อธิบาย Retention Ratio เครื่องมือหาหุ้นเติบโต แบบนักลงทุนระดับโลก | MONEY LAB
น่าจะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลย ที่กำลังมองหาหุ้นเติบโต ที่ราคาสามารถเพิ่มขึ้นได้ เป็นหลาย 10 เท่า โดยใช้เวลาสั้น ๆ
เพราะสมมติถ้าเรามีเงินลงทุน 1,000,000 บาท และได้ลงทุนในหุ้นแบบนั้น เงินก้อนนี้ก็จะกลายเป็น 10 ล้านบาท พร้อมช่วยยกระดับฐานะทางการเงินของเราได้ไม่น้อย
ซึ่งถ้าถามว่ามีอะไรที่จะช่วยให้เรา หาหุ้นเติบโตแบบนั้นให้เจอได้บ้าง ก็มีเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยเราได้
โดยเครื่องมือนี้ คุณ Warren Buffett นักลงทุนระดับตำนาน เคยกล่าวถึงบ่อยมาก ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway
เครื่องมือนั้นก็คือ “Retention Ratio”
หากสงสัยว่า แล้ว Retention Ratio คืออะไร และจะช่วยให้เราหาหุ้นเติบโตได้อย่างไรบ้าง ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
Retention Ratio หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Plowback Ratio คือเครื่องมือที่เอาไว้ใช้หาว่า บริษัทมีการนำกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ ไปลงทุนเพิ่ม เพื่อขยายธุรกิจ ในสัดส่วนเท่าไร
คำนวณหาโดย
[(กำไรสุทธิ - เงินปันผลจ่าย) / กำไรสุทธิ] x 100%
ค่าที่คำนวณออกมาได้ จะอยู่ระหว่าง 0% ถึง 100% โดย 100% หมายถึง บริษัทไม่จ่ายเงินปันผลเลย และนำกำไรที่ได้ทั้งหมด เก็บไปลงทุนขยายธุรกิจต่อ
และ 0% หมายถึง บริษัทเลือกจ่ายเงินปันผลทั้งหมดของกำไรที่บริษัททำได้ นั่นเอง
ลองมาดูตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกันดีกว่า
สมมติว่าในปี 2023 บริษัท A มีกำไรสุทธิ 1,000 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผลรวม 500 ล้านบาท
ทำให้เราสามารถคำนวณหา Retention Ratio ของบริษัท A ในปี 2023 ได้ดังนี้
Retention Ratio = [(1,000 ล้านบาท - 500 ล้านบาท) / 1,000 ล้านบาท] x 100% = 50%
ซึ่งหมายความว่า กำไรสุทธิครึ่งหนึ่งของบริษัทจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นกำไรสะสม และเตรียมไว้ใช้สำหรับการลงทุนเพิ่มในอนาคต
โดยปกติแล้ว บริษัทที่มี Retention Ratio สูง มักจะเป็นบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตในอนาคตสูงมาก
เช่น บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ในช่วงที่ต้องลงทุนหนัก ๆ บริษัทเหล่านี้ ก็เลือกที่จะไม่จ่ายเงินปันผลออกมาเลย เพราะต้องนำเงินไปลงทุนเพิ่มเรื่อย ๆ
แต่จนวันที่การเติบโตเริ่มชะลอลง และบริษัทไม่ได้มีแผนใช้เงินลงทุนเพิ่มมากอีกแล้ว ก็เริ่มมีการจ่ายเงินปันผล หรือการซื้อหุ้นคืนนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น Meta บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook และ Instagram ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาก็ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เพราะต้องลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มอยู่ตลอด
จนกระทั่งมาเริ่มจ่ายปันผลครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบริษัท เอาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง
โดยข้อดีของการเก็บกำไรเอาไว้ แล้วนำมาใช้ขยายธุรกิจแบบนี้ก็คือ ถ้าหากว่ากำไรที่บริษัทเก็บเอาไปใช้ลงทุนขยายธุรกิจต่อ ประสบความสำเร็จจนทำให้บริษัททำผลประกอบการออกมาได้ดี มีกำไรเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด
ในระยะยาว มูลค่าของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นตามกำไร เช่น หุ้นของบางบริษัท มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า 100 เท่า ในช่วงระยะเวลาแค่ไม่กี่ปีเท่านั้น..
