ไม่ได้พูดเกินจริง ถ้าเราจะบอกว่า AFF คือทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลระดับทีมชาติ ที่ "โหดที่สุดในโลก"
ความโหดที่ว่า ไม่ใช่เรื่องของคุณภาพการแข่งขัน แต่เป็นเรื่องของโปรแกรม ที่จัดขึ้นมา โดยไม่สนใจความลำบากของผู้เล่นเลยแม้แต่น้อย
ถ้าเทียบ AFF กับ ฟีฟ่า เวิลด์คัพ (ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย) เราจะเห็นภาพได้ชัดเจนมาก
1) ฟีฟ่า เวิลด์คัพ ต้องแข่ง 7 นัด ถึงจะเป็นแชมป์ แต่ AFF คุณต้องเล่นถึง 8 นัด ถึงจะเป็นแชมป์
2) ฟีฟ่า เวิลด์คัพ เมื่อเข้ารอบน็อกเอาต์ จะให้เวลาพักฟื้นกับแต่ละทีมพอสมควร อย่างอาร์เจนติน่าทีมแชมป์โลกครั้งล่าสุด พอเตะรอบ 16 ทีมสุดท้าย ได้พัก 6 วัน ก่อนจะเตะรอบควอเตอร์ไฟนอล จากนั้นได้พัก 4 วัน ก่อนเตะเซมิไฟนอล และได้พัก 5 วันก่อนเตะรอบชิงชนะเลิศ
แต่กับ AFF รอบรองนัดแรก เตะปั๊บพัก 3 วัน เตะรอบรองนัดสอง จากนั้น 3 วัน เตะรอบชิงนัดแรก และพักอีก 3 วัน เตะรอบชิงนัดสอง ไม่มีช่วงเบรก ไม่มีช่วงหายใจใดๆ ทั้งสิ้น
โปรแกรมใน AFF มันถี่ยิบที่สุด เท่าที่คุณจะจินตนาการถึง คือโค้ชทุกคนอยากส่ง 11 ตัวจริง ที่ดีที่สุดลงเล่นทั้งนั้น แต่พอมันเตะถี่ขนาดนี้ ร่างกายของนักเตะมันไม่ไหวแล้ว ก็เลยจำเป็นต้องใช้การโรเทชั่น
3) ฟีฟ่า เวิลด์คัพ ส่วนใหญ่ แข่งขันอยู่ในประเทศเดียว เดินทางง่ายมาก
ตัวอย่างเช่น ในบอลโลกที่กาตาร์ รอบ 16 ทีมสุดท้าย อาร์เจนติน่า เจอ ออสเตรเลีย ที่สนามอัล รายยาน จากนั้นรอบ 8 ทีมสุดท้าย อาร์เจนติน่า เจอ เนเธอร์แลนด์ ที่สนามลูซาอิล สองสนามที่ว่ามานี้ ขับรถไปมาหากันแค่ 18 นาทีเท่านั้น ทำให้ทั้งทัวร์นาเมนต์ นักเตะสามารถนอนพักในโรงแรมเดิมได้เลย ไม่มีปัญหา
แต่ใน AFF รอบรองชนะเลิศ ทีมชาติไทย บินไปมะนิลา เพื่อเตะเลกแรกกับฟิลิปปินส์ ใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง บนเครื่องบิน เตะเสร็จบินกลับมาไทยทันที ใช้เวลาอีก 3 ชั่วโมงครึ่ง ผู้เล่นเดินทางทรหดมาก
เข้าออกตม. ตรวจกระเป๋า รอขึ้นเครื่องบิน แถมต้องเปลี่ยนโรงแรมไปนอนตรงนั้นที ตรงโน้นที แค่คิดก็ใช้พลังงานเยอะมากๆ แล้ว
ที่สำคัญ นักเตะไทยเรา ไม่ได้ถูกออกแบบ มาเพื่อเล่นฟุตบอลแบบ 3 วัน ต่อนัดแบบนี้ หลายคนเล่นอยู่กับสโมสรระดับกลางๆ ที่เตะบอล 1 นัด ทุกๆ 7 วันด้วยซ้ำ
ดังนั้น การเตะถี่ๆ รัวๆ เดินทางไม่หยุด คือประสบการณ์ใหม่ของผู้เล่นหลายๆ คนเหมือนกัน
-----------------------
ใน AFF ครั้งนี้ เมื่อทีมชาติไทย ไม่ชนะ หรือชนะแต่ไม่ยิงถล่ม มีบางคนไปด่าโค้ชแรงๆ ว่าทำไมจัดตัวแบบนั้น ทำไมใช้แผนแบบนี้
แต่ก่อนจะด่าหรืออะไร เราควรใส่ Factor เรื่องความยากลำบาก ของทัวร์นาเมนต์ AFF เข้าไปด้วยครับ ว่ามันทรหดขนาดไหน และใช้พลังงานมากเท่าไหร่
ผมคิดถึงภาพยนตร์เรื่อง Sully ที่เล่าเรื่องของ นักบินชื่อ เชสลีย์ ซัลเลนเบอร์เกอร์ เขานำเครื่องบินขึ้นจากนิวยอร์ก ไปลงที่เมืองชาร์ลอตต์ แต่หลังจากขึ้นเครื่องแค่ไม่กี่นาที ก็เจออุบัติเหตุ Bird Strike ฝูงนกบินอัดเครื่องยนต์จนเสียหายหนัก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่แม่น้ำฮัดสัน
แม้จะพาผู้โดยสารทั้งลำ รอดตายได้ทั้งหมด แต่กัปตันซัลเลนเบอร์เกอร์ก็ยังโดนสอบสวน ว่าทำไมตัดสินใจเอาเครื่องบินลงจอดบนแม่น้ำ ทำไมไม่ไปจอดที่สนามบินที่อยู่รอบๆ ทำไมต้องเสี่ยง
หน่วยงานที่สอบสวน มองด้วยสายตาคนนอก ว่าน่าจะทำแบบนั้น แบบนี้ แต่ไม่ได้คิดถึงคนที่อยู่หน้างานจริงๆ ที่ต้องตัดสินใจอย่างฉับพลัน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ว่าเขาทำดีที่สุดแล้ว ในเงื่อนไขที่มี
