มาแชร์กิจกรรมที่ทำไปช่วงวันหยุดค่ะ เพราะไม่ได้ไปไหนเลยอยู่บ้าน
ตอนนี้หลายคนก็น่าจะกลับมาทำงานแล้วเนอะ แต่คิดว่าไอเดียนี้ก็ยังใช้ได้อยู่
หลัก ๆ เลยคือโละของทั้งหลายแหล่ค่า ตามลิสต์นี้เลย.. รวมถึงแพลนชีวิตในปี 2568 ด้วย
ตอนแรกกะว่าจะแค่จัดระเบียบชีวิตเฉย ๆ แต่สิ่งที่ได้มีมากกว่านั้นค่ะ ขอแยกไว้ให้อ่านเป็นอัน ๆ ไปนะคะ
เครื่องสำอางค์ อาหารแห้ง และยาหมดอายุ
📌 มีของหมดอายุเยอะกว่าที่คิดค่ะ เราอาจจะรู้สึกว่าไม่มี แต่อยากให้ลองกอบของมานั่งคัดดูก่อน
📌 ถ้าไม่คัดออกมีสิทธิ์ที่จะหยิบมาใช้แน่ ๆ เพราะหลายอัน เราพบว่าตัวเองเพิ่งใช้ไป!
📌 ระวังเวลาตัดแบ่งแผงยาหรือตัดปากซองอาหาร อย่าตัดส่วนที่มีวันหมดอายุออกไป เราเจอยากับซองของแห้งหลายอันมากที่โดนตัดไป แล้วไม่รู้ว่าหมดอายุหรือยัง สุดท้ายก็ต้องคัดทิ้งค่ะ ถ้าต้องตัดส่วนที่มีอายุติดอยู่จริงๆ ก็อย่าลืมเขียนติดไว้ที่เดิมด้วยนะ
📌 EXP = หมดอายุแบบใช้ต่อไม่ได้แล้ว BBE = ยังใช้ต่อได้แต่ไม่ดีเท่าเดิมแล้ว และอย่าทิ้งไว้นาน
ค่าใช้จ่ายตลอดปี
📜 มันต่างกับทำรายรับรายจ่ายรายเดือนตรงที่ มันจ
ะทำให้เรารู้ตัวก่อนว่า ต้องหาเงินให้ได้มากแค่ไหนถึงจะผ่านทั้งปีไปได้แบบไม่ลำบาก
📜 เราลิสต์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ปกสค. ค่าต่อทะเบียนรถ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเน็ต ฯลฯ แต่ละคนก็จะต่างกันไปเนอะ
📜 ยอดนี้จะกระทบกับกิจกรรมที่เราอยากทำตลอดปีด้วยค่ะ อาจจะต้องหากิจกรรมที่เป็นมิตรต่อตังค์ในกระเป๋า ทำแล้วได้ตังค์ไปด้วย หรือตังค์เหลือก็เพิ่มงานอดิเรกมาทำสนุก ๆ ได้
📜 รายจ่ายคนเราเยอะกว่าที่คิดนะคะ บางทีถ้าทำแค่รายรับรายจ่ายแต่ละเดือนจะมองไม่เห็น อย่างต่อทะเบียนมันไม่ได้มีทุกเดือน ถ้าไม่ได้เหลือเงินเผื่อเอาไว้จากเดือนอื่น ๆ บางทีค่าใช้จ่ายพวกนี้มันจะเหมือนเรื่องเซอร์ไพรส์เลย
📜 พอทำแล้วอาจจะรู้สึกว่า ค่าใช้จ่ายจริง ๆ มันเยอะกว่าที่คิดแฮะ 😂
สิ่งที่จะทำพร้อมไทม์ไลน์
🎯 สารภาพว่าอันนี้เรายังไม่ได้ทำ แฮะๆ แต่มีปัญหาส่วนตัวอยู่ว่ามีเรื่องอยากทำหลายอย่าง แต่ไม่ได้ทำเลยจนหมดปีที่แล้วไป 😂
🎯 คิดไว้ว่าจะทำเหมือนเวลาเราเขียนโครงการส่งหัวหน้า มีตารางไทม์ไลน์ คือบางเรื่องมันทำเลยไม่ได้เช่น เรื่องเที่ยว ต้องจองตั๋วก่อนกี่เดือน ต้องติดต่อนู่นนี่นั่น หรืองานอดิเรกบางอย่างมันต้องเตรียมของไว้ก่อนแล้วถึงจะนัดจอยกับเพื่อน ๆ ได้ จะนัดแล้วของไม่มีก็ไม่ได้อีก
🎯 ใครเคยทำแนะนำได้นะคะ
เรื่องสุดท้ายคือเราไปเจออันนี้
ตัวหยุดเวลาแอป..