ทำให้ในบางครั้งก็ดีกว่าการที่บริษัทเลือกจ่ายเงินปันผลให้กับเรา แล้วเรานำไปลงทุนในหุ้นตัวอื่น หรือเอาเงินปันผลไป Reinvest เอง
เพราะในบางทีเราก็อาจจะไม่สามารถหาหุ้นตัวอื่น ที่ทำผลตอบแทนได้มากขนาดนี้ก็ได้
และถึงแม้เราจะ Reinvest ในหุ้นตัวเดิม ผลตอบแทนที่ได้ก็จะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมในการซื้อหุ้น และโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของ Retention Ratio เองก็มีอยู่เหมือนกัน
1. อัตราส่วนนี้บอกแค่ว่า บริษัทแบ่งกำไรไปลงทุนในกิจการต่อเท่าไร แต่ไม่ได้บ่งบอกว่า บริษัทนี้จะสามารถนำกำไรไปลงทุนต่อยอด แล้วได้ผลตอบแทนออกมาดีหรือเปล่า
ทำให้เราจะต้องดูองค์ประกอบอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น
- ดูว่ารายได้และกำไร เติบโตขึ้นเท่าไร
- อัตราการทำกำไรของบริษัท เช่น อัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นหรือไม่
- ใช้เครื่องมืออย่าง Return on Invested Capital หรือ ROIC มาช่วยในการวิเคราะห์การลงทุนของบริษัทเพิ่มด้วย
เพราะถ้า ROIC สูง ก็หมายความว่า บริษัทนำเงินไปลงทุน ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อเงินลงทุน
แต่ถ้า ROIC ต่ำ ก็อาจจะบ่งบอกว่า กำไรที่บริษัทเก็บเอาไปลงทุนต่อยอด สุดท้ายแล้ว ทำผลตอบแทนกลับมาได้ไม่คุ้มนั่นเอง
2. บางบริษัทมี Retention Ratio ต่ำ แต่ก็ยังเติบโตสูงได้
การที่บางบริษัทมี Retention Ratio ต่ำ ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทนั้นจะไม่เติบโตแล้วแต่อย่างใด
แต่เหตุผลอาจจะมาจาก รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัท ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเยอะ
และบริษัทอาจจะมีการเก็บเงินสดสำรองไว้เพียงพอแล้ว จึงทำให้กำไรที่บริษัททำได้ สามารถนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้เลย
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เชื่อว่า เราน่าจะเข้าใจเรื่อง Retention Ratio กันดีขึ้นแล้ว
กล่าวโดยสรุปก็คือ อัตราส่วนนี้ไว้ใช้ช่วยวิเคราะห์หาหุ้นของบริษัทเติบโตได้ เพราะบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต มักจะเป็นบริษัทที่มีการใช้เงินลงทุนเพิ่มสูง
แต่ข้อจำกัดของการนำ Retention Ratio ไปใช้ ก็มีอยู่เหมือนกัน
เช่น อัตราส่วนนี้บอกแค่เพียงสัดส่วนของกำไรที่เก็บไว้ แต่ไม่ได้บอกคุณภาพการเติบโตของธุรกิจ และก็มีบางบริษัท ที่สามารถเติบโตสูงได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเยอะ
ทำให้แม้ Retention Ratio จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุนที่เราควรรู้จักเอาไว้
แต่เวลานำไปใช้ เราก็ควรใช้ควบคู่ไปกับเครื่องมืออื่น ๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห์ Free Cash Flow และ ROIC รวมถึงการศึกษาโมเดลธุรกิจด้วย
นอกจากนี้ ก็อย่าลืมให้ความสำคัญเชิงคุณภาพของบริษัท อย่างการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน จากพื้นฐานของบริษัท และความสามารถของผู้บริหาร
เพราะถ้าผู้บริหารที่เป็นหัวเรือใหญ่ ตัดสินใจนำกำไรไปลงทุนแต่ในสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ก็ไม่น่าที่จะทำให้บริษัทเติบโตต่อไปได้ แม้จะแบ่งกำไรไปลงทุนเพิ่มอีกมากแค่ไหนก็ตาม..