ก่อนเกมที่เจอกับฟิลิปปินส์ เลก 2 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ทีมชาติไทย หมดสภาพกันยกทีม
นักเตะอ่อนล้ามากๆ จากการลงเล่น และเดินทางไม่มีหยุด เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนภูมิอากาศ จนหลายคนเป็นไข้
พรรษา เหมวิบูลย์ไม่สบาย, สุภโชค สารชาติมีไข้เล็กน้อย, โจนาธาร เข็มดี สะบักสะบอมมากๆ แข้งขาถลอกปอกเปิก
แต่ที่สาหัสที่สุด คือ ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา ที่ไข้ขึ้นสูง 40 องศาเซลเซียส ในเช้าวันแข่ง
สุภโชค สารชาติ เล่าให้ผมฟังว่า เขาเป็นรูมเมทกับศุภณัฏฐ์ ที่โรงแรมโนโวเทล และเห็นน้องชายนอนซม มาทั้งวัน สภาพร่างกายคือไม่ไหวแล้ว
แม้แต่ตอนมาถึงสนาม แบงค์ยังมีไข้สูงอยู่ จนต้องไปนอนพักในห้องพยาบาลที่ราชมังคลากีฬาสถาน คือไม่มีความพร้อมที่จะลงเล่นนัดนี้ได้เลยด้วยซ้ำ
สถานการณ์ก่อนแข่งกับฟิลิปปินส์ ไทยแพ้ในเลกแรก มา 2-1 ดังนั้น เราต้องเดินหน้าลุย เพื่อเอาชนะให้ได้ในเลกที่ 2
แม้เราจะไม่มีศุภณัฏฐ์ แต่คนอื่นยังเล่นได้ 3 ประสานแนวรุก ใช้ สุภโชค, พาตริก กุสตาฟส์สัน และ เสกสรรค์ ราตรี
ทีมชาติไทย เล่นได้ดีกว่าในครึ่งแรก "กัปตันนิว" พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี ยิงประตูให้ไทยขึ้นนำ 1-0 ลูกนี้นอกจากคนยิงแล้ว ก็ต้องให้เครดิต เสกสรรค์ ราตรี ที่ไม่ยอมแพ้จนวินาทีสุดท้าย ปาดบอลเข้ามาได้สำเร็จ
ผมไม่รู้ว่าทำไมมีดราม่า เพราะ VAR ก็มี และผู้ตัดสิน VAR ก็เป็นคนสิงคโปร์ด้วย ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเรา เขาดูภาพช้าทุกมุมกล้องแล้ว สรุปว่า "บอลยังไม่ออก"
ในการตัดสินว่าบอลออกหรือไม่ ต้องมองด้วยมุม Bird's-Eye View เท่านั้น มองจากด้านบนลงไป ว่าบอลออกเต็มใบหรือยัง กล้องบางมุม อาจจะเหมือนบอลออกหลังแล้ว แต่ในความจริงมันยังไม่ออก
เข้าครึ่งหลัง ไทยนำ 2-0 จากพาตริก กุสตาฟส์สัน ถ้าจบด้วยสกอร์นี้ จะทำให้ไทยเข้ารอบชิงทันที โดยไม่ต้องต่อเวลาพิเศษ
ดราม่าอีกเรื่อง เกิดขึ้นตรงนี้ เพราะระหว่างที่ไทยนำอยู่ดีๆ อิชิอิ เลือกเปลี่ยนตัวผู้เล่นหลายคน ที่กำลังเล่นดี ออกจากสนาม ได้แก่
- เปลี่ยนพีรดนย์ ฉ่ำรัศมี ออกจากสนาม นาทีที่ 64 แล้วส่งอัครพงศ์ พุ่มวิเศษลงแทน
- เปลี่ยนพาตริก กุสตาฟ์สสัน ออกจากสนาม นาทีที่ 64 แล้วส่งธีรศักดิ์ เผยพิมายลงแทน
- เปลี่ยนเฉลิมศักดิ์ อักขี ออกจากสนาม นาทีที่ 78 แล้วส่งโจนาธาร เข็มดี ลงแทน
จุดนี้เองที่หลายคนสงสัยว่า ทำไม อิชิอิ ถึงตัดสินใจเปลี่ยนตัว ทั้งๆ ที่รูปเกมยังโอเค สามารถกดฟิลิปปินส์ได้อยู่
พีรดนย์ - พาตริก สองคนยิงประตูโดนถอดออกทั้งคู่ เช่นเดียวกับเฉลิมศักดิ์ ที่ยังช่วยทีมเก็บคลีนชีทอยู่ ก็โดนเปลี่ยนออก ทั้งๆ ที่ปกติแล้ว เราจะไม่ใช้โควต้าเปลี่ยนตัวกับตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็ก
เมื่ออิชิอิ เปลี่ยนตัวแบบนี้ ส่งผลให้ทรงเกมของไทย เปลี่ยนแปลงจากเดิม เกมพลิกมาเป็นรองอย่างเห็นได้ชัด และโดนตีไข่แตก นาทีที่ 84 จากบียอร์น คริสเตนเซ่น ไม่แปลกที่หลายคนจะโจมตีอิชิอิ ว่า "เปลี่ยนตัวเพื่ออะไร" จากได้เปรียบ กลายมาเป็นรองเฉยเลย
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ความยุติธรรมกับอิชิอิ เมื่อเกมจบ ผมคุยกับนักเตะเลยครับ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมเขาโดนเปลี่ยนตัวออกแบบนั้น?
