เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://thestandard.co/wealth-in-depth-thai-automotive-secrets/
HIGHLIGHTS
งาน Motor Expo 2024 รายงานยอดจองรถยนต์ 54,513 คัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับยอดขายทั้งเดือนตุลาคมที่ต่ำกว่า 40,000 คัน โดยยอดจองมาจากการรายงานของเจ้าหน้าที่แบรนด์และการส่งใบชิงโชค ซึ่งไม่ได้สะท้อนยอดขายจริง เนื่องจากมีลูกค้าเปลี่ยนใจ จองหลายแบรนด์ หรือไฟแนนซ์ไม่ผ่าน
การรายงานยอดขายรถยนต์ประจำเดือนในไทยเป็นการรวบรวมโดยโตโยต้า ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแบรนด์ญี่ปุ่นในหอการค้าญี่ปุ่น โดยเป็น ‘ยอดขายส่ง’ ให้ดีลเลอร์ ไม่ใช่ยอดขายให้ลูกค้า จึงไม่สะท้อนภาพรวมตลาดที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหารถค้างสต็อกและส่วนลดที่แตกต่างกัน
ยอดจดทะเบียนรายงานโดยกรมการขนส่งทางบก นับเป็นตัวเลขที่น่าเชื่อถือที่สุด โดยเฉพาะสถิติรถยนต์ไฟฟ้า แต่มีช่องโหว่จากการใช้ป้ายแดงที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถใช้รถโดยยังไม่จดทะเบียน ส่งผลให้ตัวเลขคลาดเคลื่อนจากยอดขายจริง
ในปี 2566 มีรถจดทะเบียนใหม่ 822,000 คัน ขณะที่ยอดขายรายงาน 775,000 คัน สะท้อนความไม่สอดคล้องของการรายงานตัวเลขทั้ง 3 ประเภท (จอง-ขาย-จด) เนื่องจากมีที่มาของข้อมูลและวิธีการจำแนกประเภทรถที่แตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบที่มาของข้อมูลก่อนเชื่อ
กลายเป็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นทุกปี หลังจากที่มีการรายงานยอดจองของงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41 หรือ Motor Expo 2024 ที่เพิ่งจะจบลงไปด้วยตัวเลข ‘ยอดจองรถยนต์ 54,513 คัน’ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าสูงมากในภาวะตลาดเช่นนี้
ขณะที่รายงาน ‘ยอดขายทั้งเดือน’ ในเดือนตุลาคมระบุตัวเลขต่ำกว่า 4 หมื่นคัน ทำให้ ‘ยอดจอง’ ตรงจุดนี้กลายเป็นประเด็นที่คนให้ความสนใจกันอย่างมาก
จองจริงหรือไม่ ยอดมาจากไหน จองในงานหรือเปล่า ฯลฯ ล้วนเป็นคำถามคาใจใครหลายคน THE STANDARD WEALTH จึงอยากชวนมาหาคำตอบกัน!
ยอดจอง = ยอดขาย จริงหรือ?
ยอดขายรถ…จริงหรือมั่ว? เบื้องหลังตัวเลข ‘ขายส่ง’
ยอดจดทะเบียน (ก็) หลอกตา?
อ่านรายละเอียดที่ลิ้งค์ข้างต้น
‘ยอดจอง-ยอดขาย-ยอดจด’ ตัวเลขพิศวงชวนงง !
https://thestandard.co/wealth-in-depth-thai-automotive-secrets/
HIGHLIGHTS
งาน Motor Expo 2024 รายงานยอดจองรถยนต์ 54,513 คัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากเมื่อเทียบกับยอดขายทั้งเดือนตุลาคมที่ต่ำกว่า 40,000 คัน โดยยอดจองมาจากการรายงานของเจ้าหน้าที่แบรนด์และการส่งใบชิงโชค ซึ่งไม่ได้สะท้อนยอดขายจริง เนื่องจากมีลูกค้าเปลี่ยนใจ จองหลายแบรนด์ หรือไฟแนนซ์ไม่ผ่าน
การรายงานยอดขายรถยนต์ประจำเดือนในไทยเป็นการรวบรวมโดยโตโยต้า ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแบรนด์ญี่ปุ่นในหอการค้าญี่ปุ่น โดยเป็น ‘ยอดขายส่ง’ ให้ดีลเลอร์ ไม่ใช่ยอดขายให้ลูกค้า จึงไม่สะท้อนภาพรวมตลาดที่แท้จริง ทำให้เกิดปัญหารถค้างสต็อกและส่วนลดที่แตกต่างกัน
ยอดจดทะเบียนรายงานโดยกรมการขนส่งทางบก นับเป็นตัวเลขที่น่าเชื่อถือที่สุด โดยเฉพาะสถิติรถยนต์ไฟฟ้า แต่มีช่องโหว่จากการใช้ป้ายแดงที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถใช้รถโดยยังไม่จดทะเบียน ส่งผลให้ตัวเลขคลาดเคลื่อนจากยอดขายจริง
ในปี 2566 มีรถจดทะเบียนใหม่ 822,000 คัน ขณะที่ยอดขายรายงาน 775,000 คัน สะท้อนความไม่สอดคล้องของการรายงานตัวเลขทั้ง 3 ประเภท (จอง-ขาย-จด) เนื่องจากมีที่มาของข้อมูลและวิธีการจำแนกประเภทรถที่แตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบที่มาของข้อมูลก่อนเชื่อ
กลายเป็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นทุกปี หลังจากที่มีการรายงานยอดจองของงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 41 หรือ Motor Expo 2024 ที่เพิ่งจะจบลงไปด้วยตัวเลข ‘ยอดจองรถยนต์ 54,513 คัน’ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าสูงมากในภาวะตลาดเช่นนี้
ขณะที่รายงาน ‘ยอดขายทั้งเดือน’ ในเดือนตุลาคมระบุตัวเลขต่ำกว่า 4 หมื่นคัน ทำให้ ‘ยอดจอง’ ตรงจุดนี้กลายเป็นประเด็นที่คนให้ความสนใจกันอย่างมาก
จองจริงหรือไม่ ยอดมาจากไหน จองในงานหรือเปล่า ฯลฯ ล้วนเป็นคำถามคาใจใครหลายคน THE STANDARD WEALTH จึงอยากชวนมาหาคำตอบกัน!
ยอดจอง = ยอดขาย จริงหรือ?
ยอดขายรถ…จริงหรือมั่ว? เบื้องหลังตัวเลข ‘ขายส่ง’
ยอดจดทะเบียน (ก็) หลอกตา?
อ่านรายละเอียดที่ลิ้งค์ข้างต้น