วงถกปรับค่ารักษาประกันสังคมนัดแรก รพ. 3 สังกัดสะท้อนต้นทุนจริงมากกว่าอัตราจ่าย รพ.เอกชนระบุปรับฐานเป็น 15,000 ยังขาดทุนบางรายการ นัดหารือใหม่อีก 2 ครั้ง สรุปผลปิดจบให้ได้ ก่อนถึงช่วงเซ็นสัญญารพ.ประกันสังคมปี 68
จากกรณีที่มี รพ.เอกชนที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคมมีการลงชื่อแล้ว 70 แห่ง จ่อที่จะถอนตัวออกจากประกันสังคม หากไม่มีการปรับอัตราค่าบริการ เนื่องจากบางส่วนไม่มีการปรับเพิ่มมา 5 ปี และบางรายการเงินลดในช่วงปลายปีนั้น ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทบทวนหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม (เฉพาะกิจ)เพื่อมาดำเนินการแก้ปัญหานั้น
เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2567 นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ (เฉพาะกิจ)ว่า การหารือในวันนี้เป็นครั้งแรกเป็นการเสนอข้อมูลทั่วไปและสะท้อนต้นทุนของหน่วยบริการสังกัดต่างๆ โดยในส่วนของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือดีอาร์จี มากกว่า 2 พบว่า ปี 2567 มีอัตราการใช้บริการมากขึ้นกว่าปี 2566 ส่วนปี 2563-2564 อยู่ที่ 5 %กว่า ปี 2565 อยู่ที่ 5.64 % และปี 2566 อยู่ที่ 6.45 % เพิ่มขึ้นมาเกือบ 1 % จึงทำให้เงินต่อหน่วยลดลงในช่วงปลายปี
สำหรับ ต้นทุนในกลุ่มโรคนี้ที่มีการสะท้อนจากหน่วยบริการสังกัดต่างๆ คือ รพ.ของรัฐต้นทุนอยู่ที่ 13,800 ต่อAdjusted RW ส่วนรพ.ของโรงเรียนแพทย์ อยู่ที่ ราว 30,000 บาท ต่อAdjusted RW ขณะที่รพ.เอกชน แต่ละเครือข่ายจะไม่เหมือนกัน โดยอัตราจ่ายให้ 15,000 บาท ยังขาดทุนบางรายการ
“ปกติวิธีการของประกันสังคมจะใช้อัตราต้นทุนของรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ซึ่งต่ำ และใช้อัตราของรพ.สังกัดมหาวิทยาลัยซึ่งสูง จะไม่ค่อยเอาตัวเลขของเอกชน วันนี้จึงได้แจ้งไปว่าหากอยู่ดูต้นทุนที่แท้จริงของรพ.เอกชนก็แจ้งมาได้ ทั้งนี้ เบื้องต้นสมาคมรพ.เอกชนก็อยากได้ฐานอัตราที่ 15,000 บาท รพ.ใหญ่จะแย่”นพ.เฉลิมกล่าว
ถามถึงกรณีที่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงานออกมาระบุว่า จะให้ที่อัตรา 12,000 บาทต่อAdjusted RWการันตีได้อัตรานี้ตลอดปี นพ.เฉลิม กล่าวว่า ประกันสังคมรับรู้แล้วสิ่งที่จ่ายจะเป็นเช่นนี้ไม่ได้ พยายามไปดูต้นทุนกลุ่มโรคดีอาร์จี มากกว่า 2ในรพ.สังกัดต่างๆ ซึ่งล้วนเกิน 12,000 บาททั้งสิ้น และในหมวดอื่นๆบางรายก็ไม่มีการปรับอัตราจ่ายมา 4-5 ปี อย่างเช่น 26 โรคเรื้อรัง แต่กลับบอกว่าอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation)มีทุกปี ซึ่งประกันสังคมก็ยอมรับความเป็นจริงในเรื่องนี้ และมีการนำเสนอทางเลือกว่าจะปรับค่าหัวโรคค่าใช่จ่ายสูงที่มีดีอาร์จีมากกว่า 2 เดิมที่ 746 บาท แล้วจะปรับขึ้น 800 , 900 บาท เป็นต้น
“ฝ่ายต่างๆเข้าใจแล้วว่าจ่ายอัตรา 7,200 บาทเป็นไปไม่ได้ อัตรา 12,000 บาทยังแทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งประกันสังคมจะเพิ่มให้มากกว่านี้หรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะต้องไปดูวงเงินของประกันสังคมด้วย แต่ส่วนนี้อยู่นอกเหนืออำนาจของคู่สัญญา จะขึ้นกับผู้บริหารกองทุนประกันสังคมกับกระทรวงมากกว่า”นพ.เฉลิมกล่าว
นพ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า จะมีการนัดประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 29 ต.ค.2567 จะลงลึกในอัตราค่าบริการแต่ละหมวด เช่น 26 โรคเรื้อรังที่จะต้องปรับเพราะคนเป็นกันมากขึ้น ซึ่งประกันสังคมจะต้องไปหาวิธี แต่จะเน้นไปที่ค่าโรคดีอาร์จีมากกว่า 2 และประชุมครั้งที่ 3 จะเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปผลว่าจะมีการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่รพ.เอกชนจะมีการเซ็นสัญญาเป็นคู่สัญญาประกันสังคมรอบใหม่ในปี 2568 แน่นอน
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1149539
