ซางหมายถึงไผ่ซางหรือหน่อไม้ไผ่ซางเป็นไผ่ขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่นะครับ มีหลายสายเหมือนกัน ที่หลักๆก็มีซางนวล ซางหม่น ซางป่า
หน่อไม้ขนาดใหญ่รสชาติดีครับผม ถ้ากอใหญ่ๆจริงๆก็หน่อเท่าโคนขานี่แหละครับผม รสชาติดี ต้มกินแกงกินได้ ด้วงมันถึงชอบกินครับผม
กอไผ่ที่บ้านผมมีด้วงกว่างชน กับด้วงงวงหรือด้วงหน่อไม้ที่ชอบมากิน ด้วงกว่างกินแล้วก็แล้วไป แต่ด้วงงวงมันกินด้วย เจาะเข้าไปทำโพรงวางไข่ด้วย อันนี้ไม่ดีครับเพราะหน่อไม้จะหยุดการเจริญเติบโตคือขึ้นได้แค่ครึ่งลำแล้วก็จะออกใบแล้ว
หน่อไม้ซางรสชาติดีครับผม สมแล้วที่ด้วงชอบกินผมเองก็ชอบกิน แต่เขตที่ผมอยู่ไม่มีด้วงห้าเขา หรือมีแต่มันไม่เคยมาที่บ้านผมก็อาจจะเป็นไปได้
วันนี้มีด้วงห้าเขาหรือกว่างซางมาให้ชมครับผม ตัวใหญ่ๆปีกสีเหลืองคือกว่างซางเหนือ เป็นของทางเหนือและด้วงหูกระต่ายก็เป็นกว่างซางเหมือนกันแต่ตัวนี้มาจากเมืองกาญจน์ครับ เป็นซางตะวันตก
ชื่อสามัญภาษาไทย : กว่างซางเหนือ / กว่างห้าเขา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Yellow Five - Horned Beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘌𝘶𝘱𝘢𝘵𝘰𝘳𝘶𝘴 𝘨𝘳𝘢𝘤𝘪𝘭𝘪𝘤𝘰𝘳𝘯𝘪𝘴 Arrow, 1908
วงศ์ : Dynastidae
อันดับ : Coleoptera
ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรม : เป็นด้วงกว่างขนาดใหญ่ หัวและอกสีดำ ปีกสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง ส่วนหัวมีเขายาวโค้งไปด้านหลัง ส่วนอกมีเขาแหลมโค้งยาวไปด้านหน้า 2 คู่ เพศเมียมีลักษณะคล้ายกับเพศผู้แต่ไม่มีเขา พบตั้งแต่เดือนกันยายนของทุกปี
อาหาร : ระยะตัวหนอนเจาะกินเนื้อไม้ ตัวเต็มวัยกินยอดไผ่
ถิ่นอาศัย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ
เขตแพร่กระจาย : ไทย (กาญจนบุรี เลย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ และเชียงราย) อินเดีย พม่า ลาว และเวียดนาม
ความยาวลำตัว : 48 -70 มม.
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
กว่างซางตะวันตกหรือด้วงกว่างซางหูกระต่าย Eupatorus birmanicus
ลูกๆของผมเคยเลี้ยงและเพาะเลี้ยงแมลงหลายชนิด โดยเฉพาะด้วง นอกนั้นก็เกือบทุกอย่างที่หาเจอ ไอโซพอด กระดิ่งเงินกระดิ่งทอง พวกนั้น
บางชนิดหาไม่ได้ในท้องถิ่นก็หามาสั่งซื้อมาเลี้ยง
บางทีเลี้ยงหรือเพาะเลี้ยงแล้วก็ปล่อยคืนธรรมชาติ แต่ต้องดูสายพันธุ์ดูแหล่งกำเนิดให้ดี ถ้ามันมีอยู่ในเชียงใหม่ก็ปล่อยได้ ถ้ามันมาจากแหล่งอื่นไกลๆก็ห้ามปล่อย อาจจะมีผลกระทบกับระบบนิเศน์ของท้องถิ่นได้
กว่างซางตะวันตกพบกว่างซางเหนือ
หน่อไม้ขนาดใหญ่รสชาติดีครับผม ถ้ากอใหญ่ๆจริงๆก็หน่อเท่าโคนขานี่แหละครับผม รสชาติดี ต้มกินแกงกินได้ ด้วงมันถึงชอบกินครับผม
กอไผ่ที่บ้านผมมีด้วงกว่างชน กับด้วงงวงหรือด้วงหน่อไม้ที่ชอบมากิน ด้วงกว่างกินแล้วก็แล้วไป แต่ด้วงงวงมันกินด้วย เจาะเข้าไปทำโพรงวางไข่ด้วย อันนี้ไม่ดีครับเพราะหน่อไม้จะหยุดการเจริญเติบโตคือขึ้นได้แค่ครึ่งลำแล้วก็จะออกใบแล้ว
หน่อไม้ซางรสชาติดีครับผม สมแล้วที่ด้วงชอบกินผมเองก็ชอบกิน แต่เขตที่ผมอยู่ไม่มีด้วงห้าเขา หรือมีแต่มันไม่เคยมาที่บ้านผมก็อาจจะเป็นไปได้
วันนี้มีด้วงห้าเขาหรือกว่างซางมาให้ชมครับผม ตัวใหญ่ๆปีกสีเหลืองคือกว่างซางเหนือ เป็นของทางเหนือและด้วงหูกระต่ายก็เป็นกว่างซางเหมือนกันแต่ตัวนี้มาจากเมืองกาญจน์ครับ เป็นซางตะวันตก
ชื่อสามัญภาษาไทย : กว่างซางเหนือ / กว่างห้าเขา
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Yellow Five - Horned Beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘌𝘶𝘱𝘢𝘵𝘰𝘳𝘶𝘴 𝘨𝘳𝘢𝘤𝘪𝘭𝘪𝘤𝘰𝘳𝘯𝘪𝘴 Arrow, 1908
วงศ์ : Dynastidae
อันดับ : Coleoptera
ลักษณะทั่วไปและพฤติกรรม : เป็นด้วงกว่างขนาดใหญ่ หัวและอกสีดำ ปีกสีน้ำตาลอ่อนปนเหลือง ส่วนหัวมีเขายาวโค้งไปด้านหลัง ส่วนอกมีเขาแหลมโค้งยาวไปด้านหน้า 2 คู่ เพศเมียมีลักษณะคล้ายกับเพศผู้แต่ไม่มีเขา พบตั้งแต่เดือนกันยายนของทุกปี
อาหาร : ระยะตัวหนอนเจาะกินเนื้อไม้ ตัวเต็มวัยกินยอดไผ่
ถิ่นอาศัย : ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ
เขตแพร่กระจาย : ไทย (กาญจนบุรี เลย เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ และเชียงราย) อินเดีย พม่า ลาว และเวียดนาม
ความยาวลำตัว : 48 -70 มม.
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช
กว่างซางตะวันตกหรือด้วงกว่างซางหูกระต่าย Eupatorus birmanicus
ลูกๆของผมเคยเลี้ยงและเพาะเลี้ยงแมลงหลายชนิด โดยเฉพาะด้วง นอกนั้นก็เกือบทุกอย่างที่หาเจอ ไอโซพอด กระดิ่งเงินกระดิ่งทอง พวกนั้น
บางชนิดหาไม่ได้ในท้องถิ่นก็หามาสั่งซื้อมาเลี้ยง
บางทีเลี้ยงหรือเพาะเลี้ยงแล้วก็ปล่อยคืนธรรมชาติ แต่ต้องดูสายพันธุ์ดูแหล่งกำเนิดให้ดี ถ้ามันมีอยู่ในเชียงใหม่ก็ปล่อยได้ ถ้ามันมาจากแหล่งอื่นไกลๆก็ห้ามปล่อย อาจจะมีผลกระทบกับระบบนิเศน์ของท้องถิ่นได้