มวยปล้ำ: ไม่ใช่กีฬาแท้ แต่ทำไมคนชอบดู และเบื้องลึกดีลยักษ์ Netflix x WWE
Netflix หันมารุกตลาด Live กีฬา ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จกับ มวย อเมริกันฟุตบอล เทนนิส ในปี 2025 เริ่มศักราชใหม่ Netflix ก็เริ่ม Live มวยปล้ำ หรือ Pro wrestling ซึ่งเป็นดีลมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ระยะเวลา 10 ปีกับ WWE ผู้จัดมวยปล้ำรายใหญ่ที่สุดในโลกแห่งสหรัฐอเมริกา
เราจะพามาดูเรื่อง Insight ของมวยปล้ำว่าเป็นธุรกิจที่ทำงานอย่างไร รวมถึงเบื้องลึกของดีลยักษ์ระหว่าง Netflix กับ WWE
มวยปล้ำเป็นกีฬาหรือไม่?
มวยปล้ำอาชีพ หรือ Pro Wrestling เป็นรูปแบบของ ‘การแสดงทางกีฬาที่มีความเป็นละคร’ มันคือศิลปะการแสดงที่นำเสนอผ่านการแข่งขันปลอมๆ บนพื้นฐานของการเล่าเรื่อง (Storytelling) และความบันเทิง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามวยปล้ำจะปราศจากความท้าทายหรืออันตราย ทั้งการกระโดดสูง การทุ่ม หรือการล็อกล้วนต้องการทักษะเฉพาะตัวและความแข็งแกร่งของนักกีฬา ซึ่งหากทำผิดพลาดอาจนำไปสู่การบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งอันตรายถึงชีวิต
ย้อนกลับไปในยุคแรก นักมวยปล้ำเคยเป็นนักสู้ที่แข่งขันจริง แต่การต่อสู้เหล่านั้นกลับดึงดูดคนดูได้น้อย เพราะการต่อสู้จริงมักยืดเยื้อและดูไม่น่าตื่นเต้น จึงมีการ ‘ปรับบท’ ให้การแข่งขันน่าสนใจขึ้น โดยการสร้างฉากการต่อสู้ที่กระชับ เร้าใจ และดราม่ามากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้คนดูมีความสุข แต่ยังช่วยให้นักมวยปล้ำมีเวลาฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บและเดินสายขึ้นแสดงได้อย่างต่อเนื่อง
และในที่สุดมวยปล้ำก็เปลี่ยนโฉมหน้าสู่การเป็นการแสดงอย่างเต็มตัวในยุค 1950s
แม้กระนั้น สถานะของมวยปล้ำในฐานะกีฬาที่แท้จริงยังคงเป็นประเด็นที่คลุมเครืออยู่ น่าสนใจที่ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ยังมีผู้ชมบางส่วนที่เชื่อว่ามวยปล้ำเป็นเรื่องจริง
จุดเปลี่ยนสำคัญคือปี 1989 เมื่อ Vince McMahon ผู้ก่อตั้งและประธานของ World Wrestling Federation (WWF หรือ WWE ในปัจจุบัน) ยืนยันว่ามวยปล้ำอาชีพไม่ใช่กีฬาแท้ เพราะผลของการแข่งขันได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตด้านกีฬาในรัฐนิวเจอร์ซีย์ จากนั้น WWF ก็ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองไปเป็นบริษัท ‘Sports entertainment’
เบื้องหลังพล็อตและการสร้างสตาร์
การเขียนบทในมวยปล้ำมีเป้าหมายหลัก คือสร้างความบันเทิงผ่านเรื่องราวที่ชวนติดตาม และตัวละครที่มีมิติ การสร้างเรื่องราวนี้เองที่ช่วยให้ผู้ชมรู้สึกผูกพันกับนักมวยปล้ำ และกลับมาติดตามอย่างต่อเนื่อง
ทุกสิ่งตั้งแต่พล็อตเรื่อง ไปจนถึงผลการแข่งขัน ล้วนผ่านการเขียนบทโดยทีมผู้สร้าง ซึ่งมักเป็นอดีตนักมวยปล้ำที่รู้ลึกถึงจังหวะและเสน่ห์ของการแสดงในวงการนี้
อย่างเช่นที่ WWE จะมีแผนกเขียนบทสร้างสรรค์โดยเฉพาะ มีนักเขียนมากกว่า 20 คน จากหลากหลายที่มา ทั้งจากละครโทรทัศน์ ละครเวที รายการทีวี ภาพยนตร์ และนักมวยปล้ำเก่า บางคนเป็นแฟนมวยปล้ำและมีพื้นฐานเกี่ยวกับวงการนี้ แต่บางคนไม่มีพื้นฐานเลย บางคนอาจจะเก่งในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และต้องให้คนอื่นช่วยนำกลับมาเชื่อมโยงกับเรื่องในเวที
