คุยกันทุกวัน บอกรักกันทุกคืน ความเคลื่อนไหวเราเธอขาก็แทบจะรู้หมดทุกอย่าง แต่ถามว่าเคยเจอกันสักครั้งไหม ตอบได้ทันทีเลยว่า ‘ไม่’
คนนี้ที่เจอในแอปฯ รูปร่างหน้าตาตรงสเป็คทุกอย่าง ความสนใจก็ตรงกันทุกเรื่อง การพูดการจาตรงใจไปหมด ความสัมพันธ์ดูเหมือนจะคืบหน้า แต่ติดอยู่เรื่องเดียว เขาบอกว่าทำงานอยู่ต่างประเทศนี่นา ก็เลยไม่ได้เจอหน้ากันสักที พอจะขอวิดีโอก็ติดธุระ ติดงานทุกครั้งไป
แล้ววันหนึ่งขณะไถหน้าฟีดก็บังเอิญ จู่ๆ ไปเจอใครอีกคนที่หน้าเหมือนคนที่บอกรักเราทุกวัน แต่ดันมีไลฟ์สไตล์ต่างกันเหมือนหนังคนละม้วน พอมานึกย้อนดูแล้ว คนที่เราคุยด้วยก็มีเรื่องให้น่าสงสัยตั้งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบัญชีที่เพิ่งสร้างไม่กี่เดือน เพื่อนมีไม่กี่สิบคน หรือกระทั่งหลายๆ รูปที่โพสต์ก็เป็นรูปที่ได้มาจากพินเทอเรสอีก แบบนี้แปลได้อย่างเดียวแล้วละ ว่าเรากำลังถูกหลอกอยู่
ฉับพลันความหวังก็พังทลาย ความเชื่อใจถูกฉีกทิ้งไม่มีชิ้นดี คนที่เราวาดฝันไว้ซะไกล กลายเป็นคนไม่มีตัวตนอยู่จริงซะนี่ ถ้าตกอยู่ในสถานการณ์นี้เราจะทำยังไงดี?
เอะ หรือเรากำลังเจอคน(ที่)ไม่(มี)จริงเข้าแล้ว
ใครๆ ก็บอกว่าถ้าอยากเจอรักแท้ ให้ทุ่มหมดตัว แสดงความจริงใจให้เขาเห็น แต่บางครั้งการทุ่มเทหมดใจก็ไม่ได้การันตีว่าเราจะได้สมหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในวังวนของคนที่จ้องจะใช้ประโยชน์จากเรา
การหลอกลวงแบบหนึ่งที่เราพบได้บ่อยๆ บนโลกออนไลน์คือการสร้างโปรไฟล์ปลอมๆ หรือที่เรียกว่า ‘catfish’ โดยใช้รูปคนอื่นหรือประวัติที่ไม่เป็นความจริง จบมหาวิทยาลัยนั้น เรียนต่อที่มหาลัยฯ นี้ ได้ทำงานเป็น CEO อยู่ต่างประเทศ ทุกอย่างเพอร์เฟ็กต์ ขาดอยู่อย่างเดียวคือรักแท้ที่รอคุณเข้ามาเติมเต็ม เจอแบบนี้เข้าไปใครบ้างจะไม่ชอบ จริงไหม?
