ข้อสอบ HiPPS ของสำนักงาน ก.พ ยากไหม

รบกวนขอความรู้จากผู้มีประสบการณ์ที่เคยสอบหรือเคยร่วมโครงการ HiPPS หรือระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ของสำนักงาน ก.พ ว่า
ข้อสอบ แบบประเมินสมรรถนะหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 
- ยากไหม
- แตกต่างจาก ภาคก. หรือไม่ อย่างไร
- ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ข้อสอบจะเหมือน ป โท ของ กพ ครับ แต่ภาคอังกฤษจะยากกว่า คนจบนอกมาจะสบายมาก ให้เวลาทำเหมือนสอบ กพ ทั่วไป


องค์ประกอบของแบบทดสอบ
แบบทดสอบความสามารถทั่วไปเชิงวิชาการ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่วัดความสามารถพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 3 องค์ประกอบ ดังนี้
​1) ความสามารถด้านการคำนวณ (Numerical Ability) เป็นการวัดความสามารถในการใช้ทักษะการคำนวณในระดับพื้นฐาน (Basic Operation) เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การยกกำลัง ฯลฯ เพื่อคำนวณหาความสัมพันธ์ของจำนวนและปริมาณ ความแตกต่างเชิงปริมาณ รวมทั้ง การแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์เพื่อทดสอบความสามารถในการเข้าใจ และความสามารถในการคำนวณเพื่อแก้ปัญหาเชิงตัวเลขได้
​การวัดความสามารถด้านการคำนวณนี้ จึงเป็นการวัดความสามารถที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน 2 ประการ ได้แก่
(1.1) ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เป็นความสามารถในการแยกแยะข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่กำหนดให้โดยใช้โจทย์รูปแบบต่างๆ เช่น ตัวเลข ตาราง กราฟ แผนภูมิ ฯลฯ
(1.2) ความสามารถในการคิดรวบยอด เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจ เห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลข และสามารถหาข้อสรุปเพื่อแก้ปัญหาเชิงตัวเลขได้ โดยกำหนดเป็นโจทย์รูปแบบต่าง ๆ เช่น อนุกรมตัวเลข โจทย์คณิตศาสตร์ เป็นต้น

2) ความสามารถด้านภาษา (Verbal Ability) เป็นการวัดความสามารถที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจทางภาษาและการใช้ภาษาไทย เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการถ่ายทอดให้ถูกต้องในฐานะเจ้าของภาษาและเพื่อการปฏิบัติงาน โดยวัดการเข้าใจความหมายของคำ การเลือกใช้คำได้ถูกต้อง การแปลความ การตีความจับประเด็นสำคัญจากการอ่านข้อความ บทความ ตลอดจนสามารถเข้าใจแนวคิดที่แสดงในรูปของภาษา รวมทั้งการประเมินค่าสิ่งที่ได้จากการอ่าน
การวัดความสามารถด้านภาษานี้ เป็นความสามารถที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในภาคราชการเป็นอย่างยิ่ง โดยผู้ปฏิบัติในภาคราชการทุกระดับ จะต้องเป็นผู้มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียนเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติราชการให้เกิดผล

3) ความสามารถด้านการใช้เหตุผล (Reasoning Ability) เป็นการวัดความสามารถในการใช้วิจารณญาณ หรือการใช้เหตุผล เพื่อการวินิจฉัย และสรุปข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถค้นหาความสัมพันธ์ ระบบความสัมพันธ์ การค้นหาเหตุ รวมทั้งการอ้างสรุปที่สมเหตุสมผล
ความสามารถด้านการใช้เหตุผลนี้ ถือเป็นความสามารถที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภทโดยเป็นความสามารถที่จะช่วยกำกับการปฏิบัติงานของบุคคลให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

       ภาษาอังกฤษ CU-TEP เป็นข้อสอบที่สร้างขึ้นเพื่อวัดทักษะและองค์ประกอบของภาษา มีจำนวนทั้งหมด 120 ข้อ คะแนนเต็ม 120 คะแนน ใช้เวลาในการสอบประมาณ 2 ชั่วโมง ทักษะและองค์ประกอบที่ประเมิน ได้แก่
1) ทักษะการฟัง (Listening Comprehension) มี 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที เป็นข้อสอบปรนัย ใช้วัดความสามารถในการฟังบทสนทนา การสัมภาษณ์ และการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ โดยจับใจความหลัก รายละเอียด การตีความ การสรุป เนื้อหาเป็นเรื่องใกล้ ๆ ตัว เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน และการศึกษา มีเนื้อหาครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การประกาศ หรือโฆษณา (Announcements) ข่าวสั้น (Brief News) สนทนา (Dialogues) สัมภาษณ์ (Interviews) เป็นต้น
2) ทักษะการอ่าน (Reading comprehension) มี 60 ข้อ ใช้เวลา 70 นาที เป็นข้อสอบปรนัย ใช้วัดการอ่านความเข้าใจ การเดาความหมายจากบริบท (Context) การจับใจควาหลัก ใจความสำคัญ การสรุป การวิเคราห์ และการตีความ มีเนื้อหาเป็นบทความทั่วไปเชิงวิชาการประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ เช่น Cloze Test/Long Passages/Letters/Short Passages/Advertisement เป็นต้น
3) ทักษะการเขียน (Writing) มี 30 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที เป็นข้อสอบปรนัย ใช้วัดความรู้ทางไวยกรณ์โดยให้ผู้สอบระบุข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ในระดับประโยค เนื้อหาเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่