ช่วงนี้เราอาจจะได้เห็นวาทกรรมยอดฮิตของฝ่ายซ้ายไทยอย่าง “ทหารไทยเก่งแต่กับคนในประเทศ ไม่เก่งเวลาต้องรบกับทหารต่างชาติ“ ตามสื่อโซเชียลต่างๆ ผมก็พอเข้าใจว่าส่วนหนึ่งอาจจะไม่พอใจกับการที่ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงที่ผ่านๆมา ผมเองก็ไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะว่ามันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ต่างชาติหาข้ออ้างในการคว่ำบาตรหรือแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเรา ผมไม่เห็นด้วยกับวาทกรรมยอดฮิตนี้เพราะอาจเป็นการเหมารวม และเป็นการ oversimplify รายละเอียดในหลายๆศาสตร๋ อย่างเช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ การทหาร ฯลฯ ซึ่งก็อาจจะขัดกับลักษณะของฝ่ายซ้ายที่เป็นนักวิชาการ ปัญญาชน ไปในตัว
ก็น่าสงสัยนะครับว่า คนในประเทศที่พวกเขาพูดถึง พวกนี้อยากเป็นคนไทยจริงๆหรือเปล่า? พวกนี้ไม่ใช่ประชาขนมือเปล่า แต่มีทังอาวุธเบา อาวุธหนัก และก็มีความลำบากในการจัดการกับพวกนี้มากกว่ารบกับทหารจริงๆเนื่องจาก :
1.พวกนี้แฝงตัวเนียนไปกับชาวบ้าน ไม่มีเครื่องแบบ มีหลายครั้งที่แต่งตัวเลียนแบบผู้หญิงขณะก่อเหตุ
2.ทหารต้องทำตาม ROE จะเห็นได้ว่าทหารถูกจำกัดให้ทำได้เพียง ตั้งด่านตรวจ ปิดล้อม ตรวจค้น เจรจาเกลี้ยกล่อมให้ยอมมอบตัว จับกุม และ community engagement ด้วยการพัฒนาพื้นที่ ช่วยเหลือน้ำท่วม ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ หากใข้ยุทธวิธีที่มากกว่านี้ อาจโดนตีตราจากกลุ่มในข้อ 3 ว่าทำเกินกว่าเหตุ ในขณะที่พวกผู้ก่อเหตุรุนแรงมีอิสระมากกว่า โดยใช้ระเบิด การลอบยิงแล้วหนี ฯลฯ
3.พวกนี้มีชาวบ้าน (บางส่วน) ที่สนับสนุน และนอกจากนี้ยัง มีนักการเมือง นักวิชาการ NGOs สื่อฝ่ายซ้าย ฯลฯ (บางส่วน) ทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานลำบากมากกว่าการที่ต้องรบตามแบบกับทหารด้วยกัน
รายละเอียดปลีกย่อยก็จะต่างไปจากความขัดแย้งกับ ผกค. ที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยเคยปะทะมา พวกนี้เราจะรู้ตัวการสนับสนุนที่ชัดเจน เคยมีการยึดพื้นที่และเคยมีการรบกันตามรูปแบบ ในพื้นที่ที่ผมอาศัยอยู่ไม่ไกลนัก มันรบกันชัดเจนจนฝ่ายทหารไทยใช้ ปืนใหญ่ และเครื่องบินรบ ในการรบ ส่วนผลกระทบ ความรุนแรง ความสูญเสีย ที่เคยเกิดขึ้นกับฝ่ายพลเรือน ผมไม่ปฏิเสธว่ามันเคยเกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล และไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก ในหลายๆความขัดแย้งมักจะเกิดผลกระทบ ความรุนแรง ความสูญเสียกับฝ่ายพลเรือน มีอยู่เพียงไม่กี่ครั้งที่ไม่เกิดขึ้น และมักเป็นการ stand-off ที่จบลงด้วยวิธีการทางการฑูต หรือ วิธีอื่นๆที่ไม่ใช่การทหาร
ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยต้องบวกกับทหารต่างชาติ (ทหารนะครับ ไม่ใช่กองกำลังติดอาวุธที่ไม่มีสถานะเป็นประเทศ) ก็คือการปะทะกับทหารกัมพูชา ถ้าย้อนไปไกลมากกว่านั้น ทหารไทยก็เคยรบกับทหารต่างชาติอยู่เรื่อยๆ ทั้งลาวแดง เวียดนามแดง คอมมิวนิสต์ในเกาหลี ในช่วง WWII เราก็เคยปะทะกับญี่ปุ่นและชาติฝ่ายสัมพันธมิตร ในช่วงนี้จะเป็นช่วงไทยเคยต้องยาตราทัพไปผนวกคืนดินแดนนอกประเทศ และเสียไปหลังจบ WWII หลังจากนั้นการที่เราส่งทหารออกไปนอกบ้าน ก็มีแต่ไปในนามของกองกำลังรักษาสันติภาพ UN เท่านั้น
