![](https://f.ptcdn.info/017/087/000/m6xekr5qi7vfT0tD0F9-o.jpg)
"เมื่อหลุดพ้นกายหยาบ ข้าหลุดพ้นความตาย"
The Last Dance หนังเรื่องหนึ่งที่เข้าไปดูในโรงหนังโดยไม่มีข้อมูลอะไรเลย เหตุผลของการไปดูเพราะเห็นเพื่อนคนหนึ่งโพสตืใน FB เท่านี้เลย ง่ายๆ ^_^
หนังฉายมาทำให้รู้ว่าเป็นหนังฮ่องกง และเป็นหนังเกี่ยวกับความตาย ทำให้รู้สึกว่าการตั้งชื่อหนังว่า The Last Dance
![ยิ้ม ยิ้ม](https://ptcdn.info/emoticons/emoticon-smile.png)
เจ๋งว่ะ!!! เส้นเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของคนจีน ไม่ว่าจะเป็นจีนที่อยู่พื้นถิ่นไหน ซอกหลืบไหนของโลกใบนี้ถูกบรรพบุรุษส่งต่อแนวคิดอำนาจนิยมความชายเป็นใหญ่มาทั้งนั้น เป็นเรื่องเดียวในโลกละมั้งที่โคตรสามัคคีชุมนุม
บริบทของครอบครัวคนจีน "ผู้หญิงเป็นสิ่งสกปรกเพราะมีประจำเดือน" เด็กผู้หญิงที่เติบโตมาในครอบครัวคนจีนโดยเฉพาะตัวเองจึงรู้สึกว่า "เมนส์" เป็นคำไม่สุภาพและมันสกปรก เวลามีเมนส์ทีไร ชีวิตอยู่แต่กับความอี๋ ไม่กล้ามอง ขยะแขยง จะอ้วก แต่พอได้เรียนหนังสือ จึงรู้ว่า คำว่า "เมนส์" ไม่ได้เป็นคำไม่สุภาพนะ คำว่า "เมนส์" มันถูกย่อมาจากคำว่า "Menstruation" ในภาษาอังกฤษต่างหาก แล้ว "เมนส์" ก็ไม่ได้สกปรกอะไรขนาดนั้น เพียงแต่เราผู้ที่เป็นเจ้าของเมนส์ต้องดูแลสุขภาวะอนามัย เก็บผ้าอนามัยให้เรียบร้อย ไม่ไปทำความเดือดร้อนให้ใคร แล้วตอนเด็กอะ อินี่ ห่อผ้าอนามัยแล้วลืมไว้ในห้องน้ำประจำ ก็นำมาซึ่งความอี๋ของใครต่อใครในบ้าน เราเองก็มักจะเจอประจำในห้องน้ำโรงเรียนแหละ ใครๆ ก็ลืมได้ -*-
พอว่าด้วยเรื่องของ "เมนส์" สิ่งที่ตามมาก็คือเสื้อผ้าของผู้หญิง ไม่มีสิทธิเด็ดขาดที่จะสามารถไว้ในถังเดียวกับของผู้ชายในบ้านได้ เพราะเรามีเมนส์ อวัยวะเราไม่สะอาด เป็นของต่ำ ผู้ชายเป็นของสูงทั้งเสื้อผ้า กางเกง เราเอาเสื้อผ้าเราใส่ลงไปรวมไม่ได้ ไม่ได้เด็ดขาด นี่คือข้อห้าม นี่คือกฎของบ้าน ตอนเด็กๆ เคยโดนอาม่าตีเพราะเรื่องอะไรแบบนี้หลายครั้งมาก อาบน้ำเสร็จก็ชู้ท ตุ้บ!!! ถังผิดสี เจอฟาดไป ร้องไห้!!!! ...
