Wuzhi Audio ZK-HT21 ตัวนี้เป็น Gen1 ผมซื้อมานานน่าจะ 3 ปีแล้ว ราคาตอนนั้นประมาณ 1500 บาท ซื้อมาก็ไม่ได้เอามาฟังเป็นเครื่องเสียงหลักแต่เอามาจัดงานปาร์ตี้ในเทศกาลต่างๆ ปีละไม่กี่ครั้ง เมื่อเดือนที่แล้วเครื่องเสียงมินิคอมโป Sony ผมพังก็เลยเอาตัวนี้มาฟังแบบจริงจังพบว่าเสียงมันห่วยกว่า Sony มาก เสียงแข็งกระด้างฟังไม่นานล้าหูก็ต้องปิด พอมีวันหยุดยาวก็เลยมาวิเคราะห์วงจรของมันพบว่าอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในขั้นมาตรฐานไม่ต่างจากยี่ห้ออื่นที่นักเล่นเครื่องเสียงชมแต่ทำไมตัวนี้เสียงไม่ดี? แสดงว่ามันยังมีบางจุดที่ไม่ได้มาตรฐานของเครื่องเสียงชั้นดีถ้ามีการปรับแก้ให้เหมาะสมก็จะได้เสียงที่ดีเหมือนรุ่นที่นักวิจารณ์ชม
ผมก็เลยจัดการโมดิฟายด์ดังนี้
1. เสียงเบสเดิมที่แข็งลงได้ไม่ลึก ผมเปลี่ยน C90 ซึ่งทำหน้าที่ป้อนกลับความถี่ของภาคซับวูฟเฟอร์ เมื่อเพิ่มค่าความจุสัญญาณจะถูกป้อนกลับมากขึ้น ความถี่ก็จะต่ำลง จากการทดสอบหลายค่ามาลงตัวที่ 0.44uF เป็นเสียงที่ผมชอบที่สุด หากใช้ค่ามากกว่านี้เสียงจะต่ำลึกมากขึ้นแต่ความดังจะลดลงค่า 0.44uF-0.47uF เป็นค่าที่ลงตัว
2. เพิ่มตัวเก็บประจุไปแคปภาคคัปปลิ้งสัญญาณให้กับออปแอมป์ที่ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ ตัวเก็บประจุเดิมเป็นชนิดเซรามิคแบบชิพซึ่งตอบสนองความถี่ได้ยอดเยี่ยมอยู่แล้วแต่ C เซรามิคเมื่อนำมาใช้คัปปลิ้งจะให้เสียงบาง+แข็งกระด้าง ผมจึงใช้ C แบบฟิล์มค่า 220nF ตัวเก็บประจุน้อยๆ ถูกต่อขนานเข้าไปกับตัวเดิมเพื่อหวังผลให้เสียงย่านความถี่กลาง-แหลมให้หนานุ่มและอบอุ่นขึ้น
3. เพิ่มแรงดันให้ออปแอมป์ เดิมเขาใช้ 12V โดยออกแบบให้ออปแอมป์ซึ่งปกติใช้ไฟเลี้ยงคู่มาใช้ไฟเลี้ยงเดี่ยวแต่ใช้แรงดันต่ำเกินไปทำให้ออปแอมป์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ในเครื่องเสียงหรือมิกเซอร์ทั้งหลายเขาจะใช้แรงดัน 24V-30V จึงจะได้น้ำเสียงที่ดี น่าฟัง ผมจึงจัดการเจาะแผ่นปริ๊นแล้วตัดลายวงจรที่ต่อไปยังชุดออปแอมป์ออกแล้วใช้ IC Regulator 7824 ซึ่งจ่ายแรงดัน 24V แนะนำว่าตัวนี้ให้ใช้ IC ตัวใหญ่ปกติอย่าใช้ IC แบบ SMD เพราะเมื่อแรงดันมากขึ้นกระแสก็จะไหลมากขึ้นหากใช้ตัวเล็กจะร้อนจัดไม่ทนทาน อีกอย่างคือไม่ต้องเอา IC Regulator ตัวเดิมเบอร์ 78M12 ออกตัวนี้ยังใช้ทำหน้าที่ลดแรงดันให้ IC Regulator 78M05 ของภาครับ Bluetooth เมื่อยัด IC Regulator 7824 ออปแอมป์ได้แรงดันไฟเลี้ยงที่เหมาะสมก็ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ เสียงดีขึ้นผิดหู ความต่อเนื่องความลื่นไหลของเสียงมิติเวทีมาครบฟังได้ทั้งวันไม่ล้าหู เสียงของออปแอมป์เบอร์ 5532 นี้ไม่ธรรมดาเลยนี่คือเหตุผลว่าทำไมเครื่องเสียงยี่ห้อดังราคาแพงยังเลือกใช้ออปแอมป์เบอร์นี้