คือเราพยายามบังคับตัวเองให้ใช้เวลากับมือถือน้อยลงค่ะ หาวิธีอยู่นานปรากฏไปเจอว่าทุกแอปมันตั้งเวลาได้หมดเลย
🌏 แค่กดค้างที่ไอคอนแอปแล้วมันจะมีกล่องขึ้นมา เราก็เลือกตรง "ข้อมูลแอป"
🌏 กดตรง "เวลาอยู่หน้าจอ" เราจะเห็นเวลาที่เราใช้ไปในแต่ละแอป
🌏 เลือกตรง "ตัวจับเวลาการใช้แอป" แล้วตั้งค่าเลยค่ะว่าอยากใช้ไม่เกินวันละกี่ชม. พอใช้ครบปุ๊บ แอปจะตัดหน้าจอออก แล้วเฟดไอคอนแอปเป็นสีเทาให้กดใช้ไม่ได้เลยค่ะ ต้องรอวันพรุ่งนี้ถึงจะกดได้ (โหดดีมะ)
ส่วนตัวได้ผลค่ะ ใช้น้อยลงจริง ๆ แล้วได้ใช้เวลาไปกับกิจกรรมนอกจอมากขึ้นด้วย ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
คือเรามีปัญหาว่าไถโซเชียลมากเกินไป ไปดูไทม์ไลน์ที่บันทึกย้อนหลังแล้วใช้ไป 1-2 ชม. ต่อวันแน่ะ ปีนึงก็หลายชม. อยู่นะ ใช้ตัวหยุดเวลามาได้ 2-3 วัน เวลาจะใช้จะเกิดความคิดที่ว่าต้องหาแต่อะไรที่จำเป็นจริง ๆ นะ เช่นสูตรอาหาร หรือข้อมูลที่ต้องการ เวลาเผลอไถไปแปบนึงก็จะออกได้ไวเพราะกลัวว่าจะหมดเวลา
และเราไปเจออันนี้
https://shopee.co.th/m/2024-shopee-highlights
เป็นลิงก์เช็คจำนวนชม. ที่เราใช้ไปในแอปส้ม แอพอื่นมีป่าวไม่รู้นะคะ รู้สึกว่าใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกของเยอะเกินไป (เป็นคนเลือกไม่เก่ง ลังเลตลอด) เราใช้ตัวหยุดด้วย จะได้เลือกให้ไว ๆ หน่อย !
ไอเดียทำอะไรดีช่วงปีใหม่✨ ฮาวทูทิ้ง & ฮาวทูแพลนสตางค์
ตอนนี้หลายคนก็น่าจะกลับมาทำงานแล้วเนอะ แต่คิดว่าไอเดียนี้ก็ยังใช้ได้อยู่
หลัก ๆ เลยคือโละของทั้งหลายแหล่ค่า ตามลิสต์นี้เลย.. รวมถึงแพลนชีวิตในปี 2568 ด้วย
ตอนแรกกะว่าจะแค่จัดระเบียบชีวิตเฉย ๆ แต่สิ่งที่ได้มีมากกว่านั้นค่ะ ขอแยกไว้ให้อ่านเป็นอัน ๆ ไปนะคะ
เครื่องสำอางค์ อาหารแห้ง และยาหมดอายุ
📌 มีของหมดอายุเยอะกว่าที่คิดค่ะ เราอาจจะรู้สึกว่าไม่มี แต่อยากให้ลองกอบของมานั่งคัดดูก่อน
📌 ถ้าไม่คัดออกมีสิทธิ์ที่จะหยิบมาใช้แน่ ๆ เพราะหลายอัน เราพบว่าตัวเองเพิ่งใช้ไป!