พีรดนย์ บอกว่า "ไม่รู้ผมไปเจ็บจังหวะไหน ช่วงนาที 40 กว่า ผมรู้สึกเจ็บขาข้างขวา พอพักครึ่งผมเลยบอกโค้ชว่าเจ็บ รวมถึงให้เพื่อน ช่วยวอร์มเตรียมตัวไว้หน่อย จากนั้นพอเล่นครึ่งหลัง ผมเลยขอเปลี่ยนตัวออก คือผมก็อยากเล่น แต่ร่างกายมันไม่ไหว"
ส่วน พาตริก บอกว่า "คือมันเล่นเกมเยอะ และรู้สึกเหนื่อย จริงๆ ก่อนจะโดนเปลี่ยนตัวออก ผมเริ่มจะมีอาการตะคริวนิดหน่อยแล้วครับ"
อีกคนหนึ่งคือ เฉลิมศักดิ์ อักขี ก็ไม่ได้โดนเปลี่ยนแบบไร้เหตุผลเช่นกัน มีคนเห็นในสนามว่า ตัวนักเตะเองให้สัญญาณ ไปที่ล่ามจ๋ายระหว่างแข่ง บอกว่าขอเปลี่ยนตัวออก เพราะร่างกายเหมือนจะมีปัญหาแล้ว นั่นคือเหตุผลที่ต้องส่งโจนาธารลงเล่นแทน
อิชิอิ ไม่ได้คิดเยอะ ไม่ได้คิดซับซ้อน ไม่ได้วางใจว่าชนะฟิลิปปินส์แน่ๆ แต่เขาต้องเปลี่ยนตัว ตามสถานการณ์หน้างาน
ก็นักเตะเจ็บ คุณจะทำยังไง ถ้าฝืนปล่อยให้ลงต่อ เกิดร่างกายพังขึ้นมา เล่นไม่ได้นัดชิง หรือบาดเจ็บพักไปเป็นเดือนๆ แล้วมันจะเสียหายยิ่งกว่านี้
ความซวยของอิชิอิอีกสเต็ป คือธีรศักดิ์ เผยพิมาย กองหน้าสำรองที่เปลี่ยนตัวลงมา ก็เจ็บไปอีกคน คือธีรศักดิ์ได้ลงเล่นแค่ 14 นาที ก็โดนถอดออก แล้วเป็นวรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ มาลงเล่นแทน
ในช่วงนั้น อิชิอิ ต้องปรับแผน มาใช้ 4-4-1-1 จับเอาสุภโชคมายืนเป็นกองหน้า กับ เบน เดวิส แทน ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากันไป
จบ 90 นาที ไทยนำฟิลิปปินส์อยู่ 2-1 ต้องลงเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ
ตอนนั้นปัญหาที่เห็น คือ "เราไม่มีกองหน้าไว้กดดันคู่แข่ง" พอไม่มีคนคอยค้ำเอาไว้ ฟิลิปปินส์จึงเล่นง่ายมากๆ คือถ้าปล่อยแบบนี้ไป มีโอกาสที่เราจะโดนเล่นงานในช่วงต่อเวลาพิเศษ
ดังนั้นอิชิอิจึงตัดสินใจ เรียกศุภณัฏฐ์ เหมือนตา มาอบอุ่นร่างกาย
ศุภณัฏฐ์ ไม่ได้หายไข้นะครับ เขายังเป็นอยู่ ตอนมาถึงสนามแข่ง เขายังขอไปนอนที่ห้องพยาบาลภายในสนามราชมังฯ ด้วยซ้ำ
ช่วงประมาณนาทีที่ 90 ถ้าใครเห็นคุณฮิโร่ คิโมโตะ ผู้จัดการทีมชาติ วิ่งกระหืดกระหอบจากซุ้มม้านั่งสำรอง เข้าไปใต้สนามราชมังฯ ผมคิดว่า ก็ด้วยเหตุผลนี้ล่ะครับ คือต้องไปตามศุภณัฏฐ์มากู้วิกฤติแล้ว
ใจจริง อิชิอิ ไม่อยากใช้ศุภณัฏฐ์ แต่มันไม่มีทางเลือกแล้วจริงๆ เราไม่มีกองหน้าเหลือสักคนเดียวในทีมแล้ว มันต้องเข็นลงสนามแล้ว
เมื่อวีระเทพ ป้อมพันธุ์ บาดเจ็บอีกคนในนาทีที่ 98 โควต้าเปลี่ยนตัวคนสุดท้าย อิชิอิ จึงใช้กับแบงค์ เขาคือไพ่ไม้ตายใบสุดท้ายที่อิชิอิมีอยู่
ในช่วงท้ายๆ ของเวลาปกติ 90 นาที ทีมชาติไทยเป๋มาก โดนล่อเป้าไปมา จนน่าจะแพ้ในเวลาไปแล้ว แต่พอจบ 90 นาที กลับมาเล่นช่วงต่อเวลาพิเศษ ดูเหมือนฟอร์มของทุกคนจะกลับมา วิ่งสู้มากขึ้น แล้วกลายเป็นกดดันฟิลิปปินส์ให้ตั้งรับอย่างเดียว
การส่งแบงค์ลง ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง แต่อีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้พลังใจกลับคืนมา คือการปลุกเร้าของกัปตันทีม พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี
พีรดนย์บอกเพื่อนๆ ในทีมว่า "พวกเราสู้กันมา 1 เดือน โดยไม่ได้เจอครอบครัวกันเลย เราอุทิศตัวเองขนาดนี้แล้ว และจะต้องมาร่วงแค่รอบนี้หรอ? เราจะไปไม่ถึงรอบชิงหรอ? แล้วกับแฟนบอลสามหมื่นกว่าคน ที่เข้ามาเชียร์เราในสนามล่ะ ช่วงปลายปีแบบนี้ เขาไปเที่ยว ไปอยู่กับครอบครัวก็ได้ แต่เขายังมาเชียร์เรา เราจะปล่อยให้เขาเสียใจกลับไปหรอ?"
