สำหรับคนที่ติดตามเรื่องการปรับเงินเดือนข้าราชการมาก็อาจทราบแล้วว่า ข้าราชการบรรจุใหม่จะได้รับการปรับเงินเดือนแรกบรรจุขึ้นให้ประมาณ 10% เป็นจำนวน 2 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2567 และ 2568 ซึ่ง หลายหน่วยงานก็ปรับให้ไปแล้วสำหรับปี 2567
1. สำหรับข้าราชการที่บรรจุเข้ามาก่อนแล้วกลัวว่ารุ่นน้องจะได้เงินเดือนมากกว่าหรือพอ ๆ กับตัวเอง ไม่ต้องกลัวนะครับ เพราะเขามีสูตรคำนวนครับ คือ ถ้าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาก ๆ C8 ขึ้นไปเนี่ย นั่นหมายความว่าบรรจุมาเกิน 10 ปีแล้ว ได้รับการเลื่อนขึ้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้งมาตลอดอยู่แล้ว จึงได้รับผลกระทบน้อยกว่าข้าราชการใหม่ เขาเลยปรับเพื่อช่วยเหลือข้าราชการชั้นผู้น้อยที่เข้ามาใหม่เป็นหลัก พวกที่อายุราชการยังไม่มาก เพราะเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการ ป.ตรี 15000 บาทเนี่ยมันไม่เคยปรับมานานมากแล้ว
2. เท่าที่ทราบมาตอนนี้ การปรับเงินของปี 2567 ปรับขึ้นไปให้หมดแล้ว ยกเว้นหน่วยงานทหาร/ตำรวจ (คนละส่วนกับการปรับเงินทหารเกณฑ์นะครับ และคนละอันกับที่ปรับค่าครองชีพด้วยนะครับ อันนี้ปรับตามคุณวุฒิแรกบรรจุที่รัฐบาลประกาศเมื่อปีที่แล้ว) เพื่อน ๆ ที่เป็นทหารกองประจำการชั้นผู้น้อย นายสิบนายร้อยก็บ่นกันว่าจะจกตาหมากินกันอยู่แล้ว แต่ที่ยังไม่ประกาศปรับเพราะกลัวโดนด่าอยู่ อยากใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นที่บอกหน่อย
2.1 ข้าราชการทุกประเภทเลย ทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจ ศาล อัยการ องค์กรอิสระ เขาใช้เกณฑ์เงินเดือนคล้าย ๆ กัน อิงกันมา ต่างกันไม่มากหรอก
2.2 สำหรับคนที่บ่นว่า กลัวว่าพวกนายพลจะได้ขึ้นเยอะ อันนี้ผมว่าไม่น่าใช่นะ พวกนั้นไม่ได้เงินเยอะจากเงินเดือน แต่ได้จากอำนาจในมือมากกว่า
2.3 ข้าราชการชั้นสูงหน่อย จะมีค่าประจำตำแหน่ง
2.4 กลาโหมเพิ่งออกกฏหมายเกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการไป หลายคนเข้าใจว่าเป็นเงินเดือนทหาร แต่ที่จริงไม่ใช่นะ อันนั้นเป็นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนกลาโหม
3. เรื่องสุดท้ายที่อยากพูดคือเรื่อง โครงสร้างเงินเดือนกับแรงจูงใจของข้าราชการ ถ้าผมยกตัวอย่างอาชีพขึ้นมาสัก 2 อาชีพ แล้วถามทุกคนว่า เขาควรได้เงินเดือนสูงไหม หลายคนก็คงบอกว่าอาชีพพวกนี้ควรได้เงินเดือนสูง เช่น ผู้พิพากษา หมอ เป็นต้น แต่ถ้าเอาอาชีพพวกนี้มาใส่ในวงการราชการแล้ว เงินเดือนไม่ได้สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญขนาดนั้น ผู้พิพากษาอาจสูงจริง แต่หมอไม่สูง (หมอสูงจากการรับงานนอก+ชัวโมงทำงานเยอะ) ผมมองว่าสิ่งที่ฉุดรั้งการพัฒนาของข้าราชการไทยคือระบบการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบเดิม ๆ ผมขอยกตัวอย่างสายงานของผมเองแล้วกันนะครับ ผมทำงานสายนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นงานสายเทคนิค