ในครอบครัวคนจีน ลูกผู้หญิงไม่ว่าจะเรียนเก่งขนาดไหน ก็ไม่สามารถเป็นคนที่ถูกรักได้เท่าลูกผู้ชายที่ไม่เอาไหน ก็เหมือนอย่างในซีรีส์เลือดข้นคนจางนั่นแหละ แม้กระทั่งวาระสุดท้ายของพ่อหรือแม่ในวัฒนธรรมจีน การเรียงลำดับการเข้าแถวในพิธีกงเต็ก ผู้หญิงยังถูกเลือกให้ร่นลงไปในหน้าที่ที่สำคัญ และมีข้อจำกัดหลายสิ่ง ยิ่งถ้าผู้หญิงที่แต่งงานออกไปแล้ว ถ้าตามพิธีกรรมนี่ถือว่าเป็นคนนอกไปเลย ไปนู่นเลย ท้ายๆ แถว สิทธิในการที่จะได้ทำอะไรในพิธีเหมือนคนในไม่มี แต่จะมีอีกพิธีนึงที่เรียกว่า "ทึงกิมซัว" เรียกได้ว่าเป็น The Last Dance ของชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยก็ได้ โดยพิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกงเต็ก ถ้าบ้านไหนที่มีลูกสะใภ้ ภาระหน้าที่ในการออกเงินจะเป็นของลูกสะใภ้ของบ้านนั้นๆ และแน่นอน ในพิธีกงเต็ก ถ้าตรงกับวันที่เมนส์มา คุณผู้หญิงทั้งหลายจะไม่สามารถขึ้นสะพานเกี่ยเกี๊ย (พิธีเดินข้ามสะพานกงเต๊ก) 7 รอบไปส่งบรรพบุรุษที่หน้าประตูสวรรค์ได้อย่างเด็ดขาด
การจัดพิธีกงเต็ก ไม่ใช่จัดกันง่ายๆ เพราะค่าใช้จ่ายไม่ได้ถูกๆ พฺิธีจะเริ่มตั้งแต่บ่ายโดยการนำสวดของพระจีน สวดไปเลยยาวๆ จบตรงที่เผากระดาษต่างๆ ตามความเชื่อ บ้าน รถ คนใช้ เสื้อผ้า หลังๆ มีมือถือ โน๊ตบุ๊ค ต่างๆ นานาแล้วแต่ร้านจะสรรค์สร้างออกมา กระดาษไหว้เจ้าที่เป็นกระดาษเงินกระดาษทอง ทุกอย่างก็คือเอาเงินในโลกของความเป็นจริง ไปซื้อกระดาษมาเผาให้กลายเป็นเงิน เป็นสินทรัพย์ในโลกแห่งความตาย และที่ว่ามาทั้งหมด ราคาหลักแสนถึงหลายแสน ถึงล้านก็มี แล้วแต่ความอลังการในฐานะของงานศพบ้านนั้นๆ ตอนเผาก็ยังต้องเอาไม้ไผ่มาตีพื้น เพราะต้องไล่ดวงวิญญาณอื่นที่จะมาแย่งของเหล่านั้นด้วย ... ทั้งหมดก็เพื่อความสบายใจของผู้ส่งไป แต่ยังไม่มีปลายทางที่ไหนมาคอนเฟิร์มว่าได้รับแล้วนะ ให้คนที่ยังอยู่รับรู้
ในยุคที่มีความล้ำเข้ามาอยู่บนโลกใบนี้ ทำให้เราเห็นกงเต็กระบบลัดสั้น Gen ใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในการจัดงานของครอบครัว ตัดบางขั้นตอนออกไปเยอะก็มี แต่ก็ยังขอให้มีเพื่อความสบายใจของผู้ใหญ่ในบ้าน ก็หาตรงกลางเอาที่ทุกคนสบายใจ แม้กระทั่งวัดต่างๆ ที่สวดแบบไทย เราจะเห็นหลายๆ วัดที่เริ่มไม่สวดแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นการเทศน์ให้คนเป็นๆ ฟังแทน ซึ่งได้ประโยชน์มากกว่าการฟังพระสวด สวดอะไรไม่รู้ แปลไม่เป็น รู้แค่ว่า ตรงท่อนนี้ใกล้จบแล้ว ต้องเตรียมกรวดน้ำแล้วเท่านั้น ข้าวต้มเครื่อง ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา ก็หาไม่มีแล้ว แต่จะได้เป็น Boxset ถือกลับบ้านใครบ้านมันแทน