จากงานวิจัย Why Fake Profiles ว่าด้วยเรื่องการศึกษาผู้ใช้ที่ผิดปกติบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ อธิบายว่าเป้าหมายของ catfisher นอกจากจะเป็น เงิน หรือเซ็กซ์แล้ว บางทีอาจมีเป้าหมายเพียงแค่มีความสุขที่ได้ปลอมตัวเป็นใครสักคนและได้สร้างความสัมพันธ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิตจริงก็ได้
เมื่อการเจอโปรไฟล์ปลอมหาง่ายกว่ารักแท้ New York Daily News ระบุว่า มีการประมาณการว่าโปรไฟล์หาคู่ทางออนไลน์ทุกๆ 10 โปรไฟล์มีอย่างน้อย 1 โปรไฟล์ที่เป็นของปลอม การเช็คเบื้องต้นว่าเรากำลังเจอคนหลอกลวงอยู่หรือเปล่า ก็อาจเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสียหายได้ bitdefender ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ แนะนำวิธีสังเกตพวกปลอมโปรไฟล์ตัวเองไว้ดังนี้
- โปรไฟล์ที่ดูดีเกินจริง: โปรดระวังหากเจอคนหน้าตาดี ประวัติเลิศ เพราะหลายครั้งคนพวกนี้มักใช้เพื่อดึงดูดผู้ใช้แอพเดตตกหลุมพรางหลุมใหญ่นี้
- อยากรู้เกี่ยวกับเรามากเกินไป: แน่นอนว่าจะทำความรู้จักใครก็อยากรู้เรื่องอีกฝ่ายให้มากที่สุด แต่คงไม่ใช่การขอข้อมูลส่วนตัวเราอย่างละเอียด ทั้งชื่อ-สกุล ที่อยู่ วันเกิด บัญชีธนาคาร จนไม่แน่ใจว่านี่คือเดตหรือการซักประวัติกันแน่
- ไม่มี digital footprint: แม้คนที่ไม่เคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์จะมีอยู่จริง แต่สิ่งที่เราพอจะสกรีนได้เบื้องต้นว่าคนนี้มีตัวตนจริงไหม ก็อาจดูได้จากวันที่สร้างแอคเคาต์โซเชียลมีเดีย หากพบว่าบัญชีที่เพิ่งสร้างใหม่ แถมยังมีเพื่อนไม่กี่คน โพสต์ไม่กี่โพสต์ ก็ถือว่าควรกาดอกจันทร์ ติดธงแดงไว้ก่อนได้เลย
- ให้ความรักเต็มที่: เจอกันไม่กี่วันก็รักกว่าใครที่เจอมาทั้งหมดในชีวิต รุกหนักและรวดเร็ว นี่ก็ถือเป็นสัญญาณแปลกๆ ที่ควรระวังตัวไว้ เพื่อให้เราติดกับได้ง่ายๆ
- หลีกเลี่ยงการคุยแบบเห็นหน้า: คนพวกนี้มักอ้างว่าอยู่ไกล ทำให้มาเจอไม่ได้ หรือพอจะขอวิดีคอลก็อิดออดไม่ยอมทุกครั้งไป อาจเป็นเพราะไม่อยากให้รู้ความจริงว่าตัวเองไม่ใช่คนที่อยู่บนโปรไฟล์น่ะสิ
- ขอเงินหรือของขวัญ: หากมาถึงข้อนี้ก็ชัดยิ่งกว่าชัดแล้วว่าคนที่กำลังคุยอยู่ด้วยกำลังตั้งใจหลอกลวงเราอยู่ โดยอาจจะอ้างเหตุผลสารพัด เช่นขอค่าทำวีซ่า ค่ารักษาพยาบาล หรือตั๋วเครื่องบินเพื่อให้เราได้เจอกันสักที และอาจสัญญาปลอมๆ ว่าจะคืนเงินให้ภายหลัง แต่ตอนไหนไม่รู้นะ
ถ้าหากเจอคนประเภทนี้อย่างน้อย 1 ข้อ โดยเฉพาะข้อสุดท้ายก็อาจถึงเวลาโบกมือจากคนนี้แบบทันที ขอย้ำว่าทันที อย่าเสียเวลากับความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจเหล่านี้เลย
ไม่ใช่เราคนเดียวที่ถูกเลือกให้ผิดหวัง
