โรครองช้ำ หรือโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (Plantar Fasciitis) คือ ภาวะที่เกิดจากการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า ทำให้มีอาการปวดส้นเท้า และฝ่าเท้า มักจะเกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง หรือการออกกำลังกายที่ใช้งานบริเวณเท้าหนักกว่าปกติ โรครองช้ำจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ก่อนที่จะกลายเป็นอาการเรื้อรัง
อาการของโรครองช้ำ
โรครองช้ำจะมีอาการปวด และเจ็บบริเวณส้นเท้า ระยะแรกอาจเกิดจากการเดิน หรือการยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่อมีอาการมากขึ้น จะมีความรู้สึกปวดส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การเดิน 2-3 ก้าวแรกของวัน
สาเหตุของการเกิดโรครองช้ำ
-
ภาวะอ้วน หรือ มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ จะทำให้การเดินเกิดแรงกดที่ฝ่าเท้ามาก ส่งผลให้พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบได้
-
การยืนเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นฝ่าเท้ารองรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
-
การใช้งานฝ่าเท้า และส้นเท้าที่มากเกินไป เช่น การวิ่งที่หักโหมจนเกินไป
-
สวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับเท้า เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง การใส่รองเท้าที่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป
-
อาการของโรคต่างๆ เช่น เอ็นร้อยหวายยึด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรครองช้ำ
-
ผู้สูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
-
ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
-
เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย เนื่องจากไขมันส้นเท้าบาง อีกทั้งเอ็น และกล้ามเนื้อของน่อง และฝ่าเท้า ไม่แข็งแรงเท่าของเพศชาย
-
ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบน ผิดปกติ
-
นักวิ่ง หรือนักกีฬา ที่ต้องใช้เท้าทำกิจกรรมเป็นเวลานาน
การรักษาโรครองช้ำ
การรักษาด้วยตัวเอง
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสม
- ลดน้ำหนัก โดยการออกกำลังกายที่ไม่มีการกระแทกบริเวณส้นเท้าก่อน เช่น การว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยาน
- การทำกายภาพบำบัด เช่น การบริหารเอ็นร้อยหวาย และพังผืดฝ่าเท้า
การรักษาโดยแพทย์
- การรักษาด้วยคลื่นความถี่ (Shock Wave) เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้า เพื่อให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตัวเอง ผลของการรักษามีความใกล้เคียงกับการผ่าตัด
- ฉีดยาลดการอับเสบ ใช้กับผู้ช่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น
- การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วน และนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก
การเลือกรองเท้าสำหรับผู้ที่เป็นโรครองช้ำ
- เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า ไม่หลวม ไม่คับแน่นเกินไป
- เลือกรองเท้าที่มี Insole เพื่อช่วยทำให้ลดการกระแทก หรือกดเอ็นฝ่าเท้าเวลาเดิน ปรับการลงน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
- เลือกรองเท้าที่มี Arch of Foot ทำหน้าที่รองรับ และกระจายน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าได้ดี ช่วยประคองรูปเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องขณะเคลื่อนไหว หรือก้าวเดิน
- เลือกรองเท้าที่พื้นรองเท้าหนา มีความนุ่ม และยืดหยุ่น
การรักษาด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือเอ็นฝ่าเท้าฉีกขาด ทำให้การรักษามีความยากมากยิ่งขึ้น และถ้าหากมีอาการเจ็บส้นเท้า หรือฝ่าเท้าต่อเนื่องควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม
ปวดฝ่าเท้าบ่อย ๆ อาจจะเป็นอาการของโรครองช้ำ
- การยืนเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นฝ่าเท้ารองรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
- การใช้งานฝ่าเท้า และส้นเท้าที่มากเกินไป เช่น การวิ่งที่หักโหมจนเกินไป
- สวมใส่รองเท้าไม่เหมาะสมกับเท้า เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง การใส่รองเท้าที่หลวม หรือคับแน่นจนเกินไป
- อาการของโรคต่างๆ เช่น เอ็นร้อยหวายยึด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรครองช้ำ
- ผู้สูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
- เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย เนื่องจากไขมันส้นเท้าบาง อีกทั้งเอ็น และกล้ามเนื้อของน่อง และฝ่าเท้า ไม่แข็งแรงเท่าของเพศชาย
- ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง หรือแบน ผิดปกติ
- นักวิ่ง หรือนักกีฬา ที่ต้องใช้เท้าทำกิจกรรมเป็นเวลานาน
การรักษาโรครองช้ำ
การรักษาด้วยตัวเอง
- เลือกรองเท้าที่เหมาะสม
- ลดน้ำหนัก โดยการออกกำลังกายที่ไม่มีการกระแทกบริเวณส้นเท้าก่อน เช่น การว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยาน
- การทำกายภาพบำบัด เช่น การบริหารเอ็นร้อยหวาย และพังผืดฝ่าเท้า
การรักษาโดยแพทย์
- การรักษาด้วยคลื่นความถี่ (Shock Wave) เป็นการกระตุ้นเอ็นพังผืดฝ่าเท้า เพื่อให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงซ่อมแซมตัวเอง ผลของการรักษามีความใกล้เคียงกับการผ่าตัด
- ฉีดยาลดการอับเสบ ใช้กับผู้ช่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น
- การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดพังผืดเท้าบางส่วน และนำหินปูนที่กระดูกส้นเท้าออก
การเลือกรองเท้าสำหรับผู้ที่เป็นโรครองช้ำ
- เลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับรูปเท้า ไม่หลวม ไม่คับแน่นเกินไป
- เลือกรองเท้าที่มี Insole เพื่อช่วยทำให้ลดการกระแทก หรือกดเอ็นฝ่าเท้าเวลาเดิน ปรับการลงน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
- เลือกรองเท้าที่มี Arch of Foot ทำหน้าที่รองรับ และกระจายน้ำหนักบริเวณฝ่าเท้าได้ดี ช่วยประคองรูปเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องขณะเคลื่อนไหว หรือก้าวเดิน
- เลือกรองเท้าที่พื้นรองเท้าหนา มีความนุ่ม และยืดหยุ่น
การรักษาด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ฉีดเข้าบริเวณส้นเท้า ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกติดเชื้อ ไขมันฝ่าเท้าฝ่อ หรือเอ็นฝ่าเท้าฉีกขาด ทำให้การรักษามีความยากมากยิ่งขึ้น และถ้าหากมีอาการเจ็บส้นเท้า หรือฝ่าเท้าต่อเนื่องควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม