จัดการ ภาษี ปีที่เกษียณ อย่างไร

อยากจะสอบถามเรื่องการจัดการภาษี ปีสุดท้ายที่จะเกษียณอย่างไร เพื่อเป็นแนวการวางแผนภาษี

ข้อมูลเบื้องต้น ถ้าเกษียณ เดือน ตุลาคม 67
มีเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท เท่ากับ ปี 67 มีรายได้
100,000 × 10 = 1,000,000 บาท (ส่วนที่1)

และได้เงินชดเชยเกษียณ กรณีได้สูงสุดที่ 400วัน
จะได้อีกประมาณ 1,300,000 (ส่วนที่2)

ถ้านำรายได้ทั้ง2ส่วน รวมกัน 2.3 ล้าน ยื่นภาษี ถ้าไม่มีลดหย่อนเลย(หักลดหย่อนส่วนตัว ไม่น่าเกิน 3แสน) ลองคิดว่า หักแล้วเหลือ เกิน 2 ล้าน จะโดน เรทภาษี ที่ 30% ขั้นต่ำสุดที่ต้องเสียภาษี คือ 3.6 แสนกว่า มีวิธีจัดการ อย่างไรให้เสียภาษี น้อยที่สุดมั้ยครับ

ข้อที่ 1. จากที่ลองหาข้อมูล ในเน็ตดู เราสามารถ นำรายได้ส่วนที่2 มาคำนวณ แยก ได้ โดย ใช้ "ใบแนบ" ถูกต้องมั้ยครับ 

ข้อที่ 2. หลังจาก ที่ ลดหย่อน ที่ "ใบแนบ" แล้ว ค่อยนำ ส่วนที่ เหลือจากการคำนวณ / ลดหย่อน มาคิด รวมกับ ส่วนที่ 1

หรือ ใครมีลิ้งค์ ข้อมูลที่มีอธิบาย เพิ่มเติม รบกวนด้วยครับ

ข้อที่ 3. มีคำถามเพิ่มเติม โดย ปกติ เงินส่วนที่1 จะมีการหักภาษี ณ ที่ จ่าย นำส่ง สรรพกร 

เงินส่วนที่ 2 ทำไม ไม่มีการหัก ณ ที่ จ่ายครับ(หรือหักแต่ผมไม่ทราบเอง) ทำให้ เวลายื่นภาษี ต้องมีการจ่ายเพิ่ม เนื่องจากมีรายได้ เกินที่หัก  ติดเรื่องข้อกฎหมายอะไรหรือป่าวครับ

จขกท ยังไม่ได้เกษียณครับ พอดี ได้ฟังข้อมูล มาเลย อยากหาวิธีวางแผน ภาษี ในปีสุดท้าย ก่อนเกษียณไว้ครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่