สำหรับ The Last Dance พาเราเข้าไปอยู่ในเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดงานศพ และแน่นอนต้องเป็นเรื่องของพ่อกับลูกสาวกับมิติต่างๆ ที่เราๆ ก็พอจะรู้อยู่ว่าทำไม ถึงจะรู้และพอเดาออก แต่หนังก็ยังมีเสน่ห์ที่จะชวนให้เราโลดแล่นไปกับเรื่องราวได้ทุกวินาที
เราจะเห็นความ Conservative กับ Radicle อย่างชัดเจน ยิ่งท้าทายไปกว่านั้นคือการเอาประเด็นของ "การจัดงานศพ" ที่มีรากวัฒนธรรม ความเชื่อที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ว่าต้องทำแบบนี้ ต้องทำอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นคนที่ตายจะจากไปอย่างไม่สงบ ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่จะไม่เจริญ นั่นก็หมายถึงว่า ถ้าใครอยากจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนอะไรในกระบวนการนี้ มันยากแสนยาก แน่นอนล่ะ เหตุผลของความถูกต้องกับความเป็นจริง มักย้อนแย้งกันตลอดเวลา ดังนั้น มันก็อยู่ที่ผู้ที่มีอำนาจในการเลือก ณ เวลานั้น จะจัดการด้วยสิ่งที่สืบทอดกันมาให้มันจบๆ หรือจัดการให้มันจบด้วยความรู้สึกที่ Give and Take
The Last Dance จึงเป็นการร่ายรำครั้งสุดท้าย เรียบง่าย จับหัวใจ และสมศักดิ์ศรีที่สุด เป็นหนังสไตล์ฮ่องกงที่ภาพสวย สีสวย ฉายเรื่องราวของวัฒนธรรมได้อย่างกลมกล่อม ทำให้คิดถึงถนนของฮ่องกงในบางเส้นทางที่เคยไปบ่อยๆ กับร้านโจ๊กที่ไปกินเป็นประจำ ด้วยความเป็นเรื่องของพ่อกับลูกสาว ฉากธรรมดาๆ ก็ทำให้น้ำตาไหลออกมาง่ายๆ เหมือนกัน
.
อยากชวนกันไปดูหนังในโรงหนังค่ะ สนับสนุนหนังในโรงหนังกันเยอะๆ ตอนที่ดูเรื่องนี้ทั้งโรงมีดูกันอยู่ 2 คน ...
นั่งแถวเดียวกัน ที่นั่งซ้ายสุดกับขวาสุด
The Last Dance เมื่อหลุดพ้นกายหยาบ ข้าหลุดพ้นความตาย [มีเนื้อหาของหนัง]
The Last Dance หนังเรื่องหนึ่งที่เข้าไปดูในโรงหนังโดยไม่มีข้อมูลอะไรเลย เหตุผลของการไปดูเพราะเห็นเพื่อนคนหนึ่งโพสตืใน FB เท่านี้เลย ง่ายๆ ^_^
หนังฉายมาทำให้รู้ว่าเป็นหนังฮ่องกง และเป็นหนังเกี่ยวกับความตาย ทำให้รู้สึกว่าการตั้งชื่อหนังว่า The Last Dance