คาแรคเตอร์ของพีรดนย์ อาจไม่ได้เป็น ผู้นำฮาร์ดแมน แบบ รอย คีน แต่เขารู้วิธีกระตุ้นทีม และ เป็นผู้เล่นซีเนียร์ ที่นักเตะในทีมคนอื่นๆ ให้ความเคารพมากๆ นี่คือเหตุผล ที่เขาถูกแต่งตั้งเป็นกัปตันทีมชาติชุดนี้
ทีมชาติไทย ใช้โควต้าเปลี่ยนตัวครบทั้งหมด 6 คน และทุกคนที่โดนเปลี่ยนออก คือสภาพร่างกายไม่ไหวแล้วจริงๆ
ลองคิดดูว่า สุภโชค สารชาติ กับ เบน เดวิส เพิ่งหายเจ็บกลับมา จังหวะอะไรก็ยังไม่เข้าที่ แต่ต้องลงเล่น 120 นาทีเต็มๆ เพราะทีมชาติไทย ไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว ต้องเก็บโควต้าตัวสำรอง ไว้ใช้กับคนที่เจ็บ หรือไม่ก็หมดแรงแบบสุดๆ
นาทีที่ 116 วรชิต ตัวสำรองที่โดนคนบ่นยับมาตลอดทัวร์นาเมนต์ แสดงให้เห็นว่า เขามีประโยชน์อย่างไร เมื่อตอนแรกจับบอลไม่ดี แต่โชว์จังหวะแก้ไข จนมีช่องได้ครอสเน้นๆ วรชิตเปิดบอลได้แม่นยำ มาที่จุดนัดพบ ก่อนจะเป็น - จะใครซะอีก ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา เทกตัวโหม่งเข้าประตูไป
นี่คือลูกที่ 4 ของศุภณัฏฐ์ ในทัวร์นาเมนต์ ขึ้นเป็นรองดาวซัลโวของรายการ แต่ที่สำคัญกว่านั้น มันทำให้ไทย ขึ้นนำ 3-1 เป็นสกอร์ที่เพียงพอจะผ่านเข้ารอบ
นี่คือคุณสมบัติของซูเปอร์สตาร์อย่างแท้จริง คุณต้องแบกรับความกดดันของทีมได้ นี่คืออีกเกม ที่เจ้าแบงค์ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เขาจะเป็นคีย์แมนของทีมช้างศึกในอีกหลายปีนับจากนี้
จบ 120 นาที ไทยชนะ 3-1 ผ่านเข้ารอบได้สำเร็จ โดย AFF เลือก ศุภณัฏฐ์ ให้เป็นแมน ออฟ เดอะ แมตช์ ในนัดนี้ คือตามหลัก คนที่เป็นแมน ออฟ เดอะ แมตช์ ต้องมาแถลงข่าวร่วมกับโค้ช ที่เพรส คอนเฟอเรนซ์ แต่แบงค์ไม่ไหวจริงๆ เลยต้องให้พี่ชาย- สุภโชคมาให้สัมภาษณ์แทน
สุภโชคกล่าวถึงศุภณัฏฐ์สั้นๆ ว่า "ภูมิใจในตัวน้อง"
ไทยผ่านเข้าสู่รอบชิงของ AFF ได้สำเร็จ โดยจะเข้าไปเจอกับเวียดนาม ในนัดชิงชนะเลิศ เลกแรก แข่งวันที่ 2 มกราคมนี้ที่เวียดนาม ส่วนเลกสอง แข่งวันที่ 5 มกราคมที่ไทย
สำหรับโปรแกรมของทีมชาติไทย วันนี้ (31 ธันวาคม) เวลา 19.00 น. จะบินจากสุวรรณภูมิไปที่ฮานอย
แปลว่าอะไรรู้ไหมครับ แปลว่า วันที่ 31 ธันวาคม และ 1 มกราคม ช่วงเวลาที่เราทุกคนอยากอยู่กับครอบครัว ข้ามผ่านปีไปด้วยกัน เคาน์ดาวน์ไปด้วยกัน แต่นักฟุตบอล สตาฟฟ์ และ โค้ช จะไม่มีโอกาสนั้น เพราะพวกเขาต้องเดินทางไปต่างแดน เพื่อเตรียมแข่งเลกแรกกับเวียดนาม ในวันที่ 2 มกราคม
เพื่อแชมเปี้ยน เพื่อความสุขของคนในชาติ ♥️♥
มุมมองที่น่าสนใจ ในเกมทีมชาติไทยนัดล่าสุด จากเพจวิเคราะห์บอลจริงจัง
ความโหดที่ว่า ไม่ใช่เรื่องของคุณภาพการแข่งขัน แต่เป็นเรื่องของโปรแกรม ที่จัดขึ้นมา โดยไม่สนใจความลำบากของผู้เล่นเลยแม้แต่น้อย
ถ้าเทียบ AFF กับ ฟีฟ่า เวิลด์คัพ (ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย) เราจะเห็นภาพได้ชัดเจนมาก
1) ฟีฟ่า เวิลด์คัพ ต้องแข่ง 7 นัด ถึงจะเป็นแชมป์ แต่ AFF คุณต้องเล่นถึง 8 นัด ถึงจะเป็นแชมป์