แม้ว่าปัจจุบันแอปฯ เดตไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว เราเองก็คงได้ยินเรื่องราวความรักของหลายคนที่พบเจอกันในแอปฯ แล้วครองรักกันยาวนาน แถมเทคโนโลยีก็แทบจะส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การจะรู้จักใครสักคน แค่คลิกค้นหาแปปเดียวก็เจอข้อมูลได้ไม่ยาก
แต่ถึงอย่างนั้นคนที่ใช้โอกาสนี้หลอกลวงคนอื่นก็ยังไม่หายไปไหน ผลสำรวจของ Juleo และ YouGov เผยว่าแม้แอปฯ หาคู่จะมีคู่ให้เลือกมากมาย แต่แอปฯ เหล่านี้มักทำให้หงุดหงิดมากกว่าจะสมหวัง ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงกว่าครึ่ง หรือ 78% พบว่าพบพบว่าตัวเองเจอโปรไฟล์ปลอมในแอปฯ หาคู่ ซึ่งทำให้เกิดนำไปสู่ความกังวลเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวด้วย
การเจอคนไม่จริงใจฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก แต่ความจริงเหตุการณ์นี้ส่งผลต่อจิตใจได้มากกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งอาจนำไปสู่อาการ ‘Dating Burnout’ หรืออาการเหนื่อยล้าจากการเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ๆ บนแอปฯ หาคู่ก็ได้
โดนหลอกให้รักแล้วผิดหวัง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง จากการสำรวจของ Forbes Health และ OnePoll พบว่าชาวเจน Z ถึง 79% รู้สึกเหนื่อยล้าจากการปัดหน้าโปรไฟล์เลือกคู่เดตออนไลน์ไม่รู้จบ และหนึ่งในสาเหตุคือการถูกหลอกทางอินเทอร์เน็ต โดย 38% พบว่าการถูกหลอกทำให้รู้สึกไม่ไว้วางใจคนอื่น และเหนื่อยล้าทางอารมณ์กับคนไม่จริงใจด้วย
การเจอคนไม่จริงใจ ถึงแม้จะเป็นบนโลกออนไลน์ก็ตาม ก็ไม่ได้ทำใจได้ง่ายๆ เพียงแค่ร้องไห้ 1 คืน แล้วจบ เพราะเรามักโดนชักจูงให้หลงเชื่อว่าเขารักจริงหวังแต่ง โดนปาความรักเข้าใส่แบบไม่ทันตั้งตัว แถมเหยื่อยังมักถูกชักจูงให้ตัดขาดจากคนรอบตัว ถูกทำให้เชื่อว่าตัวเองเป็นคนผิดซ้ำๆ เมื่อถึงเวลาผิดหวังขึ้นมาจึงเจ็บไม่ใช่น้อย ทั้งยังรู้สึกอับอาย แถมยังทิ้งบาดแผลเป็นขนาดใหญ่ หนักเข้าอาจถึงขั้นโทษตัวเอง จนไม่กล้าไว้ใจใครอีก
ดูแลใจในวันที่เจอคนหลอกลวง
เมื่อการผิดหวังจากคนไม่มีตัวตนจริงก็เจ็บไม่แพ้ความรักแบบอื่นๆ เหยื่อของการหลอกลวงจึงต้องการความเข้าใจอย่างมาก เพื่อให้ผ่านพ้นประสบการณ์แย่ๆ นี้ไปได้ ข้อมูลจากสถานีตำรวจเทมส์ (Thames Valley Police) จากสหราชอาณาจักร ได้รวบรวมประเด็นที่ทำให้เหยื่อรู้สึกตำหนิตัวเองน้อยลง เพื่อหาทางฟื้นฟูสภาพจิตใจไว้ดังนี้
- คิดเสมอว่าไม่ใช่ความผิดของเรา: ‘เชื่อคนแบบนั้นได้ยังไง’ ‘มีแต่คนโง่เท่านั้นแหละที่เชื่อ’ ต่อให้เสียงในหัวเราจะพูดแบบนั้น แต่ความจริงที่ควรจำไว้ให้ขึ้นใจคือ เรากำลังถูกหลอกจากคนที่เชี่ยวชาญด้านการหลอกลวงที่สุด ไม่ว่ายังไงคนพวกนั้นก็จะทำทุกวิถีทางให้เราหลงเชื่อให้ได้ ดังนั้นไม่แปลกถ้าเราจะเผลอใจไปรู้สึกดีด้วย และตกหลุมพรางที่ใครบางคนรอให้เราเดินไปตกอยู่แล้ว