4. ใช้ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มต่อไบแคปภาคจ่ายไฟทุกจุดเพื่อลดค่าอิมพีแดนซ์ความถี่สูงลงจะได้เสียงที่เงียบสงัดปราศจากสัญญาณรบกวน จุดที่ต่อไบแคปมีทั้งหมด 8 จุด โดยขนานเข้ากับตัวเก็บประจุเดิมทั้งไฟหลักและไฟที่ผ่าน IC Regulator ทุกตัว ตัวใหญ่สุดเป็นแบบไมล่า ค่า 8.2uF ตัวนี้ผมหวังผลให้เสียงกลางแหลมกระฉับกระเฉงเนื่องจากความเร็วในการทำงานของตัวเก็บประจุไมล่าหรือแบบฟิล์มต่างๆ จะเร็วกว่าแบบอิเล็กโทรไลต์หลายเท่าเมื่อจ่ายพลังงานได้เร็วเสียงก็จะรวดเร็วกระฉับกระเฉงตามมา นอกจากนี้ยังถอดคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อไฟเลี้ยงออกแล้วบัดกรีสายไฟเข้าไปแทนเพื่อให้กระแสไหลสะดวกยิ่งขึ้น
5. เพิ่มเสาอากาศให้ภาครับสัญญาณ Bluetooth ผมใช้สายไฟเล็กขดเป็นเกลียวแล้วบัดกรีเข้าไปที่จุดเชื่อมต่อเสาอากาศบนแผ่นปริ๊นจากนั้นทดสอบระยะรับโดยการยึดเข้า ออก เมื่อได้ระยะทางที่พอใจก็ใช้ท่อหดสวมเข้าไปแล้วลนไฟรัดติดกาวที่ตำแหน่งเดิม
6. ปรับปรุงภาคจ่ายไฟเดิมผมใช้ PSU คอมพิวเตอร์ต่อไฟ 12V เข้า DC Step-up เป็น 35V ซึ่งเป็นภาคจ่ายไฟแบบสวิชชิ่งมาเป็นแบบลิเนียร์โดยใช้หม้อแปลงเทอรอยด์ 28V เมื่อเรียงกระแสแล้วได้แรงดันเกือบ 40V จึงใช้ DC Step down ลดเป็น 35V พบว่าได้เสียงที่มีรายละเอียดดีขึ้น เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็จับยัดลงกล่อง ในรูปผมใช้กล่องคอนโทรลกล่องควบคุมซับเมอร์สซึ่งเสียแล้วมาใช้ลงตัวพอดีไม่ต้องซื้อ
หลังจากฟังทดสอบแล้วเห็นว่าเสียงของเจ้า Wuzhi Audio ZK-HT21 ที่ผ่านการโมดิฟายด์มาแล้วนี้เสียงดีกว่ามินิคอมโป Sony เสียอีก อาจเป็นเพราะตัวนี้ใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ที่พัฒนาต่อยอดมาจากยุคก่อนจึงได้เสียงที่ดีกว่าแม้จะเป็นวงจรขยายคลาส D เสียงก็ดีกว่าคลาส AB ยุคเก่า
โชว์ผลงานวันหยุดโมดิฟายด์ Wuzhi Audio ZK-HT21 ครับ
ผมก็เลยจัดการโมดิฟายด์ดังนี้
1. เสียงเบสเดิมที่แข็งลงได้ไม่ลึก ผมเปลี่ยน C90 ซึ่งทำหน้าที่ป้อนกลับความถี่ของภาคซับวูฟเฟอร์ เมื่อเพิ่มค่าความจุสัญญาณจะถูกป้อนกลับมากขึ้น ความถี่ก็จะต่ำลง จากการทดสอบหลายค่ามาลงตัวที่ 0.44uF เป็นเสียงที่ผมชอบที่สุด หากใช้ค่ามากกว่านี้เสียงจะต่ำลึกมากขึ้นแต่ความดังจะลดลงค่า 0.44uF-0.47uF เป็นค่าที่ลงตัว
2. เพิ่มตัวเก็บประจุไปแคปภาคคัปปลิ้งสัญญาณให้กับออปแอมป์ที่ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ ตัวเก็บประจุเดิมเป็นชนิดเซรามิคแบบชิพซึ่งตอบสนองความถี่ได้ยอดเยี่ยมอยู่แล้วแต่ C เซรามิคเมื่อนำมาใช้คัปปลิ้งจะให้เสียงบาง+แข็งกระด้าง ผมจึงใช้ C แบบฟิล์มค่า 220nF ตัวเก็บประจุน้อยๆ ถูกต่อขนานเข้าไปกับตัวเดิมเพื่อหวังผลให้เสียงย่านความถี่กลาง-แหลมให้หนานุ่มและอบอุ่นขึ้น
