หลังจากเป็นเสือนอนกินมานาน
ตลาดรถยนต์นั่งขนาดใหญ่คึกคัก หลังโตโยต้า ฮึดส่ง คัมรีใหม่ ทวงคืนยอดขาย หวังดันตัวเลขทะลุ 1,000 คันต่อเดือน ชี้ปล่อย EV จีนกวาดยอดชิงเค้ก 1.5 หมื่นคันมาพักใหญ่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย. 2567) พบว่า รถยนต์กลุ่มดี-เซ็กเมนต์ หรือรถเก๋งขนาดใหญ่ มียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 10,497 คัน แบ่งเป็น บีวายดี ซีล มียอดสูงสุด 4,673 คัน ตามมาด้วย ดีพอล เอส 07 จำนวน 598 คัน, ฮอนด้า แอคคอร์ด 2,532 คัน, โตโยต้า คัมรี 1,970 คัน และโอร่า 07 จำนวน 724 คัน
สำหรับความต้องการรถยนต์ในกลุ่มนี้เฉลี่ยอยู่ราว ๆ 13,000-15,000 คันต่อปี เดิมความนิยมของตลาดนี้จะเป็นกลุ่มรถยนต์นั่งสัญชาติญี่ปุ่นที่ 2 ค่ายครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% แต่หลังจากค่ายรถจีนเข้ามาทำตลาด ด้วยการนำเสนอพลังงานทางเลือกใหม่ ซึ่งเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งราคาจำหน่ายที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้ความต้องการของตลาดเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นเจ้าตลาดยังต้องแข่งขันกับกลุ่มรถยนต์หรูจากยุโรป เพราะหากเทียบด้วยราคาขยับขึ้นไปอีกนิดหน่อย ลูกค้าก็สามารถเข้าถึงรถหรูระดับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอ-คลาส ที่วันนี้ราคาเริ่มต้นอยู่ 1.9 ล้านปลาย ๆ
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (Toyota) เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาว่า ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และการไม่อนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง ๆ ทำให้ยอดขายรถยนต์โดยรวมอาจจะต่ำกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 8 แสนคัน ซึ่งคาดว่าอาจจะอยู่ในระดับใกล้เคียง 600,000 คัน
“ปีนี้ถือเป็นปีที่ท้าทายอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เนื่องจากยอดขาย 8 เดือนที่ผ่านมามียอดสะสมแค่ 400,000 คัน ขณะที่ตัวเลขยอดขายในแต่ละเดือนที่ผ่านมา และ
ตัวเลขยอดขายของเดือนกันยายนที่มียอดขายโดยรวมไม่ถึง 40,000 คัน และถือเป็นยอดขายต่ำสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา นับเป็นตัวเลขยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี”
สำหรับปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์โดยรวมนั้น เป็นผลมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และหนี้สินครัวเรือน และการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงิน แม้ก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่ารถยนต์ไฟฟ้า 100% จะเข้ามาเพิ่มยอดขายในตลาด แต่ตัวเลขยอดขายไม่ได้เติบโตตามที่มีการคาดการณ์ สัดส่วนยังคงอยู่ที่ 13-14% ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ขณะที่มีค่ายรถ EV เข้ามาเพิ่มเป็นจำนวนมาก
“วันนี้ถ้ามองโลกแง่ดีหน่อย ตัวเลข 6 แสนคันก็ถือใกล้เคียง แต่ถ้ามองร้าย ๆ หน่อยเหนื่อยแน่นอน เพราะเวลาที่เหลือต้องหามาตรการมากระตุ้น โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของรัฐบาล และการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากผู้ประกอบการหลายค่าย ซึ่งจะช่วยสร้างสีสันและความคึกคักให้กับตลาด” นายศุภกรกล่าว
ส่วนยอดขายโตโยต้าในปีนี้คาดว่าจะจบที่ 200,000 คัน จากเมื่อต้นปีตั้งเป้าไว้ 280,000 คัน ซึ่งโตโยต้าจะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ที่ระดับ 36% ไว้ได้เหนียวแน่น จากปัจจุบันที่แม้ยอดขายโตโยต้าจะลดลง แต่ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเกือบถึง 40% แล้ว และหลัก ๆ เป็นการเติบโตมาจากรถยนต์กลุ่มไฮบริดเป็นหลัก
ขณะที่ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้นยังไม่กระทบกับยอดขายมากนัก แต่มีลูกค้าบางรายที่ชะลอการรับรถเพื่อรอให้สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายไปก่อน ซึ่งโตโยต้าได้เตรียมส่งทีมช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญไปให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่รถยนต์ถูกน้ำท่วม เพียงแต่รอให้น้ำลดก็จะสามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าได้ทันที
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวรถยนต์นั่งขนาดกลาง โตโยต้า คัมรีใหม่ ออกสู่ตลาด พร้อมปรับไลน์ผลิตภัณฑ์เหลือเพียงรุ่นไฮบริดเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากความต้องการใช้เครื่องยนต์สันดาปเพียงอย่างเดียวลดลงไปค่อนข้างมาก อีกทั้งสัดส่วนความต้องการของไฮบริดนั้นสามารถจับต้องและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
โตโยต้าตั้งเป้าว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์กลุ่มนี้ให้กลับไปอยู่ในระดับ 50-60% ของยอดขายรถดี-เซ็กเมนต์หรือราว ๆ 1 หมื่นคัน โดยช่วงแรกของการเปิดตัวจะมียอดขายไม่น้อยกว่า 1,000 คันต่อเดือน และหลังจากเปิดรับจองล่วงหน้าไปตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามียอดขายไปแล้วกว่า 1,000 คัน สำหรับการแข่งขันในตลาดดี-เซ็กเมนต์ถือว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง และยอมรับว่าที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัจจุบันมีค่ายรถยนต์จากจีนเข้ามาแข่งขันด้วย ทำให้ส่วนแบ่งในตลาดหายไปพอสมควร...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/motoring/news-1672810
“โตโยต้า” ท้อขายทั้งปีแค่ 2 แสน ส่ง “คัมรี” ใหม่กวาดแชร์เพิ่มหมื่นคันต่อปี
ตลาดรถยนต์นั่งขนาดใหญ่คึกคัก หลังโตโยต้า ฮึดส่ง คัมรีใหม่ ทวงคืนยอดขาย หวังดันตัวเลขทะลุ 1,000 คันต่อเดือน ชี้ปล่อย EV จีนกวาดยอดชิงเค้ก 1.5 หมื่นคันมาพักใหญ่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ย. 2567) พบว่า รถยนต์กลุ่มดี-เซ็กเมนต์ หรือรถเก๋งขนาดใหญ่ มียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 10,497 คัน แบ่งเป็น บีวายดี ซีล มียอดสูงสุด 4,673 คัน ตามมาด้วย ดีพอล เอส 07 จำนวน 598 คัน, ฮอนด้า แอคคอร์ด 2,532 คัน, โตโยต้า คัมรี 1,970 คัน และโอร่า 07 จำนวน 724 คัน
สำหรับความต้องการรถยนต์ในกลุ่มนี้เฉลี่ยอยู่ราว ๆ 13,000-15,000 คันต่อปี เดิมความนิยมของตลาดนี้จะเป็นกลุ่มรถยนต์นั่งสัญชาติญี่ปุ่นที่ 2 ค่ายครองส่วนแบ่งตลาดเกือบ 80% แต่หลังจากค่ายรถจีนเข้ามาทำตลาด ด้วยการนำเสนอพลังงานทางเลือกใหม่ ซึ่งเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งราคาจำหน่ายที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทำให้ความต้องการของตลาดเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตาม ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นเจ้าตลาดยังต้องแข่งขันกับกลุ่มรถยนต์หรูจากยุโรป เพราะหากเทียบด้วยราคาขยับขึ้นไปอีกนิดหน่อย ลูกค้าก็สามารถเข้าถึงรถหรูระดับเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอ-คลาส ที่วันนี้ราคาเริ่มต้นอยู่ 1.9 ล้านปลาย ๆ
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย (Toyota) เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาว่า ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และการไม่อนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง ๆ ทำให้ยอดขายรถยนต์โดยรวมอาจจะต่ำกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี 8 แสนคัน ซึ่งคาดว่าอาจจะอยู่ในระดับใกล้เคียง 600,000 คัน