การเล่าเรื่องคือหัวใจสำคัญของมวยปล้ำ บทบาทของนักมวยปล้ำแต่ละคนมักผูกเข้ากับพล็อตที่สร้างอารมณ์ร่วม เช่น ความรัก การแก้แค้น หรือมิตรภาพ การแข่งขันในสนามไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ แต่ยังเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่ลึกซึ้ง
ทีมงานผู้ควบคุมการแสดง หรือที่เรียกว่า ‘Booker’ เป็นผู้ตัดสินว่าใครจะชนะหรือแพ้ในแต่ละแมตช์ โดยพิจารณาจากแนวทางของเรื่องราวในระยะยาว ความนิยมของนักมวยปล้ำ และการตอบรับจากแฟนๆ
แม้ผลจะถูกกำหนดไว้แล้ว แต่นักมวยปล้ำต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การแสดงออกมาสมจริงที่สุด การจับจังหวะ ความแม่นยำ และความไว้วางใจกันระหว่างคู่ต่อสู้ เปรียบเสมือนการเต้นรำที่ต้องสอดคล้องกันในทุกจังหวะ
ส่วนการเลือกว่าใครจะเป็นดาราเด่นในวงการมวยปล้ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เรื่องราวชีวิตจริง และการสร้างตัวละครที่มีเอกลักษณ์ นักมวยปล้ำของ WWE อย่าง The Rock หรือ John Cena ไม่ได้ดังเพราะฝีมือการต่อสู้เท่านั้น แต่เพราะบุคลิกและคาแรกเตอร์ที่ทรงพลัง ทำให้แฟนๆ รู้สึกเหมือนกำลังติดตามชีวิตของฮีโร่ในนิยาย
มากไปกว่านั้น การสร้างนักมวยปล้ำซูเปอร์สตาร์ขึ้นมาสักคน ยังเปรียบเสมือนคนที่ทำหน้าที่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของแบรนด์ด้วย
Fake แต่ทำไมยังชอบดู?
ก็เหมือนกับภาพยนตร์ ซีรีส์ รายการเรียลลิตี้ ถามว่ามีอะไรที่เรียลบ้าง? – ไม่มี แต่ถามว่าเอนเตอร์เทนมั้ย – แน่นอน
แม้ว่าหลายคนจะรู้ว่ามวยปล้ำอาชีพเป็นการแสดงที่ถูกเขียนบท แต่กลับไม่ได้ลดทอนความสนุกลงเลย สำหรับแฟนๆ มวยปล้ำคือศิลปะการบอกเล่าเรื่องราวที่รวมทุกแง่มุมของความบันเทิงไว้ในเวทีเดียว ทั้งแอ็กชัน ดราม่า ความตลก มิตรภาพ การทรยศ ความรัก และการเผชิญหน้ากับอุปสรรค ทั้งหมดนี้สร้างประสบการณ์ที่ยากจะหาได้จากที่อื่น
นักมวยปล้ำไม่ได้เพียงแค่ต่อสู้ในสนาม พวกเขาคือตัวละครที่มีชีวิต มีแรงจูงใจ และมีเรื่องราวเบื้องหลังที่เชิญชวนให้ผู้ชมติดตาม การแบ่งตัวละครออกเป็น ‘ฮีโร่’ และ ‘วายร้าย’ อย่างชัดเจน ทำให้แฟนๆ สามารถอินไปกับความขัดแย้งและการต่อสู้ในแต่ละแมตช์
เรื่องราวความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างคู่ปรับที่ดำเนินยาวนานหลายเดือนหรือหลายปี ช่วยให้แฟนๆ มีสิ่งที่รอคอยและพูดถึง
แม้ผลการแข่งขันจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่นักมวยปล้ำต้องแสดงทักษะและความสามารถทางกายภาพที่เหนือชั้น การเคลื่อนไหวที่สวยงาม เช่น การกระโดดจากมุมเวที หรือการยกตัวคู่ต่อสู้ในจังหวะที่เหมาะสม ล้วนต้องใช้ความแข็งแรง ความแม่นยำ และการฝึกฝนอย่างหนัก
ศัพท์ที่น่าสนใจในโลกของมวยปล้ำ:
- Kayfabe: การรักษาความสมจริงในโลกของมวยปล้ำว่าเรื่องราวและคาแรกเตอร์เป็นเรื่องจริง
- Gimmick: คาแรกเตอร์ หรือ Persona ที่ใช้ในการแสดงของนักมวยปล้ำ
- Face: ฮีโร่
- Heel: วายร้าย
- Mark: แฟนๆ ที่เชื่อว่ามวยปล้ำเป็นเรื่องจริง ส่วนใหญ่เป็นเด็ก
- Smark: แฟนๆ ที่รู้ว่ามวยปล้ำไม่ใช่การต่อสู้จริง แต่สนุกไปกับทั้งเรื่องราวบนเวทีและเบื้องหลังที่ถูกวางแผนไว้อย่างดี
