เวลาที่มีประเด็นเสียๆ หายๆ เกี่ยวกับเรื่องหมอดู คำว่า “เดรัจฉานวิชา” มักจะถูกยกขึ้นมาปรามาสศาสตร์การทำนายทายทักต่างๆ โดยหมายให้เห็นว่าเป็นของต่ำ ของแสลง สิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ที่คนดีๆ ไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
ถ้อยกระบวนคำแบบนี้ ถ้าออกจากปากชาวบ้านร้านตลาด ก็ยังพอเข้าใจ เพราะเดิมทีคำเดรัจฉานนั้น ยืมมาจากภาษาบาลีว่า ติรจฺฉาน หมายถึงสัตว์ที่เคลื่อนที่ไปในแนวขวาง กล่าวคือ ขณะที่เคลื่อนที่ไปนั้น ลำตัวไม่ได้ตั้งตรงอย่างมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพียงใช้จำแนกประเภทของสัตว์โลก
ทว่าในเชิงของภาษาไทยนั้น คำว่าสัตว์เดรัจฉานยังถูกตีความเพิ่มเติมว่าต่ำกว่ามนุษย์ มีพฤติกรรมต่ำช้า ไร้อารยธรรม พอกล่าวถึงเดรัจฉานวิชา ความหมายอย่างที่เข้าใจกันจึงถูกนำมาผสมปนเป ยิ่งเมื่อผนวกกับอคติของคนบางกลุ่มบางจำพวก ก็ยิ่งถูกใส่สีตีไข่จนกลายเป็นของไม่ดี ต่ำช้ำ ชั่วร้ายไปเสียอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งที่ผู้กล่าวถึง “เดรัจฉานวิชา” ว่าเป็นไปในทางอบายนั้น เป็นผู้ที่อวดอ้างตัวว่า “รู้ธรรม” ฟังแล้วก็ยังอดใจหายไม่ได้ เพราะผู้ใดก็ตามที่รู้ธรรมจริงๆ ย่อมต้องรู้ว่า “เดรัจฉานวิชา” ที่กล่าวถึงในทางธรรมนั้น มีความหมายเพียงแค่ วิชาหรือองค์ความรู้ที่ “กีดขวาง” การบรรลุธรรม และท่านก็กล่าวห้ามสำหรับพระภิกษุไม่ให้ใช้หากิน (เลี้ยงชีพ) ไม่ได้หมายรวมถึงคนทั่วไป
ดังนั้นผู้ที่อวดว่ารู้ธรรม หากกล่าวถึง “เดรัจฉานวิชา” โดยไม่อรรถาธิบายถึงความหมายโดยเนื้อแท้ ถ้าไม่รู้จริงๆ ท่านก็คงเข้าใจไปเองว่าตัวเองรู้ธรรม แต่ถ้ารู้ แต่พูดไม่กระจ่าง แม้จะรู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจนั้น ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเข้าเกณฑ์ว่าด่างพร้อยในข้อ “มุสา” หรือไม่
อันวิชาการทำนายทายทักนั้นแม้ไม่สามารถช่วยดับทุกข์ แต่ก็ยังมีคุณในการบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข แม้นจะเป็นการแก้ไขเพียง “ขายผ้าเอาหน้ารอด” แก้ได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ก็ยังพอมีส่วนช่วยบำรุงบำเรอกิเลสของปุถุชนได้บ้างสักมากน้อย
ผมขออุปมาให้ความทุกข์เป็นดั่งโรคเบาหวาน ส่วนธรรมะหรือทางพ้นทุกข์ นั้นก็ง่ายๆ แค่งดน้ำตาล น้ำหวาน คาร์โบไฮเดรต ปรับพฤติกรรมการกินอยู่ให้คลีน ให้เฮลตี้ เหมือนที่พระท่านว่า “เมื่อวางสุขลง ความทุกข์ก็จะหายไปด้วย” เท่านี้ อาการเบาหวานก็จะค่อยทุเลา จนถึงระดับที่คุมอยู่ หรือเกือบหายขาด
ทว่าก็ยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่เลือกใช้วิธีการแบบ “เดรัจฉานวิชา” คือ การกินยากดเบาหวานเอาไว้ เพื่อให้ตัวเองสามารถ “มีความสุข” กับการบริโภคของชอบ ของอร่อย ของโปรด ได้ต่อไป ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ใช่วิธีการที่ถูก ทั้งเสียเงิน แล้วยังเสี่ยงต่อสุขภาพอีก
ก็อย่างที่ว่า เมื่อยังคิดเป็นปุถุชน ก็อย่าได้กลัวเดรัจฉานวิชาเลย ชีวิตที่เวียนว่ายอยู่ในกองกิเลสมันก็เป็นแบบนี้
แล้วในวันข้างหน้า ถ้าท่านเจอใครที่กล่าวปรามาสวิชาทำนายทายทักต่างๆ ว่าเป็น “เดรัจฉานวิชา” ก็ขอให้ช่วยกันอนุโมทนาบุญให้ท่านเหล่านั้นได้บรรลุธรรมโดยเร็ววัน อย่าได้มาลำบากอยู่เป็นฆราวาส ส่วนผมยังมีภาระลูกเมียให้ต้องเลี้ยงดูอีกหลายสิบปี คงต้องขอเกลือกกลั้วอยู่กับ “เดรัจฉานวิชา” เหล่านี้ไปก่อน... สิทธิการิยะ
