มีรายงานว่า Youtube Music เตรียมถูกคว่าบาตรในเกาหลี เหตุเพราะคนใช้เยอะ กระทบต่อ Melon, Genie, Flo


อุตสาหกรรมเพลงในประเทศใกล้ล่มสลายจากการ 'ขายพ่วงของ Youtube'... คาดว่าจะมีการลงโทษจากคณะกรรมการการค้ายุติธรรมในเดือนตุลาคม
ด้วยการสมัครสมาชิก YouTube Premium ดูแบบไม่มีโฆษณา แถมฟังเพลงฟรี.. และเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ผู้ใช้งานรายเดือนของ Youtube Music แซงหน้า Melon ขึ้นอันดับ 1... Genie, Flo โดนผลกระทบโดยตรง

มีการเรียกร้องจากอุตสหกรรมเพลงในประเทศว่า
'แค่ปรับเงินอย่างเดียวไม่เพียงพอ... ต้องบังคับแยกเก็บค่าบริการเพิ่มด้วย'

คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าอาจตัดสินใจเกี่ยวกับระดับการลงโทษต่อการขายพ่วงของ YouTube (Google) ได้เร็วที่สุดในเดือนตุลาคมนี้

ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว YouTube Music มียอดผู้ใช้งานรายเดือน (MAU) แซงหน้า Melon แอปฟังเพลงอันดับ 1 ของประเทศไปแล้วไปแล้ว หากไม่มีการลงโทษที่เข้มงวดต่อ YouTube Music หรือหากมีการล่าช้าไปมากกว่านี้ ก็มีความกังวลว่าอาจเป็นภัยคุกคามต่อการอยู่รอดของบริษัทเพลงในประเทศ

จากข้อมูลของอุตสาหกรรมเมื่อวันที่ 12 คณะกรรมการการค้ายุติธรรมเสร็จสิ้นการสอบสวนข้อกล่าวหาของ Google ในการใช้อำนาจเหนือตลาดเพื่อขายผลิตภัณฑ์ของตนเอง และส่งรายงานการตรวจสอบที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการคว่ำบาตรไปยัง Google เป็นเวลา 1 ปี 5 เดือนแล้ว นับตั้งแต่การตรวจสอบครั้งแรกของ Google Korea ที่ได้ดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว

เมื่อ Google ส่งคำแถลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้สิทธิในการป้องกันตัว ตารางการประชุมใหญ่ได้รับการยืนยันรวมถึฃการตัดสินใจคว่ำบาตร มีความเป็นไปได้ที่ตารางการประชุมใหญ่จะถูกเลื่อนออกไปอีกเนื่องจากการขอกำหนดเวลาของ Google

จากข้อมูลของ Mobile Index โดยบริษัทแพลตฟอร์มข้อมูล IGAWorks ในเดือนมีนาคม 2021 จำนวนผู้ใช้งานรายเดือน (MAU) ของ Melon (Kakao Entertainment) ลดลงอย่างมากจาก 8.7 ล้านคนเหลือประมาณ 7 ล้านคน ส่วน Genie Music (KT) ลดลงจาก 5.06 ล้านคนเหลือเกือบครึ่งหนึ่งที่ 2.9 ล้านคน Flo (SK Telecom) และ Naver ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

สำหรับผู้ใช้งาน เมื่อสมัคร YouTube Premium พวกเขาสามารถใช้ YouTube Music ได้ฟรี ทำให้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้แพลตฟอร์มเพลงในประเทศอย่าง Melon, Genie Music หรือ Flo

เมื่อวันที่ 9 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้เปลี่ยนทิศทางของการแก้ไขกฎหมายการค้าอย่างเป็นธรรม โดยเลือกวิธี ‘คาดการณ์ภายหลัง’ เพื่อลงโทษการละเมิดกฎหมาย แทนการ ‘ระบุล่วงหน้า’ แพลตฟอร์มที่ครอบงำตลาด ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับระดับของการลงโทษในครั้งนี้ด้วย

อีซังกึน ศาสตราจารย์จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยซอกัง กล่าวว่า 'หากไม่มีมาตรการบังคับให้แยกเก็บค่าบริการระหว่าง YouTube Premium และ YouTube Music แล้วแค่ปรับเงินเพียงอย่างเดียว อาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากตลาดเพลงได้ถูกปรับเปลี่ยนไปเน้นที่ YouTube แล้ว'

นอกจากนี้ เขายังกล่าวเสริมว่า 'หากปล่อยให้แพลตฟอร์มผูกขาด การแข่งขันอย่างเป็นธรรมระหว่างบริษัทต่าง ๆ จะหายไป และผู้บริโภคจะต้องจ่ายเงินมากขึ้นในการใช้บริการเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการเสียเปรียบต่อผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้'"

ที่มา :
https://biz.chosun.com/industry/business-venture/2024/09/13/MRPUE4DSZZGAHBPMJ5TK5TK3VY/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่