References:
-
https://www.investopedia.com/terms/r/retentionratio.asp
-
https://www.investopedia.com/terms/p/plowbackratio.asp
-
https://www.reuters.com/technology/facebook-parent-meta-declares-first-ever-dividend-2024-02-01/
-หนังสือ The Little Book of Valuation: How to Value a Company, Pick a Stock and Profit (2011) โดย Aswath Damodaran
-หนังสือ The Outsiders: Eight Unconventional CEOs and Their Radically Rational Blueprint for Success (2012) โดย William Thorndike
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1977
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1978
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1981
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1983
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1984
เครดิต: Money Lab
อธิบาย Retention Ratio เครื่องมือหาหุ้นเติบโต แบบนักลงทุนระดับโลก | MONEY LAB
น่าจะมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยเลย ที่กำลังมองหาหุ้นเติบโต ที่ราคาสามารถเพิ่มขึ้นได้ เป็นหลาย 10 เท่า โดยใช้เวลาสั้น ๆ
เพราะสมมติถ้าเรามีเงินลงทุน 1,000,000 บาท และได้ลงทุนในหุ้นแบบนั้น เงินก้อนนี้ก็จะกลายเป็น 10 ล้านบาท พร้อมช่วยยกระดับฐานะทางการเงินของเราได้ไม่น้อย
ซึ่งถ้าถามว่ามีอะไรที่จะช่วยให้เรา หาหุ้นเติบโตแบบนั้นให้เจอได้บ้าง ก็มีเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยเราได้
โดยเครื่องมือนี้ คุณ Warren Buffett นักลงทุนระดับตำนาน เคยกล่าวถึงบ่อยมาก ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท Berkshire Hathaway
เครื่องมือนั้นก็คือ “Retention Ratio”
หากสงสัยว่า แล้ว Retention Ratio คืออะไร และจะช่วยให้เราหาหุ้นเติบโตได้อย่างไรบ้าง ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
Retention Ratio หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Plowback Ratio คือเครื่องมือที่เอาไว้ใช้หาว่า บริษัทมีการนำกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ ไปลงทุนเพิ่ม เพื่อขยายธุรกิจ ในสัดส่วนเท่าไร
คำนวณหาโดย
[(กำไรสุทธิ - เงินปันผลจ่าย) / กำไรสุทธิ] x 100%
ค่าที่คำนวณออกมาได้ จะอยู่ระหว่าง 0% ถึง 100% โดย 100% หมายถึง บริษัทไม่จ่ายเงินปันผลเลย และนำกำไรที่ได้ทั้งหมด เก็บไปลงทุนขยายธุรกิจต่อ
และ 0% หมายถึง บริษัทเลือกจ่ายเงินปันผลทั้งหมดของกำไรที่บริษัททำได้ นั่นเอง
ลองมาดูตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกันดีกว่า
สมมติว่าในปี 2023 บริษัท A มีกำไรสุทธิ 1,000 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผลรวม 500 ล้านบาท
ทำให้เราสามารถคำนวณหา Retention Ratio ของบริษัท A ในปี 2023 ได้ดังนี้
Retention Ratio = [(1,000 ล้านบาท - 500 ล้านบาท) / 1,000 ล้านบาท] x 100% = 50%
ซึ่งหมายความว่า กำไรสุทธิครึ่งหนึ่งของบริษัทจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นกำไรสะสม และเตรียมไว้ใช้สำหรับการลงทุนเพิ่มในอนาคต
โดยปกติแล้ว บริษัทที่มี Retention Ratio สูง มักจะเป็นบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตในอนาคตสูงมาก
เช่น บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ในช่วงที่ต้องลงทุนหนัก ๆ บริษัทเหล่านี้ ก็เลือกที่จะไม่จ่ายเงินปันผลออกมาเลย เพราะต้องนำเงินไปลงทุนเพิ่มเรื่อย ๆ
แต่จนวันที่การเติบโตเริ่มชะลอลง และบริษัทไม่ได้มีแผนใช้เงินลงทุนเพิ่มมากอีกแล้ว ก็เริ่มมีการจ่ายเงินปันผล หรือการซื้อหุ้นคืนนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น Meta บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook และ Instagram ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาก็ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เพราะต้องลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มอยู่ตลอด
จนกระทั่งมาเริ่มจ่ายปันผลครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบริษัท เอาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง
โดยข้อดีของการเก็บกำไรเอาไว้ แล้วนำมาใช้ขยายธุรกิจแบบนี้ก็คือ ถ้าหากว่ากำไรที่บริษัทเก็บเอาไปใช้ลงทุนขยายธุรกิจต่อ ประสบความสำเร็จจนทำให้บริษัททำผลประกอบการออกมาได้ดี มีกำไรเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด
ในระยะยาว มูลค่าของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นตามกำไร เช่น หุ้นของบางบริษัท มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า 100 เท่า ในช่วงระยะเวลาแค่ไม่กี่ปีเท่านั้น..