ยังคิดเป็นปุถุชน อย่ากลัวเดรัจฉานวิชา
ถ้อยกระบวนคำแบบนี้ ถ้าออกจากปากชาวบ้านร้านตลาด ก็ยังพอเข้าใจ เพราะเดิมทีคำเดรัจฉานนั้น ยืมมาจากภาษาบาลีว่า ติรจฺฉาน หมายถึงสัตว์ที่เคลื่อนที่ไปในแนวขวาง กล่าวคือ ขณะที่เคลื่อนที่ไปนั้น ลำตัวไม่ได้ตั้งตรงอย่างมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพียงใช้จำแนกประเภทของสัตว์โลก
ทว่าในเชิงของภาษาไทยนั้น คำว่าสัตว์เดรัจฉานยังถูกตีความเพิ่มเติมว่าต่ำกว่ามนุษย์ มีพฤติกรรมต่ำช้า ไร้อารยธรรม พอกล่าวถึงเดรัจฉานวิชา ความหมายอย่างที่เข้าใจกันจึงถูกนำมาผสมปนเป ยิ่งเมื่อผนวกกับอคติของคนบางกลุ่มบางจำพวก ก็ยิ่งถูกใส่สีตีไข่จนกลายเป็นของไม่ดี ต่ำช้ำ ชั่วร้ายไปเสียอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งที่ผู้กล่าวถึง “เดรัจฉานวิชา” ว่าเป็นไปในทางอบายนั้น เป็นผู้ที่อวดอ้างตัวว่า “รู้ธรรม” ฟังแล้วก็ยังอดใจหายไม่ได้ เพราะผู้ใดก็ตามที่รู้ธรรมจริงๆ ย่อมต้องรู้ว่า “เดรัจฉานวิชา” ที่กล่าวถึงในทางธรรมนั้น มีความหมายเพียงแค่ วิชาหรือองค์ความรู้ที่ “กีดขวาง” การบรรลุธรรม และท่านก็กล่าวห้ามสำหรับพระภิกษุไม่ให้ใช้หากิน (เลี้ยงชีพ) ไม่ได้หมายรวมถึงคนทั่วไป
ดังนั้นผู้ที่อวดว่ารู้ธรรม หากกล่าวถึง “เดรัจฉานวิชา” โดยไม่อรรถาธิบายถึงความหมายโดยเนื้อแท้ ถ้าไม่รู้จริงๆ ท่านก็คงเข้าใจไปเองว่าตัวเองรู้ธรรม แต่ถ้ารู้ แต่พูดไม่กระจ่าง แม้จะรู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจนั้น ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเข้าเกณฑ์ว่าด่างพร้อยในข้อ “มุสา” หรือไม่
อันวิชาการทำนายทายทักนั้นแม้ไม่สามารถช่วยดับทุกข์ แต่ก็ยังมีคุณในการบรรเทาทุกข์ บำรุงสุข แม้นจะเป็นการแก้ไขเพียง “ขายผ้าเอาหน้ารอด” แก้ได้แค่ชั่วครั้งชั่วคราว แต่ก็ยังพอมีส่วนช่วยบำรุงบำเรอกิเลสของปุถุชนได้บ้างสักมากน้อย
ผมขออุปมาให้ความทุกข์เป็นดั่งโรคเบาหวาน ส่วนธรรมะหรือทางพ้นทุกข์ นั้นก็ง่ายๆ แค่งดน้ำตาล น้ำหวาน คาร์โบไฮเดรต ปรับพฤติกรรมการกินอยู่ให้คลีน ให้เฮลตี้ เหมือนที่พระท่านว่า “เมื่อวางสุขลง ความทุกข์ก็จะหายไปด้วย” เท่านี้ อาการเบาหวานก็จะค่อยทุเลา จนถึงระดับที่คุมอยู่ หรือเกือบหายขาด
ทว่าก็ยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่เลือกใช้วิธีการแบบ “เดรัจฉานวิชา” คือ การกินยากดเบาหวานเอาไว้ เพื่อให้ตัวเองสามารถ “มีความสุข” กับการบริโภคของชอบ ของอร่อย ของโปรด ได้ต่อไป ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ใช่วิธีการที่ถูก ทั้งเสียเงิน แล้วยังเสี่ยงต่อสุขภาพอีก
ก็อย่างที่ว่า เมื่อยังคิดเป็นปุถุชน ก็อย่าได้กลัวเดรัจฉานวิชาเลย ชีวิตที่เวียนว่ายอยู่ในกองกิเลสมันก็เป็นแบบนี้
แล้วในวันข้างหน้า ถ้าท่านเจอใครที่กล่าวปรามาสวิชาทำนายทายทักต่างๆ ว่าเป็น “เดรัจฉานวิชา” ก็ขอให้ช่วยกันอนุโมทนาบุญให้ท่านเหล่านั้นได้บรรลุธรรมโดยเร็ววัน อย่าได้มาลำบากอยู่เป็นฆราวาส ส่วนผมยังมีภาระลูกเมียให้ต้องเลี้ยงดูอีกหลายสิบปี คงต้องขอเกลือกกลั้วอยู่กับ “เดรัจฉานวิชา” เหล่านี้ไปก่อน... สิทธิการิยะ