บริบทของครอบครัวคนจีน "ผู้หญิงเป็นสิ่งสกปรกเพราะมีประจำเดือน" เด็กผู้หญิงที่เติบโตมาในครอบครัวคนจีนโดยเฉพาะตัวเองจึงรู้สึกว่า "เมนส์" เป็นคำไม่สุภาพและมันสกปรก เวลามีเมนส์ทีไร ชีวิตอยู่แต่กับความอี๋ ไม่กล้ามอง ขยะแขยง จะอ้วก แต่พอได้เรียนหนังสือ จึงรู้ว่า คำว่า "เมนส์" ไม่ได้เป็นคำไม่สุภาพนะ คำว่า "เมนส์" มันถูกย่อมาจากคำว่า "Menstruation" ในภาษาอังกฤษต่างหาก แล้ว "เมนส์" ก็ไม่ได้สกปรกอะไรขนาดนั้น เพียงแต่เราผู้ที่เป็นเจ้าของเมนส์ต้องดูแลสุขภาวะอนามัย เก็บผ้าอนามัยให้เรียบร้อย ไม่ไปทำความเดือดร้อนให้ใคร แล้วตอนเด็กอะ อินี่ ห่อผ้าอนามัยแล้วลืมไว้ในห้องน้ำประจำ ก็นำมาซึ่งความอี๋ของใครต่อใครในบ้าน เราเองก็มักจะเจอประจำในห้องน้ำโรงเรียนแหละ ใครๆ ก็ลืมได้ -*-
พอว่าด้วยเรื่องของ "เมนส์" สิ่งที่ตามมาก็คือเสื้อผ้าของผู้หญิง ไม่มีสิทธิเด็ดขาดที่จะสามารถไว้ในถังเดียวกับของผู้ชายในบ้านได้ เพราะเรามีเมนส์ อวัยวะเราไม่สะอาด เป็นของต่ำ ผู้ชายเป็นของสูงทั้งเสื้อผ้า กางเกง เราเอาเสื้อผ้าเราใส่ลงไปรวมไม่ได้ ไม่ได้เด็ดขาด นี่คือข้อห้าม นี่คือกฎของบ้าน ตอนเด็กๆ เคยโดนอาม่าตีเพราะเรื่องอะไรแบบนี้หลายครั้งมาก อาบน้ำเสร็จก็ชู้ท ตุ้บ!!! ถังผิดสี เจอฟาดไป ร้องไห้!!!! ...
ในครอบครัวคนจีน ลูกผู้หญิงไม่ว่าจะเรียนเก่งขนาดไหน ก็ไม่สามารถเป็นคนที่ถูกรักได้เท่าลูกผู้ชายที่ไม่เอาไหน ก็เหมือนอย่างในซีรีส์เลือดข้นคนจางนั่นแหละ แม้กระทั่งวาระสุดท้ายของพ่อหรือแม่ในวัฒนธรรมจีน การเรียงลำดับการเข้าแถวในพิธีกงเต็ก ผู้หญิงยังถูกเลือกให้ร่นลงไปในหน้าที่ที่สำคัญ และมีข้อจำกัดหลายสิ่ง ยิ่งถ้าผู้หญิงที่แต่งงานออกไปแล้ว ถ้าตามพิธีกรรมนี่ถือว่าเป็นคนนอกไปเลย ไปนู่นเลย ท้ายๆ แถว สิทธิในการที่จะได้ทำอะไรในพิธีเหมือนคนในไม่มี แต่จะมีอีกพิธีนึงที่เรียกว่า "ทึงกิมซัว" เรียกได้ว่าเป็น The Last Dance ของชาวไทยเชื้อสายจีนในไทยก็ได้ โดยพิธีนี้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกงเต็ก ถ้าบ้านไหนที่มีลูกสะใภ้ ภาระหน้าที่ในการออกเงินจะเป็นของลูกสะใภ้ของบ้านนั้นๆ และแน่นอน ในพิธีกงเต็ก ถ้าตรงกับวันที่เมนส์มา คุณผู้หญิงทั้งหลายจะไม่สามารถขึ้นสะพานเกี่ยเกี๊ย (พิธีเดินข้ามสะพานกงเต๊ก) 7 รอบไปส่งบรรพบุรุษที่หน้าประตูสวรรค์ได้อย่างเด็ดขาด
การจัดพิธีกงเต็ก ไม่ใช่จัดกันง่ายๆ เพราะค่าใช้จ่ายไม่ได้ถูกๆ พฺิธีจะเริ่มตั้งแต่บ่ายโดยการนำสวดของพระจีน สวดไปเลยยาวๆ จบตรงที่เผากระดาษต่างๆ ตามความเชื่อ บ้าน รถ คนใช้ เสื้อผ้า หลังๆ มีมือถือ โน๊ตบุ๊ค ต่างๆ นานาแล้วแต่ร้านจะสรรค์สร้างออกมา กระดาษไหว้เจ้าที่เป็นกระดาษเงินกระดาษทอง ทุกอย่างก็คือเอาเงินในโลกของความเป็นจริง ไปซื้อกระดาษมาเผาให้กลายเป็นเงิน เป็นสินทรัพย์ในโลกแห่งความตาย และที่ว่ามาทั้งหมด ราคาหลักแสนถึงหลายแสน ถึงล้านก็มี แล้วแต่ความอลังการในฐานะของงานศพบ้านนั้นๆ ตอนเผาก็ยังต้องเอาไม้ไผ่มาตีพื้น เพราะต้องไล่ดวงวิญญาณอื่นที่จะมาแย่งของเหล่านั้นด้วย ... ทั้งหมดก็เพื่อความสบายใจของผู้ส่งไป แต่ยังไม่มีปลายทางที่ไหนมาคอนเฟิร์มว่าได้รับแล้วนะ ให้คนที่ยังอยู่รับรู้
