(1) ในที่สุดตัวตลกจากขุมนรก Art the Clown ก็ได้มีภาพยนตร์ฉบับฉายโรงปกติให้ได้ชมกันสักที หลังจากที่ต้องซุ่มตัวอยู่ในเงามืดในฐานะของ “หนังนอกกระแส” มาพักใหญ่ และคอยแอบเก็บเกี่ยวสร้างชื่อเสียงจากความสยองขวัญสุดขีดคลั่งจนกลายเป็นไอค่อนความสยองขวัญยุคใหม่ที่น่าจับตามอง แน่นอนว่าสำหรับ Terifier ภาค 3 (ที่ไม่มีชื่อไทยประมาณว่า “สับนรกคลั่ง” หรือ “ล่าคลั่ง ตัวตลกนรกแตก” อะไรเทือกนั้น) ตัวผู้กำกับ ดาเมียน ลีโอเน่ (Damien Leone) ก็ไม่มีการประนีประนอมอะไรทั้งนั้น ความโหดดิบ เลือดสาด ทุบเละ ยังกลับมาจัดเต็มมากขึ้น จนเรท ฉ 20- อาจจะดูเบาไปเลยด้วยซ้ำ
.
(2) คำถามแรกสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ จำเป็นต้องดูภาคก่อนหน้ามาก่อนด้วยรึเปล่า? คำตอบ คือ อาจจะไม่จำเป็นหากคุณไม่ได้หลงใหลเจ้า Art the Clown จนเข้าไส้ รู้แค่ว่า Terifier 3 จะมีการใช้ตัวละคร Final Girl หรือผู้รอดชีวิตจากภาคแรกอย่าง “วิคตอเรีย” ที่กลายมาเป็นอสูรกายคู่หูเจ้าอาร์ตซะอย่างนั้น และสองพี่น้องที่รอดชีวิตจากภาคสอง “เซียนน่า” (Lauren LaVera) กับ “โจนาธาน” (Elliott Fullam) มารวมกันเป็นเนื้อเรื่องในภาคนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
.
(3) เห็นได้ชัดว่า Terifier 3 ที่ถูกพัฒนามาเป็นภาพยนตร์เต็มรูปแบบ พยายามที่จะสร้างโครงเรื่องเพื่อรองรับความวิปริตสุดขีดคลั่งของ “ไอ้อาร์ต” โดยก็ทำตามสูตรสำเร็จของ “หนังไล่เชือด” แบบที่เราคุ้นเคยกันดี ทั้งความเหนือธรรมชาติที่ไร้คู่ต่อกรของตัวฆาตกร หรือเหยื่อง่าวๆ ที่เห็นก็รู้ชะตากรรมได้ไม่ยาก ตัวละครภาพจำอย่าง เด็กเนิร์ด สาวฮ็อต หนุ่มหล่อ สาวบริสุทธิ์สุดแกร่งเป็นตัวหลัก ก็เรียกว่ามากันครบ อ้อ แล้วอย่างลืม “ตัวภาระ” ด้วย
.
(4) แต่กลายเป็นว่าพอยิ่งเสริมเนื้อเรื่องให้ Art the Clown มันก็เหมือนยิ่งผลักให้ตัวเรื่องเข้าไปสู่โซน “แฟนตาซี” มาขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าตัวของไอ้อาร์ตจะหลุดจากความเป็นจริงไปตั้งแต่ภาคแรกแล้วก็ตาม ตรงนี้ส่งผลเสียต่อ Terifier 3 อยู่เหมือนกัน ตรงที่มันไปลดทอนความรู้สึก “สมจริง” ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้การสังหารเหยื่อของไอ้อาร์ตส่งผลต่อความรู้สึกต่อผู้ชม จึงไม่แปลกที่หลายครั้งเมื่อไอ้อาร์ตบรรเลงเลือด มันให้ความรู้สึกเฉยชาและน่าขำแทนที่จะน่ากลัวและสยดสยอง เพราะโทนของเรื่องมันแทบจะกลายเป็นการ์ตูนไปแล้ว(แต่ไม่ทั้งหมดนะ)
.