- เราเจ็บเพราะสูญเสียความสัมพันธ์: การตกเป็นเหยื่อของความรักที่ไม่จริงจัง ไม่ได้แปลว่าความรู้สึกเราจะเป็นเรื่องหลอกลวงไปด้วย พอรู้ความจริงแล้วเราอาจเสียความมั่นใจ เป้าหมายในชีวิต หรือการมองโลกในแง่ดีไป แต่การยอมรับว่าเรากำลังเจ็บ หรือลองใช้เวลาพูดคุยกับคนไว้ใจได้ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น
- เราไม่ได้โดนอยู่คนเดียว: พอมีเรื่องร้ายเกิดขึ้นกับตัวเอง เราก็อดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เจอเหตุการณ์นี้ไม่ได้ จนรู้สึกเหมือนว่าเป็นคนเดียวในโลกหรือเปล่าที่เจอเหตุการณ์นี้ แต่ขอให้มั่นใจได้เลยว่าคุณไม่ใช่คนแรก ยังมีอีกหลายคนที่เคยเจอเรื่องแบบนี้ การได้รับรู้ประสบการณ์ของคนที่เคยเจอเหตุการณ์นี้อาจพอช่วยปลอบใจได้บ้าง
- ให้เวลากับตัวเอง: เป็นเรื่องธรรมดาที่จะใช้เวลาสักพักกว่าจะกลับมาหายดี บางครั้งอาจเจอคนไม่เข้าใจและตำหนิเรา แต่การใช้เวลาพักใจ หยุดมองหาความสัมพันธ์แบบโรแมนติกสักพัก และพูดคุยคนที่ไว้ใจได้ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้ใจเรากลับมาแข็งแรงขึ้น แต่หากยังไม่พร้อม อาจจะลองเขียนระบายความรู้สึกกับตัวเองก็ได้นะ อาจใช้ช่วงนี้เรียนรู้ไปในตัวว่าความสัมพันธ์แบบไหนที่เราต้องการจริงๆ และความสัมพันธ์แบบไหนเราไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย
หากการสูญเสียครั้งนี้หนักหนาจนไม่สามารถเยียวยาได้ การไปพบผู้เชี่ยวชาญก็เป็นทางที่ดีที่สุด เพราะการดูแลใจให้หายดีก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรากลับมาเดินหน้าเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ได้อีกครั้ง
ที่มา : The MATTER
ดูคล้ายเธอมีใจ แต่กลายเป็นเธอไม่เคยมีจริง?
คนนี้ที่เจอในแอปฯ รูปร่างหน้าตาตรงสเป็คทุกอย่าง ความสนใจก็ตรงกันทุกเรื่อง การพูดการจาตรงใจไปหมด ความสัมพันธ์ดูเหมือนจะคืบหน้า แต่ติดอยู่เรื่องเดียว เขาบอกว่าทำงานอยู่ต่างประเทศนี่นา ก็เลยไม่ได้เจอหน้ากันสักที พอจะขอวิดีโอก็ติดธุระ ติดงานทุกครั้งไป
แล้ววันหนึ่งขณะไถหน้าฟีดก็บังเอิญ จู่ๆ ไปเจอใครอีกคนที่หน้าเหมือนคนที่บอกรักเราทุกวัน แต่ดันมีไลฟ์สไตล์ต่างกันเหมือนหนังคนละม้วน พอมานึกย้อนดูแล้ว คนที่เราคุยด้วยก็มีเรื่องให้น่าสงสัยตั้งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบัญชีที่เพิ่งสร้างไม่กี่เดือน เพื่อนมีไม่กี่สิบคน หรือกระทั่งหลายๆ รูปที่โพสต์ก็เป็นรูปที่ได้มาจากพินเทอเรสอีก แบบนี้แปลได้อย่างเดียวแล้วละ ว่าเรากำลังถูกหลอกอยู่
ฉับพลันความหวังก็พังทลาย ความเชื่อใจถูกฉีกทิ้งไม่มีชิ้นดี คนที่เราวาดฝันไว้ซะไกล กลายเป็นคนไม่มีตัวตนอยู่จริงซะนี่ ถ้าตกอยู่ในสถานการณ์นี้เราจะทำยังไงดี?
