แสงหาญฟ้า โดย มาลา คำจันทร์ นักเขียนรางวัลซีไรท์และศิลปินแห่งชาติ
ฉันหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน เพราะสะดุดหน้าปกสวยสีดำตัวหนังสือสีส้มของนักเขียนชั้นครู เปิดดูคร่าว ๆ น่าจะเป็นเรื่องราวทั้งความรัก ความเชื่อ เรื่องลี้ลับ ในสมัยโบราณของดินแดนล้านนา น่าสนใจทีเดียว
เมื่อเปิดอ่าน บทที่ 1 เจอความสวยงามของภาษาเขียน ทำเอาหัวใจเต้นแรง อยากอ่านต่อทันที
“แดดอ่อนรอนลง พฤกษ์พงดงกว้างเงียบงันไปสิ้น แสงแดดสีเหลืองสลดลดหาย ดูคล้ายจะเกิดฝนใหญ่ลมหลวงตามมาไม่ช้า
ต้นไม้ใหญ่น้อยเซานิ่งไปหมด ลมไม่พัด ใบไม้ไม่กระดิก ยอดและใบอาบแดดเหลืองดูดังใบไม้ต้องคำสาป ด้วยว่าเหลืองด้าน ๆ ดังสีเหลืองของใบไม้หล่น ไม่เหลืองเหลือบเลื่อมมันเหมือนใบไม้บนต้น บางกิ่งบางก้านหักห้อยย้อยเหยียด ใบแห้งสีน้ำตาลยังเกาะกิ่งแต่กลับดูคล้ายเศษซากผ้าเสื้อแหว่งวิ่นของพวกภูตพราย ยิ่งเพิ่มความอึดอัดกังวลแก่คนพบเห็นมากขึ้น”
ปกหลัง
นิยายเรื่องแสงหาญฟ้ายังคงเป็นนิยายแนวพื้นบ้านพื้นเมืองล้านนาตามแนวถนัดของผู้เขียน ผู้อ่านที่อ่านเอาเหตุการณ์หรืออ่านเอาเรื่องอาจจะผิดหวังที่ไม่พบโครงเรื่องใหม่ แต่ผู้อ่านที่อ่านเอารายละเอียดทางความรู้สึกนึกคิดหรือการแสดงออกของตัวละครอาจอาจจะชอบ ในส่วนของผู้เขียนเองขอสารภาพว่าไม่ถนัดนิยายแนวเน้นโครงเรื่อง แต่ถนัดแนวสะท้อนรายละเอียดมากกว่า เขียนมาก็มากมายหลายเรื่อง ก็ยังเป็นแนวนี้ตามเดิม
แสงหาญฟ้าเล่าถึงความรัก ตัวตน และการแสดงออกของตัวละครแบบต่างๆ ที่กรอบความคิดของตัวละครเป็นกรอบของสังคมล้านนาเมื่อราวห้าหกสิบปีก่อนย้อนหลังไป ไม่ใช่ล้านนาปัจจุบันเป็นความคิดความเชื่อแบบพุทธกับผีผสมผสานกัน…
…ที่ปกหลังก็บอกให้รู้แล้วว่าผู้เขียนไม่ได้เน้นโครงเรื่อง แต่เน้นรายละเอียด จริงดังคำกล่าวนั้น อ่านแล้วจินตนาการตาม แทบจะเห็นตัวเอง เดินอยู่ในฉากบรรยายนั้น เล่มที่อ่านพิมพ์เมื่อปี 2558 แสดงว่าเรื่องราวในหนังสือจะต้องย้อนหลังไปมากกว่า 70 ปีจากปัจจุบัน…
หนังสือ เล่มนี้หนาประมาณ 300 หน้า เริ่มอ่านตอนบ่าย ๆ รู้ตัวอีกทีเมื่ออ่านจบ ก็ใกล้รุ่งสางของอีกวัน
ตั้งใจว่า จะต้องหาหนังสือเล่มอื่นของครูท่านนี้มาอ่านอีกเป็นแน่…
หนังสือน่าอ่าน แสงหาญฟ้า