(5) ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่างานเอฟเฟคทำมือ (practical effects) ที่เป็นจุดขายของ Terifier ยังคงทำงานเต็มอัตราศึก เห็นได้ชัดถึงความตั้งใจในการเสริฟงานฝีมือที่พวกเขาภาคภูมิใจอยู่ตลอด เลือดสาด อวัยวะขาดกระจุยเป็นว่าเล่น เรียกว่าจุใจไม่มีกั๊ก ใจแข็งอย่างไรก็ต้องมีรู้สึกกันบ้าง บวกกับการพยายามย้อนยุคบรรยากาศไปในยุคประมาณ 80-90 ภาพสีตุ่นๆ บวมๆ ดูเข้ากันดีกับความเป็น “ตำนานเมือง” คล้ายๆ กับ Freddy Krueger คือ มีความกึ่งจริงกึ่งเรื่องเล่า ที่ท้ายที่สุดตัวเรื่องเปิดเผยแล้วว่า Art the Clown เป็นสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติจริงๆ จึงน่าสนใจว่า ภาคต่อไปเนื้อเรื่องจะไปในทิศทางไหน จะเปลี่ยนไปเป็นแอคชั่นเลยรึเปล่า?
.
(6) แต่ทุกอย่างล้วนเป็นดาบสองคม จุดอ่อนสำคัญของ Terifier 3 เกิดขึ้นจากจุดแข็งของมันนี่เอง เมื่อไอ้อาร์ตอยู่ในเฟรมกับเหยื่อง่าวๆ เราคาดหวังความอร่อยที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ แต่เมื่อตัวเรื่องตัดไปเล่าเรื่องของเซียนน่า หรือ โจนาธาน มันกลายเป็นความน่าเบื่อจนแอบนั่งหาวอยู่หลายครั้ง แม้ผู้กำกับดาเมี่ยนจะพยายามสร้างมิติโดยการเพิ่มภาวะ PTSD ให้ทั้งสอง แต่มันก็ไม่ได้ช่วยให้เรื่องน่าสนใจขึ้นแต่อย่างใด แถมยังเพิ่มตัวละครเด็กภาระอย่าง “แก๊บบี้” (Antonella Rose) มาให้รำคาญใจเล่นอีก ทำให้เกิดความรู้สึกคิดถึงหน้ากวนส้น..ของไอ้อาร์ต กับ หน้าบิดเบี้ยวของวิคตอเรียขึ้นมาจับใจ
.
(7) พูดถึงคาแรคเตอร์ของ Art the Clown (David Howard Thornton) ที่กำหนดให้ไม่มีบทพูดมาตั้งแต่แรก ชวนให้นึกถึงการแสดงคล้ายๆ กับ “มีสเตอร์บีน” ที่ใช้สีหน้ากับท่าทางเป็นหลักในการสื่อสาร แต่เวลาต้องสื่อสารข้อความที่ซับซ้อน กลายเป็นว่าตัวของวิคตอเรียที่พูดได้ เป็นคนที่สื่อสารแทน โดยเข้าใจว่าสองตัวนี้เป็นสิ่งเดียวกันที่แบ่งภาคมา (โอเคมันเหนือธรรมชาติไปนานแล้ว) ซึ่งว่ากันถึงตัวละครวิคตอเรีย (Samantha Scaffidi) นั้นมีเสน่ห์อย่างน่าประหลาด ยามที่อยู่กับไอ้อาร์ตกลายเป็นคู่หูที่น่าหวาดกลัวสุดๆ น่าเสียดายที่สองตัวนี้ไม่ค่อยได้ออกงานร่วมกันเท่าไหร่นัก
.