เอะ หรือเรากำลังเจอคน(ที่)ไม่(มี)จริงเข้าแล้ว
ใครๆ ก็บอกว่าถ้าอยากเจอรักแท้ ให้ทุ่มหมดตัว แสดงความจริงใจให้เขาเห็น แต่บางครั้งการทุ่มเทหมดใจก็ไม่ได้การันตีว่าเราจะได้สมหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในวังวนของคนที่จ้องจะใช้ประโยชน์จากเรา
การหลอกลวงแบบหนึ่งที่เราพบได้บ่อยๆ บนโลกออนไลน์คือการสร้างโปรไฟล์ปลอมๆ หรือที่เรียกว่า ‘catfish’ โดยใช้รูปคนอื่นหรือประวัติที่ไม่เป็นความจริง จบมหาวิทยาลัยนั้น เรียนต่อที่มหาลัยฯ นี้ ได้ทำงานเป็น CEO อยู่ต่างประเทศ ทุกอย่างเพอร์เฟ็กต์ ขาดอยู่อย่างเดียวคือรักแท้ที่รอคุณเข้ามาเติมเต็ม เจอแบบนี้เข้าไปใครบ้างจะไม่ชอบ จริงไหม?
จากงานวิจัย Why Fake Profiles ว่าด้วยเรื่องการศึกษาผู้ใช้ที่ผิดปกติบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ อธิบายว่าเป้าหมายของ catfisher นอกจากจะเป็น เงิน หรือเซ็กซ์แล้ว บางทีอาจมีเป้าหมายเพียงแค่มีความสุขที่ได้ปลอมตัวเป็นใครสักคนและได้สร้างความสัมพันธ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิตจริงก็ได้
เมื่อการเจอโปรไฟล์ปลอมหาง่ายกว่ารักแท้ New York Daily News ระบุว่า มีการประมาณการว่าโปรไฟล์หาคู่ทางออนไลน์ทุกๆ 10 โปรไฟล์มีอย่างน้อย 1 โปรไฟล์ที่เป็นของปลอม การเช็คเบื้องต้นว่าเรากำลังเจอคนหลอกลวงอยู่หรือเปล่า ก็อาจเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสียหายได้ bitdefender ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ แนะนำวิธีสังเกตพวกปลอมโปรไฟล์ตัวเองไว้ดังนี้
- โปรไฟล์ที่ดูดีเกินจริง: โปรดระวังหากเจอคนหน้าตาดี ประวัติเลิศ เพราะหลายครั้งคนพวกนี้มักใช้เพื่อดึงดูดผู้ใช้แอพเดตตกหลุมพรางหลุมใหญ่นี้
- อยากรู้เกี่ยวกับเรามากเกินไป: แน่นอนว่าจะทำความรู้จักใครก็อยากรู้เรื่องอีกฝ่ายให้มากที่สุด แต่คงไม่ใช่การขอข้อมูลส่วนตัวเราอย่างละเอียด ทั้งชื่อ-สกุล ที่อยู่ วันเกิด บัญชีธนาคาร จนไม่แน่ใจว่านี่คือเดตหรือการซักประวัติกันแน่
- ไม่มี digital footprint: แม้คนที่ไม่เคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์จะมีอยู่จริง แต่สิ่งที่เราพอจะสกรีนได้เบื้องต้นว่าคนนี้มีตัวตนจริงไหม ก็อาจดูได้จากวันที่สร้างแอคเคาต์โซเชียลมีเดีย หากพบว่าบัญชีที่เพิ่งสร้างใหม่ แถมยังมีเพื่อนไม่กี่คน โพสต์ไม่กี่โพสต์ ก็ถือว่าควรกาดอกจันทร์ ติดธงแดงไว้ก่อนได้เลย
- ให้ความรักเต็มที่: เจอกันไม่กี่วันก็รักกว่าใครที่เจอมาทั้งหมดในชีวิต รุกหนักและรวดเร็ว นี่ก็ถือเป็นสัญญาณแปลกๆ ที่ควรระวังตัวไว้ เพื่อให้เราติดกับได้ง่ายๆ