ศักยภาพในทางธุรกิจของมวยปล้ำ
มวยปล้ำอาชีพไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่ยังเป็นอุตสาหกรรมระดับโลกที่มีมูลค่าสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 และคาดว่าจะเติบโตถึง 2.77 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2031 โดยมีอัตราการเติบโตที่ CAGR 6.66% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024-2031
ด้วยการขับเคลื่อนของผู้เล่นสำคัญอย่าง WWE, AEW และ NJPW อุตสาหกรรมนี้เติบโตจากการผสมผสานของการเล่าเรื่องที่น่าติดตาม ความสามารถด้านกีฬา และความพร้อมในยุคดิจิทัลทั้งสตรีมมิงและโซเชียลมีเดียที่ดึงดูดผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเติบโตของตลาด เช่น
- สินค้าลิขสิทธิ์: การจำหน่ายเสื้อผ้า แอ็กชันฟิกเกอร์ และวิดีโอเกม เป็นแหล่งรายได้สำคัญ โดยความร่วมมือกับแบรนด์ดังและการออกสินค้าแบบลิมิเต็ดช่วยสร้างความภักดีต่อแบรนด์
- การครอสโอเวอร์กับอุตสาหกรรมบันเทิงอื่นๆ: นักมวยปล้ำที่ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์หรือรายการทีวีดึงดูดผู้ชมกลุ่มใหม่และเสริมความนิยมของกีฬามวยปล้ำ
- ความต้องการในงานถ่ายทอดสด: การชมมวยปล้ำแบบสดยังคงเป็นประสบการณ์ที่แฟนๆ ชื่นชอบ โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ อย่าง WrestleMania ที่ดึงดูดผู้ชมจำนวนมากและกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองที่เป็นเจ้าภาพ
- เนื้อหาที่หลากหลาย: การโปรโมตมวยปล้ำในปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่รายการที่เหมาะสำหรับครอบครัวไปจนถึงเรื่องราวที่เข้มข้นสำหรับผู้ใหญ่
แม้จะเผชิญความท้าทาย เช่น ความนิยมที่ลดลงของผู้ชมทีวีแบบดั้งเดิมและการแข่งขันจาก mixed martial arts แต่มวยปล้ำยังคงรักษาความโดดเด่นในยุคดิจิทัล เช่น การใช้ YouTube ซึ่ง WWE มียอดผู้ชมกว่า 90.75 พันล้านวิวในปี 2024 สูงที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก
Netflix คิดอย่างไร
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2025 รายการหลักของ WWE อย่าง Monday Night Raw ได้เปิดตัวครั้งประวัติศาสตร์บน Netflix ถือเป็นบทใหม่ในประวัติศาสตร์วงการมวยปล้ำอาชีพ ครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่รายการไอคอนิกนี้ก้าวออกจากทีวีแบบดั้งเดิม มาสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิงระดับโลก มูลค่าดีล 10 ปีที่ 5 พันล้านดอลลาร์
การเคลื่อนไหวนี้แสดงถึงการก้าวเชิงกลยุทธ์ของ WWE ในขณะที่ผู้ชมทีวีแบบดั้งเดิมลดลง ด้วยฐานสมาชิกทั่วโลกถึง 283 ล้านคน Netflix เปิดโอกาสให้ WWE เข้าถึงผู้ชมในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน สอดคล้องกับเป้าหมายของ WWE ในการเข้าถึงผู้ชมรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และชื่นชอบความยืดหยุ่นของการสตรีมมากกว่าการดูโทรทัศน์ตามตารางเวลา
ความร่วมมือของ Netflix กับ WWE อาจเป็นแม่แบบสำหรับกีฬาและความบันเทิงอื่นๆ ที่จะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การไลฟ์สตรีมมากขึ้น