2) ฟีฟ่า เวิลด์คัพ เมื่อเข้ารอบน็อกเอาต์ จะให้เวลาพักฟื้นกับแต่ละทีมพอสมควร อย่างอาร์เจนติน่าทีมแชมป์โลกครั้งล่าสุด พอเตะรอบ 16 ทีมสุดท้าย ได้พัก 6 วัน ก่อนจะเตะรอบควอเตอร์ไฟนอล จากนั้นได้พัก 4 วัน ก่อนเตะเซมิไฟนอล และได้พัก 5 วันก่อนเตะรอบชิงชนะเลิศ
แต่กับ AFF รอบรองนัดแรก เตะปั๊บพัก 3 วัน เตะรอบรองนัดสอง จากนั้น 3 วัน เตะรอบชิงนัดแรก และพักอีก 3 วัน เตะรอบชิงนัดสอง ไม่มีช่วงเบรก ไม่มีช่วงหายใจใดๆ ทั้งสิ้น
โปรแกรมใน AFF มันถี่ยิบที่สุด เท่าที่คุณจะจินตนาการถึง คือโค้ชทุกคนอยากส่ง 11 ตัวจริง ที่ดีที่สุดลงเล่นทั้งนั้น แต่พอมันเตะถี่ขนาดนี้ ร่างกายของนักเตะมันไม่ไหวแล้ว ก็เลยจำเป็นต้องใช้การโรเทชั่น
3) ฟีฟ่า เวิลด์คัพ ส่วนใหญ่ แข่งขันอยู่ในประเทศเดียว เดินทางง่ายมาก
ตัวอย่างเช่น ในบอลโลกที่กาตาร์ รอบ 16 ทีมสุดท้าย อาร์เจนติน่า เจอ ออสเตรเลีย ที่สนามอัล รายยาน จากนั้นรอบ 8 ทีมสุดท้าย อาร์เจนติน่า เจอ เนเธอร์แลนด์ ที่สนามลูซาอิล สองสนามที่ว่ามานี้ ขับรถไปมาหากันแค่ 18 นาทีเท่านั้น ทำให้ทั้งทัวร์นาเมนต์ นักเตะสามารถนอนพักในโรงแรมเดิมได้เลย ไม่มีปัญหา
แต่ใน AFF รอบรองชนะเลิศ ทีมชาติไทย บินไปมะนิลา เพื่อเตะเลกแรกกับฟิลิปปินส์ ใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง บนเครื่องบิน เตะเสร็จบินกลับมาไทยทันที ใช้เวลาอีก 3 ชั่วโมงครึ่ง ผู้เล่นเดินทางทรหดมาก
เข้าออกตม. ตรวจกระเป๋า รอขึ้นเครื่องบิน แถมต้องเปลี่ยนโรงแรมไปนอนตรงนั้นที ตรงโน้นที แค่คิดก็ใช้พลังงานเยอะมากๆ แล้ว
ที่สำคัญ นักเตะไทยเรา ไม่ได้ถูกออกแบบ มาเพื่อเล่นฟุตบอลแบบ 3 วัน ต่อนัดแบบนี้ หลายคนเล่นอยู่กับสโมสรระดับกลางๆ ที่เตะบอล 1 นัด ทุกๆ 7 วันด้วยซ้ำ
ดังนั้น การเตะถี่ๆ รัวๆ เดินทางไม่หยุด คือประสบการณ์ใหม่ของผู้เล่นหลายๆ คนเหมือนกัน
-----------------------
ใน AFF ครั้งนี้ เมื่อทีมชาติไทย ไม่ชนะ หรือชนะแต่ไม่ยิงถล่ม มีบางคนไปด่าโค้ชแรงๆ ว่าทำไมจัดตัวแบบนั้น ทำไมใช้แผนแบบนี้
แต่ก่อนจะด่าหรืออะไร เราควรใส่ Factor เรื่องความยากลำบาก ของทัวร์นาเมนต์ AFF เข้าไปด้วยครับ ว่ามันทรหดขนาดไหน และใช้พลังงานมากเท่าไหร่
ผมคิดถึงภาพยนตร์เรื่อง Sully ที่เล่าเรื่องของ นักบินชื่อ เชสลีย์ ซัลเลนเบอร์เกอร์ เขานำเครื่องบินขึ้นจากนิวยอร์ก ไปลงที่เมืองชาร์ลอตต์ แต่หลังจากขึ้นเครื่องแค่ไม่กี่นาที ก็เจออุบัติเหตุ Bird Strike ฝูงนกบินอัดเครื่องยนต์จนเสียหายหนัก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่แม่น้ำฮัดสัน
แม้จะพาผู้โดยสารทั้งลำ รอดตายได้ทั้งหมด แต่กัปตันซัลเลนเบอร์เกอร์ก็ยังโดนสอบสวน ว่าทำไมตัดสินใจเอาเครื่องบินลงจอดบนแม่น้ำ ทำไมไม่ไปจอดที่สนามบินที่อยู่รอบๆ ทำไมต้องเสี่ยง
หน่วยงานที่สอบสวน มองด้วยสายตาคนนอก ว่าน่าจะทำแบบนั้น แบบนี้ แต่ไม่ได้คิดถึงคนที่อยู่หน้างานจริงๆ ที่ต้องตัดสินใจอย่างฉับพลัน เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ว่าเขาทำดีที่สุดแล้ว ในเงื่อนไขที่มี
ก่อนเกมที่เจอกับฟิลิปปินส์ เลก 2 ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ทีมชาติไทย หมดสภาพกันยกทีม