ประเทศที่ต้องรบกับประเทศอื่นๆอยู่บ่อยๆ ก็มักจะมีประเทศมหาอำนาจและประเทศพันธมิตรที่เข้าไปแทรกแซงทำสงครามในต่างแดน ส่วนประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจมักจะเป็นประเทศที่ขาดสเถียรภาพ เกิดความขัดแย้งภายใน ฯลฯ จนถูกเหล่ามหาอำนาจเข้าไปแทรกแซงทำสงครามอันนี้คือไม่มีทางเลือก ส่วนสงครามและการบุกครองระหว่างประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจนั้น ภายใต้ระเบียบโลกปัจจุบัน เขาสร้างขึ้นเพือไม่ให้มีการทำสงครามขยายดินแดนเหมือนในอดีต อาจยึดครองไว้ได้ แต่ไม่นานก็ต้องปล่อย เวียดนามก็ต้องปล่อยเขมร อิสราเอลที่หลายๆคนอาจมองว่าเป็นลูกรักของมหาอำนาจ ก็ต้องปล่อยดินแดนของชาติอาหรับที่ไปรบและยึดมาได้ งานของทหารนอกจากจะต้องทำสงครามโดยตรงแล้ว ก็ยังมี การป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม เช่น การป้องปราม (deterrence) การที่เราสร้างเสริมศักยภาพทางทหารก็ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศที่คิดไม่ดีกับเราต้องคิดให้ดีๆ และเป็นอำนาจต่อรองที่มีน้ำหนักมากกว่าปากกาหรือคำพูด และการป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งมันยกระดับหรือขยายวงกว้าง (de-escalation) เช่นการปฏิบัติตาม ROE วิธีการทางการฑูต ที่บางคนอาจจะแซะว่าที่เรารอดมาได้เพราะการฑูตและเจรจาจนเขาปล่อยให้เราเป็นรัฐกันชน คือความขัดแย้งในหลายๆครั้งมันไม่จำเป็นว่าจะต้องลงเอยด้วยการใช้กำลังเข้ารบกันเสมอไป การประเมินศักยภาพของตนเองและฝ่ายตรงข้าม วิธีการทางการฑูต ใช้ปฏิภาณไหวพริบ ก็นำไปสู่ทางออกที่มันคัมค่ามากกว่าการที่เราไปรบตรงๆจนสุดท้ายแล้วแพ้และถูกยึดครองเป็นร้อยๆปี และที่สำคัญมากๆไม่แพ้ด้านที่เกี่ยวข้องกับการทหาร หรือ การเมืองระหว่างประเทศนั่นก็คือ การสถาปนาความมั่นคงในพื้นที่ ด้วยการใช้ community engagement อย่างที่ได้เคยกล่าวถึงไป เป้าหมายก็คือการ winning hearts and minds โดยสรุปแล้วผมไม่เห็นด้วยกับวาทกรรมนี้ จากเหตุผลที่เขียนมาแบบยืดเยื้อทั้งหมดนี้ครับ
ว่าด้วยวาทกรรมยอดฮิตของฝ่ายซ้าย “ทหารไทยเก่งแต่กับคนในประเทศ ไม่เก่งเวลาต้องรบกับทหารต่างชาติ”
ก็น่าสงสัยนะครับว่า คนในประเทศที่พวกเขาพูดถึง พวกนี้อยากเป็นคนไทยจริงๆหรือเปล่า? พวกนี้ไม่ใช่ประชาขนมือเปล่า แต่มีทังอาวุธเบา อาวุธหนัก และก็มีความลำบากในการจัดการกับพวกนี้มากกว่ารบกับทหารจริงๆเนื่องจาก :
1.พวกนี้แฝงตัวเนียนไปกับชาวบ้าน ไม่มีเครื่องแบบ มีหลายครั้งที่แต่งตัวเลียนแบบผู้หญิงขณะก่อเหตุ
2.ทหารต้องทำตาม ROE จะเห็นได้ว่าทหารถูกจำกัดให้ทำได้เพียง ตั้งด่านตรวจ ปิดล้อม ตรวจค้น เจรจาเกลี้ยกล่อมให้ยอมมอบตัว จับกุม และ community engagement ด้วยการพัฒนาพื้นที่ ช่วยเหลือน้ำท่วม ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ หากใข้ยุทธวิธีที่มากกว่านี้ อาจโดนตีตราจากกลุ่มในข้อ 3 ว่าทำเกินกว่าเหตุ ในขณะที่พวกผู้ก่อเหตุรุนแรงมีอิสระมากกว่า โดยใช้ระเบิด การลอบยิงแล้วหนี ฯลฯ
3.พวกนี้มีชาวบ้าน (บางส่วน) ที่สนับสนุน และนอกจากนี้ยัง มีนักการเมือง นักวิชาการ NGOs สื่อฝ่ายซ้าย ฯลฯ (บางส่วน) ทั้งในและนอกประเทศที่ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานลำบากมากกว่าการที่ต้องรบตามแบบกับทหารด้วยกัน