- หลีกเลี่ยงการคุยแบบเห็นหน้า: คนพวกนี้มักอ้างว่าอยู่ไกล ทำให้มาเจอไม่ได้ หรือพอจะขอวิดีคอลก็อิดออดไม่ยอมทุกครั้งไป อาจเป็นเพราะไม่อยากให้รู้ความจริงว่าตัวเองไม่ใช่คนที่อยู่บนโปรไฟล์น่ะสิ
- ขอเงินหรือของขวัญ: หากมาถึงข้อนี้ก็ชัดยิ่งกว่าชัดแล้วว่าคนที่กำลังคุยอยู่ด้วยกำลังตั้งใจหลอกลวงเราอยู่ โดยอาจจะอ้างเหตุผลสารพัด เช่นขอค่าทำวีซ่า ค่ารักษาพยาบาล หรือตั๋วเครื่องบินเพื่อให้เราได้เจอกันสักที และอาจสัญญาปลอมๆ ว่าจะคืนเงินให้ภายหลัง แต่ตอนไหนไม่รู้นะ
ถ้าหากเจอคนประเภทนี้อย่างน้อย 1 ข้อ โดยเฉพาะข้อสุดท้ายก็อาจถึงเวลาโบกมือจากคนนี้แบบทันที ขอย้ำว่าทันที อย่าเสียเวลากับความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจเหล่านี้เลย
ไม่ใช่เราคนเดียวที่ถูกเลือกให้ผิดหวัง
แม้ว่าปัจจุบันแอปฯ เดตไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว เราเองก็คงได้ยินเรื่องราวความรักของหลายคนที่พบเจอกันในแอปฯ แล้วครองรักกันยาวนาน แถมเทคโนโลยีก็แทบจะส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การจะรู้จักใครสักคน แค่คลิกค้นหาแปปเดียวก็เจอข้อมูลได้ไม่ยาก
แต่ถึงอย่างนั้นคนที่ใช้โอกาสนี้หลอกลวงคนอื่นก็ยังไม่หายไปไหน ผลสำรวจของ Juleo และ YouGov เผยว่าแม้แอปฯ หาคู่จะมีคู่ให้เลือกมากมาย แต่แอปฯ เหล่านี้มักทำให้หงุดหงิดมากกว่าจะสมหวัง ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงกว่าครึ่ง หรือ 78% พบว่าพบพบว่าตัวเองเจอโปรไฟล์ปลอมในแอปฯ หาคู่ ซึ่งทำให้เกิดนำไปสู่ความกังวลเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวด้วย
การเจอคนไม่จริงใจฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก แต่ความจริงเหตุการณ์นี้ส่งผลต่อจิตใจได้มากกว่าที่คิด ส่วนหนึ่งอาจนำไปสู่อาการ ‘Dating Burnout’ หรืออาการเหนื่อยล้าจากการเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ๆ บนแอปฯ หาคู่ก็ได้
โดนหลอกให้รักแล้วผิดหวัง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง จากการสำรวจของ Forbes Health และ OnePoll พบว่าชาวเจน Z ถึง 79% รู้สึกเหนื่อยล้าจากการปัดหน้าโปรไฟล์เลือกคู่เดตออนไลน์ไม่รู้จบ และหนึ่งในสาเหตุคือการถูกหลอกทางอินเทอร์เน็ต โดย 38% พบว่าการถูกหลอกทำให้รู้สึกไม่ไว้วางใจคนอื่น และเหนื่อยล้าทางอารมณ์กับคนไม่จริงใจด้วย
การเจอคนไม่จริงใจ ถึงแม้จะเป็นบนโลกออนไลน์ก็ตาม ก็ไม่ได้ทำใจได้ง่ายๆ เพียงแค่ร้องไห้ 1 คืน แล้วจบ เพราะเรามักโดนชักจูงให้หลงเชื่อว่าเขารักจริงหวังแต่ง โดนปาความรักเข้าใส่แบบไม่ทันตั้งตัว แถมเหยื่อยังมักถูกชักจูงให้ตัดขาดจากคนรอบตัว ถูกทำให้เชื่อว่าตัวเองเป็นคนผิดซ้ำๆ เมื่อถึงเวลาผิดหวังขึ้นมาจึงเจ็บไม่ใช่น้อย ทั้งยังรู้สึกอับอาย แถมยังทิ้งบาดแผลเป็นขนาดใหญ่ หนักเข้าอาจถึงขั้นโทษตัวเอง จนไม่กล้าไว้ใจใครอีก