นักเตะอ่อนล้ามากๆ จากการลงเล่น และเดินทางไม่มีหยุด เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนภูมิอากาศ จนหลายคนเป็นไข้
พรรษา เหมวิบูลย์ไม่สบาย, สุภโชค สารชาติมีไข้เล็กน้อย, โจนาธาร เข็มดี สะบักสะบอมมากๆ แข้งขาถลอกปอกเปิก
แต่ที่สาหัสที่สุด คือ ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา ที่ไข้ขึ้นสูง 40 องศาเซลเซียส ในเช้าวันแข่ง
สุภโชค สารชาติ เล่าให้ผมฟังว่า เขาเป็นรูมเมทกับศุภณัฏฐ์ ที่โรงแรมโนโวเทล และเห็นน้องชายนอนซม มาทั้งวัน สภาพร่างกายคือไม่ไหวแล้ว
แม้แต่ตอนมาถึงสนาม แบงค์ยังมีไข้สูงอยู่ จนต้องไปนอนพักในห้องพยาบาลที่ราชมังคลากีฬาสถาน คือไม่มีความพร้อมที่จะลงเล่นนัดนี้ได้เลยด้วยซ้ำ
สถานการณ์ก่อนแข่งกับฟิลิปปินส์ ไทยแพ้ในเลกแรก มา 2-1 ดังนั้น เราต้องเดินหน้าลุย เพื่อเอาชนะให้ได้ในเลกที่ 2
แม้เราจะไม่มีศุภณัฏฐ์ แต่คนอื่นยังเล่นได้ 3 ประสานแนวรุก ใช้ สุภโชค, พาตริก กุสตาฟส์สัน และ เสกสรรค์ ราตรี
ทีมชาติไทย เล่นได้ดีกว่าในครึ่งแรก "กัปตันนิว" พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี ยิงประตูให้ไทยขึ้นนำ 1-0 ลูกนี้นอกจากคนยิงแล้ว ก็ต้องให้เครดิต เสกสรรค์ ราตรี ที่ไม่ยอมแพ้จนวินาทีสุดท้าย ปาดบอลเข้ามาได้สำเร็จ
ผมไม่รู้ว่าทำไมมีดราม่า เพราะ VAR ก็มี และผู้ตัดสิน VAR ก็เป็นคนสิงคโปร์ด้วย ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเรา เขาดูภาพช้าทุกมุมกล้องแล้ว สรุปว่า "บอลยังไม่ออก"
ในการตัดสินว่าบอลออกหรือไม่ ต้องมองด้วยมุม Bird's-Eye View เท่านั้น มองจากด้านบนลงไป ว่าบอลออกเต็มใบหรือยัง กล้องบางมุม อาจจะเหมือนบอลออกหลังแล้ว แต่ในความจริงมันยังไม่ออก
เข้าครึ่งหลัง ไทยนำ 2-0 จากพาตริก กุสตาฟส์สัน ถ้าจบด้วยสกอร์นี้ จะทำให้ไทยเข้ารอบชิงทันที โดยไม่ต้องต่อเวลาพิเศษ
ดราม่าอีกเรื่อง เกิดขึ้นตรงนี้ เพราะระหว่างที่ไทยนำอยู่ดีๆ อิชิอิ เลือกเปลี่ยนตัวผู้เล่นหลายคน ที่กำลังเล่นดี ออกจากสนาม ได้แก่
- เปลี่ยนพีรดนย์ ฉ่ำรัศมี ออกจากสนาม นาทีที่ 64 แล้วส่งอัครพงศ์ พุ่มวิเศษลงแทน
- เปลี่ยนพาตริก กุสตาฟ์สสัน ออกจากสนาม นาทีที่ 64 แล้วส่งธีรศักดิ์ เผยพิมายลงแทน
- เปลี่ยนเฉลิมศักดิ์ อักขี ออกจากสนาม นาทีที่ 78 แล้วส่งโจนาธาร เข็มดี ลงแทน
จุดนี้เองที่หลายคนสงสัยว่า ทำไม อิชิอิ ถึงตัดสินใจเปลี่ยนตัว ทั้งๆ ที่รูปเกมยังโอเค สามารถกดฟิลิปปินส์ได้อยู่
พีรดนย์ - พาตริก สองคนยิงประตูโดนถอดออกทั้งคู่ เช่นเดียวกับเฉลิมศักดิ์ ที่ยังช่วยทีมเก็บคลีนชีทอยู่ ก็โดนเปลี่ยนออก ทั้งๆ ที่ปกติแล้ว เราจะไม่ใช้โควต้าเปลี่ยนตัวกับตำแหน่งเซ็นเตอร์แบ็ก
เมื่ออิชิอิ เปลี่ยนตัวแบบนี้ ส่งผลให้ทรงเกมของไทย เปลี่ยนแปลงจากเดิม เกมพลิกมาเป็นรองอย่างเห็นได้ชัด และโดนตีไข่แตก นาทีที่ 84 จากบียอร์น คริสเตนเซ่น ไม่แปลกที่หลายคนจะโจมตีอิชิอิ ว่า "เปลี่ยนตัวเพื่ออะไร" จากได้เปรียบ กลายมาเป็นรองเฉยเลย
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ความยุติธรรมกับอิชิอิ เมื่อเกมจบ ผมคุยกับนักเตะเลยครับ ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมเขาโดนเปลี่ยนตัวออกแบบนั้น?
