มีความเป็นไปได้แค่ไหน ในการกำจัดเมืองสแกมเมอร์รอบชายแดนไทย-เมียนมา

กระทู้คำถาม
https://www.bbc.com/thai/articles/c51ndv0py26o

16 มกราคม 2025

การหลอกลวงนายหวัง ซิง นักแสดงชาวจีนไปทำงานหลอกลวงออนไลน์ในเมืองสแกมเมอร์ติดชายแดน จ.ตาก ของไทย จุดกระแสความไม่พอใจต่อมาตรการต่าง ๆ ของรัฐที่ทำให้ไทยเสียชื่อเสียงในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเงินเข้าประเทศมหาศาล
เรื่องราวของนายหวัง ซิง หรือ ซิง ซิง ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทั้งลักษณะพฤติกรรม เส้นทางการนำพา รวมถึงการประสานขอความช่วยเหลือออกมาจากเมืองสแกมเมอร์ ทั้งหมดนี้อาจกลายเป็นเรื่องราวของใครก็ได้ เนื่องจากมันเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เพียงแค่เปลี่ยนชื่อและสัญชาติของเหยื่อเท่านั้น
คำถามคือมีความเป็นไปได้แค่ไหนในการกำจัดเมืองสแกมเมอร์รอบชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งขยายอาณาจักรของพวกเขาอย่างรวดเร็ว จากปริมาณของเงินมหาศาลที่เกี่ยวพันกับการทุจริตในทุกระดับ
บีบีซีไทยพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ 4 คนจากหลากหลายวงการ เพื่อสอบถามความเห็นพวกเขาว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปิดเมืองที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมฉ้อโกงหลอกลวงเหล่านี้
ลลิตา หาญวงษ์: เป็นไปได้ "แต่ไทยกล้าทำหรือเปล่า ?"
ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนมาจากคณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ บอกว่าการกำจัดเมืองสแกมเมอร์รอบชายแดนไทย-เมียนมา มีความเป็นไปได้ แต่ก็เต็มไปด้วยความท้าทายหลายด้าน

โดยข้อเท็จจริงแล้วเมืองสแกมเมอร์ติดชายแดนไทย-เมียนมา ไม่ว่าจะเป็นเมืองชเวโก๊กโก่หรือเมืองใดก็ตาม ล้วนได้รับการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จากฝั่งไทย เช่น วัสดุก่อสร้าง น้ำ ไฟฟ้า โทรคมนาคม ฯลฯ
"หากเราปิดแนวชายแดน ไม่ให้ส่งออกสิ่งของต่าง ๆ ออกไป เมืองสแกมเมอร์ก็จบนะ" เธอกล่าว "แต่ไทยกล้าทำแบบนั้นหรือเปล่า ?"
อาจารย์จาก ม.เกษตรศาสตร์ ยังชี้ให้เห็นว่าท่าข้ามชายแดนกว่า 50 แห่งใน จ.ตาก ซึ่งเปิดเพื่อวัตถุประสงค์การค้าข้ามแดนนั้นเป็นจำนวนที่เยอะมากเกินไป และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แนวชายแดนของไทยรั่วไหล รวมถึงเป็นประตูในการส่งสินค้าต่าง ๆ ออกไปยังเมืองสแกมเมอร์ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกันด้วย
"ท่าข้ามเหล่านี้ขออนุญาตเปิดถูกกฎหมาย และเปิดมากขึ้นเรื่อย ๆ" เธอกล่าว "ดังนั้นเราควรพิจารณาปิดท่าข้ามบางแห่งลงไปได้ไหม เพื่อให้การ sealed (ผนึก) ชายแดนทำได้ดีขึ้น"
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้มองว่าไทยควรแก้กฎหมายที่เอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทหาร และตำรวจในพื้นที่ได้อย่างมีเอกภาพและสอดคล้องกัน โดยเฉพาะงานสกัดกั้นขบวนการนำพาลักลอบขนคนข้ามแดนซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ในประเทศไทย และใช้ไทยเป็นฐานทำงาน
"เราต้องมีกลไกที่มากระตุ้นให้ด่านชายแดนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง หรือไปจนถึงการการปราบปรามส่วย" เธอกล่าว
นอกเหนือจากนั้น อาจารย์จาก ม.เกษตรศาสตร์ ผู้นี้ยังชี้ให้เห็นว่าตราบใดก็ตามที่ยังมีสงครามกลางเมืองอยู่ในเมียนมา กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ย่อมต้องระดมอาวุธ เงิน และทรัพยากรเพื่อพร้อมรบเสมอ นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องหารายได้ และรายได้ที่ดีที่สุดคือธุรกิจสีเทาหรือธุรกิจผิดกฎหมายซึ่งได้เงินเร็วกว่าสินค้าทั่วไปอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
"เช่นในสมัยขุนส่าก็มีการขายเฮโรอีนเพราะมีสงคราม เขาต้องการปกปักรักษาพื้นที่ของตนเอง และมันต้องมีธุรกิจขึ้นมา" เธอยกตัวอย่าง