ดูแลใจในวันที่เจอคนหลอกลวง
เมื่อการผิดหวังจากคนไม่มีตัวตนจริงก็เจ็บไม่แพ้ความรักแบบอื่นๆ เหยื่อของการหลอกลวงจึงต้องการความเข้าใจอย่างมาก เพื่อให้ผ่านพ้นประสบการณ์แย่ๆ นี้ไปได้ ข้อมูลจากสถานีตำรวจเทมส์ (Thames Valley Police) จากสหราชอาณาจักร ได้รวบรวมประเด็นที่ทำให้เหยื่อรู้สึกตำหนิตัวเองน้อยลง เพื่อหาทางฟื้นฟูสภาพจิตใจไว้ดังนี้
- คิดเสมอว่าไม่ใช่ความผิดของเรา: ‘เชื่อคนแบบนั้นได้ยังไง’ ‘มีแต่คนโง่เท่านั้นแหละที่เชื่อ’ ต่อให้เสียงในหัวเราจะพูดแบบนั้น แต่ความจริงที่ควรจำไว้ให้ขึ้นใจคือ เรากำลังถูกหลอกจากคนที่เชี่ยวชาญด้านการหลอกลวงที่สุด ไม่ว่ายังไงคนพวกนั้นก็จะทำทุกวิถีทางให้เราหลงเชื่อให้ได้ ดังนั้นไม่แปลกถ้าเราจะเผลอใจไปรู้สึกดีด้วย และตกหลุมพรางที่ใครบางคนรอให้เราเดินไปตกอยู่แล้ว
- เราเจ็บเพราะสูญเสียความสัมพันธ์: การตกเป็นเหยื่อของความรักที่ไม่จริงจัง ไม่ได้แปลว่าความรู้สึกเราจะเป็นเรื่องหลอกลวงไปด้วย พอรู้ความจริงแล้วเราอาจเสียความมั่นใจ เป้าหมายในชีวิต หรือการมองโลกในแง่ดีไป แต่การยอมรับว่าเรากำลังเจ็บ หรือลองใช้เวลาพูดคุยกับคนไว้ใจได้ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น
- เราไม่ได้โดนอยู่คนเดียว: พอมีเรื่องร้ายเกิดขึ้นกับตัวเอง เราก็อดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เจอเหตุการณ์นี้ไม่ได้ จนรู้สึกเหมือนว่าเป็นคนเดียวในโลกหรือเปล่าที่เจอเหตุการณ์นี้ แต่ขอให้มั่นใจได้เลยว่าคุณไม่ใช่คนแรก ยังมีอีกหลายคนที่เคยเจอเรื่องแบบนี้ การได้รับรู้ประสบการณ์ของคนที่เคยเจอเหตุการณ์นี้อาจพอช่วยปลอบใจได้บ้าง
- ให้เวลากับตัวเอง: เป็นเรื่องธรรมดาที่จะใช้เวลาสักพักกว่าจะกลับมาหายดี บางครั้งอาจเจอคนไม่เข้าใจและตำหนิเรา แต่การใช้เวลาพักใจ หยุดมองหาความสัมพันธ์แบบโรแมนติกสักพัก และพูดคุยคนที่ไว้ใจได้ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้ใจเรากลับมาแข็งแรงขึ้น แต่หากยังไม่พร้อม อาจจะลองเขียนระบายความรู้สึกกับตัวเองก็ได้นะ อาจใช้ช่วงนี้เรียนรู้ไปในตัวว่าความสัมพันธ์แบบไหนที่เราต้องการจริงๆ และความสัมพันธ์แบบไหนเราไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย
หากการสูญเสียครั้งนี้หนักหนาจนไม่สามารถเยียวยาได้ การไปพบผู้เชี่ยวชาญก็เป็นทางที่ดีที่สุด เพราะการดูแลใจให้หายดีก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรากลับมาเดินหน้าเริ่มต้นความสัมพันธ์ใหม่ได้อีกครั้ง
ที่มา : The MATTER