พีรดนย์ บอกว่า "ไม่รู้ผมไปเจ็บจังหวะไหน ช่วงนาที 40 กว่า ผมรู้สึกเจ็บขาข้างขวา พอพักครึ่งผมเลยบอกโค้ชว่าเจ็บ รวมถึงให้เพื่อน ช่วยวอร์มเตรียมตัวไว้หน่อย จากนั้นพอเล่นครึ่งหลัง ผมเลยขอเปลี่ยนตัวออก คือผมก็อยากเล่น แต่ร่างกายมันไม่ไหว"
ส่วน พาตริก บอกว่า "คือมันเล่นเกมเยอะ และรู้สึกเหนื่อย จริงๆ ก่อนจะโดนเปลี่ยนตัวออก ผมเริ่มจะมีอาการตะคริวนิดหน่อยแล้วครับ"
อีกคนหนึ่งคือ เฉลิมศักดิ์ อักขี ก็ไม่ได้โดนเปลี่ยนแบบไร้เหตุผลเช่นกัน มีคนเห็นในสนามว่า ตัวนักเตะเองให้สัญญาณ ไปที่ล่ามจ๋ายระหว่างแข่ง บอกว่าขอเปลี่ยนตัวออก เพราะร่างกายเหมือนจะมีปัญหาแล้ว นั่นคือเหตุผลที่ต้องส่งโจนาธารลงเล่นแทน
อิชิอิ ไม่ได้คิดเยอะ ไม่ได้คิดซับซ้อน ไม่ได้วางใจว่าชนะฟิลิปปินส์แน่ๆ แต่เขาต้องเปลี่ยนตัว ตามสถานการณ์หน้างาน
ก็นักเตะเจ็บ คุณจะทำยังไง ถ้าฝืนปล่อยให้ลงต่อ เกิดร่างกายพังขึ้นมา เล่นไม่ได้นัดชิง หรือบาดเจ็บพักไปเป็นเดือนๆ แล้วมันจะเสียหายยิ่งกว่านี้
ความซวยของอิชิอิอีกสเต็ป คือธีรศักดิ์ เผยพิมาย กองหน้าสำรองที่เปลี่ยนตัวลงมา ก็เจ็บไปอีกคน คือธีรศักดิ์ได้ลงเล่นแค่ 14 นาที ก็โดนถอดออก แล้วเป็นวรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ มาลงเล่นแทน
ในช่วงนั้น อิชิอิ ต้องปรับแผน มาใช้ 4-4-1-1 จับเอาสุภโชคมายืนเป็นกองหน้า กับ เบน เดวิส แทน ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากันไป
จบ 90 นาที ไทยนำฟิลิปปินส์อยู่ 2-1 ต้องลงเล่นในช่วงต่อเวลาพิเศษ
ตอนนั้นปัญหาที่เห็น คือ "เราไม่มีกองหน้าไว้กดดันคู่แข่ง" พอไม่มีคนคอยค้ำเอาไว้ ฟิลิปปินส์จึงเล่นง่ายมากๆ คือถ้าปล่อยแบบนี้ไป มีโอกาสที่เราจะโดนเล่นงานในช่วงต่อเวลาพิเศษ
ดังนั้นอิชิอิจึงตัดสินใจ เรียกศุภณัฏฐ์ เหมือนตา มาอบอุ่นร่างกาย
ศุภณัฏฐ์ ไม่ได้หายไข้นะครับ เขายังเป็นอยู่ ตอนมาถึงสนามแข่ง เขายังขอไปนอนที่ห้องพยาบาลภายในสนามราชมังฯ ด้วยซ้ำ
ช่วงประมาณนาทีที่ 90 ถ้าใครเห็นคุณฮิโร่ คิโมโตะ ผู้จัดการทีมชาติ วิ่งกระหืดกระหอบจากซุ้มม้านั่งสำรอง เข้าไปใต้สนามราชมังฯ ผมคิดว่า ก็ด้วยเหตุผลนี้ล่ะครับ คือต้องไปตามศุภณัฏฐ์มากู้วิกฤติแล้ว
ใจจริง อิชิอิ ไม่อยากใช้ศุภณัฏฐ์ แต่มันไม่มีทางเลือกแล้วจริงๆ เราไม่มีกองหน้าเหลือสักคนเดียวในทีมแล้ว มันต้องเข็นลงสนามแล้ว
เมื่อวีระเทพ ป้อมพันธุ์ บาดเจ็บอีกคนในนาทีที่ 98 โควต้าเปลี่ยนตัวคนสุดท้าย อิชิอิ จึงใช้กับแบงค์ เขาคือไพ่ไม้ตายใบสุดท้ายที่อิชิอิมีอยู่
ในช่วงท้ายๆ ของเวลาปกติ 90 นาที ทีมชาติไทยเป๋มาก โดนล่อเป้าไปมา จนน่าจะแพ้ในเวลาไปแล้ว แต่พอจบ 90 นาที กลับมาเล่นช่วงต่อเวลาพิเศษ ดูเหมือนฟอร์มของทุกคนจะกลับมา วิ่งสู้มากขึ้น แล้วกลายเป็นกดดันฟิลิปปินส์ให้ตั้งรับอย่างเดียว
การส่งแบงค์ลง ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง แต่อีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้พลังใจกลับคืนมา คือการปลุกเร้าของกัปตันทีม พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี
พีรดนย์บอกเพื่อนๆ ในทีมว่า "พวกเราสู้กันมา 1 เดือน โดยไม่ได้เจอครอบครัวกันเลย เราอุทิศตัวเองขนาดนี้แล้ว และจะต้องมาร่วงแค่รอบนี้หรอ? เราจะไปไม่ถึงรอบชิงหรอ? แล้วกับแฟนบอลสามหมื่นกว่าคน ที่เข้ามาเชียร์เราในสนามล่ะ ช่วงปลายปีแบบนี้ เขาไปเที่ยว ไปอยู่กับครอบครัวก็ได้ แต่เขายังมาเชียร์เรา เราจะปล่อยให้เขาเสียใจกลับไปหรอ?"