ในยุคที่มีความล้ำเข้ามาอยู่บนโลกใบนี้ ทำให้เราเห็นกงเต็กระบบลัดสั้น Gen ใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในการจัดงานของครอบครัว ตัดบางขั้นตอนออกไปเยอะก็มี แต่ก็ยังขอให้มีเพื่อความสบายใจของผู้ใหญ่ในบ้าน ก็หาตรงกลางเอาที่ทุกคนสบายใจ แม้กระทั่งวัดต่างๆ ที่สวดแบบไทย เราจะเห็นหลายๆ วัดที่เริ่มไม่สวดแล้ว แต่เปลี่ยนเป็นการเทศน์ให้คนเป็นๆ ฟังแทน ซึ่งได้ประโยชน์มากกว่าการฟังพระสวด สวดอะไรไม่รู้ แปลไม่เป็น รู้แค่ว่า ตรงท่อนนี้ใกล้จบแล้ว ต้องเตรียมกรวดน้ำแล้วเท่านั้น ข้าวต้มเครื่อง ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา ก็หาไม่มีแล้ว แต่จะได้เป็น Boxset ถือกลับบ้านใครบ้านมันแทน
สำหรับ The Last Dance พาเราเข้าไปอยู่ในเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการจัดงานศพ และแน่นอนต้องเป็นเรื่องของพ่อกับลูกสาวกับมิติต่างๆ ที่เราๆ ก็พอจะรู้อยู่ว่าทำไม ถึงจะรู้และพอเดาออก แต่หนังก็ยังมีเสน่ห์ที่จะชวนให้เราโลดแล่นไปกับเรื่องราวได้ทุกวินาที
เราจะเห็นความ Conservative กับ Radicle อย่างชัดเจน ยิ่งท้าทายไปกว่านั้นคือการเอาประเด็นของ "การจัดงานศพ" ที่มีรากวัฒนธรรม ความเชื่อที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ว่าต้องทำแบบนี้ ต้องทำอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นคนที่ตายจะจากไปอย่างไม่สงบ ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่จะไม่เจริญ นั่นก็หมายถึงว่า ถ้าใครอยากจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนอะไรในกระบวนการนี้ มันยากแสนยาก แน่นอนล่ะ เหตุผลของความถูกต้องกับความเป็นจริง มักย้อนแย้งกันตลอดเวลา ดังนั้น มันก็อยู่ที่ผู้ที่มีอำนาจในการเลือก ณ เวลานั้น จะจัดการด้วยสิ่งที่สืบทอดกันมาให้มันจบๆ หรือจัดการให้มันจบด้วยความรู้สึกที่ Give and Take
The Last Dance จึงเป็นการร่ายรำครั้งสุดท้าย เรียบง่าย จับหัวใจ และสมศักดิ์ศรีที่สุด เป็นหนังสไตล์ฮ่องกงที่ภาพสวย สีสวย ฉายเรื่องราวของวัฒนธรรมได้อย่างกลมกล่อม ทำให้คิดถึงถนนของฮ่องกงในบางเส้นทางที่เคยไปบ่อยๆ กับร้านโจ๊กที่ไปกินเป็นประจำ ด้วยความเป็นเรื่องของพ่อกับลูกสาว ฉากธรรมดาๆ ก็ทำให้น้ำตาไหลออกมาง่ายๆ เหมือนกัน
.
อยากชวนกันไปดูหนังในโรงหนังค่ะ สนับสนุนหนังในโรงหนังกันเยอะๆ ตอนที่ดูเรื่องนี้ทั้งโรงมีดูกันอยู่ 2 คน ...