โครงสร้างเงินควรจะเป็น
เงินเดือน = ฐานเงินเดือน + เงินประจำตำแหน่ง +เงินค่าวิชาชีพ + เงินทักษะวิชาชีพ
เช่น ฐานเงินเดือน (15000 บาท) + เงินประจำตำแหน่ง (ระดับปฏิบัติการ 1000 บาท) +เงินค่าวิชาชีพ (วิชาชีพคอมพิวเตอร์ 2000) + เงินทักษะวิชาชีพ (ค่าเซอร์เขียนโปรแกรมภาษาไพธ่อนระดับกลาง 1500 บาท ค่าเซอโอราเคิลระดับต้น 1000 บาท (ได้ไม่เกิน 3 เซอที่ดีที่สุด))
สมมุติว่าเป็นแบบนี้ได้จริง ๆ ข้าราชการก็น่าจะมีใจอยากจะพัฒนาตัวเองมากขึ้น สอบเลื่อนขั้นได้ก็มีเงินประจำตำแหน่ง หรือถ้าไปทำงานที่ยาก เป็นสายเทคนิค เป็นวิชาชีพเฉพาะก็มีค่าวิชาชีพ และยิ่งพัฒนาทักษะในวิชาชีพของตัวเองก็มีค่าเซอร์อีก ก็ให้หน่วยงานกำหนดมาตรฐานแล้วก็จัดสอบให้เป็นเรื่องเป็นราวซะ
- ผลดีอีกอย่างนึงคือสามารถแยกเงินบำนาญออกมาได้ด้วย ไม่เป็นช้างป่วย เพราะบำนาญก็จะคำนวนแค่ฐานเงินเดือน ส่วนเงินประจำตำแหน่ง เงินวิชาชีพ เงินทักษะต่าง ๆ เมื่อพ้นการทำงานไปแล้วก็ไม่ได้รับ เพราะทุกวันนี้ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ทำงานอยู่ก็น่าน้อยใจนะ ทำงานจริง แต่ไม่สามารถสร้างตัวอะไรได้เลย โดนกดฐานเงินเดือนต่ำมากเพื่อให้ตอนแก่ฐานเงินเดือนไม่เวอร์มากไป ในขณะที่คนเกษียนแล้วไม่ได้ทำงานแล้วไม่ได้สร้างทรัพย์สินเพิ่มแล้วได้บำนาญพอ ๆ กันหรือมากกว่าคนที่ทำงานอยู่เลย
เพื่อน ๆ คิดว่าไง
มาแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเงินเดือนข้าราชการกันเถอะ
1. สำหรับข้าราชการที่บรรจุเข้ามาก่อนแล้วกลัวว่ารุ่นน้องจะได้เงินเดือนมากกว่าหรือพอ ๆ กับตัวเอง ไม่ต้องกลัวนะครับ เพราะเขามีสูตรคำนวนครับ คือ ถ้าเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาก ๆ C8 ขึ้นไปเนี่ย นั่นหมายความว่าบรรจุมาเกิน 10 ปีแล้ว ได้รับการเลื่อนขึ้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้งมาตลอดอยู่แล้ว จึงได้รับผลกระทบน้อยกว่าข้าราชการใหม่ เขาเลยปรับเพื่อช่วยเหลือข้าราชการชั้นผู้น้อยที่เข้ามาใหม่เป็นหลัก พวกที่อายุราชการยังไม่มาก เพราะเงินเดือนแรกบรรจุของข้าราชการ ป.ตรี 15000 บาทเนี่ยมันไม่เคยปรับมานานมากแล้ว
2. เท่าที่ทราบมาตอนนี้ การปรับเงินของปี 2567 ปรับขึ้นไปให้หมดแล้ว ยกเว้นหน่วยงานทหาร/ตำรวจ (คนละส่วนกับการปรับเงินทหารเกณฑ์นะครับ และคนละอันกับที่ปรับค่าครองชีพด้วยนะครับ อันนี้ปรับตามคุณวุฒิแรกบรรจุที่รัฐบาลประกาศเมื่อปีที่แล้ว) เพื่อน ๆ ที่เป็นทหารกองประจำการชั้นผู้น้อย นายสิบนายร้อยก็บ่นกันว่าจะจกตาหมากินกันอยู่แล้ว แต่ที่ยังไม่ประกาศปรับเพราะกลัวโดนด่าอยู่ อยากใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นที่บอกหน่อย