📌 ระวังเวลาตัดแบ่งแผงยาหรือตัดปากซองอาหาร อย่าตัดส่วนที่มีวันหมดอายุออกไป เราเจอยากับซองของแห้งหลายอันมากที่โดนตัดไป แล้วไม่รู้ว่าหมดอายุหรือยัง สุดท้ายก็ต้องคัดทิ้งค่ะ ถ้าต้องตัดส่วนที่มีอายุติดอยู่จริงๆ ก็อย่าลืมเขียนติดไว้ที่เดิมด้วยนะ
📌 EXP = หมดอายุแบบใช้ต่อไม่ได้แล้ว BBE = ยังใช้ต่อได้แต่ไม่ดีเท่าเดิมแล้ว และอย่าทิ้งไว้นาน
ค่าใช้จ่ายตลอดปี
📜 มันต่างกับทำรายรับรายจ่ายรายเดือนตรงที่ มันจะทำให้เรารู้ตัวก่อนว่า ต้องหาเงินให้ได้มากแค่ไหนถึงจะผ่านทั้งปีไปได้แบบไม่ลำบาก
📜 เราลิสต์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ปกสค. ค่าต่อทะเบียนรถ ค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเน็ต ฯลฯ แต่ละคนก็จะต่างกันไปเนอะ
📜 ยอดนี้จะกระทบกับกิจกรรมที่เราอยากทำตลอดปีด้วยค่ะ อาจจะต้องหากิจกรรมที่เป็นมิตรต่อตังค์ในกระเป๋า ทำแล้วได้ตังค์ไปด้วย หรือตังค์เหลือก็เพิ่มงานอดิเรกมาทำสนุก ๆ ได้
📜 รายจ่ายคนเราเยอะกว่าที่คิดนะคะ บางทีถ้าทำแค่รายรับรายจ่ายแต่ละเดือนจะมองไม่เห็น อย่างต่อทะเบียนมันไม่ได้มีทุกเดือน ถ้าไม่ได้เหลือเงินเผื่อเอาไว้จากเดือนอื่น ๆ บางทีค่าใช้จ่ายพวกนี้มันจะเหมือนเรื่องเซอร์ไพรส์เลย
📜 พอทำแล้วอาจจะรู้สึกว่า ค่าใช้จ่ายจริง ๆ มันเยอะกว่าที่คิดแฮะ 😂
สิ่งที่จะทำพร้อมไทม์ไลน์
🎯 สารภาพว่าอันนี้เรายังไม่ได้ทำ แฮะๆ แต่มีปัญหาส่วนตัวอยู่ว่ามีเรื่องอยากทำหลายอย่าง แต่ไม่ได้ทำเลยจนหมดปีที่แล้วไป 😂
🎯 คิดไว้ว่าจะทำเหมือนเวลาเราเขียนโครงการส่งหัวหน้า มีตารางไทม์ไลน์ คือบางเรื่องมันทำเลยไม่ได้เช่น เรื่องเที่ยว ต้องจองตั๋วก่อนกี่เดือน ต้องติดต่อนู่นนี่นั่น หรืองานอดิเรกบางอย่างมันต้องเตรียมของไว้ก่อนแล้วถึงจะนัดจอยกับเพื่อน ๆ ได้ จะนัดแล้วของไม่มีก็ไม่ได้อีก
🎯 ใครเคยทำแนะนำได้นะคะ
เรื่องสุดท้ายคือเราไปเจออันนี้
ตัวหยุดเวลาแอป..
คือเราพยายามบังคับตัวเองให้ใช้เวลากับมือถือน้อยลงค่ะ หาวิธีอยู่นานปรากฏไปเจอว่าทุกแอปมันตั้งเวลาได้หมดเลย
🌏 แค่กดค้างที่ไอคอนแอปแล้วมันจะมีกล่องขึ้นมา เราก็เลือกตรง "ข้อมูลแอป"
🌏 กดตรง "เวลาอยู่หน้าจอ" เราจะเห็นเวลาที่เราใช้ไปในแต่ละแอป
🌏 เลือกตรง "ตัวจับเวลาการใช้แอป" แล้วตั้งค่าเลยค่ะว่าอยากใช้ไม่เกินวันละกี่ชม. พอใช้ครบปุ๊บ แอปจะตัดหน้าจอออก แล้วเฟดไอคอนแอปเป็นสีเทาให้กดใช้ไม่ได้เลยค่ะ ต้องรอวันพรุ่งนี้ถึงจะกดได้ (โหดดีมะ)
ส่วนตัวได้ผลค่ะ ใช้น้อยลงจริง ๆ แล้วได้ใช้เวลาไปกับกิจกรรมนอกจอมากขึ้นด้วย ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
คือเรามีปัญหาว่าไถโซเชียลมากเกินไป ไปดูไทม์ไลน์ที่บันทึกย้อนหลังแล้วใช้ไป 1-2 ชม. ต่อวันแน่ะ ปีนึงก็หลายชม. อยู่นะ ใช้ตัวหยุดเวลามาได้ 2-3 วัน เวลาจะใช้จะเกิดความคิดที่ว่าต้องหาแต่อะไรที่จำเป็นจริง ๆ นะ เช่นสูตรอาหาร หรือข้อมูลที่ต้องการ เวลาเผลอไถไปแปบนึงก็จะออกได้ไวเพราะกลัวว่าจะหมดเวลา
และเราไปเจออันนี้ https://shopee.co.th/m/2024-shopee-highlights
เป็นลิงก์เช็คจำนวนชม. ที่เราใช้ไปในแอปส้ม แอพอื่นมีป่าวไม่รู้นะคะ รู้สึกว่าใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกของเยอะเกินไป (เป็นคนเลือกไม่เก่ง ลังเลตลอด) เราใช้ตัวหยุดด้วย จะได้เลือกให้ไว ๆ หน่อย !