“WWE Raw คือสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัวกับคอนเทนต์กีฬาของเรา ที่เน้นเรื่องราวดราม่าในกีฬา” Ted Sarandos ซีอีโอร่วมของ Netflix พูดถึงเหตุผลว่าทำไม Netflix ถึงเลือกมวยปล้ำ
Netflix เคยประสบความสำเร็จอย่างมากกับสารคดีแนวกีฬา เช่น ‘Formula 1: Drive to Survive’ และ ‘Quarterback’ Sarandos ยังพูดถึง WWE ว่าเป็นอีกก้าวที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
แม้จะมีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการระหว่างทั้งสองฝ่ายมาก่อน แต่ในตอนนั้น Netflix ยังไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับเนื้อหาไลฟ์และไม่พิจารณาคอนเทนต์ประเภทนี้อย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีอุปสรรคในเรื่องสิทธิ์การเผยแพร่รายการ WWE ในต่างประเทศที่ถูกกระจายไปตามข้อตกลงที่หลากหลาย
สำหรับ Netflix ลักษณะเฉพาะของ WWE ซึ่งไม่ใช่แค่กีฬาแต่ยังเป็นความบันเทิงนั้น ใกล้เคียงกับซีรีส์หรือรายการที่ Netflix ถนัด “มันเหมือนละครหรือซีรีส์ที่มีตัวละครและเนื้อเรื่องที่ต่อเนื่อง” Riegg กล่าว พร้อมเสริมว่าความสม่ำเสมอของเนื้อหาทำให้ WWE Raw มีคุณค่าในแบบที่หายากในอุตสาหกรรม
แม้ Netflix จะขยายไปสู่การถ่ายทอดสดและกีฬา แต่ก็ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ
“ความท้าทายของลีกกีฬา หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ คือเมื่อคุณช่วยพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งแล้ว เมื่อหมดสัญญา อาจมีความเสี่ยงที่พาร์ทเนอร์รายอื่นจะเข้ามารับช่วงต่อ” Riegg อธิบาย “ต่างจากซีรีส์ที่เราผลิตเองที่จะอยู่ใน Netflix ตลอดไป”
ความแข็งแกร่งของแบรนด์ WWE และระยะเวลาของข้อตกลงสร้างความมั่นใจให้ Netflix แม้ดีลนี้จะมีมูลค่ามหาศาล แต่ Netflix มองว่าเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผล
“งบคอนเทนต์ประจำปีของเรามีขนาดใหญ่ สิ่งที่เราลงทุนใน WWE คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เล็กมาก” Riegg บอก “คุณจะได้รับคอนเทนต์ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวม 52 สัปดาห์ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ใหญ่ๆ ที่เราลงทุนในแต่ละไตรมาส มันเทียบเคียงได้”
สำหรับแฟนมวยปล้ำ การย้ายมาที่ Netflix จะไม่เปลี่ยนโฉมหน้าของ Raw ไปอย่างสิ้นเชิง Riegg ยืนยันว่า Raw จะยังคงเป็นแบรนด์สำหรับครอบครัว และจะรักษาเรต PG ไว้ตามความตั้งใจของ WWE
ไม่เพียงแต่จะขยายฐานแฟนคลับ WWE แต่ดีลนี้ยังทำให้ Netflix ได้ทดสอบศักยภาพในคอนเทนต์สดและสำรวจความเป็นไปได้ในการนำกีฬาและความบันเทิงมาผสมผสานในอนาคต
ที่มา : marketingoops
มวยปล้ำ: ไม่ใช่กีฬาแท้ แต่ทำไมคนชอบดู และเบื้องลึกดีลยักษ์ Netflix x WWE
Netflix หันมารุกตลาด Live กีฬา ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จกับ มวย อเมริกันฟุตบอล เทนนิส ในปี 2025 เริ่มศักราชใหม่ Netflix ก็เริ่ม Live มวยปล้ำ หรือ Pro wrestling ซึ่งเป็นดีลมูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ระยะเวลา 10 ปีกับ WWE ผู้จัดมวยปล้ำรายใหญ่ที่สุดในโลกแห่งสหรัฐอเมริกา
เราจะพามาดูเรื่อง Insight ของมวยปล้ำว่าเป็นธุรกิจที่ทำงานอย่างไร รวมถึงเบื้องลึกของดีลยักษ์ระหว่าง Netflix กับ WWE
มวยปล้ำเป็นกีฬาหรือไม่?