รายละเอียดปลีกย่อยก็จะต่างไปจากความขัดแย้งกับ ผกค. ที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยเคยปะทะมา พวกนี้เราจะรู้ตัวการสนับสนุนที่ชัดเจน เคยมีการยึดพื้นที่และเคยมีการรบกันตามรูปแบบ ในพื้นที่ที่ผมอาศัยอยู่ไม่ไกลนัก มันรบกันชัดเจนจนฝ่ายทหารไทยใช้ ปืนใหญ่ และเครื่องบินรบ ในการรบ ส่วนผลกระทบ ความรุนแรง ความสูญเสีย ที่เคยเกิดขึ้นกับฝ่ายพลเรือน ผมไม่ปฏิเสธว่ามันเคยเกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ตามมาตรฐานสากล และไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก ในหลายๆความขัดแย้งมักจะเกิดผลกระทบ ความรุนแรง ความสูญเสียกับฝ่ายพลเรือน มีอยู่เพียงไม่กี่ครั้งที่ไม่เกิดขึ้น และมักเป็นการ stand-off ที่จบลงด้วยวิธีการทางการฑูต หรือ วิธีอื่นๆที่ไม่ใช่การทหาร
ครั้งล่าสุดที่ประเทศไทยต้องบวกกับทหารต่างชาติ (ทหารนะครับ ไม่ใช่กองกำลังติดอาวุธที่ไม่มีสถานะเป็นประเทศ) ก็คือการปะทะกับทหารกัมพูชา ถ้าย้อนไปไกลมากกว่านั้น ทหารไทยก็เคยรบกับทหารต่างชาติอยู่เรื่อยๆ ทั้งลาวแดง เวียดนามแดง คอมมิวนิสต์ในเกาหลี ในช่วง WWII เราก็เคยปะทะกับญี่ปุ่นและชาติฝ่ายสัมพันธมิตร ในช่วงนี้จะเป็นช่วงไทยเคยต้องยาตราทัพไปผนวกคืนดินแดนนอกประเทศ และเสียไปหลังจบ WWII หลังจากนั้นการที่เราส่งทหารออกไปนอกบ้าน ก็มีแต่ไปในนามของกองกำลังรักษาสันติภาพ UN เท่านั้น
ประเทศที่ต้องรบกับประเทศอื่นๆอยู่บ่อยๆ ก็มักจะมีประเทศมหาอำนาจและประเทศพันธมิตรที่เข้าไปแทรกแซงทำสงครามในต่างแดน ส่วนประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจมักจะเป็นประเทศที่ขาดสเถียรภาพ เกิดความขัดแย้งภายใน ฯลฯ จนถูกเหล่ามหาอำนาจเข้าไปแทรกแซงทำสงครามอันนี้คือไม่มีทางเลือก ส่วนสงครามและการบุกครองระหว่างประเทศที่ไม่ใช่มหาอำนาจนั้น ภายใต้ระเบียบโลกปัจจุบัน เขาสร้างขึ้นเพือไม่ให้มีการทำสงครามขยายดินแดนเหมือนในอดีต อาจยึดครองไว้ได้ แต่ไม่นานก็ต้องปล่อย เวียดนามก็ต้องปล่อยเขมร อิสราเอลที่หลายๆคนอาจมองว่าเป็นลูกรักของมหาอำนาจ ก็ต้องปล่อยดินแดนของชาติอาหรับที่ไปรบและยึดมาได้ งานของทหารนอกจากจะต้องทำสงครามโดยตรงแล้ว ก็ยังมี การป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม เช่น การป้องปราม (deterrence) การที่เราสร้างเสริมศักยภาพทางทหารก็ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศที่คิดไม่ดีกับเราต้องคิดให้ดีๆ และเป็นอำนาจต่อรองที่มีน้ำหนักมากกว่าปากกาหรือคำพูด และการป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งมันยกระดับหรือขยายวงกว้าง (de-escalation) เช่นการปฏิบัติตาม ROE วิธีการทางการฑูต ที่บางคนอาจจะแซะว่าที่เรารอดมาได้เพราะการฑูตและเจรจาจนเขาปล่อยให้เราเป็นรัฐกันชน คือความขัดแย้งในหลายๆครั้งมันไม่จำเป็นว่าจะต้องลงเอยด้วยการใช้กำลังเข้ารบกันเสมอไป การประเมินศักยภาพของตนเองและฝ่ายตรงข้าม วิธีการทางการฑูต ใช้ปฏิภาณไหวพริบ ก็นำไปสู่ทางออกที่มันคัมค่ามากกว่าการที่เราไปรบตรงๆจนสุดท้ายแล้วแพ้และถูกยึดครองเป็นร้อยๆปี และที่สำคัญมากๆไม่แพ้ด้านที่เกี่ยวข้องกับการทหาร หรือ การเมืองระหว่างประเทศนั่นก็คือ การสถาปนาความมั่นคงในพื้นที่ ด้วยการใช้ community engagement อย่างที่ได้เคยกล่าวถึงไป เป้าหมายก็คือการ winning hearts and minds โดยสรุปแล้วผมไม่เห็นด้วยกับวาทกรรมนี้ จากเหตุผลที่เขียนมาแบบยืดเยื้อทั้งหมดนี้ครับ