🏀 ศัพท์บาส: ภาษีฟุ่มเฟือย

จริงๆ NBA มี hard cap เเต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการใช้ exception (ข้อยกเว้น) บางอย่างจ้างผู้เล่น ไม่ได้มาจากการใช้เงินเยอะโดยตรงทําให้โดยรวมถือว่าเป็นระบบ soft cap ใช้เงินต่อได้เรื่อยๆ ตราบใดที่ยอมจ่ายภาษีฟุ่มเฟือยเเละยังไม่เข้าเกณฑ์ hard cap

ลีกเริ่มเก็บครั้งเเรกในปี 2001 เป็นบทลงโทษจากการใช้เงินเกินเส้น

--ภาษีที่เก็บได้ 50% เอามาเเบ่งในหมู่ทีมที่ไม่เสียภาษี ที่เหลืออีก 50% ลีกได้ไป 

-ทีมที่ขี้งกไม่เคยจ่ายเลยสักบาทมี 2 ทีมคือ Pelicans กับ Hornets

-อัตราเริ่มต้นที่ $1.50 จากทุกดอลล่าร์ที่ใช้เกินใน $5.1 ล้านเเรก สูงสุดที่ $3.25 ต่อดอลล่าร์

-มี 4 ทีมที่ใช้เงินเกินเส้น 3 ครั้งใน 4 ปีคือสะพาน, Clippers Bucks เเละ Lakers พวกนี้ต้องจ่ายเเพงกว่าในอัตรา repeater rate เริ่มต้นที่ $2.50 จากทุกดอลล่าร์ที่ใช้เกินใน $5.1 ล้านเเรก สูงสุดที่ $4.25 ต่อดอลล่าร์

-เนื่องจากภาษีคํานวณในวันสุดท้ายของฤดูกาลทําให้ทีมต่างๆ มักหาทางลดรายจ่ายหลังปีใหม่เช่น Pelicans เคยโละ Kira Lewis ออกจนอยู่ตํ่ากว่าเส้นพอดี

ปีที่ Bucks ได้เเชมป์ลีกปี 2021 จริงๆ อยู่ตํ่ากว่าเส้นเฉียดฉิวทั้งฤดูกาลจนกระทั่งชนะ Suns ในนัดชิงต้องจ่ายโบนัสให้ Jrue Holiday $1 ล้านตามที่ระบุในสัญญาเลยต้องเสีย tax ปิดท้าย

ถึงเเม้จะดูไม่มากมายอะไรเเต่ Bucks อดได้ส่วนเเบ่งเค้กที่มอบให้ทีมที่ไม่เสียภาษีด้วย

Credit: Hoops Rumors
 
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่