มวยปล้ำอาชีพ หรือ Pro Wrestling เป็นรูปแบบของ ‘การแสดงทางกีฬาที่มีความเป็นละคร’ มันคือศิลปะการแสดงที่นำเสนอผ่านการแข่งขันปลอมๆ บนพื้นฐานของการเล่าเรื่อง (Storytelling) และความบันเทิง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามวยปล้ำจะปราศจากความท้าทายหรืออันตราย ทั้งการกระโดดสูง การทุ่ม หรือการล็อกล้วนต้องการทักษะเฉพาะตัวและความแข็งแกร่งของนักกีฬา ซึ่งหากทำผิดพลาดอาจนำไปสู่การบาดเจ็บ หรือแม้กระทั่งอันตรายถึงชีวิต
ย้อนกลับไปในยุคแรก นักมวยปล้ำเคยเป็นนักสู้ที่แข่งขันจริง แต่การต่อสู้เหล่านั้นกลับดึงดูดคนดูได้น้อย เพราะการต่อสู้จริงมักยืดเยื้อและดูไม่น่าตื่นเต้น จึงมีการ ‘ปรับบท’ ให้การแข่งขันน่าสนใจขึ้น โดยการสร้างฉากการต่อสู้ที่กระชับ เร้าใจ และดราม่ามากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้คนดูมีความสุข แต่ยังช่วยให้นักมวยปล้ำมีเวลาฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บและเดินสายขึ้นแสดงได้อย่างต่อเนื่อง
และในที่สุดมวยปล้ำก็เปลี่ยนโฉมหน้าสู่การเป็นการแสดงอย่างเต็มตัวในยุค 1950s
แม้กระนั้น สถานะของมวยปล้ำในฐานะกีฬาที่แท้จริงยังคงเป็นประเด็นที่คลุมเครืออยู่ น่าสนใจที่ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ยังมีผู้ชมบางส่วนที่เชื่อว่ามวยปล้ำเป็นเรื่องจริง
จุดเปลี่ยนสำคัญคือปี 1989 เมื่อ Vince McMahon ผู้ก่อตั้งและประธานของ World Wrestling Federation (WWF หรือ WWE ในปัจจุบัน) ยืนยันว่ามวยปล้ำอาชีพไม่ใช่กีฬาแท้ เพราะผลของการแข่งขันได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตด้านกีฬาในรัฐนิวเจอร์ซีย์ จากนั้น WWF ก็ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองไปเป็นบริษัท ‘Sports entertainment’
เบื้องหลังพล็อตและการสร้างสตาร์
การเขียนบทในมวยปล้ำมีเป้าหมายหลัก คือสร้างความบันเทิงผ่านเรื่องราวที่ชวนติดตาม และตัวละครที่มีมิติ การสร้างเรื่องราวนี้เองที่ช่วยให้ผู้ชมรู้สึกผูกพันกับนักมวยปล้ำ และกลับมาติดตามอย่างต่อเนื่อง
ทุกสิ่งตั้งแต่พล็อตเรื่อง ไปจนถึงผลการแข่งขัน ล้วนผ่านการเขียนบทโดยทีมผู้สร้าง ซึ่งมักเป็นอดีตนักมวยปล้ำที่รู้ลึกถึงจังหวะและเสน่ห์ของการแสดงในวงการนี้
อย่างเช่นที่ WWE จะมีแผนกเขียนบทสร้างสรรค์โดยเฉพาะ มีนักเขียนมากกว่า 20 คน จากหลากหลายที่มา ทั้งจากละครโทรทัศน์ ละครเวที รายการทีวี ภาพยนตร์ และนักมวยปล้ำเก่า บางคนเป็นแฟนมวยปล้ำและมีพื้นฐานเกี่ยวกับวงการนี้ แต่บางคนไม่มีพื้นฐานเลย บางคนอาจจะเก่งในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ และต้องให้คนอื่นช่วยนำกลับมาเชื่อมโยงกับเรื่องในเวที
การเล่าเรื่องคือหัวใจสำคัญของมวยปล้ำ บทบาทของนักมวยปล้ำแต่ละคนมักผูกเข้ากับพล็อตที่สร้างอารมณ์ร่วม เช่น ความรัก การแก้แค้น หรือมิตรภาพ การแข่งขันในสนามไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ แต่ยังเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่ลึกซึ้ง