3. เพิ่มแรงดันให้ออปแอมป์ เดิมเขาใช้ 12V โดยออกแบบให้ออปแอมป์ซึ่งปกติใช้ไฟเลี้ยงคู่มาใช้ไฟเลี้ยงเดี่ยวแต่ใช้แรงดันต่ำเกินไปทำให้ออปแอมป์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ในเครื่องเสียงหรือมิกเซอร์ทั้งหลายเขาจะใช้แรงดัน 24V-30V จึงจะได้น้ำเสียงที่ดี น่าฟัง ผมจึงจัดการเจาะแผ่นปริ๊นแล้วตัดลายวงจรที่ต่อไปยังชุดออปแอมป์ออกแล้วใช้ IC Regulator 7824 ซึ่งจ่ายแรงดัน 24V แนะนำว่าตัวนี้ให้ใช้ IC ตัวใหญ่ปกติอย่าใช้ IC แบบ SMD เพราะเมื่อแรงดันมากขึ้นกระแสก็จะไหลมากขึ้นหากใช้ตัวเล็กจะร้อนจัดไม่ทนทาน อีกอย่างคือไม่ต้องเอา IC Regulator ตัวเดิมเบอร์ 78M12 ออกตัวนี้ยังใช้ทำหน้าที่ลดแรงดันให้ IC Regulator 78M05 ของภาครับ Bluetooth เมื่อยัด IC Regulator 7824 ออปแอมป์ได้แรงดันไฟเลี้ยงที่เหมาะสมก็ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ เสียงดีขึ้นผิดหู ความต่อเนื่องความลื่นไหลของเสียงมิติเวทีมาครบฟังได้ทั้งวันไม่ล้าหู เสียงของออปแอมป์เบอร์ 5532 นี้ไม่ธรรมดาเลยนี่คือเหตุผลว่าทำไมเครื่องเสียงยี่ห้อดังราคาแพงยังเลือกใช้ออปแอมป์เบอร์นี้
4. ใช้ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มต่อไบแคปภาคจ่ายไฟทุกจุดเพื่อลดค่าอิมพีแดนซ์ความถี่สูงลงจะได้เสียงที่เงียบสงัดปราศจากสัญญาณรบกวน จุดที่ต่อไบแคปมีทั้งหมด 8 จุด โดยขนานเข้ากับตัวเก็บประจุเดิมทั้งไฟหลักและไฟที่ผ่าน IC Regulator ทุกตัว ตัวใหญ่สุดเป็นแบบไมล่า ค่า 8.2uF ตัวนี้ผมหวังผลให้เสียงกลางแหลมกระฉับกระเฉงเนื่องจากความเร็วในการทำงานของตัวเก็บประจุไมล่าหรือแบบฟิล์มต่างๆ จะเร็วกว่าแบบอิเล็กโทรไลต์หลายเท่าเมื่อจ่ายพลังงานได้เร็วเสียงก็จะรวดเร็วกระฉับกระเฉงตามมา นอกจากนี้ยังถอดคอนเน็กเตอร์สำหรับต่อไฟเลี้ยงออกแล้วบัดกรีสายไฟเข้าไปแทนเพื่อให้กระแสไหลสะดวกยิ่งขึ้น
5. เพิ่มเสาอากาศให้ภาครับสัญญาณ Bluetooth ผมใช้สายไฟเล็กขดเป็นเกลียวแล้วบัดกรีเข้าไปที่จุดเชื่อมต่อเสาอากาศบนแผ่นปริ๊นจากนั้นทดสอบระยะรับโดยการยึดเข้า ออก เมื่อได้ระยะทางที่พอใจก็ใช้ท่อหดสวมเข้าไปแล้วลนไฟรัดติดกาวที่ตำแหน่งเดิม
6. ปรับปรุงภาคจ่ายไฟเดิมผมใช้ PSU คอมพิวเตอร์ต่อไฟ 12V เข้า DC Step-up เป็น 35V ซึ่งเป็นภาคจ่ายไฟแบบสวิชชิ่งมาเป็นแบบลิเนียร์โดยใช้หม้อแปลงเทอรอยด์ 28V เมื่อเรียงกระแสแล้วได้แรงดันเกือบ 40V จึงใช้ DC Step down ลดเป็น 35V พบว่าได้เสียงที่มีรายละเอียดดีขึ้น เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็จับยัดลงกล่อง ในรูปผมใช้กล่องคอนโทรลกล่องควบคุมซับเมอร์สซึ่งเสียแล้วมาใช้ลงตัวพอดีไม่ต้องซื้อ
หลังจากฟังทดสอบแล้วเห็นว่าเสียงของเจ้า Wuzhi Audio ZK-HT21 ที่ผ่านการโมดิฟายด์มาแล้วนี้เสียงดีกว่ามินิคอมโป Sony เสียอีก อาจเป็นเพราะตัวนี้ใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ที่พัฒนาต่อยอดมาจากยุคก่อนจึงได้เสียงที่ดีกว่าแม้จะเป็นวงจรขยายคลาส D เสียงก็ดีกว่าคลาส AB ยุคเก่า