รพ.3สังกัด สะท้อนต้นทุนจริง "ค่ารักษาประกันสังคม" นัดถกอีก 2 รอบปิดจบปัญหา
จากกรณีที่มี รพ.เอกชนที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคมมีการลงชื่อแล้ว 70 แห่ง จ่อที่จะถอนตัวออกจากประกันสังคม หากไม่มีการปรับอัตราค่าบริการ เนื่องจากบางส่วนไม่มีการปรับเพิ่มมา 5 ปี และบางรายการเงินลดในช่วงปลายปีนั้น ซึ่งคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทบทวนหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม (เฉพาะกิจ)เพื่อมาดำเนินการแก้ปัญหานั้น
เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2567 นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ อดีตนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ (เฉพาะกิจ)ว่า การหารือในวันนี้เป็นครั้งแรกเป็นการเสนอข้อมูลทั่วไปและสะท้อนต้นทุนของหน่วยบริการสังกัดต่างๆ โดยในส่วนของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม หรือดีอาร์จี มากกว่า 2 พบว่า ปี 2567 มีอัตราการใช้บริการมากขึ้นกว่าปี 2566 ส่วนปี 2563-2564 อยู่ที่ 5 %กว่า ปี 2565 อยู่ที่ 5.64 % และปี 2566 อยู่ที่ 6.45 % เพิ่มขึ้นมาเกือบ 1 % จึงทำให้เงินต่อหน่วยลดลงในช่วงปลายปี
สำหรับ ต้นทุนในกลุ่มโรคนี้ที่มีการสะท้อนจากหน่วยบริการสังกัดต่างๆ คือ รพ.ของรัฐต้นทุนอยู่ที่ 13,800 ต่อAdjusted RW ส่วนรพ.ของโรงเรียนแพทย์ อยู่ที่ ราว 30,000 บาท ต่อAdjusted RW ขณะที่รพ.เอกชน แต่ละเครือข่ายจะไม่เหมือนกัน โดยอัตราจ่ายให้ 15,000 บาท ยังขาดทุนบางรายการ
“ปกติวิธีการของประกันสังคมจะใช้อัตราต้นทุนของรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ซึ่งต่ำ และใช้อัตราของรพ.สังกัดมหาวิทยาลัยซึ่งสูง จะไม่ค่อยเอาตัวเลขของเอกชน วันนี้จึงได้แจ้งไปว่าหากอยู่ดูต้นทุนที่แท้จริงของรพ.เอกชนก็แจ้งมาได้ ทั้งนี้ เบื้องต้นสมาคมรพ.เอกชนก็อยากได้ฐานอัตราที่ 15,000 บาท รพ.ใหญ่จะแย่”นพ.เฉลิมกล่าว
ถามถึงกรณีที่นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงานออกมาระบุว่า จะให้ที่อัตรา 12,000 บาทต่อAdjusted RWการันตีได้อัตรานี้ตลอดปี นพ.เฉลิม กล่าวว่า ประกันสังคมรับรู้แล้วสิ่งที่จ่ายจะเป็นเช่นนี้ไม่ได้ พยายามไปดูต้นทุนกลุ่มโรคดีอาร์จี มากกว่า 2ในรพ.สังกัดต่างๆ ซึ่งล้วนเกิน 12,000 บาททั้งสิ้น และในหมวดอื่นๆบางรายก็ไม่มีการปรับอัตราจ่ายมา 4-5 ปี อย่างเช่น 26 โรคเรื้อรัง แต่กลับบอกว่าอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ (Medical Inflation)มีทุกปี ซึ่งประกันสังคมก็ยอมรับความเป็นจริงในเรื่องนี้ และมีการนำเสนอทางเลือกว่าจะปรับค่าหัวโรคค่าใช่จ่ายสูงที่มีดีอาร์จีมากกว่า 2 เดิมที่ 746 บาท แล้วจะปรับขึ้น 800 , 900 บาท เป็นต้น
“ฝ่ายต่างๆเข้าใจแล้วว่าจ่ายอัตรา 7,200 บาทเป็นไปไม่ได้ อัตรา 12,000 บาทยังแทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งประกันสังคมจะเพิ่มให้มากกว่านี้หรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะต้องไปดูวงเงินของประกันสังคมด้วย แต่ส่วนนี้อยู่นอกเหนืออำนาจของคู่สัญญา จะขึ้นกับผู้บริหารกองทุนประกันสังคมกับกระทรวงมากกว่า”นพ.เฉลิมกล่าว
นพ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า จะมีการนัดประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 29 ต.ค.2567 จะลงลึกในอัตราค่าบริการแต่ละหมวด เช่น 26 โรคเรื้อรังที่จะต้องปรับเพราะคนเป็นกันมากขึ้น ซึ่งประกันสังคมจะต้องไปหาวิธี แต่จะเน้นไปที่ค่าโรคดีอาร์จีมากกว่า 2 และประชุมครั้งที่ 3 จะเป็นครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปผลว่าจะมีการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่รพ.เอกชนจะมีการเซ็นสัญญาเป็นคู่สัญญาประกันสังคมรอบใหม่ในปี 2568 แน่นอน
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/health/labour/1149539