ทีมงานผู้ควบคุมการแสดง หรือที่เรียกว่า ‘Booker’ เป็นผู้ตัดสินว่าใครจะชนะหรือแพ้ในแต่ละแมตช์ โดยพิจารณาจากแนวทางของเรื่องราวในระยะยาว ความนิยมของนักมวยปล้ำ และการตอบรับจากแฟนๆ
แม้ผลจะถูกกำหนดไว้แล้ว แต่นักมวยปล้ำต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การแสดงออกมาสมจริงที่สุด การจับจังหวะ ความแม่นยำ และความไว้วางใจกันระหว่างคู่ต่อสู้ เปรียบเสมือนการเต้นรำที่ต้องสอดคล้องกันในทุกจังหวะ
ส่วนการเลือกว่าใครจะเป็นดาราเด่นในวงการมวยปล้ำไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เรื่องราวชีวิตจริง และการสร้างตัวละครที่มีเอกลักษณ์ นักมวยปล้ำของ WWE อย่าง The Rock หรือ John Cena ไม่ได้ดังเพราะฝีมือการต่อสู้เท่านั้น แต่เพราะบุคลิกและคาแรกเตอร์ที่ทรงพลัง ทำให้แฟนๆ รู้สึกเหมือนกำลังติดตามชีวิตของฮีโร่ในนิยาย
มากไปกว่านั้น การสร้างนักมวยปล้ำซูเปอร์สตาร์ขึ้นมาสักคน ยังเปรียบเสมือนคนที่ทำหน้าที่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของแบรนด์ด้วย
ก็เหมือนกับภาพยนตร์ ซีรีส์ รายการเรียลลิตี้ ถามว่ามีอะไรที่เรียลบ้าง? – ไม่มี แต่ถามว่าเอนเตอร์เทนมั้ย – แน่นอน
แม้ว่าหลายคนจะรู้ว่ามวยปล้ำอาชีพเป็นการแสดงที่ถูกเขียนบท แต่กลับไม่ได้ลดทอนความสนุกลงเลย สำหรับแฟนๆ มวยปล้ำคือศิลปะการบอกเล่าเรื่องราวที่รวมทุกแง่มุมของความบันเทิงไว้ในเวทีเดียว ทั้งแอ็กชัน ดราม่า ความตลก มิตรภาพ การทรยศ ความรัก และการเผชิญหน้ากับอุปสรรค ทั้งหมดนี้สร้างประสบการณ์ที่ยากจะหาได้จากที่อื่น
นักมวยปล้ำไม่ได้เพียงแค่ต่อสู้ในสนาม พวกเขาคือตัวละครที่มีชีวิต มีแรงจูงใจ และมีเรื่องราวเบื้องหลังที่เชิญชวนให้ผู้ชมติดตาม การแบ่งตัวละครออกเป็น ‘ฮีโร่’ และ ‘วายร้าย’ อย่างชัดเจน ทำให้แฟนๆ สามารถอินไปกับความขัดแย้งและการต่อสู้ในแต่ละแมตช์
เรื่องราวความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างคู่ปรับที่ดำเนินยาวนานหลายเดือนหรือหลายปี ช่วยให้แฟนๆ มีสิ่งที่รอคอยและพูดถึง
แม้ผลการแข่งขันจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่นักมวยปล้ำต้องแสดงทักษะและความสามารถทางกายภาพที่เหนือชั้น การเคลื่อนไหวที่สวยงาม เช่น การกระโดดจากมุมเวที หรือการยกตัวคู่ต่อสู้ในจังหวะที่เหมาะสม ล้วนต้องใช้ความแข็งแรง ความแม่นยำ และการฝึกฝนอย่างหนัก
ศัพท์ที่น่าสนใจในโลกของมวยปล้ำ:
- Kayfabe: การรักษาความสมจริงในโลกของมวยปล้ำว่าเรื่องราวและคาแรกเตอร์เป็นเรื่องจริง
- Gimmick: คาแรกเตอร์ หรือ Persona ที่ใช้ในการแสดงของนักมวยปล้ำ
- Face: ฮีโร่
- Heel: วายร้าย
- Mark: แฟนๆ ที่เชื่อว่ามวยปล้ำเป็นเรื่องจริง ส่วนใหญ่เป็นเด็ก
- Smark: แฟนๆ ที่รู้ว่ามวยปล้ำไม่ใช่การต่อสู้จริง แต่สนุกไปกับทั้งเรื่องราวบนเวทีและเบื้องหลังที่ถูกวางแผนไว้อย่างดี
ศักยภาพในทางธุรกิจของมวยปล้ำ
มวยปล้ำอาชีพไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่ยังเป็นอุตสาหกรรมระดับโลกที่มีมูลค่าสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 และคาดว่าจะเติบโตถึง 2.77 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2031 โดยมีอัตราการเติบโตที่ CAGR 6.66% ในช่วงคาดการณ์ปี 2024-2031
ด้วยการขับเคลื่อนของผู้เล่นสำคัญอย่าง WWE, AEW และ NJPW อุตสาหกรรมนี้เติบโตจากการผสมผสานของการเล่าเรื่องที่น่าติดตาม ความสามารถด้านกีฬา และความพร้อมในยุคดิจิทัลทั้งสตรีมมิงและโซเชียลมีเดียที่ดึงดูดผู้ชมหลายล้านคนทั่วโลก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเติบโตของตลาด เช่น
- สินค้าลิขสิทธิ์: การจำหน่ายเสื้อผ้า แอ็กชันฟิกเกอร์ และวิดีโอเกม เป็นแหล่งรายได้สำคัญ โดยความร่วมมือกับแบรนด์ดังและการออกสินค้าแบบลิมิเต็ดช่วยสร้างความภักดีต่อแบรนด์
- การครอสโอเวอร์กับอุตสาหกรรมบันเทิงอื่นๆ: นักมวยปล้ำที่ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์หรือรายการทีวีดึงดูดผู้ชมกลุ่มใหม่และเสริมความนิยมของกีฬามวยปล้ำ
- ความต้องการในงานถ่ายทอดสด: การชมมวยปล้ำแบบสดยังคงเป็นประสบการณ์ที่แฟนๆ ชื่นชอบ โดยเฉพาะงานใหญ่ๆ อย่าง WrestleMania ที่ดึงดูดผู้ชมจำนวนมากและกระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองที่เป็นเจ้าภาพ
- เนื้อหาที่หลากหลาย: การโปรโมตมวยปล้ำในปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่รายการที่เหมาะสำหรับครอบครัวไปจนถึงเรื่องราวที่เข้มข้นสำหรับผู้ใหญ่
แม้จะเผชิญความท้าทาย เช่น ความนิยมที่ลดลงของผู้ชมทีวีแบบดั้งเดิมและการแข่งขันจาก mixed martial arts แต่มวยปล้ำยังคงรักษาความโดดเด่นในยุคดิจิทัล เช่น การใช้ YouTube ซึ่ง WWE มียอดผู้ชมกว่า 90.75 พันล้านวิวในปี 2024 สูงที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก
Netflix คิดอย่างไร
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2025 รายการหลักของ WWE อย่าง Monday Night Raw ได้เปิดตัวครั้งประวัติศาสตร์บน Netflix ถือเป็นบทใหม่ในประวัติศาสตร์วงการมวยปล้ำอาชีพ ครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่รายการไอคอนิกนี้ก้าวออกจากทีวีแบบดั้งเดิม มาสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิงระดับโลก มูลค่าดีล 10 ปีที่ 5 พันล้านดอลลาร์
การเคลื่อนไหวนี้แสดงถึงการก้าวเชิงกลยุทธ์ของ WWE ในขณะที่ผู้ชมทีวีแบบดั้งเดิมลดลง ด้วยฐานสมาชิกทั่วโลกถึง 283 ล้านคน Netflix เปิดโอกาสให้ WWE เข้าถึงผู้ชมในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน สอดคล้องกับเป้าหมายของ WWE ในการเข้าถึงผู้ชมรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และชื่นชอบความยืดหยุ่นของการสตรีมมากกว่าการดูโทรทัศน์ตามตารางเวลา
ความร่วมมือของ Netflix กับ WWE อาจเป็นแม่แบบสำหรับกีฬาและความบันเทิงอื่นๆ ที่จะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การไลฟ์สตรีมมากขึ้น
“WWE Raw คือสปอร์ตเอนเตอร์เทนเมนต์ ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัวกับคอนเทนต์กีฬาของเรา ที่เน้นเรื่องราวดราม่าในกีฬา” Ted Sarandos ซีอีโอร่วมของ Netflix พูดถึงเหตุผลว่าทำไม Netflix ถึงเลือกมวยปล้ำ
Netflix เคยประสบความสำเร็จอย่างมากกับสารคดีแนวกีฬา เช่น ‘Formula 1: Drive to Survive’ และ ‘Quarterback’ Sarandos ยังพูดถึง WWE ว่าเป็นอีกก้าวที่มุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
แม้จะมีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการระหว่างทั้งสองฝ่ายมาก่อน แต่ในตอนนั้น Netflix ยังไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับเนื้อหาไลฟ์และไม่พิจารณาคอนเทนต์ประเภทนี้อย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีอุปสรรคในเรื่องสิทธิ์การเผยแพร่รายการ WWE ในต่างประเทศที่ถูกกระจายไปตามข้อตกลงที่หลากหลาย
สำหรับ Netflix ลักษณะเฉพาะของ WWE ซึ่งไม่ใช่แค่กีฬาแต่ยังเป็นความบันเทิงนั้น ใกล้เคียงกับซีรีส์หรือรายการที่ Netflix ถนัด “มันเหมือนละครหรือซีรีส์ที่มีตัวละครและเนื้อเรื่องที่ต่อเนื่อง” Riegg กล่าว พร้อมเสริมว่าความสม่ำเสมอของเนื้อหาทำให้ WWE Raw มีคุณค่าในแบบที่หายากในอุตสาหกรรม
แม้ Netflix จะขยายไปสู่การถ่ายทอดสดและกีฬา แต่ก็ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ
“ความท้าทายของลีกกีฬา หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ คือเมื่อคุณช่วยพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งแล้ว เมื่อหมดสัญญา อาจมีความเสี่ยงที่พาร์ทเนอร์รายอื่นจะเข้ามารับช่วงต่อ” Riegg อธิบาย “ต่างจากซีรีส์ที่เราผลิตเองที่จะอยู่ใน Netflix ตลอดไป”
ความแข็งแกร่งของแบรนด์ WWE และระยะเวลาของข้อตกลงสร้างความมั่นใจให้ Netflix แม้ดีลนี้จะมีมูลค่ามหาศาล แต่ Netflix มองว่าเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผล
“งบคอนเทนต์ประจำปีของเรามีขนาดใหญ่ สิ่งที่เราลงทุนใน WWE คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เล็กมาก” Riegg บอก “คุณจะได้รับคอนเทนต์ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รวม 52 สัปดาห์ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับภาพยนตร์ใหญ่ๆ ที่เราลงทุนในแต่ละไตรมาส มันเทียบเคียงได้”
สำหรับแฟนมวยปล้ำ การย้ายมาที่ Netflix จะไม่เปลี่ยนโฉมหน้าของ Raw ไปอย่างสิ้นเชิง Riegg ยืนยันว่า Raw จะยังคงเป็นแบรนด์สำหรับครอบครัว และจะรักษาเรต PG ไว้ตามความตั้งใจของ WWE
ไม่เพียงแต่จะขยายฐานแฟนคลับ WWE แต่ดีลนี้ยังทำให้ Netflix ได้ทดสอบศักยภาพในคอนเทนต์สดและสำรวจความเป็นไปได้ในการนำกีฬาและความบันเทิงมาผสมผสานในอนาคต
ที่มา : marketingoops