คาแรคเตอร์ของพีรดนย์ อาจไม่ได้เป็น ผู้นำฮาร์ดแมน แบบ รอย คีน แต่เขารู้วิธีกระตุ้นทีม และ เป็นผู้เล่นซีเนียร์ ที่นักเตะในทีมคนอื่นๆ ให้ความเคารพมากๆ นี่คือเหตุผล ที่เขาถูกแต่งตั้งเป็นกัปตันทีมชาติชุดนี้
ทีมชาติไทย ใช้โควต้าเปลี่ยนตัวครบทั้งหมด 6 คน และทุกคนที่โดนเปลี่ยนออก คือสภาพร่างกายไม่ไหวแล้วจริงๆ
ลองคิดดูว่า สุภโชค สารชาติ กับ เบน เดวิส เพิ่งหายเจ็บกลับมา จังหวะอะไรก็ยังไม่เข้าที่ แต่ต้องลงเล่น 120 นาทีเต็มๆ เพราะทีมชาติไทย ไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว ต้องเก็บโควต้าตัวสำรอง ไว้ใช้กับคนที่เจ็บ หรือไม่ก็หมดแรงแบบสุดๆ
นาทีที่ 116 วรชิต ตัวสำรองที่โดนคนบ่นยับมาตลอดทัวร์นาเมนต์ แสดงให้เห็นว่า เขามีประโยชน์อย่างไร เมื่อตอนแรกจับบอลไม่ดี แต่โชว์จังหวะแก้ไข จนมีช่องได้ครอสเน้นๆ วรชิตเปิดบอลได้แม่นยำ มาที่จุดนัดพบ ก่อนจะเป็น - จะใครซะอีก ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา เทกตัวโหม่งเข้าประตูไป
นี่คือลูกที่ 4 ของศุภณัฏฐ์ ในทัวร์นาเมนต์ ขึ้นเป็นรองดาวซัลโวของรายการ แต่ที่สำคัญกว่านั้น มันทำให้ไทย ขึ้นนำ 3-1 เป็นสกอร์ที่เพียงพอจะผ่านเข้ารอบ
นี่คือคุณสมบัติของซูเปอร์สตาร์อย่างแท้จริง คุณต้องแบกรับความกดดันของทีมได้ นี่คืออีกเกม ที่เจ้าแบงค์ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เขาจะเป็นคีย์แมนของทีมช้างศึกในอีกหลายปีนับจากนี้
จบ 120 นาที ไทยชนะ 3-1 ผ่านเข้ารอบได้สำเร็จ โดย AFF เลือก ศุภณัฏฐ์ ให้เป็นแมน ออฟ เดอะ แมตช์ ในนัดนี้ คือตามหลัก คนที่เป็นแมน ออฟ เดอะ แมตช์ ต้องมาแถลงข่าวร่วมกับโค้ช ที่เพรส คอนเฟอเรนซ์ แต่แบงค์ไม่ไหวจริงๆ เลยต้องให้พี่ชาย- สุภโชคมาให้สัมภาษณ์แทน
สุภโชคกล่าวถึงศุภณัฏฐ์สั้นๆ ว่า "ภูมิใจในตัวน้อง"
ไทยผ่านเข้าสู่รอบชิงของ AFF ได้สำเร็จ โดยจะเข้าไปเจอกับเวียดนาม ในนัดชิงชนะเลิศ เลกแรก แข่งวันที่ 2 มกราคมนี้ที่เวียดนาม ส่วนเลกสอง แข่งวันที่ 5 มกราคมที่ไทย
สำหรับโปรแกรมของทีมชาติไทย วันนี้ (31 ธันวาคม) เวลา 19.00 น. จะบินจากสุวรรณภูมิไปที่ฮานอย
แปลว่าอะไรรู้ไหมครับ แปลว่า วันที่ 31 ธันวาคม และ 1 มกราคม ช่วงเวลาที่เราทุกคนอยากอยู่กับครอบครัว ข้ามผ่านปีไปด้วยกัน เคาน์ดาวน์ไปด้วยกัน แต่นักฟุตบอล สตาฟฟ์ และ โค้ช จะไม่มีโอกาสนั้น เพราะพวกเขาต้องเดินทางไปต่างแดน เพื่อเตรียมแข่งเลกแรกกับเวียดนาม ในวันที่ 2 มกราคม
เพื่อแชมเปี้ยน เพื่อความสุขของคนในชาติ ♥️♥