การเปลี่ยนแปลงนโยบายของกองทัพไทยก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ติดกับชายแดนไทย-เมียนมาต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น จากเดิมที่ไทยเคยส่งอาวุธต่าง ๆ ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเพื่อให้สู้รบกับกองทัพเมียนมาในฐานะรัฐกันชน แต่เมื่อไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนก็ได้ยุตินโยบายดังกล่าวในเวลาต่อมา
"เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นในยุคทักษิณ by the way 'เราเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนแล้ว เราจะไม่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรงในประเทศเพื่อนบ้านของเรา' เขาเลยเลิกซื้ออาวุธให้[กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง] แต่กลุ่มกะเหรี่ยงก็ไปซื้ออาวุธจากว้า โกก้าง และจีน อยู่ดี" เธอกล่าว และบอกด้วยว่ากองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยง BGF เดิม มีความภาคภูมิใจอย่างมากที่สามารถจัดสรรเงินเดือนให้กับกำลังพลได้ทุกคน อย่างน้อยคนละ 5,000/เดือน ต่างจากกองกำลังอื่น ๆ ในพื้นที่ ถึงแม้ที่มาของเงินเหล่านั้นจะมาจากธุรกิจผิดกฎหมายก็ตาม
เธอเสนอว่าประเทศไทยควรมีวิสัยทัศน์การทูตระหว่างประเทศที่กว้างขวางกว่าเดิม สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างความไว้วางใจระหว่างกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กับสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา (SAC) ของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งใช้ยุทธศาสตร์โจมตีทางอากาศเพื่อทำลายกลุ่มต่อต้านมาโดยตลอด เมื่อพบว่าตั๊ดม่ะด่อ (Tatmadaw) หรือกองทัพเมียนมาเสียเปรียบในการรบภาคพื้นดิน
"ไทยต้องเป็นตัวกลาง แม้เราไม่สามารถสร้างข้อตกลงหยุดยิงระดับชาติ (National Ceasefire Agreement - NCA) ได้ แต่ทำให้ air strike (การโจมตีทางอากาศ) ในหมู่บ้านต่าง ๆ หยุดลงได้ไหม ?"
เนื่องจากเธอมองว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยมีศักยภาพเข้าถึงกลุ่มกะเหรี่ยงต่าง ๆ ที่อยู่ติดชายแดนไทยในขั้นที่ว่าได้รับความไว้วางใจจนสามารถโน้มน้าวใจผู้นำของแต่ละกลุ่มได้ ขณะเดียวกันไทยก็เข้าใจนิสัยใจคอของผู้นำกองทัพเมียนมาซึ่งเป็นความสัมพันธ์พิเศษที่ไม่มีในประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ
ด้วยเหตุนี้ ไทยจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการรับบทเป็นตัวกลางการเจรจาระหว่างสองฝ่าย เพื่อสร้างสันติภาพให้กับเมียนมา ซึ่งย่อมส่งผลให้ชายแดนไทยมีความมั่นคงปลอดภัยตามไปด้วย
"แต่คำถามคือจะบูรณาการศักยภาพเหล่านี้ให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร ?"

  บีบีซีไทยสอบถามว่าประเทศใดควรเป็นผู้นำในการปราบปรามเมืองสแกมเมอร์ต่าง ๆ เหล่านี้ ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เสนอว่า "ประเทศจีน" เนื่องจากกลุ่มผิดกฎหมายต่าง ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นคนสัญชาติจีนซึ่งทางการจีนมีข้อมูลกลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เกือบทั้งหมด
"ทางการไทยต้องพูดคุยกับจีนอย่างเป็นรูปธรรมว่าจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลไทยกังวลอย่างแน่นอนคือ หากไทยปล่อยให้เจ้าหน้าที่รัฐของจีนแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง สหรัฐอเมริกาอาจรู้สึกไม่พอใจ" ดังนั้น เธอเสนอว่าทางการไทยอาจต้องคุยกับสหรัฐฯ ด้วยในเรื่องนี้
"แต่ทั้งหมดนี้ไทยต้องระลึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องไม่หงอ แม้สหรัฐฯ จะไม่โอเค หากเรายินยอมให้เจ้าหน้าที่ของจีนเข้ามาปฏิบัติการในประเทศ แต่จะเอายังไงในเมื่อเราต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ใจจะขาดแล้ว ยังไงจีนก็ต้องเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะในที่สุดเขาก็ควรเอาจีนเทากลับบ้านให้หมด" ผศ.ดร.ลลิตา

อ่าน​เพิ่ม

https://www.bbc.com/thai/articles/c5xew1g2o
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่