วันนี้นั่งดูรูปเก่าๆ ไปเรื่อย ครั้งนึง เคยไปเยือน ที่พุมเรียง ไชยา
ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ชายหาดแหลมโพธิ์
แต่ปัจจุบันดูเหมือนรูปปั้นดังกล่าวจะขาดการดูแล และเลือนหายไปอย่างไร ไม่อาจทราบได้
ได้แต่หวังว่ารูปปั้นจะเป็นเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่นไม่มากก็น้อย
เลยหาประวัติ "มวยไชยา" อ่านดู เลยเอามาแบ่งปันกันครับ
เปิดตำนาน “มวยไชยา” ที่ “ท่านมา” บุกเบิกไชยาให้เป็น เมืองมวย-ครูมวยฝีมือฉกรรจ์
กระทั่ง “ขุนพันธ์” มือปราบดังยังนับถือ
สำนวนชาวใต้กล่าวยกย่องชาวไชยาและชาวชุมพร เพื่อชี้ให้เห็นความสามารถและความดีเด่นเชิงศิลปะพื้นบ้าน
นั่นคือ “มวยดีไชยา – เพลงนาชุมพร”
มวยดีไชยา ในอดีตไชยาเคยเป็นเมืองหนึ่งของมณฑลชุมพร เมื่อมีการจัดตั้งเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองไชยาเปลี่ยนเป็นอำเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาจนทุกวันนี้
เล่ากันว่า ผู้บุกเบิกเมืองไชยาเป็นถิ่นนักมวยลือชื่อ คือพระภิกษุรูปหนึ่งชาวบ้านเรียก “ท่านมา” ท่านเป็นชาวกรุงเทพฯ มีปัญหาหลบหนีมาอยู่เมืองไชยาด้วยเรื่องใดไม่ปรากฏ ภายหลังท่านมาเป็นสมภารวัดจับช้าง ปัจจุบันวัดนี้เป็นวัดร้าง ชาวบ้านเคยเล่าว่าภิกษุรูปนี้เป็นครูมวยฝีมือดี สามารถสอนหนุ่มชาวไชยายุคนั้นให้รักศิลปะมวยไทย
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าเมืองไชยาคือ พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) ท่านเป็นผู้สนใจและสนับสนุนมวยไชยา
ถึงกับเป็นครูมวยคนหนึ่ง มวยไชยายุคนั้นมีชื่อขจรขจายไปทั่วประเทศ คือ ปล่อง จำนงทอง ศิษย์เอกของเจ้าเมืองไชยา
ปล่องเป็นชาวบ้านหัววัว ตำบลเลม็ด ได้เดินทางไปชกมวยกับนักมวยโคราช ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราช
เรียกกันว่าชกกันหน้าพระที่นั่ง ในงานพระเมรุกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระสุเมรุ (สนามหลวง) ด้านใกล้ป้อมเผด็จดัสกร
ปรากฏว่าปล่อง จำนงทอง เป็นฝ่ายชนะได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็น “หมื่นมวยมีชื่อ” พร้อมกับผู้ชนะอีก 2 คน คือ “หมื่นมือแม่นหมัด” ซึ่งไม่ทราบชื่อจริง จากบ้านทะเลชุบศร ลพบุรี และ “หมื่นชงัดเชิงชก” ชื่อจริงคือ แดง ไทยประเสริฐ ชาวโคราช มีผู้กล่าวยกย่องนักมวยทั้งสามว่า
“หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา”
พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร์ พันธรักษ์) หรือหลายคนรู้จักในชื่อ “ขุนพันธ์” ผู้ซึ่งได้รับสมญาว่านายพลตำรวจหนังเหนียว หรือจอมขมังเวท
ท่านเคยเขียนเรื่อง “มวยไทย” และพูดถึงเมืองไชยาไว้ว่า “เมืองไชยาเขาให้ชื่อว่าเป็นเมืองมวย เพราะมีครูมวยเก่งๆ มาก และเป็นมวยหักศอก เข่า
เรียกว่ามวยวงใน มีฝีมือฉกรรจ์น่านับถือ ผู้เขียนรู้จักแต่รุ่นสนามเสือป่าและสนามสวนกุหลาบ มี เต็ม กัณหา คล่อง กัณหา และนายเข็ม”
"หมัดตะหวัด"
"เตะก้านคอ"
"ยกเขาพระสุเมรุ"
"จระเข้ฟาดหาง"
"เตะตรง"
"ทัดมาลา"
ขอบคุณทุกท่านที่แวะผ่านเข้ามาครับ
กาลครั้งนึง ณ พุมเรียง รูปปั้น “มวยไชยา”
กระทั่ง “ขุนพันธ์” มือปราบดังยังนับถือ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาจนทุกวันนี้
ถึงกับเป็นครูมวยคนหนึ่ง มวยไชยายุคนั้นมีชื่อขจรขจายไปทั่วประเทศ คือ ปล่อง จำนงทอง ศิษย์เอกของเจ้าเมืองไชยา
เรียกกันว่าชกกันหน้าพระที่นั่ง ในงานพระเมรุกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระสุเมรุ (สนามหลวง) ด้านใกล้ป้อมเผด็จดัสกร
“หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา”
ท่านเคยเขียนเรื่อง “มวยไทย” และพูดถึงเมืองไชยาไว้ว่า “เมืองไชยาเขาให้ชื่อว่าเป็นเมืองมวย เพราะมีครูมวยเก่งๆ มาก และเป็นมวยหักศอก เข่า
เรียกว่ามวยวงใน มีฝีมือฉกรรจ์น่านับถือ ผู้เขียนรู้จักแต่รุ่นสนามเสือป่าและสนามสวนกุหลาบ มี เต็ม กัณหา คล่อง กัณหา และนายเข็ม”