แสงหาญฟ้า โดย มาลา คำจันทร์ นักเขียนรางวัลซีไรท์และศิลปินแห่งชาติ
ฉันหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่าน เพราะสะดุดหน้าปกสวยสีดำตัวหนังสือสีส้มของนักเขียนชั้นครู เปิดดูคร่าว ๆ น่าจะเป็นเรื่องราวทั้งความรัก ความเชื่อ เรื่องลี้ลับ ในสมัยโบราณของดินแดนล้านนา น่าสนใจทีเดียว
เมื่อเปิดอ่าน บทที่ 1 เจอความสวยงามของภาษาเขียน ทำเอาหัวใจเต้นแรง อยากอ่านต่อทันที
“แดดอ่อนรอนลง พฤกษ์พงดงกว้างเงียบงันไปสิ้น แสงแดดสีเหลืองสลดลดหาย ดูคล้ายจะเกิดฝนใหญ่ลมหลวงตามมาไม่ช้า
ต้นไม้ใหญ่น้อยเซานิ่งไปหมด ลมไม่พัด ใบไม้ไม่กระดิก ยอดและใบอาบแดดเหลืองดูดังใบไม้ต้องคำสาป ด้วยว่าเหลืองด้าน ๆ ดังสีเหลืองของใบไม้หล่น ไม่เหลืองเหลือบเลื่อมมันเหมือนใบไม้บนต้น บางกิ่งบางก้านหักห้อยย้อยเหยียด ใบแห้งสีน้ำตาลยังเกาะกิ่งแต่กลับดูคล้ายเศษซากผ้าเสื้อแหว่งวิ่นของพวกภูตพราย ยิ่งเพิ่มความอึดอัดกังวลแก่คนพบเห็นมากขึ้น”
ปกหลัง
นิยายเรื่องแสงหาญฟ้ายังคงเป็นนิยายแนวพื้นบ้านพื้นเมืองล้านนาตามแนวถนัดของผู้เขียน ผู้อ่านที่อ่านเอาเหตุการณ์หรืออ่านเอาเรื่องอาจจะผิดหวังที่ไม่พบโครงเรื่องใหม่ แต่ผู้อ่านที่อ่านเอารายละเอียดทางความรู้สึกนึกคิดหรือการแสดงออกของตัวละครอาจอาจจะชอบ ในส่วนของผู้เขียนเองขอสารภาพว่าไม่ถนัดนิยายแนวเน้นโครงเรื่อง แต่ถนัดแนวสะท้อนรายละเอียดมากกว่า เขียนมาก็มากมายหลายเรื่อง ก็ยังเป็นแนวนี้ตามเดิม
แสงหาญฟ้าเล่าถึงความรัก ตัวตน และการแสดงออกของตัวละครแบบต่างๆ ที่กรอบความคิดของตัวละครเป็นกรอบของสังคมล้านนาเมื่อราวห้าหกสิบปีก่อนย้อนหลังไป ไม่ใช่ล้านนาปัจจุบันเป็นความคิดความเชื่อแบบพุทธกับผีผสมผสานกัน…
…ที่ปกหลังก็บอกให้รู้แล้วว่าผู้เขียนไม่ได้เน้นโครงเรื่อง แต่เน้นรายละเอียด จริงดังคำกล่าวนั้น อ่านแล้วจินตนาการตาม แทบจะเห็นตัวเอง เดินอยู่ในฉากบรรยายนั้น เล่มที่อ่านพิมพ์เมื่อปี 2558 แสดงว่าเรื่องราวในหนังสือจะต้องย้อนหลังไปมากกว่า 70 ปีจากปัจจุบัน…
หนังสือ เล่มนี้หนาประมาณ 300 หน้า เริ่มอ่านตอนบ่าย ๆ รู้ตัวอีกทีเมื่ออ่านจบ ก็ใกล้รุ่งสางของอีกวัน
ตั้งใจว่า จะต้องหาหนังสือเล่มอื่นของครูท่านนี้มาอ่านอีกเป็นแน่…