(8) ความสยองของ Terifier 3 ใช้คำว่าจุใจ แต่ยังไม่ค่อยเข้าเส้นนัก มันเต็มไปด้วยความโฉ่งฉ่างแบบทื่อๆ ฉากสังหารแบบไม่มีการเล่นกับความคาดหวังอะไร ไม่มีการทรมาน มาถึงก็สับๆๆ โยนลงหม้อ ไม่ใช่แนวแบบ Saw หรือฆาตกรรายอื่นๆ ที่ประณีตและมีพิธีรีตรองมากกว่า ทำให้ฉากที่ให้ความรู้สึก “เสียว” ที่สุดของเรื่องกลายเป็นฉากจับดาบตอนท้ายเรื่องของเซียนน่าแทน แต่ก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นแบบค่อนข้างเขลาชวนกุมขมับไม่น้อย ซึ่งอาจจะดีกว่านี้ถ้าไอ้อาร์ตมีความชัดเจนเรื่องพวกนี้มากขึ้น เพื่อก้าวเป็น “ไอค่อนแห่งโลกสยองขวัญ” ยุคใหม่อย่างเต็มตัว
Story Decoder
[รีวิว] Terrifier 3 - ปาร์ตี้บรรเลิงเลือดของตัวตลกจากขุมนรกที่ได้เวลาออกสู่สายตาประชาชีสักที
.
(2) คำถามแรกสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ จำเป็นต้องดูภาคก่อนหน้ามาก่อนด้วยรึเปล่า? คำตอบ คือ อาจจะไม่จำเป็นหากคุณไม่ได้หลงใหลเจ้า Art the Clown จนเข้าไส้ รู้แค่ว่า Terifier 3 จะมีการใช้ตัวละคร Final Girl หรือผู้รอดชีวิตจากภาคแรกอย่าง “วิคตอเรีย” ที่กลายมาเป็นอสูรกายคู่หูเจ้าอาร์ตซะอย่างนั้น และสองพี่น้องที่รอดชีวิตจากภาคสอง “เซียนน่า” (Lauren LaVera) กับ “โจนาธาน” (Elliott Fullam) มารวมกันเป็นเนื้อเรื่องในภาคนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
.
(3) เห็นได้ชัดว่า Terifier 3 ที่ถูกพัฒนามาเป็นภาพยนตร์เต็มรูปแบบ พยายามที่จะสร้างโครงเรื่องเพื่อรองรับความวิปริตสุดขีดคลั่งของ “ไอ้อาร์ต” โดยก็ทำตามสูตรสำเร็จของ “หนังไล่เชือด” แบบที่เราคุ้นเคยกันดี ทั้งความเหนือธรรมชาติที่ไร้คู่ต่อกรของตัวฆาตกร หรือเหยื่อง่าวๆ ที่เห็นก็รู้ชะตากรรมได้ไม่ยาก ตัวละครภาพจำอย่าง เด็กเนิร์ด สาวฮ็อต หนุ่มหล่อ สาวบริสุทธิ์สุดแกร่งเป็นตัวหลัก ก็เรียกว่ามากันครบ อ้อ แล้วอย่างลืม “ตัวภาระ” ด้วย
.
(4) แต่กลายเป็นว่าพอยิ่งเสริมเนื้อเรื่องให้ Art the Clown มันก็เหมือนยิ่งผลักให้ตัวเรื่องเข้าไปสู่โซน “แฟนตาซี” มาขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าตัวของไอ้อาร์ตจะหลุดจากความเป็นจริงไปตั้งแต่ภาคแรกแล้วก็ตาม ตรงนี้ส่งผลเสียต่อ Terifier 3 อยู่เหมือนกัน ตรงที่มันไปลดทอนความรู้สึก “สมจริง” ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้การสังหารเหยื่อของไอ้อาร์ตส่งผลต่อความรู้สึกต่อผู้ชม จึงไม่แปลกที่หลายครั้งเมื่อไอ้อาร์ตบรรเลงเลือด มันให้ความรู้สึกเฉยชาและน่าขำแทนที่จะน่ากลัวและสยดสยอง เพราะโทนของเรื่องมันแทบจะกลายเป็นการ์ตูนไปแล้ว(แต่ไม่ทั้งหมดนะ)
.