“ปีนี้ถือเป็นปีที่ท้าทายอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เนื่องจากยอดขาย 8 เดือนที่ผ่านมามียอดสะสมแค่ 400,000 คัน ขณะที่ตัวเลขยอดขายในแต่ละเดือนที่ผ่านมา และตัวเลขยอดขายของเดือนกันยายนที่มียอดขายโดยรวมไม่ถึง 40,000 คัน และถือเป็นยอดขายต่ำสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา นับเป็นตัวเลขยอดขายรถยนต์โดยรวมที่ต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี”
สำหรับปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์โดยรวมนั้น เป็นผลมาจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และหนี้สินครัวเรือน และการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงิน แม้ก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่ารถยนต์ไฟฟ้า 100% จะเข้ามาเพิ่มยอดขายในตลาด แต่ตัวเลขยอดขายไม่ได้เติบโตตามที่มีการคาดการณ์ สัดส่วนยังคงอยู่ที่ 13-14% ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ขณะที่มีค่ายรถ EV เข้ามาเพิ่มเป็นจำนวนมาก
“วันนี้ถ้ามองโลกแง่ดีหน่อย ตัวเลข 6 แสนคันก็ถือใกล้เคียง แต่ถ้ามองร้าย ๆ หน่อยเหนื่อยแน่นอน เพราะเวลาที่เหลือต้องหามาตรการมากระตุ้น โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของรัฐบาล และการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากผู้ประกอบการหลายค่าย ซึ่งจะช่วยสร้างสีสันและความคึกคักให้กับตลาด” นายศุภกรกล่าว
ส่วนยอดขายโตโยต้าในปีนี้คาดว่าจะจบที่ 200,000 คัน จากเมื่อต้นปีตั้งเป้าไว้ 280,000 คัน ซึ่งโตโยต้าจะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ที่ระดับ 36% ไว้ได้เหนียวแน่น จากปัจจุบันที่แม้ยอดขายโตโยต้าจะลดลง แต่ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเกือบถึง 40% แล้ว และหลัก ๆ เป็นการเติบโตมาจากรถยนต์กลุ่มไฮบริดเป็นหลัก
ขณะที่ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้นยังไม่กระทบกับยอดขายมากนัก แต่มีลูกค้าบางรายที่ชะลอการรับรถเพื่อรอให้สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายไปก่อน ซึ่งโตโยต้าได้เตรียมส่งทีมช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญไปให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่รถยนต์ถูกน้ำท่วม เพียงแต่รอให้น้ำลดก็จะสามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือลูกค้าได้ทันที
ล่าสุดบริษัทได้เปิดตัวรถยนต์นั่งขนาดกลาง โตโยต้า คัมรีใหม่ ออกสู่ตลาด พร้อมปรับไลน์ผลิตภัณฑ์เหลือเพียงรุ่นไฮบริดเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากความต้องการใช้เครื่องยนต์สันดาปเพียงอย่างเดียวลดลงไปค่อนข้างมาก อีกทั้งสัดส่วนความต้องการของไฮบริดนั้นสามารถจับต้องและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
โตโยต้าตั้งเป้าว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์กลุ่มนี้ให้กลับไปอยู่ในระดับ 50-60% ของยอดขายรถดี-เซ็กเมนต์หรือราว ๆ 1 หมื่นคัน โดยช่วงแรกของการเปิดตัวจะมียอดขายไม่น้อยกว่า 1,000 คันต่อเดือน และหลังจากเปิดรับจองล่วงหน้าไปตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามียอดขายไปแล้วกว่า 1,000 คัน สำหรับการแข่งขันในตลาดดี-เซ็กเมนต์ถือว่าเป็นตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง และยอมรับว่าที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัจจุบันมีค่ายรถยนต์จากจีนเข้ามาแข่งขันด้วย ทำให้ส่วนแบ่งในตลาดหายไปพอสมควร...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/motoring/news-1672810