2.1 ข้าราชการทุกประเภทเลย ทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจ ศาล อัยการ องค์กรอิสระ เขาใช้เกณฑ์เงินเดือนคล้าย ๆ กัน อิงกันมา ต่างกันไม่มากหรอก
2.2 สำหรับคนที่บ่นว่า กลัวว่าพวกนายพลจะได้ขึ้นเยอะ อันนี้ผมว่าไม่น่าใช่นะ พวกนั้นไม่ได้เงินเยอะจากเงินเดือน แต่ได้จากอำนาจในมือมากกว่า
2.3 ข้าราชการชั้นสูงหน่อย จะมีค่าประจำตำแหน่ง
2.4 กลาโหมเพิ่งออกกฏหมายเกี่ยวกับเงินเดือนข้าราชการไป หลายคนเข้าใจว่าเป็นเงินเดือนทหาร แต่ที่จริงไม่ใช่นะ อันนั้นเป็นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนกลาโหม
3. เรื่องสุดท้ายที่อยากพูดคือเรื่อง โครงสร้างเงินเดือนกับแรงจูงใจของข้าราชการ ถ้าผมยกตัวอย่างอาชีพขึ้นมาสัก 2 อาชีพ แล้วถามทุกคนว่า เขาควรได้เงินเดือนสูงไหม หลายคนก็คงบอกว่าอาชีพพวกนี้ควรได้เงินเดือนสูง เช่น ผู้พิพากษา หมอ เป็นต้น แต่ถ้าเอาอาชีพพวกนี้มาใส่ในวงการราชการแล้ว เงินเดือนไม่ได้สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญขนาดนั้น ผู้พิพากษาอาจสูงจริง แต่หมอไม่สูง (หมอสูงจากการรับงานนอก+ชัวโมงทำงานเยอะ) ผมมองว่าสิ่งที่ฉุดรั้งการพัฒนาของข้าราชการไทยคือระบบการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนแบบเดิม ๆ ผมขอยกตัวอย่างสายงานของผมเองแล้วกันนะครับ ผมทำงานสายนักวิชาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นงานสายเทคนิค
โครงสร้างเงินควรจะเป็น
เงินเดือน = ฐานเงินเดือน + เงินประจำตำแหน่ง +เงินค่าวิชาชีพ + เงินทักษะวิชาชีพ
เช่น ฐานเงินเดือน (15000 บาท) + เงินประจำตำแหน่ง (ระดับปฏิบัติการ 1000 บาท) +เงินค่าวิชาชีพ (วิชาชีพคอมพิวเตอร์ 2000) + เงินทักษะวิชาชีพ (ค่าเซอร์เขียนโปรแกรมภาษาไพธ่อนระดับกลาง 1500 บาท ค่าเซอโอราเคิลระดับต้น 1000 บาท (ได้ไม่เกิน 3 เซอที่ดีที่สุด))
สมมุติว่าเป็นแบบนี้ได้จริง ๆ ข้าราชการก็น่าจะมีใจอยากจะพัฒนาตัวเองมากขึ้น สอบเลื่อนขั้นได้ก็มีเงินประจำตำแหน่ง หรือถ้าไปทำงานที่ยาก เป็นสายเทคนิค เป็นวิชาชีพเฉพาะก็มีค่าวิชาชีพ และยิ่งพัฒนาทักษะในวิชาชีพของตัวเองก็มีค่าเซอร์อีก ก็ให้หน่วยงานกำหนดมาตรฐานแล้วก็จัดสอบให้เป็นเรื่องเป็นราวซะ
- ผลดีอีกอย่างนึงคือสามารถแยกเงินบำนาญออกมาได้ด้วย ไม่เป็นช้างป่วย เพราะบำนาญก็จะคำนวนแค่ฐานเงินเดือน ส่วนเงินประจำตำแหน่ง เงินวิชาชีพ เงินทักษะต่าง ๆ เมื่อพ้นการทำงานไปแล้วก็ไม่ได้รับ เพราะทุกวันนี้ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ทำงานอยู่ก็น่าน้อยใจนะ ทำงานจริง แต่ไม่สามารถสร้างตัวอะไรได้เลย โดนกดฐานเงินเดือนต่ำมากเพื่อให้ตอนแก่ฐานเงินเดือนไม่เวอร์มากไป ในขณะที่คนเกษียนแล้วไม่ได้ทำงานแล้วไม่ได้สร้างทรัพย์สินเพิ่มแล้วได้บำนาญพอ ๆ กันหรือมากกว่าคนที่ทำงานอยู่เลย
เพื่อน ๆ คิดว่าไง