(5) ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่างานเอฟเฟคทำมือ (practical effects) ที่เป็นจุดขายของ Terifier ยังคงทำงานเต็มอัตราศึก เห็นได้ชัดถึงความตั้งใจในการเสริฟงานฝีมือที่พวกเขาภาคภูมิใจอยู่ตลอด เลือดสาด อวัยวะขาดกระจุยเป็นว่าเล่น เรียกว่าจุใจไม่มีกั๊ก ใจแข็งอย่างไรก็ต้องมีรู้สึกกันบ้าง บวกกับการพยายามย้อนยุคบรรยากาศไปในยุคประมาณ 80-90 ภาพสีตุ่นๆ บวมๆ ดูเข้ากันดีกับความเป็น “ตำนานเมือง” คล้ายๆ กับ Freddy Krueger คือ มีความกึ่งจริงกึ่งเรื่องเล่า ที่ท้ายที่สุดตัวเรื่องเปิดเผยแล้วว่า Art the Clown เป็นสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติจริงๆ จึงน่าสนใจว่า ภาคต่อไปเนื้อเรื่องจะไปในทิศทางไหน จะเปลี่ยนไปเป็นแอคชั่นเลยรึเปล่า?
.
(6) แต่ทุกอย่างล้วนเป็นดาบสองคม จุดอ่อนสำคัญของ Terifier 3 เกิดขึ้นจากจุดแข็งของมันนี่เอง เมื่อไอ้อาร์ตอยู่ในเฟรมกับเหยื่อง่าวๆ เราคาดหวังความอร่อยที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ แต่เมื่อตัวเรื่องตัดไปเล่าเรื่องของเซียนน่า หรือ โจนาธาน มันกลายเป็นความน่าเบื่อจนแอบนั่งหาวอยู่หลายครั้ง แม้ผู้กำกับดาเมี่ยนจะพยายามสร้างมิติโดยการเพิ่มภาวะ PTSD ให้ทั้งสอง แต่มันก็ไม่ได้ช่วยให้เรื่องน่าสนใจขึ้นแต่อย่างใด แถมยังเพิ่มตัวละครเด็กภาระอย่าง “แก๊บบี้” (Antonella Rose) มาให้รำคาญใจเล่นอีก ทำให้เกิดความรู้สึกคิดถึงหน้ากวนส้น..ของไอ้อาร์ต กับ หน้าบิดเบี้ยวของวิคตอเรียขึ้นมาจับใจ
.
(7) พูดถึงคาแรคเตอร์ของ Art the Clown (David Howard Thornton) ที่กำหนดให้ไม่มีบทพูดมาตั้งแต่แรก ชวนให้นึกถึงการแสดงคล้ายๆ กับ “มีสเตอร์บีน” ที่ใช้สีหน้ากับท่าทางเป็นหลักในการสื่อสาร แต่เวลาต้องสื่อสารข้อความที่ซับซ้อน กลายเป็นว่าตัวของวิคตอเรียที่พูดได้ เป็นคนที่สื่อสารแทน โดยเข้าใจว่าสองตัวนี้เป็นสิ่งเดียวกันที่แบ่งภาคมา (โอเคมันเหนือธรรมชาติไปนานแล้ว) ซึ่งว่ากันถึงตัวละครวิคตอเรีย (Samantha Scaffidi) นั้นมีเสน่ห์อย่างน่าประหลาด ยามที่อยู่กับไอ้อาร์ตกลายเป็นคู่หูที่น่าหวาดกลัวสุดๆ น่าเสียดายที่สองตัวนี้ไม่ค่อยได้ออกงานร่วมกันเท่าไหร่นัก
.
(8) ความสยองของ Terifier 3 ใช้คำว่าจุใจ แต่ยังไม่ค่อยเข้าเส้นนัก มันเต็มไปด้วยความโฉ่งฉ่างแบบทื่อๆ ฉากสังหารแบบไม่มีการเล่นกับความคาดหวังอะไร ไม่มีการทรมาน มาถึงก็สับๆๆ โยนลงหม้อ ไม่ใช่แนวแบบ Saw หรือฆาตกรรายอื่นๆ ที่ประณีตและมีพิธีรีตรองมากกว่า ทำให้ฉากที่ให้ความรู้สึก “เสียว” ที่สุดของเรื่องกลายเป็นฉากจับดาบตอนท้ายเรื่องของเซียนน่าแทน แต่ก็เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นแบบค่อนข้างเขลาชวนกุมขมับไม่น้อย ซึ่งอาจจะดีกว่านี้ถ้าไอ้อาร์ตมีความชัดเจนเรื่องพวกนี้มากขึ้น เพื่อก้าวเป็น “ไอค่อนแห่งโลกสยองขวัญ” ยุคใหม่อย่างเต็มตัว
Story Decoder