ไฟโบรสแกน (FibroScan) คืออะไร
ไฟโบรสแกน คือ เทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่ต้องเจ็บตัวหรือเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเทียบกับการเจาะตัว (Liver Biopsy)
ตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan) เพื่ออะไร
ผลตรวจไฟโบรสแกนสามารถช่วยในการติดตามผลดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็ง เพื่อเช็คการตอบสนองและวางแผนการแก้ไขต่อไป โดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ
อาการแบบไหนที่ควรตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
มักรู้สึกอ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย
มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
มีอาการตาเหลืองและตัวซีดเหลืองผิดปกติ
มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ข้อห้ามในการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากคลื่นความถี่จากเครื่องไฟโบรสแกนอาจมีผลต่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ แพทย์จึงไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์เด็ดขาดและไม่ควรให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ใกล้กับตัวเครื่องในขณะเปิดใช้งานด้วย
ข้อดีของการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย
ตรวจง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที
ทราบผลทันทีในการตรวจจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อยในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย และควรตรวจจากแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมจะเป็นผู้ตรวจไฟโบรสแกน
วิธีการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
นอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังคนไข้เล็กน้อย
ทำการตรวจวัดที่บริเวณตำแหน่งตรงกลางเนื้อตับทั้งหมด 10 ครั้งในจุดเดียวกัน
ผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ เป็นเลขตั้งแต่1.5-75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับตั้งแต่ 100-400 เดซิเบล/เมตร ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ
#หมอกัลแบ่งปีนสุขภาพดี
ตรวจสุขภาพตับ ด้วย Fibroscan
ไฟโบรสแกน (FibroScan) คืออะไร
ไฟโบรสแกน คือ เทคโนโลยีในการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยไม่ต้องเจ็บตัวหรือเจ็บปวดใดๆ กับร่างกาย และลดอัตราความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเทียบกับการเจาะตัว (Liver Biopsy)
ตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan) เพื่ออะไร
ผลตรวจไฟโบรสแกนสามารถช่วยในการติดตามผลดำเนินโรค และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะตับแข็ง เพื่อเช็คการตอบสนองและวางแผนการแก้ไขต่อไป โดยอาจใช้แทนการเจาะเนื้อตับในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามหรือปฏิเสธการเจาะตับ
อาการแบบไหนที่ควรตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
มักรู้สึกอ่อนเพลีย อาหารไม่ย่อย
มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง
มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ
มีอาการตาเหลืองและตัวซีดเหลืองผิดปกติ
มีประวัติเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
ข้อห้ามในการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากคลื่นความถี่จากเครื่องไฟโบรสแกนอาจมีผลต่อการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ แพทย์จึงไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์เด็ดขาดและไม่ควรให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ใกล้กับตัวเครื่องในขณะเปิดใช้งานด้วย
ข้อดีของการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย
ตรวจง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที
ทราบผลทันทีในการตรวจจะรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อยในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย และควรตรวจจากแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมจะเป็นผู้ตรวจไฟโบรสแกน
วิธีการตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan)
นอนหงายโดยยกแขนทั้งสองข้างไว้เหนือศีรษะ ทาเจลที่หัวตรวจหรือผิวหนังคนไข้เล็กน้อย
ทำการตรวจวัดที่บริเวณตำแหน่งตรงกลางเนื้อตับทั้งหมด 10 ครั้งในจุดเดียวกัน
ผลที่ได้เป็นค่าความแข็งของตับ เป็นเลขตั้งแต่1.5-75 กิโลพาสคาล และค่าปริมาณไขมันสะสมในตับตั้งแต่ 100-400 เดซิเบล/เมตร ซึ่งแพทย์จะแปลผลที่ได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคตับ
#หมอกัลแบ่งปีนสุขภาพดี