก็น่าจะมีประมาณ 20 คน
กลุ่มมหาเทพ + กลุ่มเทพ ประกาศเกรดออกมาทีไร พวกนี้ A แน่ๆ และน่าจะมีคะแนนแบบ 80+/100 สร้างปัญหาให้กับกลุ่มอื่นมาก
กลุ่มกลางๆ น่าจะเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ น่าจะประมาณ 200 คน กลุ่มนี้จะมี GPA อยู่ระหว่าง 2.00 - 2.70
กลุ่มรั้งท้าย มักจะเป็นเด็กสายช่าง ปวช. หรือ ปวส. น่าจะประมาณ 200+ คน GPAX ของเพื่อนๆ กลุ่มนี้จะ 2.00 - 2.20 เวลาเกรดออกกลุ่มนี้จะดีใจมากถ้าได้ C แต่สิ่งที่พบเห็นบ่อยๆ คือ D+ กับ F
กลุ่มคนทำงาน กลุ่มนี้ขยันมาก ทำงานมา จันทร์-ศุกร์ ใช้เวลาเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ กลุ่มนี้น่าจะประมาณ 100 - 150 คน พี่ๆ กลุ่มนี้มีความเป็นผู้ใหญ่ บางคนก็จบ ปวส. มานานแล้ว บางคนก็จบ ป.ตรี แล้วแต่ต้องการมาปรับวุฒิเป็น วศบ. ไม่ค่อยได้มีเวลาอ่านหนังสือเท่าไหร่ เกรดเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 2.00 - 2.50 กลุ่มนี้แม้ผลการเรียนจะไม่สูงมาก แต่ส่วนใหญ่จะมีหน้าที่การงานที่ดีอยู่แล้ว
กลุ่มรั้งท้าย กับ กลุ่มคนทำงาน น่าเห็นใจมากเพราะการตัดเกรดสมัยนั้น รายวิชาเดียวกันในภาคการศึกษานั้นจะลง Section ใดก็ตามจะถูกนำมาตัดเกรดรวมแบบอิงกลุ่มกันทั้งหมด
อีกหนึ่งเรืองที่ยังคงประทับใจผมมาก คือ คณะจารย์ในช่วงเวลานั้นล้วนแต่คุณภาพคับแก้ว เช่น
วิชาแกนหลักของเครื่องกล เช่น
Engineering Dynamics เรียนกับ ศ.ดร.จารุวัฒน์ , Imperial College
Heat Transfer เรียนกับ ศ.ดร.พงษ์เจต , Imperial College
Fluid Mehanics เรียนกับ ศ.ดร.วิษณุ , UNSW
Manufacturing เรียนกับ ดร.ไพศาล , Wisconsin
Vibration เรียนกับ ดร.เลอร์เกียรต์ , ทุนคิง Berkley
Control เรียนกับ ดร.วราคม , Coventry
Thermodynamics เรียนกับ ดร.สมชัย อัครทิวา , เกียรตินิยม 1 จุฬา Tokyo Tech.
Engineering material, เรียนกับ รศ.แม้น ของแท้จากจุฬา
Thermal-Fluid , เรียนกับ ศ.ดร.สมิทธ์
และยังมีอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงจาก พระจอมเกล้าลาดกระบังอีกเป็นจำนวนมาก ผมคัดมาเฉพาะที่เห็นว่ามาสอนเป็นประจำ ถ้าเอาจริงๆ อาจารย์สายวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมโทรคมมนาคม แต่ละท่านยิ่งโดดเด่นมาชื่อเสียงกว่าภาคเครื่องกลอีก
ความทรงจำของผมในวันนั้น การจะได้เกรด 3.0+ในช่วงเวลานั้นช่างยากเหลือเกิน ด้วยอาจารย์ประจำที่มาตรฐานสูง และยังมีกลุ่มนักเรียนช้างเผือกและกลุ่มเทพ อยู่ถึง 10% ของรุ่น
ผมได้พบพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ที่สำเร็จการศึกษาในช่วงเวลานั้น ส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จในการทำงาน ไม่แพ้ผู้สำเร็จการศึกษาในมหาวิทลัยของรัฐเลย จะเป็นรองก็เฉพาะในสังคมที่มีระบบอุปถัมป์แข็งแรง