ทำให้ในบางครั้งก็ดีกว่าการที่บริษัทเลือกจ่ายเงินปันผลให้กับเรา แล้วเรานำไปลงทุนในหุ้นตัวอื่น หรือเอาเงินปันผลไป Reinvest เอง
เพราะในบางทีเราก็อาจจะไม่สามารถหาหุ้นตัวอื่น ที่ทำผลตอบแทนได้มากขนาดนี้ก็ได้
และถึงแม้เราจะ Reinvest ในหุ้นตัวเดิม ผลตอบแทนที่ได้ก็จะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมในการซื้อหุ้น และโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลด้วย
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของ Retention Ratio เองก็มีอยู่เหมือนกัน
1. อัตราส่วนนี้บอกแค่ว่า บริษัทแบ่งกำไรไปลงทุนในกิจการต่อเท่าไร แต่ไม่ได้บ่งบอกว่า บริษัทนี้จะสามารถนำกำไรไปลงทุนต่อยอด แล้วได้ผลตอบแทนออกมาดีหรือเปล่า
ทำให้เราจะต้องดูองค์ประกอบอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น
- ดูว่ารายได้และกำไร เติบโตขึ้นเท่าไร
- อัตราการทำกำไรของบริษัท เช่น อัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นหรือไม่
- ใช้เครื่องมืออย่าง Return on Invested Capital หรือ ROIC มาช่วยในการวิเคราะห์การลงทุนของบริษัทเพิ่มด้วย
เพราะถ้า ROIC สูง ก็หมายความว่า บริษัทนำเงินไปลงทุน ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อเงินลงทุน
แต่ถ้า ROIC ต่ำ ก็อาจจะบ่งบอกว่า กำไรที่บริษัทเก็บเอาไปลงทุนต่อยอด สุดท้ายแล้ว ทำผลตอบแทนกลับมาได้ไม่คุ้มนั่นเอง
2. บางบริษัทมี Retention Ratio ต่ำ แต่ก็ยังเติบโตสูงได้
การที่บางบริษัทมี Retention Ratio ต่ำ ก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทนั้นจะไม่เติบโตแล้วแต่อย่างใด
แต่เหตุผลอาจจะมาจาก รูปแบบการทำธุรกิจของบริษัท ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเยอะ
และบริษัทอาจจะมีการเก็บเงินสดสำรองไว้เพียงพอแล้ว จึงทำให้กำไรที่บริษัททำได้ สามารถนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้เลย
อ่านมาถึงตรงนี้ ก็เชื่อว่า เราน่าจะเข้าใจเรื่อง Retention Ratio กันดีขึ้นแล้ว
กล่าวโดยสรุปก็คือ อัตราส่วนนี้ไว้ใช้ช่วยวิเคราะห์หาหุ้นของบริษัทเติบโตได้ เพราะบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตสูงในอนาคต มักจะเป็นบริษัทที่มีการใช้เงินลงทุนเพิ่มสูง
แต่ข้อจำกัดของการนำ Retention Ratio ไปใช้ ก็มีอยู่เหมือนกัน
เช่น อัตราส่วนนี้บอกแค่เพียงสัดส่วนของกำไรที่เก็บไว้ แต่ไม่ได้บอกคุณภาพการเติบโตของธุรกิจ และก็มีบางบริษัท ที่สามารถเติบโตสูงได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเยอะ
ทำให้แม้ Retention Ratio จะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุนที่เราควรรู้จักเอาไว้
แต่เวลานำไปใช้ เราก็ควรใช้ควบคู่ไปกับเครื่องมืออื่น ๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห์ Free Cash Flow และ ROIC รวมถึงการศึกษาโมเดลธุรกิจด้วย
นอกจากนี้ ก็อย่าลืมให้ความสำคัญเชิงคุณภาพของบริษัท อย่างการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน จากพื้นฐานของบริษัท และความสามารถของผู้บริหาร
เพราะถ้าผู้บริหารที่เป็นหัวเรือใหญ่ ตัดสินใจนำกำไรไปลงทุนแต่ในสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ก็ไม่น่าที่จะทำให้บริษัทเติบโตต่อไปได้ แม้จะแบ่งกำไรไปลงทุนเพิ่มอีกมากแค่ไหนก็ตาม..
References:
-https://www.investopedia.com/terms/r/retentionratio.asp
-https://www.investopedia.com/terms/p/plowbackratio.asp
-https://www.reuters.com/technology/facebook-parent-meta-declares-first-ever-dividend-2024-02-01/
-หนังสือ The Little Book of Valuation: How to Value a Company, Pick a Stock and Profit (2011) โดย Aswath Damodaran
-หนังสือ The Outsiders: Eight Unconventional CEOs and Their Radically Rational Blueprint for Success (2012) โดย William Thorndike
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1977
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1978
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1981
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1983
-Berkshire Hathaway Inc. Shareholder Letter ปี 1984
เครดิต: Money Lab